xs
xsm
sm
md
lg

มิติใหม่ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีใครสนองตอบไหม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วันนี้ (15 กุมภาพันธ์) ศาลรัฐธรมนูญ จะเปิดศาล วินิจฉัยคดี การออก พระราชกำหนดโอนหนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไปให้แบงก์ชาติรับผิดชอบ ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1 และวรรค 2 หรือไม่

การพิจารณาคดีวันนี้ เป็นนัดแรก เป็นการให้คู่ความทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ยื่นคำร้อง ซึ่งมี 2 ราย ได้แก่ นายคำนูณ สิทธิสมาน และสมาชิกวุฒิสภาอีก 68 คน กับ สส. พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงต่อศาลว่า พรก.ฉบับนี้ ขัดกับ รัฐธรรมนูญอย่างไร และฝ่ายรัฐบาล โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ชี้แจงว่า พรก.ฉบับนี้ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญอย่างไร

มาตรา 184 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า การตราพระราชกำหนดนั้นต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

มาตรา 184 วรรค 2 บัญบัญัติว่า การตราพระราชกำหนดนั้นจะกระทำได้เฉพาะในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

พรก.ฉบับนี้ ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “ พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 “ หรือ มีชื่อที่เรียกตามเจตนาของรัฐบาลว่า กฎหมายซุกหนี้ หรือโอนหนี้ กองทุนฯฟื้นฟู เป็น 1 ใน 4 พ.ร.ก. ที่รัฐบาลอ้างว่า จะเป็นต้องออกโดยเร่งด่วน เพื่อ กู้เงินมาฟิ้นฟูเศรษฐกิจ ที่เสียหายจากอุทกภัย เมื่อปีที่แล้ว และเพื่อลงทุนระบบป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเกิดขึ้นอีก

ส่วนวัตถุประสงค์ของ พรก. โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู คือ ลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาล ในสว่นที่ต้องชำระดอกเบี้ย หนี้เงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่เกิดจากการให้ความช่วยเหลือ สถาบันการเงิน เมื่อครั้งเกิดวิกฤติการณ์การเงิน ปี 2540 การโอนภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยนปีละ 6 ม หมื่นล้านบาท ไปอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย จะทำให้ภาระหนี้สาธารณะลดลงจากสัดสว่น 12 % ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทำให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้คล่องตัวขึ้น ไม่ต้องอึดอัดกับเพดานหนี้สาธารณะที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 15 % ของงบประมาณฯ

พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒสภา 68 คน เห็นว่า การออกพรก. ฉบับนี้ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะรัฐบาลมีเงินที่จะลงทุนเพื่อการฟื้นฟูประเทศ และสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว ทั้งที่เป็นเงินในงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณที่จะเป็นเงินกู้จาก การออกพระราชกำหนดอีก 3 ฉบับในคราวเดียวกัน

นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญที่ รัฐบาลอ้างว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วน คือ ตัวเลชภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณ ที่สูงถึง ร้อยละ 12 จากเพดานร้อยละ 15 นั้น มีข้อสงสัยว่า เป็นตัวเลขจริงหรือเท็จกันแน่ เพราะ นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยเขียนในเฟซบุ๊คว่า ภาระหนี้ต่องบประมาณ คือ ร้อยละ 9 ไม่ใช่ร้อยละ 12 ตามที่รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลหลักในการออก พรก. ฉบับนี้ และอีก 3 ฉบับ แสดงว่า รัฐบาลยังสามารถก่อหนี้ได้เพิ่มอีก ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องออกพระราชกำหนดฉบับนี้เลย

ที่นับว่าเป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่เป็นเรื่องที่ดีคือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้สื่อเข้ารับฟังได้ และถ้าจะมีสถานีโทรทัศน์ช่องไหน ถ่ายทอดสด การชี้แจงของทั้งสองฝ่าย ก็สามารถทำได้

ก่อนหน้านี้ มีแต่การถ่ายทอดสด การอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดี ที่ดินรัชดา คดียึดทรัพย์ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คดีกล้ายางฯลฯ และการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีสำคัญๆ เช่น คดียุบพรรคไทยรักไทย คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น

