คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. ชาวอิหร่าน ก่อเหตุบึ้ม กทม. 3 จุด กรรมตามสนอง ขว้างระเบิดไม่พ้นตัว ขาขาดทันที ด้าน “สุรพงษ์” รีบยัน ไม่ใช่ก่อการร้าย ขณะที่ “สุกำพล” ปากดี เย้ย แค่จิ๊กโก๋!
เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น 3 จุดในซอยปรีดี พนมยงค์ 31-35 ซึ่งเป็นซอยย่อยของซอยสุขุมวิท 71 โดยจุดแรกเกิดที่บริเวณบ้านเช่าเลขที่ 66 ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น หลังเกิดเหตุระเบิด ได้มีชายชาวต่างชาติ 2 คนเดินออกจากบ้านหลังดังกล่าว ให้หลังประมาณ 5 นาที มีชายต่างชาติเดินออกมาอีก 1 คน โดยได้รับบาดเจ็บมีเลือดออกที่ใบหน้า ทราบชื่อภายหลังคือ นายซาอิด โมราดิ เป็นชาวอิหร่าน ทั้งนี้ นายซาอิดได้เดินมุ่งหน้าไปทางซอยปรีดีฯ 31 จากนั้นได้พยายามเรียกรถแท็กซี่ แต่แท็กซี่ไม่จอด นายซาอิดจึงได้ปาระเบิดใส่รถแท็กซี่ เป็นเหตุให้รถพังยับเยิน ขณะที่คนขับได้รับบาดเจ็บ ทราบชื่อคือ นายสัญชัย บุญสูงเนิน
จากนั้น นายซาอิดได้พยายามไปชิงรถจักรยานยนต์ของชาวบ้านแต่ไม่สำเร็จ นายซาอิดจึงเดินไปยังปากซอยปรีดีฯ 35 ปรากฏว่า เจอตำรวจ คือ ร.ต.ท.ณัฐวุฒิ สุขวัต รอง สวป.สน.คลองตัน ซึ่งได้รับแจ้งเหตุระเบิดและเดินทางมาเพื่อตรวจสอบ เมื่อพบนายซาอิด จึงพยายามเข้าจับกุม ด้านนายซาอิดได้ควักระเบิดจากกระเป๋าเพื่อจะขว้างใส่ตำรวจ แต่พลาดทำระเบิดตกกระแทกพื้น จึงเกิดระเบิดใส่ตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาขาดทั้ง 2 ข้างตั้งแต่หัวเข่าลงมา ด้านเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายซาอิดส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยล่าสุด(17 ก.พ.) อาการอยู่ในขั้นปลอดภัยระดับหนึ่ง แต่ยังไม่รู้สึกตัวและยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่
ทั้งนี้ เหตุระเบิดทั้ง 3 จุด ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย ประกอบด้วย นายสัญชัย คนขับแท็กซี่ ,นายอภิชาติ คำลือ ,นายกังวาน หอประสาททอง และนางจุฑาทิพย์ สัจดำรงค์ ด้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รักษาราชการแทนรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบบ้านที่ชาวอิหร่านทั้ง 3 คนเช่าและเกิดเหตุระเบิด โดยพบระเบิดซีโฟร์อีก 2 ลูก จึงได้หาทางทำลาย นอกจากนี้ยังพบสารประกอบระเบิดบางส่วน
ส่วนการติดตามชาวอิหร่านอีก 2 คนที่ยังหลบหนีนั้น ปรากฏว่า วันเดียวกัน(14 ก.พ.) ตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถจับกุมชาวอิหร่านดังกล่าวได้ 1 รายขณะรอขึ้นเครื่องเพื่อไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทราบชื่อคือ นายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่พบบาดแผลจากสะเก็ดระเบิดเล็กน้อยที่ขาขวาของนายฮาซาอิ จากการตรวจสอบพบว่า ที่ผ่านมา นายฮาซาอิเดินทางเข้าประเทศไทยหลายรอบพร้อมกับนายซาอิดที่ถูกระเบิดตัวเองขาขาด โดยครั้งล่าสุด เดินทางเข้ามาทางสนามบินภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 ก.พ.
ด้าน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พูดถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นกลางกรุงว่า ระเบิดที่คนร้ายใช้เป็นระเบิดมือที่ใส่ไว้ที่กระเป๋าเป้ จึงไม่น่าจะเป็นระเบิดที่ผลิตเอง แต่เป็นระเบิดสังหาร ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงกับเครียดเมื่อทราบเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมบอกว่า อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นการก่อการร้ายหรือไม่ ขอให้เจ้าหน้าที่ทำงานก่อน ประชาชนอย่าตกใจ เพราะสามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดเหตุระเบิด 3 จุดใน กทม. สื่อต่างประเทศได้ตีข่าวนี้ไปทั่วโลก ขณะที่หลายประเทศได้ออกประกาศเตือนพลเมืองของตนให้ระวังการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี โดยชี้ว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการก่อการร้าย หลังเกิดเหตุระเบิดในซอยสุขุมวิท 71 ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยได้หยุดทำการตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. เพราะเจ้าหน้าที่สถานทูตเกรงตกเป็นเป้าของการสังหาร
ด้าน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาเผยความคืบหน้าการสอบสวนนายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ที่จับกุมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิว่า ผู้ต้องหายังให้การภาคเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดดังกล่าว แต่จากหลักฐานต่างๆ รวมทั้งภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า นายฮาซาอิเดินออกจากบ้านเช่าที่เกิดเหตุระเบิดจุดแรกด้วย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ยังยอมรับด้วยว่า เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นมีส่วนเชื่อมโยงกับเหตุลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทูตอิสราเอลในประเทศอินเดียและจอร์เจีย เนื่องจากระเบิดที่ใช้ก่อเหตุเป็นระเบิดแสวงเครื่อง ลักษณะการประกอบเหมือนกัน อีกทั้งมีแถบแม่เหล็กที่เอาไว้แปะติดกับวัตถุ(สติ๊กกี้ บอมบ์)เหมือนกัน แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตกใจ เพราะคนร้ายมีเป้าหมายที่บุคคล ไม่ได้มุ่งก่อการร้ายทำลายสถานที่หรือกลุ่มคนจำนวนมาก
