ASTVผู้จัดการรายวัน -สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เสนอรัฐบาลเร่งผลักดันกฎหมาป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ หลังประเทศไทยเข้าข่ายถูกประกาศให้เป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมการเงิน วงการตลาดทุนชี้ระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยถึง กรณีที่ประเทศไทยอาจจะถูกคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ประกาศปรับลดระดับให้ไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวัง ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ว่า เกิดจากความล่าช้าในการผลักดันกฎหมายรองรับการต่อต้านการฟอกเงิน คือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ทั้งนี้ สภาธุรกิจตลาดทุนไทยจะเป็นตัวแทนภาคธุรกิจตลาดทุนผลักดันรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพื่อให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ออกมาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยถูกลดระดับจริง คงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดทุนไทยมากนักในระยะสั้น แต่ถ้าไม่เร่งแก้ไขและผลักดันให้เกิดกฎหมายดังกล่าวโดยเร็วก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่างชาติและระบบเศรษฐกิจไทยได้เช่นกัน
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากประเทศไทยถูกประกาศเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินจริง เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมในตลาดทุนในวงจำกัด เนื่องจากปัจจุบันการทำธุรกรรมในตลาดทุนมีขั้นตอนการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ทั้งมาตรฐานด้านการตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการทำธุรกรรม รวมทั้งมาตรฐานการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ผลการประเมินเกี่ยวกับมาตรการการปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของของ FATF ในปี 2550 ระบุว่าภาคธุรกิจหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานของ FATF ได้มากที่สุด แสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะติดตามความคืบหน้าดังกล่าว และประสานงานกับสมาคมในตลาดทุนอย่างใกล้ชิดต่อไป
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต. ติดตามผลการประเมินจาก FATF ที่จะประกาศเร็ว ๆ นี้ แต่เชื่อว่าในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์ทำดีแล้ว โดยได้รับการประเมินให้อยู่ในระดับดี เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานของ FATE ดังนั้นเรื่องนี้คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนมากนัก แต่หากเกิดผลกระทบจากภายนอก ก.ล.ต. พร้อมจะช่วยเหลือภาคเอกชน
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า สมาคมฯ มีความกังวลว่าหากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อประทศที่มีข้อบกพร่องทางยุทธศาสตร์ซึ่งมีความเสี่ยงในการทำธุรกรรม ก็อาจส่งผลกระทบต่อประเทศโดยรวม ไม่ว่าทั้งที่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพต่างๆ ที่มีธุรกรรมกับประเทศสมาชิกของ FATF ดังนั้นรัฐบาลควรจะให้ความสนใจและเร่งผลักดันร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการบรรษัทภิบาลของภาคการเงิน ซึ่งกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G-20) ให้ความสำคัญและได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นประเทศไทยควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน การดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายและปรับปรุงการกำกับดูแลเกี่ยวกับ AML/CFT ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากรัฐบาลสามารถปรับปรุงข้อบกพร่องตามการประเมินของ FATF และ ICRG (International Cooperation Review Group) ได้ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาระและความยากลำบากของการทำธุรกรรมทางการเงินกับต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีกระบวนการทำ KYC/CDD (Know Your Customer/Customer Due Diligence) ที่เข้มงวดมากขึ้นและใช้เวลานานขึ้น อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม
อย่างไรก็ตาม สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จะทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการประกาศของ FATF โดยมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งร่วมกันผลักดันรัฐให้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยถึง กรณีที่ประเทศไทยอาจจะถูกคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering - FATF) ประกาศปรับลดระดับให้ไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวัง ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ว่า เกิดจากความล่าช้าในการผลักดันกฎหมายรองรับการต่อต้านการฟอกเงิน คือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ทั้งนี้ สภาธุรกิจตลาดทุนไทยจะเป็นตัวแทนภาคธุรกิจตลาดทุนผลักดันรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพื่อให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ออกมาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยถูกลดระดับจริง คงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดทุนไทยมากนักในระยะสั้น แต่ถ้าไม่เร่งแก้ไขและผลักดันให้เกิดกฎหมายดังกล่าวโดยเร็วก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่างชาติและระบบเศรษฐกิจไทยได้เช่นกัน
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากประเทศไทยถูกประกาศเป็นประเทศที่ต้องถูกเฝ้าระวังในการทำธุรกรรมทางการเงินจริง เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมในตลาดทุนในวงจำกัด เนื่องจากปัจจุบันการทำธุรกรรมในตลาดทุนมีขั้นตอนการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ทั้งมาตรฐานด้านการตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการทำธุรกรรม รวมทั้งมาตรฐานการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ผลการประเมินเกี่ยวกับมาตรการการปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของของ FATF ในปี 2550 ระบุว่าภาคธุรกิจหลักทรัพย์สามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานของ FATF ได้มากที่สุด แสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะติดตามความคืบหน้าดังกล่าว และประสานงานกับสมาคมในตลาดทุนอย่างใกล้ชิดต่อไป
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต. ติดตามผลการประเมินจาก FATF ที่จะประกาศเร็ว ๆ นี้ แต่เชื่อว่าในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์ทำดีแล้ว โดยได้รับการประเมินให้อยู่ในระดับดี เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับมาตรฐานของ FATE ดังนั้นเรื่องนี้คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนมากนัก แต่หากเกิดผลกระทบจากภายนอก ก.ล.ต. พร้อมจะช่วยเหลือภาคเอกชน
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า สมาคมฯ มีความกังวลว่าหากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อประทศที่มีข้อบกพร่องทางยุทธศาสตร์ซึ่งมีความเสี่ยงในการทำธุรกรรม ก็อาจส่งผลกระทบต่อประเทศโดยรวม ไม่ว่าทั้งที่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพต่างๆ ที่มีธุรกรรมกับประเทศสมาชิกของ FATF ดังนั้นรัฐบาลควรจะให้ความสนใจและเร่งผลักดันร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการบรรษัทภิบาลของภาคการเงิน ซึ่งกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G-20) ให้ความสำคัญและได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นประเทศไทยควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเป็นความผิดอาญาอย่างครบถ้วน การดำเนินมาตรการในการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายและปรับปรุงการกำกับดูแลเกี่ยวกับ AML/CFT ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากรัฐบาลสามารถปรับปรุงข้อบกพร่องตามการประเมินของ FATF และ ICRG (International Cooperation Review Group) ได้ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาระและความยากลำบากของการทำธุรกรรมทางการเงินกับต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีกระบวนการทำ KYC/CDD (Know Your Customer/Customer Due Diligence) ที่เข้มงวดมากขึ้นและใช้เวลานานขึ้น อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวม
อย่างไรก็ตาม สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จะทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการประกาศของ FATF โดยมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งร่วมกันผลักดันรัฐให้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