ASTVผู้จัดการรายวัน -FATF ขึ้นแบล็กลิสต์ไทย ไม่ปฏิบัติตามหลักสากลสกัดฟอกเงิน-ให้ทุนหนุนก่อการร้าย“เลขาฯปปง.” ชี้ผลกระทบหลังไม่ยอมทำตามคำแนะนำ ส่งผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ “อ๊อด” ปัดประเทศไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน “โต้ง”เต้น!รอหนังสือทางการ ภาคเอกชนยอมรับส่งผลกระทบให้การทำธุรกิจของเอกชนยากลำบากมากขึ้น บอกเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้รับผิดชอบเรื่องนี้
ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (17 ก.พ.55)พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน-ต่อต้านการก่อการร้าย หรือ FATF ขึ้นบัญชีดำประเทศไทยอยู่ในประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการฟอกเงิน ว่า ยังไม่มีรายงานว่าไทยถูกขึ้นบัญชีดำ แต่ยืนยันว่าไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน แต่อาจเป็นทางผ่าน เพราะมีความเสรีในการผ่านเข้าออก ต้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น
“ใครพูด ยังไม่มีคำเตือนแบบทางการออกมา ไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน เพราะตนทราบว่าประเทศใดเป็นแหล่งฟอกเงิน ไม่ใช่ไทยแน่ แต่ไทยเป็นทางผ่านเพราะผ่านง่ายและมีเสรี แม้มือหนึ่งเราเชิญนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ แต่อีกมือหนึ่งไทยก็ตรวจสอบแบบเข้มงวด และขอยืนยันไม่มีการขึ้นบัญชีดำในสองเรื่องนี้แน่”พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Group on Money Laundering - APG) และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund - IMF) ว่า ระหว่างวันที่ 13-20 กพ.นี้ ตนจะเดินทางร่วมประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยจะถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศเฝ้าระวังจากการฟอกเงิน
โดยผลดังกล่าวสืบเนื่องจากการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G-20) ณ กรุงวอชิงตัน กรุงลอนดอน และนครพิตส์เบิร์ก เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งที่ประชุมได้ออก ข้อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เพิ่มมาตรการบรรษัทภิบาลของภาคการเงิน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT) โดยได้มีการมอบหมายให้คณะทำงานเฉพาะกิจฯ และ International Cooperation Review Group - ICRG ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการก่อการร้าย
ผลการประเมินในปี 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องตามผลการประเมิน ต่อมาในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ประธาน FATF ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสรุปว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) บางประการ และขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง 3 เรื่อง คือ เรื่องแก้ไขกฎหมายกำหนดให้การสนับสนุนทางเงินแก่การการก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน
เรื่องดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย และเรื่องการปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ให้มีประสิทธิภาพ
"เราได้ดำเนินการร่างยกร่างพ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาตลอด แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้การผลักดันกฎหมายดังกล่าวทำได้เพียงการยกร่างเท่านั้น "
พ.ต.อ.สีหนาท ยังกล่าวถึงผลกระทบหากประเทศไทยจะถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินว่า จะส่งผลกระทบหลายด้าน โดยเฉพาะ ต่อสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ตนคงไปชี้แจงข้อจำกัดให้ FATF รับทราบ ซึ่งได้แต่หวังว่าเขาจะเข้าใจ เพราะหากเราถูกขึ้นบัญชีดำก็จะมีผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายมากต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุน
ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยถูกกดดันให้มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ เนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงผูกพันตามข้อ 7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ และ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะออกมาตรการและดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด
แนวทางการแก้ไข ที่จะสามารถพ้นจากการถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ การเร่งผลักดันให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเร่งด่วน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่ามีความกังวลต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง.ในการตรวจสอบ รวมทั้งอาจต้องปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
"ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรับรายงานอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ป.ป.ง.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกรณีนี้โดยตรง และเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่เดินทางไปร่วมประชุม FATF ที่ประเทศฝรั่งเศส" นายกิตติรัตน์ระบุ
เบื้องต้นทราบว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขกฏหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการฟอกเงินให้เป็นมาตรฐานสากล โดยได้รับการแจ้งเตือนให้ปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องพิจารณาดูว่ามีข้อติดขัดอย่างไร ถึงไม่สามารถดำเนินการได้ และหาทางแก้ไขข้ดติดขัดนั้นเพื่อทำให้กฏหมายมีมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ในวันนี้มีรายงานว่าคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) ขึ้นบัญชีดำไทย , ปากีสถาน , อินโดนีเซีย , กานา และแทนซาเนีย ในรายชื่อในฐานะประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน โดยพบว่า ประเทศทั้ง 5 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการปราบปรามการฟอกเงิน และการ ให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