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รีบออกมาบอกว่า เหตุระเบิด 3 จุดใน กทม.ไม่ใช่การก่อการร้าย แค่การลอบสังหาร และว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลที่ประเทศอินเดียและจอร์เจีย ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ เชื่อว่า ระเบิดที่ชาวอิหร่านทั้ง 3 คนนำมาประกอบในไทย ไม่ใช่เพื่อก่อเหตุในไทย แต่เพื่อไปทำในประเทศอื่นมากกว่า เพราะไทยเป็นประเทศสงบ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ ไม่มีศัตรู ส่วนเหตุที่มาประกอบในไทย เนื่องจากอุปกรณ์อาจซื้อหาง่าย
ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาเย้ยชาวอิหร่านที่ก่อเหตุระเบิด 3 จุดใน กทม.ว่า ไม่ใช่พวกมืออาชีพ แต่เป็นแค่พวกจิ๊กโก๋เท่านั้น “รายล่าสุดที่เป็นชาวอิหร่าน ต้องดูว่าความเป็นมืออาชีพมีหรือไม่ เพราะระเบิดเกิดขึ้นง่ายๆ แท็กซี่ไม่จอดรับก็โมโห เอาระเบิดขว้างเหมือนจิ๊กโก๋ปากซอย มันไม่ใช่มืออาชีพ ขว้างระเบิดก็ไม่พ้นตัวเอง โดนตัวเองขาขาด ดังนั้นเรื่องนี้อย่าไปเชื่อมโยงให้เข้าทางว่าเป็นของอิสราเอลหรืออเมริกัน จะทำให้เราเสียหมด”
อย่างไรก็ตาม นายยิตซฮัค โซฮัม เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้ออกมาชี้ว่า รูปแบบการโจมตีในไทย เป็นรูปแบบเดียวกับการลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลในอินเดียและเตรียมใช้ระเบิดเพื่อลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลในจอร์เจีย ดังนั้นแม้เป้าหมายจะยังไม่แน่ชัด แต่ก็น่าเชื่อว่าสถานทูตอิสราเอลตกเป็นเป้าของการก่อการร้ายครั้งนี้ โดยมีอิหร่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
ด้านกระทรวงต่างประเทศอิหร่านได้แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดในไทย พร้อมอ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มไซออนนิสต์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิหร่าน
ส่วนที่มีบางฝ่ายพยายามเชื่อมโยงว่าเหตุระเบิดในไทยเป็นฝีมือกลุ่มฮิซบอลเลาะห์หรือไม่นั้น ปรากฏว่า นายฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำสูงสุดของฮิซบอลเลาะห์ ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่า การโจมตีนักการทูตอิสราเอลในอินเดียและจอร์เจีย รวมทั้งเหตุระเบิดในไทยนั้น ไม่ใช่ผลงานของฮิซบอลเลาะห์เพื่อแก้แค้นให้กับการลอบสังหารนายอิมมัด มักห์นิเยห์ ผู้บัญชาการกองกำลังของฮิซบอลเลาะห์ที่เสียชีวิตจากระเบิดที่วางไว้ในรถยนต์ที่ซีเรียเมื่อวันที่ 12 ก.พ.2551 แต่อย่างใด เพราะถ้าฮิซบอลเลาะห์จะทำ ต้องทำใหญ่ๆ และมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เล็กๆ ลวกๆ แบบนี้
สำหรับความคืบหน้าการติดตามตัวคนร้ายนั้น ตำรวจ สน.คลองตันได้ขอศาลออกหมายจับคนร้าย 4 ราย ประกอบด้วย นายซาอิด โมราดิ ที่ถูกระเบิดตัวเองขาขาด ,นายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ที่ถูกจับกุมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ,นายมาซุด เซดากา ซาเด ที่หลบหนีไปประเทศมาเลเซีย และ น.ส.โรฮานี ไลล่า ซึ่งจากแนวทางการสืบสวนเชื่อว่า เป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาไทยเพื่อทำเรื่องขอเช่าบ้านให้แก่ผู้ต้องหาทั้งหมด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ตั้งข้อหาก่อการร้าย เพียงแต่ตั้งข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและบุคคลอื่น และมีวัตถุระเบิด รวมทั้งทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ส่วนคนร้ายที่หนีไปประเทศมาเลเซียแล้วนั้น ปรากฏว่า ทางมาเลเซียสามารถจับกุมได้แล้ว และพร้อมส่งตัวให้ไทยมาดำเนินคดี โดยอยู่ระหว่างสอบสวนและประสานงานกับฝ่ายไทย
ทั้งนี้ นอกจากคนร้ายทั้ง 4 รายที่ตำรวจขอศาลออกหมายจับแล้ว ยังมีอีก 1 รายที่เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อขอออกหมายจับเพิ่ม คือ นายนิคคาฟาร์ด จาวัด โดยมีภาพจากกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานว่าเดินออกมาจากบ้านเช่าในช่วงเช้าของวันที่ 14 ก.พ. ก่อนที่จะเกิดระเบิดในช่วงบ่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่านายจาวัดยังกบดานอยู่ในไทย และน่าจะเป็นคนจัดหาระเบิดหรือเป็นผู้ประกอบระเบิดให้กลุ่มผู้ต้องหาชาวอิหร่าน
2. ผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง 2 พ.ร.ก.กู้เงินต่อศาล รธน.แล้ว ด้านศาลฯ ซัก “กิตติรัตน์”หนัก - นัดชี้ขาด ขัด รธน.หรือไม่ 22 ก.พ.นี้!
เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ 68 ส.ว.ยื่นผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท สำหรับการเข้าชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องครั้งนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญได้อนุญาตให้สื่่อมวลชนถ่ายทอดสดได้
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เข้าชี้แจง คือ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยนอกจากจะยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตรากฎหมายทั้ง 2 ฉบับเป็น พ.ร.ก.แล้ว รัฐบาลยังไม่มีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งการตรากฎหมายดังกล่าวยังมีจุดอ่อนในตัวกฎหมาย มีผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ “การที่ออก พ.ร.ก.แบบนี้ จะส่งผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก ถ้ารัฐบาลใดสามารถตรา พ.ร.ก.แบบนี้ได้โดยไม่จำเป็นเร่งด่วน ก็จะเปิดช่องให้ทุกรัฐบาลใช้วิธีนี้หลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากสภาและลิดรอนสิทธิหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ”
ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ได้เข้าชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.กู้เงินเช่นกัน เพราะ ครม.มีเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยได้อยู่แล้ว โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น งบรายจ่ายปี 2555 รวมทั้งสามารถออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2556 ได้ทัน เมื่อรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา การเสนอเป็น พ.ร.บ.ย่อมทำได้ตลอดเวลาโดยไม่มีอุปสรรค
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญแทน ได้พยายามอธิบายที่มาที่ไปของการออก พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับ จนนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเตือนว่าไม่ต้องอธิบายมาก พร้อมกับให้นายกิตติรัตน์บอกว่านายกรณ์และนายคำนูณชี้แจงผิดตรงไหน นายกิตติรัตน์ จึงได้ชี้แจงโดยสรุปภาพรวมของ พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ดังกล่าวเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ หลังสิ้นสุดการชี้แจง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ซักถามนายกิตติรัตน์หลายคำถาม โดยส่วนใหญ่ถามถึงช่วงเวลาในการออก พ.ร.ก.ดังกล่าว แต่ที่น่าสนใจคือ คำถามจากนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถามย้ำนายกิตติรัตน์หลายครั้ง เช่น เสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2555 เข้าสภาเดือน พ.ย.2554 มีช่วงเวลาปิดสภาคือ สิ้นเดือน พ.ย.-ปลายเดือน ธ.ค. ทำไมไม่ออก พ.ร.ก.ตอนนั้น จะได้ไม่มีเสียงครหาว่าชิงออก พ.ร.ก.ทั้งที่สภาเปิด แต่มาออก พ.ร.ก.ทั้งที่สภาเปิด เหมือนไม่ให้ความเคารพฝ่ายนิติบัญญัติเลย สภาพอุทกภัยก็เห็นอยู่ว่า ถึงเกือบสิ้นปี 2554 น้ำบางแห่งยังไม่แห้ง เห็นวิธีป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น ทำไมตอนนั้นไม่คิด
ด้านนายกิตติรัตน์ อ้างว่า รัฐบาลออก พ.ร.ก.โดยมองเรื่องการใช้งบเพื่อไม่ให้เสียความเชื่อมั่น ไม่ได้คำนึงถึงแต่แนวคิดการเมืองและไม่ได้มีความเข้าใจหรือความชำนาญว่าจะเสนอช่วงสภาปิดหรือสภาเปิดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ตุลาการบางท่านได้ถามนายกิตติรัตน์อีกว่า หากออก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็น พ.ร.บ.จะมีความแตกต่างอย่างไรกับการออกเป็น พ.ร.ก. นายกิตติรัตน์ บอกว่า หากออกเป็น พ.ร.บ.ต้องใช้เวลานาน
ส่วนกรณีที่ผู้ร้อง คือ นายกรณ์ได้ขอให้ศาลเรียกพยานบุคคลมาชี้แจงเพิ่มเติม 3 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ,นายปราโมทย์ ไม้กลัด 1 ในกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน(กยน.) และนายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) นั้น ศาลฯ เห็นว่า การพิจารณาคำร้องให้วินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ใช่การไต่สวน แต่เป็นการฟังคำชี้แจง จึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียกพยานทั้ง 3 คนดังกล่าวชี้แจงเพิ่มเติม แต่อนุญาตให้พยานทั้งสามส่งคำชี้แจงเป็นเอกสารให้ศาลพิจารณาได้ เช่นเดียวกับที่นายคำนูณได้ขอให้ศาลเรียกพยานบุคคลอีก 3 คนชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งศาลฯ ก็เห็นว่าไม่จำเป็นเช่นกัน ทั้งนี้ ศาลฯ ได้รับเอกสารชี้แจงจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ส่งให้ศาลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ก.พ.แล้ว พร้อมนัดวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ เวลา 14.00 น.
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ซึ่งเดินทางมาศาลรัฐธรรมนูญเพื่อฟังการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับด้วย ได้พูดถึงกรณีที่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก หากผู้เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบ ก็เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องบีบ ถ้าสังคมอยู่เฉยๆ ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องทางการเมือง ไม่มีข้อกฎหมายบอกว่านักการเมืองต้องรับผิดชอบอย่างไร
3. “สมศักดิ์” ดันร่างแก้ รธน.ฉบับ “พท.” เข้าที่ประชุมรัฐสภา 23 ก.พ.นี้ สะพัด!รบ.ล็อบบี้ ส.ว.หนุนแลกยืดอายุ!
ความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย(พท.)-กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ขับเคลื่อนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยพรรคเพื่อไทยได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 99 คนขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต่อประธานรัฐสภาแล้ว พร้อมด้วยรายชื่อ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่ลงชื่อสนับสนุน 275 คน ขณะที่กลุ่ม นปช.ก็ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.พร้อมรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนจำนวน 60,000 คน ต่อประธานรัฐสภา เพื่อบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาแล้วเช่นกัน ด้านรัฐบาลหรือ ครม.ก็เตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลอีก 1 ฉบับ เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนาก็จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามของพรรคร่วมรัฐบาลอีก 1 ฉบับนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 12 ก.พ. คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ที่มีนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน ได้ออกมายืนยันว่า วิปรัฐบาลพร้อมให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของ ครม.เป็นร่างหลักที่จะใช้พิจารณาในการประชุมรัฐสภา เพื่อเป็นการให้เกียรติรัฐบาล
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ครม.มีความต่างกับร่างของพรรคเพื่อไทยในบางจุด เช่น ร่างของ ครม.มีการลดจำนวนนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาที่จะได้เป็น ส.ส.ร.ลง แล้วเพิ่มจำนวน ส.ส.ร.ที่จะมาจากผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินให้มากขึ้นจาก 8 คน เป็น 10 คน เท่ากับเปิดช่องให้นักการเมืองเข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น นอกจากนี้ร่างของ ครม.ยังกำหนดให้ ส.ส.ร.ที่จะมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด 77 คน ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีด้วย ฯลฯ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลตามที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอเมื่อวันที่ 13 ก.พ. โดยจะแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ให้ ส.ส.ร.ไปพิจารณาแก้ไขทั้งหมด ผู้สื่อข่าวถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เคยบอกว่ารัฐบาลจะไม่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบโดยอ้างว่า ที่รัฐบาลต้องเสนอ เพราะเป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และว่า แม้ภารกิจแรกคือการฟื้นฟูประเทศ แต่วันนี้ เมื่อ ส.ส.และภาคประชาชนเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสภา รัฐบาลจึงต้องใช้สิทธิเสนอร่างดังกล่าว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเอื้อประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า ไม่มี เพราะ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีก 22 คนรัฐสภาเป็นผู้เลือก รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาขีดเส้นว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเสร็จสิ้นภายใน 240 วัน คือ ยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 180 วัน จากนั้นนำไปทำประชามติอีก 60 วัน ร.ต.อ.เฉลิม ยังคุยโวด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลหน้าตาดีมาก “ดูแล้วเนี้ยบที่สุด ส่วนเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) จะตั้งเวทีคัดค้าน ยังไม่รู้ว่าเขาจะค้านอย่างไร ถ้าภาษาการเมืองเรียกว่ากลัวแพ้ ก็ว่ากันไป ร่างรัฐธรรมนูญรูปร่างหน้าตาดีขนาดนี้ คงไม่มีใครกล้าวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเราทำประชามติทั้งก่อนและหลัง”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงเช่นเดียวกับที่กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้ว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อาจมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 102(7) ที่กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ครม. และ ส.ส.โดยอาจมีการตัดข้อห้ามผู้ที่เคยถูกยึดทรัพย์ เพื่อเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมามีอำนาจอีกครั้ง โดยพรรคประชาธิปัตย์จะจับตาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมเชื่อด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะนำสังคมไปสู่ความขัดแย้ง
ขณะที่นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำอีกครั้งว่า รัฐบาลมีเป้าหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ สังเกตุได้จาก 1.กลุ่มที่ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล้วนแต่เป็นบุคลลในระบอบทักษิณ 2.ที่มาของ ส.ส.ร. เป็นการล็อกสเปกให้กับคนในระบอบทักษิณ 3.การให้มี ส.ส.ร. เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ทั้งฉบับ โดยไม่ต้องกำหนดกรอบหรือประเด็นใดใดในการแก้ไข เปรียบเสมือนการให้เช็คเปล่า ส.ส.ร.แก้ไขอย่างไรก็ได้
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เผยว่า ได้ตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยเสร็จแล้ว พบว่ามีการยื่นรายชื่อ ส.ส.ถูกต้อง ดังนั้นจะบรรจุวาระเข้าพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 23 ก.พ.นี้ และว่า ระหว่างนี้ถ้ามีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามา ก็จะตรวจสอบความถูกต้องและเตรียมบรรจุร่างแก้ไขทั้ง 2 ฉบับเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณารวมกับร่างของพรรคเพื่อไทย ส่วนร่างแก้ไขของภาคประชาชน(กลุ่ม นปช.)นั้น นายสมศักดิ์ บอกว่า อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ คาดว่าต้องใช้เวลา 2-3 เดือน
ทั้งนี้ มีข่าวแพร่สะพัดว่า ขณะนี้มีแกนนำคนสำคัญในรัฐบาลกำลังเดินสายล็อบบี้สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ทั้งสายเลือกตั้งและสรรหา เพื่อให้หนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1.ในส่วนของ ส.ว.เลือกตั้ง หากยกมือหนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล จะแลกเปลี่ยนด้วยการบรรจุบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบัน สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และ 2. ส.ว.สรรหา หากยกมือสนับสนุน จะเสนอบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.สรรหาอยู่จนครบวาระได้ แม้จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วก็ตาม โดยจะอ้างเหตุผลเพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มอาจแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
4. องค์กรปราบปรามการฟอกเงินระหว่างประเทศ ขึ้นบัญชีดำ “ไทย” ฐานละเลยสกัดฟอกเงิน-ก่อการร้าย ด้าน รบ.เล็งแก้ กม.!
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. สำนักงานคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือเอฟเอทีเอฟ(Financial Action Task Force on Money Laundering) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และถือเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการดำเนินการทางการเงินสากล ได้ประกาศเพิ่มรายชื่อประเทศไทย และอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ปากีสถาน ,อินโดนีเซีย ,กานา และแทนซาเนีย เข้าอยู่ในบัญชีดำ ซึ่งหมายถึงสถานะของประเทศที่ล้มเหลวหรือไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการทางการเงินตามระดับมาตรฐานสากล เนื่องจาก 5 ประเทศดังกล่าวรวมทั้งไทยไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของเอฟเอทีเอฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการต่อสู้กับการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินต่อขบวนการก่อการร้าย
นายริค แมคโดเนล เลขาธิการบริหารของเอฟเอทีเอฟ เผยว่า เดิมประเทศที่อยู่ในบัญชีดำ ประกอบด้วย โบลิเวีย ,คิวบา ,เอธิโอเปีย ,อิหร่าน ,เคนยา ,พม่า ,ไนจีเรีย ,เกาหลีเหนือ ,เซา โตเม แอนด์ ปรินซิปี ,ศรีลังกา ,ซีเรีย และตุรกี ซึ่งไม่มีประเทศใดสามารถหลุดออกจากบัญชีดำได้ ส่วนไทย ก่อนหน้านี้ถูกจัดอยู่ในบัญชีเทา ก่อนที่จะถูกลดชั้นลงมาอยู่ในบัญชีดำ เพราะไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการตามคำแนะนำของเอฟเอทีเอฟ ขณะที่ประเทศฮอนดูรัสและปารากวัย ทางเอฟเอทีเอฟได้พิจารณาถอดออกจากบัญชีเทา เพราะแม้ทั้ง 2 ประเทศจะมีมาตรฐานทางการเงินที่ล้าหลังเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล แต่ฮอนดูรัสและปารากวัยก็ได้ประกาศพันธะมุ่งมั่นที่จะยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานสากล
ทั้งนี้ เอฟเอทีเอฟได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศยึดถือด้วยว่า การหนีภาษีถือเป็นการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ดังนั้นขอให้ธนาคารทั่วโลกตรวจสอบลูกค้าที่ต้องสงสัยก่ออาชญากรรมทางภาษีอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังกำชับให้รัฐบาลทุกประเทศให้ความสำคัญกับการหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลให้มากขึ้นว่าใครเป็นเจ้าของบริษัทที่แท้จริง เพื่อให้อาชญากรและผู้ก่อการร้ายใช้ซุกซ่อนทรัพย์สมบัติได้ยากขึ้น พร้อมกันนี้ เอฟเอทีเอฟยังได้ประกาศขยายขอบเขตการดำเนินการขององค์กรให้ครอบคลุมไปถึงการป้องกันไม่ให้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงแพร่ระบาดอีกด้วย
ด้าน พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้กล่าวก่อนเดินทางไปประชุมคณะทำงานเอฟเอทีเอฟเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า มีแนวโน้มที่ไทยจะถูกขึ้นบัญชีดำ ฐานไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งแม้ที่ผ่านมา จะมีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาตลอด แต่กลับประสบปัญหาน้ำท่วมและความขัดแย้งทางการเมือง จนทำให้การผลักดันกฎหมายดังกล่าว ทำได้แค่การยกร่างเท่านั้น ทั้งนี้ พ.ต.อ.สีหนาท จะเดินทางกลับจากการประชุมเอฟเอทีเอฟในวันที่ 20 ก.พ.นี้ โดยจะมีการแถลงผลการประชุมให้ทราบในช่วงบ่ายวันเดียวกัน
ขณะที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พูดถึงกรณีที่เอฟเอทีเอฟขึ้นบัญชีดำประเทศไทยที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานว่าด้วยการสกัดการฟอกเงินว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด อยู่ระหว่างรอรายงานอย่างเป็นทางการจาก ปปง. อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นทราบว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการฟอกเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยได้รับการแจ้งเตือนให้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องมานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมาพิจารณาดูว่าติดขัดปัญหาอย่างไรจึงไม่สามารถดำเนินการได้
1. ชาวอิหร่าน ก่อเหตุบึ้ม กทม. 3 จุด กรรมตามสนอง ขว้างระเบิดไม่พ้นตัว ขาขาดทันที ด้าน “สุรพงษ์” รีบยัน ไม่ใช่ก่อการร้าย ขณะที่ “สุกำพล” ปากดี เย้ย แค่จิ๊กโก๋!
เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น 3 จุดในซอยปรีดี พนมยงค์ 31-35 ซึ่งเป็นซอยย่อยของซอยสุขุมวิท 71 โดยจุดแรกเกิดที่บริเวณบ้านเช่าเลขที่ 66 ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น หลังเกิดเหตุระเบิด ได้มีชายชาวต่างชาติ 2 คนเดินออกจากบ้านหลังดังกล่าว ให้หลังประมาณ 5 นาที มีชายต่างชาติเดินออกมาอีก 1 คน โดยได้รับบาดเจ็บมีเลือดออกที่ใบหน้า ทราบชื่อภายหลังคือ นายซาอิด โมราดิ เป็นชาวอิหร่าน ทั้งนี้ นายซาอิดได้เดินมุ่งหน้าไปทางซอยปรีดีฯ 31 จากนั้นได้พยายามเรียกรถแท็กซี่ แต่แท็กซี่ไม่จอด นายซาอิดจึงได้ปาระเบิดใส่รถแท็กซี่ เป็นเหตุให้รถพังยับเยิน ขณะที่คนขับได้รับบาดเจ็บ ทราบชื่อคือ นายสัญชัย บุญสูงเนิน
จากนั้น นายซาอิดได้พยายามไปชิงรถจักรยานยนต์ของชาวบ้านแต่ไม่สำเร็จ นายซาอิดจึงเดินไปยังปากซอยปรีดีฯ 35 ปรากฏว่า เจอตำรวจ คือ ร.ต.ท.ณัฐวุฒิ สุขวัต รอง สวป.สน.คลองตัน ซึ่งได้รับแจ้งเหตุระเบิดและเดินทางมาเพื่อตรวจสอบ เมื่อพบนายซาอิด จึงพยายามเข้าจับกุม ด้านนายซาอิดได้ควักระเบิดจากกระเป๋าเพื่อจะขว้างใส่ตำรวจ แต่พลาดทำระเบิดตกกระแทกพื้น จึงเกิดระเบิดใส่ตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาขาดทั้ง 2 ข้างตั้งแต่หัวเข่าลงมา ด้านเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายซาอิดส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยล่าสุด(17 ก.พ.) อาการอยู่ในขั้นปลอดภัยระดับหนึ่ง แต่ยังไม่รู้สึกตัวและยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่
ทั้งนี้ เหตุระเบิดทั้ง 3 จุด ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย ประกอบด้วย นายสัญชัย คนขับแท็กซี่ ,นายอภิชาติ คำลือ ,นายกังวาน หอประสาททอง และนางจุฑาทิพย์ สัจดำรงค์ ด้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รักษาราชการแทนรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบบ้านที่ชาวอิหร่านทั้ง 3 คนเช่าและเกิดเหตุระเบิด โดยพบระเบิดซีโฟร์อีก 2 ลูก จึงได้หาทางทำลาย นอกจากนี้ยังพบสารประกอบระเบิดบางส่วน
ส่วนการติดตามชาวอิหร่านอีก 2 คนที่ยังหลบหนีนั้น ปรากฏว่า วันเดียวกัน(14 ก.พ.) ตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถจับกุมชาวอิหร่านดังกล่าวได้ 1 รายขณะรอขึ้นเครื่องเพื่อไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทราบชื่อคือ นายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่พบบาดแผลจากสะเก็ดระเบิดเล็กน้อยที่ขาขวาของนายฮาซาอิ จากการตรวจสอบพบว่า ที่ผ่านมา นายฮาซาอิเดินทางเข้าประเทศไทยหลายรอบพร้อมกับนายซาอิดที่ถูกระเบิดตัวเองขาขาด โดยครั้งล่าสุด เดินทางเข้ามาทางสนามบินภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 ก.พ.
ด้าน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พูดถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นกลางกรุงว่า ระเบิดที่คนร้ายใช้เป็นระเบิดมือที่ใส่ไว้ที่กระเป๋าเป้ จึงไม่น่าจะเป็นระเบิดที่ผลิตเอง แต่เป็นระเบิดสังหาร ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงกับเครียดเมื่อทราบเรื่องที่เกิดขึ้น พร้อมบอกว่า อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นการก่อการร้ายหรือไม่ ขอให้เจ้าหน้าที่ทำงานก่อน ประชาชนอย่าตกใจ เพราะสามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดเหตุระเบิด 3 จุดใน กทม. สื่อต่างประเทศได้ตีข่าวนี้ไปทั่วโลก ขณะที่หลายประเทศได้ออกประกาศเตือนพลเมืองของตนให้ระวังการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี โดยชี้ว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการก่อการร้าย หลังเกิดเหตุระเบิดในซอยสุขุมวิท 71 ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยได้หยุดทำการตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. เพราะเจ้าหน้าที่สถานทูตเกรงตกเป็นเป้าของการสังหาร
ด้าน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาเผยความคืบหน้าการสอบสวนนายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ที่จับกุมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิว่า ผู้ต้องหายังให้การภาคเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดดังกล่าว แต่จากหลักฐานต่างๆ รวมทั้งภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า นายฮาซาอิเดินออกจากบ้านเช่าที่เกิดเหตุระเบิดจุดแรกด้วย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ยังยอมรับด้วยว่า เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นมีส่วนเชื่อมโยงกับเหตุลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทูตอิสราเอลในประเทศอินเดียและจอร์เจีย เนื่องจากระเบิดที่ใช้ก่อเหตุเป็นระเบิดแสวงเครื่อง ลักษณะการประกอบเหมือนกัน อีกทั้งมีแถบแม่เหล็กที่เอาไว้แปะติดกับวัตถุ(สติ๊กกี้ บอมบ์)เหมือนกัน แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตกใจ เพราะคนร้ายมีเป้าหมายที่บุคคล ไม่ได้มุ่งก่อการร้ายทำลายสถานที่หรือกลุ่มคนจำนวนมาก