แต่ไม่เคยมีการถ่ายทอดสด การพิจารณาคดีเลย การท่าศาลรัฐธรรมนูญยอมให้มีการถ่ายทอดสด ครั้งนี้ จึงถือว่า เป็นการเปิดกว้าง แสดงความโปร่งใสในการพิจารณาคดี หลงัจากที่มีข่าวอื้อฉาวมาโดยตลอด ทั้งข่าวปล่อยจากคนมใกล้ตัว ประธานศาลรัฐธรรมนูฯคนก่อน และข่าวที่มีพยาน ยินยัน ในช่วงก่อนหนี้น้ ที่ทำใฟ้ประชนเข้าใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่โปร่งใส ตุลาการบางคนวิ่งเต้นได้ ซื้อได้

การอนุญาตให้มีการถ่ายทอดสดการชี้แจงของ คู่ความทั้งสองฝ่าย ถือว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูล เหตุผลของทั้งสองฝ่าย โดยการรับฟังไปพร้อมๆกับศาลด้วย การให้การในศาลนั้น ไม่ใช่การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นเวที การแสดงคารมโวหารทีไร้สาระ การเอาชนะกันด้วยเสียงข้างมาก และเต็มไปด้วยคำโกหก แต่การให้การในศาล คู่ความทั้งสองฝ่ายต้องนำเสนอข้อเท็จจริง และเหตุผลให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อประโยชน์ทางคดีของตน จะเน้นแต่การใช้วาจาเชือดเฉือน หรือ พูดจาแบบน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรงไมได้ เพราะคงจะแพ้คดีไปแน่ๆ และศาลคงไม่ยอม ให้เอาพฤติกรรมที่เคยใช้ในสภาฯ ไปใช้ในศาล

ผู้ที่ได้ชมการถ่ายทอดสดการให้การในศาล ยังจะได้รับฟังข้อมูล เหตุผล ของทั้งสองฝ่าย โดยตรง ได้คิดตามไปด้วย โดย ไม่ต้องผ่านการกลั่นกรอง คัดเลือกจากสื่ออีกชั้นหนึ่ง ซึ่งย่อมเอนเอียงไปตามสติปัญญา และการเลือกข้างของสื่อ

ถ้าจะให้ดี ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะให้มีการถ่ายทอดสด การให้การของพยานทุกนัดด้วย เพราะการพิจารณาคดี คงไม่ได้จบแค่วันนี้วันเดียว อาจจะต้องมีการเรียกพยานของทั้งสองฝ่าย และพยานที่ศาลเรียกมาให้การเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการเรียกนายธีระชัย มาเป็นพยานฝ่ายผู้ร้อง

ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่สามารถชี้แจงกับประชาชนและนักลงทุนต่างชาติได้ว่า มีแผนการ มาตรการ ที่จะป้องกันน้ำท่วมอย่างไร มีแต่พูดแบบเหมารวมว่า ต้องใช้เงินมากถึง สามแสนห้าหมื่น ล้านบาท แต่ไม่สามารถแจกแจงได้ว่า เอาไปทำอะไรบ้าง หากตุลการศาลรัฐธรรมนุญจะซัก รัฐบาลคงมีโอกาสดีที่จะได้ชี้แจงต่อศาล ลบล้างข้อสงสัยของประชาชนว่า น้ำท่วมปีนี้ จะเอาอยู่หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีวันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ เพียงแต่อนุญาตให้ถ่ายทอดสดเท่านั้น แต่ผู้ชมทางบ้านจะได้ชมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า จะมีสถานีโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุใดไปถ่ายทอดสดไหม ฟรีทีวี และวิทยุส่วนใหญ่ไม่ถ่ายทอดสดแน่นอน เพราะเสียเวลาที่เป็นเงินเป็นทอง มหาศาล หวังว่า เจตนาที่ดีของศาลรัฐธรรมนูญนี้ จะได้รับการสนองตอบ จากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ด้วยเงินภาษีประชาชน คือ ไทยพีบีเอส และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบางช่อง

- ชมการถ่ายทอดสดทาง ASTV
กำลังโหลดความคิดเห็น