ทั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือ FATF (Financial Action Task Force on Money Laundering) ขึ้นบัญชีดำไทย, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, กานา และแทนซาเนียในรายชื่อในฐานะประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน โดยพบว่า ประเทศทั้ง 5 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการปราบปรามการฟอกเงิน และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
นอกจากทั้ง 5 ประเทศข้างต้นที่ถูกขึ้นบัญชีดำใหม่แล้วยังมีอีก 12 ที่อยู่ในบัญชีดำเดิมและไม่ได้การปลดแต่อย่างใด แม้จะเคยแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม มาตรฐานดังกล่าว ประกอบด้วย โบลิเวีย, คิวบา, เอธิโอเปีย, อิหร่าน, เคนยา, พม่า, ไนจีเรีย, เกาหลีเหนือ, เซา โตเม แอนด์ ปรินซิเป, ศรีลังกา, ซีเรีย และตุรกี
ขณะเดียวกันมี 22 ประเทศที่มีชื่อติดอยู่ในบัญชีเทา (grey-list) ประกอบด้วย แอลจีเรีย, แองโกลา, แอนติกวา แอนด์ บาร์บูดา, อาร์เจนตินา, บังกลาเทศ, บรูไน, กัมพูชา, เอกวาดอร์, เคอร์กิซสถาน, มองโกเลีย, โมร็อกโก, นามิเบีย, นิการากัว, ฟิลิปปินส์, ซูดาน, ทาจิคิสถาน, ตรินิแดด แอนด์ โตเบโก, เติร์กเมนิสถาน, เวเนซุเอลา, เวียดนาม, เยเมน และซิมบับเว
***เอกชนไทยเชื่อทำธุรกิจยากลำบาก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนให้มีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะการทำธุรกิจของภาคเอกชนจะมีธุรกรรมการรับจ่ายเงิน แต่เมื่อเกิดกรณีดังกล่าว ก็จะทำให้มีการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ระยะเวลาการทำธุรกิจมีความล่าช้า หรือ บางแห่งอาจไม่มีการทำธุรกิจกับไทยด้วย
"เรื่องดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงของนักธุรกิจ แต่เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องหาทางแก้ ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม หากเราแก้ไขเรื่องนี้ได้ดีก็สามารถเสนอให้มีการทบทวนการขึ้นบัญชีดำดังกล่าวได้ แต่ต้องยอมรับว่า เรื่องของกฎหมายนั้น ต้องใช้เวลา โดยป.ป.ง. , รัฐบาล และ สภาฯจะต้องเข้ามาช่วยพิจารณาเรื่องนี้"
ด้านดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมต่างของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาจากนี้ ก็ต้องหวังได้รับผลตอบแทนในระดับที่สูงกลับคืนไป ในส่วนของปตท. อาจมีปัญหาเช่นกัน หาต้องการระดมทุนในต่างประเทศ แต่จะไม่มีปัญาหาหากระดมทุนผ่านบาทบอนด์
ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (17 ก.พ.55)พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน-ต่อต้านการก่อการร้าย หรือ FATF ขึ้นบัญชีดำประเทศไทยอยู่ในประเทศที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการฟอกเงิน ว่า ยังไม่มีรายงานว่าไทยถูกขึ้นบัญชีดำ แต่ยืนยันว่าไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน แต่อาจเป็นทางผ่าน เพราะมีความเสรีในการผ่านเข้าออก ต้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น
“ใครพูด ยังไม่มีคำเตือนแบบทางการออกมา ไทยไม่ใช่แหล่งฟอกเงิน เพราะตนทราบว่าประเทศใดเป็นแหล่งฟอกเงิน ไม่ใช่ไทยแน่ แต่ไทยเป็นทางผ่านเพราะผ่านง่ายและมีเสรี แม้มือหนึ่งเราเชิญนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ แต่อีกมือหนึ่งไทยก็ตรวจสอบแบบเข้มงวด และขอยืนยันไม่มีการขึ้นบัญชีดำในสองเรื่องนี้แน่”พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Group on Money Laundering - APG) และผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund - IMF) ว่า ระหว่างวันที่ 13-20 กพ.นี้ ตนจะเดินทางร่วมประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีแนวโน้มว่าไทยจะถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศเฝ้าระวังจากการฟอกเงิน
โดยผลดังกล่าวสืบเนื่องจากการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G-20) ณ กรุงวอชิงตัน กรุงลอนดอน และนครพิตส์เบิร์ก เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งที่ประชุมได้ออก ข้อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เพิ่มมาตรการบรรษัทภิบาลของภาคการเงิน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism - AML/CFT) โดยได้มีการมอบหมายให้คณะทำงานเฉพาะกิจฯ และ International Cooperation Review Group - ICRG ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการก่อการร้าย
ผลการประเมินในปี 2552 ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อบกพร่องด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องตามผลการประเมิน ต่อมาในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ประธาน FATF ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสรุปว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อบกพร่องเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) บางประการ และขอให้ประเทศไทยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่อง 3 เรื่อง คือ เรื่องแก้ไขกฎหมายกำหนดให้การสนับสนุนทางเงินแก่การการก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน
เรื่องดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้าย และเรื่องการปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ให้มีประสิทธิภาพ
"เราได้ดำเนินการร่างยกร่างพ.ร.บ.ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายมาตลอด แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้การผลักดันกฎหมายดังกล่าวทำได้เพียงการยกร่างเท่านั้น "
พ.ต.อ.สีหนาท ยังกล่าวถึงผลกระทบหากประเทศไทยจะถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินว่า จะส่งผลกระทบหลายด้าน โดยเฉพาะ ต่อสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ตนคงไปชี้แจงข้อจำกัดให้ FATF รับทราบ ซึ่งได้แต่หวังว่าเขาจะเข้าใจ เพราะหากเราถูกขึ้นบัญชีดำก็จะมีผลต่อการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายมากต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุน
ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยถูกกดดันให้มีกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ เนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงผูกพันตามข้อ 7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ที่จะต้องปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ และ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะออกมาตรการและดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด
แนวทางการแก้ไข ที่จะสามารถพ้นจากการถูกปรับลดไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ การเร่งผลักดันให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเร่งด่วน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่ามีความกังวลต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง.ในการตรวจสอบ รวมทั้งอาจต้องปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
"ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอรับรายงานอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ป.ป.ง.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกรณีนี้โดยตรง และเป็นตัวแทนของประเทศไทยที่เดินทางไปร่วมประชุม FATF ที่ประเทศฝรั่งเศส" นายกิตติรัตน์ระบุ
เบื้องต้นทราบว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขกฏหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการฟอกเงินให้เป็นมาตรฐานสากล โดยได้รับการแจ้งเตือนให้ปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องพิจารณาดูว่ามีข้อติดขัดอย่างไร ถึงไม่สามารถดำเนินการได้ และหาทางแก้ไขข้ดติดขัดนั้นเพื่อทำให้กฏหมายมีมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ในวันนี้มีรายงานว่าคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) ขึ้นบัญชีดำไทย , ปากีสถาน , อินโดนีเซีย , กานา และแทนซาเนีย ในรายชื่อในฐานะประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน โดยพบว่า ประเทศทั้ง 5 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการปราบปรามการฟอกเงิน และการ ให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
ทั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือ FATF (Financial Action Task Force on Money Laundering) ขึ้นบัญชีดำไทย, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, กานา และแทนซาเนียในรายชื่อในฐานะประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสกัดการฟอกเงิน โดยพบว่า ประเทศทั้ง 5 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการปราบปรามการฟอกเงิน และการให้ทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
นอกจากทั้ง 5 ประเทศข้างต้นที่ถูกขึ้นบัญชีดำใหม่แล้วยังมีอีก 12 ที่อยู่ในบัญชีดำเดิมและไม่ได้การปลดแต่อย่างใด แม้จะเคยแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม มาตรฐานดังกล่าว ประกอบด้วย โบลิเวีย, คิวบา, เอธิโอเปีย, อิหร่าน, เคนยา, พม่า, ไนจีเรีย, เกาหลีเหนือ, เซา โตเม แอนด์ ปรินซิเป, ศรีลังกา, ซีเรีย และตุรกี
ขณะเดียวกันมี 22 ประเทศที่มีชื่อติดอยู่ในบัญชีเทา (grey-list) ประกอบด้วย แอลจีเรีย, แองโกลา, แอนติกวา แอนด์ บาร์บูดา, อาร์เจนตินา, บังกลาเทศ, บรูไน, กัมพูชา, เอกวาดอร์, เคอร์กิซสถาน, มองโกเลีย, โมร็อกโก, นามิเบีย, นิการากัว, ฟิลิปปินส์, ซูดาน, ทาจิคิสถาน, ตรินิแดด แอนด์ โตเบโก, เติร์กเมนิสถาน, เวเนซุเอลา, เวียดนาม, เยเมน และซิมบับเว
***เอกชนไทยเชื่อทำธุรกิจยากลำบาก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนให้มีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะการทำธุรกิจของภาคเอกชนจะมีธุรกรรมการรับจ่ายเงิน แต่เมื่อเกิดกรณีดังกล่าว ก็จะทำให้มีการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ระยะเวลาการทำธุรกิจมีความล่าช้า หรือ บางแห่งอาจไม่มีการทำธุรกิจกับไทยด้วย
"เรื่องดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงของนักธุรกิจ แต่เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องหาทางแก้ ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม หากเราแก้ไขเรื่องนี้ได้ดีก็สามารถเสนอให้มีการทบทวนการขึ้นบัญชีดำดังกล่าวได้ แต่ต้องยอมรับว่า เรื่องของกฎหมายนั้น ต้องใช้เวลา โดยป.ป.ง. , รัฐบาล และ สภาฯจะต้องเข้ามาช่วยพิจารณาเรื่องนี้"
ด้านดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมต่างของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาจากนี้ ก็ต้องหวังได้รับผลตอบแทนในระดับที่สูงกลับคืนไป ในส่วนของปตท. อาจมีปัญหาเช่นกัน หาต้องการระดมทุนในต่างประเทศ แต่จะไม่มีปัญาหาหากระดมทุนผ่านบาทบอนด์