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รีบออกมาบอกว่า เหตุระเบิด 3 จุดใน กทม.ไม่ใช่การก่อการร้าย แค่การลอบสังหาร และว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลที่ประเทศอินเดียและจอร์เจีย ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ เชื่อว่า ระเบิดที่ชาวอิหร่านทั้ง 3 คนนำมาประกอบในไทย ไม่ใช่เพื่อก่อเหตุในไทย แต่เพื่อไปทำในประเทศอื่นมากกว่า เพราะไทยเป็นประเทศสงบ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ ไม่มีศัตรู ส่วนเหตุที่มาประกอบในไทย เนื่องจากอุปกรณ์อาจซื้อหาง่าย
ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาเย้ยชาวอิหร่านที่ก่อเหตุระเบิด 3 จุดใน กทม.ว่า ไม่ใช่พวกมืออาชีพ แต่เป็นแค่พวกจิ๊กโก๋เท่านั้น “รายล่าสุดที่เป็นชาวอิหร่าน ต้องดูว่าความเป็นมืออาชีพมีหรือไม่ เพราะระเบิดเกิดขึ้นง่ายๆ แท็กซี่ไม่จอดรับก็โมโห เอาระเบิดขว้างเหมือนจิ๊กโก๋ปากซอย มันไม่ใช่มืออาชีพ ขว้างระเบิดก็ไม่พ้นตัวเอง โดนตัวเองขาขาด ดังนั้นเรื่องนี้อย่าไปเชื่อมโยงให้เข้าทางว่าเป็นของอิสราเอลหรืออเมริกัน จะทำให้เราเสียหมด”
อย่างไรก็ตาม นายยิตซฮัค โซฮัม เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้ออกมาชี้ว่า รูปแบบการโจมตีในไทย เป็นรูปแบบเดียวกับการลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลในอินเดียและเตรียมใช้ระเบิดเพื่อลอบสังหารนักการทูตอิสราเอลในจอร์เจีย ดังนั้นแม้เป้าหมายจะยังไม่แน่ชัด แต่ก็น่าเชื่อว่าสถานทูตอิสราเอลตกเป็นเป้าของการก่อการร้ายครั้งนี้ โดยมีอิหร่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
ด้านกระทรวงต่างประเทศอิหร่านได้แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดในไทย พร้อมอ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มไซออนนิสต์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อิหร่าน
ส่วนที่มีบางฝ่ายพยายามเชื่อมโยงว่าเหตุระเบิดในไทยเป็นฝีมือกลุ่มฮิซบอลเลาะห์หรือไม่นั้น ปรากฏว่า นายฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำสูงสุดของฮิซบอลเลาะห์ ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่า การโจมตีนักการทูตอิสราเอลในอินเดียและจอร์เจีย รวมทั้งเหตุระเบิดในไทยนั้น ไม่ใช่ผลงานของฮิซบอลเลาะห์เพื่อแก้แค้นให้กับการลอบสังหารนายอิมมัด มักห์นิเยห์ ผู้บัญชาการกองกำลังของฮิซบอลเลาะห์ที่เสียชีวิตจากระเบิดที่วางไว้ในรถยนต์ที่ซีเรียเมื่อวันที่ 12 ก.พ.2551 แต่อย่างใด เพราะถ้าฮิซบอลเลาะห์จะทำ ต้องทำใหญ่ๆ และมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เล็กๆ ลวกๆ แบบนี้
สำหรับความคืบหน้าการติดตามตัวคนร้ายนั้น ตำรวจ สน.คลองตันได้ขอศาลออกหมายจับคนร้าย 4 ราย ประกอบด้วย นายซาอิด โมราดิ ที่ถูกระเบิดตัวเองขาขาด ,นายโมฮัมหมัด ฮาซาอิ ที่ถูกจับกุมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ,นายมาซุด เซดากา ซาเด ที่หลบหนีไปประเทศมาเลเซีย และ น.ส.โรฮานี ไลล่า ซึ่งจากแนวทางการสืบสวนเชื่อว่า เป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาไทยเพื่อทำเรื่องขอเช่าบ้านให้แก่ผู้ต้องหาทั้งหมด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ตั้งข้อหาก่อการร้าย เพียงแต่ตั้งข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและบุคคลอื่น และมีวัตถุระเบิด รวมทั้งทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ส่วนคนร้ายที่หนีไปประเทศมาเลเซียแล้วนั้น ปรากฏว่า ทางมาเลเซียสามารถจับกุมได้แล้ว และพร้อมส่งตัวให้ไทยมาดำเนินคดี โดยอยู่ระหว่างสอบสวนและประสานงานกับฝ่ายไทย
ทั้งนี้ นอกจากคนร้ายทั้ง 4 รายที่ตำรวจขอศาลออกหมายจับแล้ว ยังมีอีก 1 รายที่เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อขอออกหมายจับเพิ่ม คือ นายนิคคาฟาร์ด จาวัด โดยมีภาพจากกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานว่าเดินออกมาจากบ้านเช่าในช่วงเช้าของวันที่ 14 ก.พ. ก่อนที่จะเกิดระเบิดในช่วงบ่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่านายจาวัดยังกบดานอยู่ในไทย และน่าจะเป็นคนจัดหาระเบิดหรือเป็นผู้ประกอบระเบิดให้กลุ่มผู้ต้องหาชาวอิหร่าน
2. ผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง 2 พ.ร.ก.กู้เงินต่อศาล รธน.แล้ว ด้านศาลฯ ซัก “กิตติรัตน์”หนัก - นัดชี้ขาด ขัด รธน.หรือไม่ 22 ก.พ.นี้!
เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ 68 ส.ว.ยื่นผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท สำหรับการเข้าชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องครั้งนี้ ทางศาลรัฐธรรมนูญได้อนุญาตให้สื่่อมวลชนถ่ายทอดสดได้
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เข้าชี้แจง คือ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยนอกจากจะยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตรากฎหมายทั้ง 2 ฉบับเป็น พ.ร.ก.แล้ว รัฐบาลยังไม่มีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งการตรากฎหมายดังกล่าวยังมีจุดอ่อนในตัวกฎหมาย มีผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ “การที่ออก พ.ร.ก.แบบนี้ จะส่งผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก ถ้ารัฐบาลใดสามารถตรา พ.ร.ก.แบบนี้ได้โดยไม่จำเป็นเร่งด่วน ก็จะเปิดช่องให้ทุกรัฐบาลใช้วิธีนี้หลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากสภาและลิดรอนสิทธิหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ”
ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา ได้เข้าชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.กู้เงินเช่นกัน เพราะ ครม.มีเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยได้อยู่แล้ว โดยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น งบรายจ่ายปี 2555 รวมทั้งสามารถออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2556 ได้ทัน เมื่อรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา การเสนอเป็น พ.ร.บ.ย่อมทำได้ตลอดเวลาโดยไม่มีอุปสรรค
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญแทน ได้พยายามอธิบายที่มาที่ไปของการออก พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับ จนนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเตือนว่าไม่ต้องอธิบายมาก พร้อมกับให้นายกิตติรัตน์บอกว่านายกรณ์และนายคำนูณชี้แจงผิดตรงไหน นายกิตติรัตน์ จึงได้ชี้แจงโดยสรุปภาพรวมของ พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ดังกล่าวเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ หลังสิ้นสุดการชี้แจง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ซักถามนายกิตติรัตน์หลายคำถาม โดยส่วนใหญ่ถามถึงช่วงเวลาในการออก พ.ร.ก.ดังกล่าว แต่ที่น่าสนใจคือ คำถามจากนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถามย้ำนายกิตติรัตน์หลายครั้ง เช่น เสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2555 เข้าสภาเดือน พ.ย.2554 มีช่วงเวลาปิดสภาคือ สิ้นเดือน พ.ย.-ปลายเดือน ธ.ค. ทำไมไม่ออก พ.ร.ก.ตอนนั้น จะได้ไม่มีเสียงครหาว่าชิงออก พ.ร.ก.ทั้งที่สภาเปิด แต่มาออก พ.ร.ก.ทั้งที่สภาเปิด เหมือนไม่ให้ความเคารพฝ่ายนิติบัญญัติเลย สภาพอุทกภัยก็เห็นอยู่ว่า ถึงเกือบสิ้นปี 2554 น้ำบางแห่งยังไม่แห้ง เห็นวิธีป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น ทำไมตอนนั้นไม่คิด
ด้านนายกิตติรัตน์ อ้างว่า รัฐบาลออก พ.ร.ก.โดยมองเรื่องการใช้งบเพื่อไม่ให้เสียความเชื่อมั่น ไม่ได้คำนึงถึงแต่แนวคิดการเมืองและไม่ได้มีความเข้าใจหรือความชำนาญว่าจะเสนอช่วงสภาปิดหรือสภาเปิดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ตุลาการบางท่านได้ถามนายกิตติรัตน์อีกว่า หากออก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็น พ.ร.บ.จะมีความแตกต่างอย่างไรกับการออกเป็น พ.ร.ก. นายกิตติรัตน์ บอกว่า หากออกเป็น พ.ร.บ.ต้องใช้เวลานาน
ส่วนกรณีที่ผู้ร้อง คือ นายกรณ์ได้ขอให้ศาลเรียกพยานบุคคลมาชี้แจงเพิ่มเติม 3 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ,นายปราโมทย์ ไม้กลัด 1 ในกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน(กยน.) และนายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) นั้น ศาลฯ เห็นว่า การพิจารณาคำร้องให้วินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ใช่การไต่สวน แต่เป็นการฟังคำชี้แจง จึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียกพยานทั้ง 3 คนดังกล่าวชี้แจงเพิ่มเติม แต่อนุญาตให้พยานทั้งสามส่งคำชี้แจงเป็นเอกสารให้ศาลพิจารณาได้ เช่นเดียวกับที่นายคำนูณได้ขอให้ศาลเรียกพยานบุคคลอีก 3 คนชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งศาลฯ ก็เห็นว่าไม่จำเป็นเช่นกัน ทั้งนี้ ศาลฯ ได้รับเอกสารชี้แจงจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ส่งให้ศาลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ก.พ.แล้ว พร้อมนัดวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ เวลา 14.00 น.
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ซึ่งเดินทางมาศาลรัฐธรรมนูญเพื่อฟังการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับด้วย ได้พูดถึงกรณีที่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก หากผู้เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบ ก็เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องบีบ ถ้าสังคมอยู่เฉยๆ ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องทางการเมือง ไม่มีข้อกฎหมายบอกว่านักการเมืองต้องรับผิดชอบอย่างไร
3. “สมศักดิ์” ดันร่างแก้ รธน.ฉบับ “พท.” เข้าที่ประชุมรัฐสภา 23 ก.พ.นี้ สะพัด!รบ.ล็อบบี้ ส.ว.หนุนแลกยืดอายุ!
ความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาล-พรรคเพื่อไทย(พท.)-กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ขับเคลื่อนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยพรรคเพื่อไทยได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 99 คนขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต่อประธานรัฐสภาแล้ว พร้อมด้วยรายชื่อ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่ลงชื่อสนับสนุน 275 คน ขณะที่กลุ่ม นปช.ก็ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.พร้อมรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนจำนวน 60,000 คน ต่อประธานรัฐสภา เพื่อบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาแล้วเช่นกัน ด้านรัฐบาลหรือ ครม.ก็เตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลอีก 1 ฉบับ เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนาก็จะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามของพรรคร่วมรัฐบาลอีก 1 ฉบับนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 12 ก.พ. คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ที่มีนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน ได้ออกมายืนยันว่า วิปรัฐบาลพร้อมให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของ ครม.เป็นร่างหลักที่จะใช้พิจารณาในการประชุมรัฐสภา เพื่อเป็นการให้เกียรติรัฐบาล
ทั้งนี้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ครม.มีความต่างกับร่างของพรรคเพื่อไทยในบางจุด เช่น ร่างของ ครม.มีการลดจำนวนนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาที่จะได้เป็น ส.ส.ร.ลง แล้วเพิ่มจำนวน ส.ส.ร.ที่จะมาจากผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินให้มากขึ้นจาก 8 คน เป็น 10 คน เท่ากับเปิดช่องให้นักการเมืองเข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น นอกจากนี้ร่างของ ครม.ยังกำหนดให้ ส.ส.ร.ที่จะมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด 77 คน ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีด้วย ฯลฯ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของรัฐบาลตามที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอเมื่อวันที่ 13 ก.พ. โดยจะแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ให้ ส.ส.ร.ไปพิจารณาแก้ไขทั้งหมด ผู้สื่อข่าวถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เคยบอกว่ารัฐบาลจะไม่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบโดยอ้างว่า ที่รัฐบาลต้องเสนอ เพราะเป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และว่า แม้ภารกิจแรกคือการฟื้นฟูประเทศ แต่วันนี้ เมื่อ ส.ส.และภาคประชาชนเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสภา รัฐบาลจึงต้องใช้สิทธิเสนอร่างดังกล่าว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเอื้อประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า ไม่มี เพราะ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีก 22 คนรัฐสภาเป็นผู้เลือก รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาขีดเส้นว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเสร็จสิ้นภายใน 240 วัน คือ ยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 180 วัน จากนั้นนำไปทำประชามติอีก 60 วัน ร.ต.อ.เฉลิม ยังคุยโวด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลหน้าตาดีมาก “ดูแล้วเนี้ยบที่สุด ส่วนเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) จะตั้งเวทีคัดค้าน ยังไม่รู้ว่าเขาจะค้านอย่างไร ถ้าภาษาการเมืองเรียกว่ากลัวแพ้ ก็ว่ากันไป ร่างรัฐธรรมนูญรูปร่างหน้าตาดีขนาดนี้ คงไม่มีใครกล้าวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเราทำประชามติทั้งก่อนและหลัง”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงเช่นเดียวกับที่กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้ว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อาจมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 102(7) ที่กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ครม. และ ส.ส.โดยอาจมีการตัดข้อห้ามผู้ที่เคยถูกยึดทรัพย์ เพื่อเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมามีอำนาจอีกครั้ง โดยพรรคประชาธิปัตย์จะจับตาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมเชื่อด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะนำสังคมไปสู่ความขัดแย้ง
ขณะที่นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำอีกครั้งว่า รัฐบาลมีเป้าหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ สังเกตุได้จาก 1.กลุ่มที่ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ล้วนแต่เป็นบุคลลในระบอบทักษิณ 2.ที่มาของ ส.ส.ร. เป็นการล็อกสเปกให้กับคนในระบอบทักษิณ 3.การให้มี ส.ส.ร. เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ได้ทั้งฉบับ โดยไม่ต้องกำหนดกรอบหรือประเด็นใดใดในการแก้ไข เปรียบเสมือนการให้เช็คเปล่า ส.ส.ร.แก้ไขอย่างไรก็ได้
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เผยว่า ได้ตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยเสร็จแล้ว พบว่ามีการยื่นรายชื่อ ส.ส.ถูกต้อง ดังนั้นจะบรรจุวาระเข้าพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 23 ก.พ.นี้ และว่า ระหว่างนี้ถ้ามีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามา ก็จะตรวจสอบความถูกต้องและเตรียมบรรจุร่างแก้ไขทั้ง 2 ฉบับเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณารวมกับร่างของพรรคเพื่อไทย ส่วนร่างแก้ไขของภาคประชาชน(กลุ่ม นปช.)นั้น นายสมศักดิ์ บอกว่า อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ คาดว่าต้องใช้เวลา 2-3 เดือน
ทั้งนี้ มีข่าวแพร่สะพัดว่า ขณะนี้มีแกนนำคนสำคัญในรัฐบาลกำลังเดินสายล็อบบี้สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ทั้งสายเลือกตั้งและสรรหา เพื่อให้หนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1.ในส่วนของ ส.ว.เลือกตั้ง หากยกมือหนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล จะแลกเปลี่ยนด้วยการบรรจุบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบัน สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และ 2. ส.ว.สรรหา หากยกมือสนับสนุน จะเสนอบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.สรรหาอยู่จนครบวาระได้ แม้จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วก็ตาม โดยจะอ้างเหตุผลเพื่อความต่อเนื่องในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มอาจแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
4. องค์กรปราบปรามการฟอกเงินระหว่างประเทศ ขึ้นบัญชีดำ “ไทย” ฐานละเลยสกัดฟอกเงิน-ก่อการร้าย ด้าน รบ.เล็งแก้ กม.!
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. สำนักงานคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือเอฟเอทีเอฟ(Financial Action Task Force on Money Laundering) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และถือเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการดำเนินการทางการเงินสากล ได้ประกาศเพิ่มรายชื่อประเทศไทย และอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ปากีสถาน ,อินโดนีเซีย ,กานา และแทนซาเนีย เข้าอยู่ในบัญชีดำ ซึ่งหมายถึงสถานะของประเทศที่ล้มเหลวหรือไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการทางการเงินตามระดับมาตรฐานสากล เนื่องจาก 5 ประเทศดังกล่าวรวมทั้งไทยไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของเอฟเอทีเอฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการต่อสู้กับการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินต่อขบวนการก่อการร้าย
นายริค แมคโดเนล เลขาธิการบริหารของเอฟเอทีเอฟ เผยว่า เดิมประเทศที่อยู่ในบัญชีดำ ประกอบด้วย โบลิเวีย ,คิวบา ,เอธิโอเปีย ,อิหร่าน ,เคนยา ,พม่า ,ไนจีเรีย ,เกาหลีเหนือ ,เซา โตเม แอนด์ ปรินซิปี ,ศรีลังกา ,ซีเรีย และตุรกี ซึ่งไม่มีประเทศใดสามารถหลุดออกจากบัญชีดำได้ ส่วนไทย ก่อนหน้านี้ถูกจัดอยู่ในบัญชีเทา ก่อนที่จะถูกลดชั้นลงมาอยู่ในบัญชีดำ เพราะไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการตามคำแนะนำของเอฟเอทีเอฟ ขณะที่ประเทศฮอนดูรัสและปารากวัย ทางเอฟเอทีเอฟได้พิจารณาถอดออกจากบัญชีเทา เพราะแม้ทั้ง 2 ประเทศจะมีมาตรฐานทางการเงินที่ล้าหลังเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล แต่ฮอนดูรัสและปารากวัยก็ได้ประกาศพันธะมุ่งมั่นที่จะยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานสากล
ทั้งนี้ เอฟเอทีเอฟได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศยึดถือด้วยว่า การหนีภาษีถือเป็นการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ดังนั้นขอให้ธนาคารทั่วโลกตรวจสอบลูกค้าที่ต้องสงสัยก่ออาชญากรรมทางภาษีอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังกำชับให้รัฐบาลทุกประเทศให้ความสำคัญกับการหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลให้มากขึ้นว่าใครเป็นเจ้าของบริษัทที่แท้จริง เพื่อให้อาชญากรและผู้ก่อการร้ายใช้ซุกซ่อนทรัพย์สมบัติได้ยากขึ้น พร้อมกันนี้ เอฟเอทีเอฟยังได้ประกาศขยายขอบเขตการดำเนินการขององค์กรให้ครอบคลุมไปถึงการป้องกันไม่ให้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงแพร่ระบาดอีกด้วย
ด้าน พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้กล่าวก่อนเดินทางไปประชุมคณะทำงานเอฟเอทีเอฟเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า มีแนวโน้มที่ไทยจะถูกขึ้นบัญชีดำ ฐานไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งแม้ที่ผ่านมา จะมีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาตลอด แต่กลับประสบปัญหาน้ำท่วมและความขัดแย้งทางการเมือง จนทำให้การผลักดันกฎหมายดังกล่าว ทำได้แค่การยกร่างเท่านั้น ทั้งนี้ พ.ต.อ.สีหนาท จะเดินทางกลับจากการประชุมเอฟเอทีเอฟในวันที่ 20 ก.พ.นี้ โดยจะมีการแถลงผลการประชุมให้ทราบในช่วงบ่ายวันเดียวกัน
ขณะที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พูดถึงกรณีที่เอฟเอทีเอฟขึ้นบัญชีดำประเทศไทยที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานว่าด้วยการสกัดการฟอกเงินว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด อยู่ระหว่างรอรายงานอย่างเป็นทางการจาก ปปง. อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นทราบว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการฟอกเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยได้รับการแจ้งเตือนให้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องมานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมาพิจารณาดูว่าติดขัดปัญหาอย่างไรจึงไม่สามารถดำเนินการได้