"สนธิ" วิจารสื่อที่ไม่มีจุดยืนชัดเจนเอาประโยชน์เป็นที่ตั้ง เป็นพวก"สื่อตีกิน" ไม่เข้าใจถึงอุดมการณ์หน้าที่ที่แท้จริง ลั่นสื่อพวกนี้หากขุดประเด็นขึ้นพูดแล้วว่ากันด้วยหลักฐานก็พร้อมเจอตัวต่อตัวทุกเวที ชี้สื่อเมืองไทยส่วนใหญ่มีอคติ สังคมไม่เจริญเพราะมีสื่อนักบรรทัดเดียว เน้นหน้าตามากกว่าคุณภาพ สื่อที่ดีต้องกล้าพูดความจริงประกอบไปด้วยขุมทรัพย์แห่งปัญญาและหลักฐาน
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ช่วงที่ 2
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทาง เอเอสทีวี ทุกวันศุกร์ ช่วงเวลา 20.30-22.30 น. วันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2554 นายสนธิ ลิ้มทองกุล นางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ดำเนินรายการ
จินดารัตน์ - กลับมาอีกช่วงหนึ่งรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ค่ะ เมื่อสักครู่นี้ ก่อนที่จะไปถึงการปฏิวัติสื่อ การปฏิวัติหรือไม่ปฏิวัติสื่อ เราลืมพูดเรื่องสำคัญอีกเรื่อง
สโรชา-เรื่องอะไรคะ
จินดารัตน์ - เรื่องการปล่อยตัวคุณพนิช ของทางการกัมพูชาให้ประกันตัวไป 2 คน คุณนฤมลไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับคุณพนิชเลย เพียงแต่เธอป่วย ส่วนที่เหลืออีก 5 คนไม่รู้ชะตากรรม ถึงแม้จะยื่นอุทธรณ์ไปแล้วก็ตาม
สนธิ - ก็คือ ในการวิ่งเต้น รัฐบาลวิ่งเต้นให้คุณพนิชประกันตัวได้ คุณนฤมลติดตามออกมาในกรณีที่ป่วยเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจริงๆ รัฐบาลจะช่วยคุณพนิชคนเดียว
สโรชา- พี่วีระก็มีโรคประจำตัวนะทำไมไม่เห็นพิจารณาปล่อยตัว
สนธิ - แกก็มีโรค แกก็ไม่สบาย
จินดารัตน์ - คุณผู้หญิงอีกคนชื่ออะไรนะคะ
สโรชา- คุณราตรี
จินดารัตน์- คุณราตรี ข่าวออกมาบอกว่าเป็นเลขาคุณวีระ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ เป็นคนของกองทัพธรรม
สโรชา-ใช่ค่ะ
จินดารัตน์ - เธอมีลักษณะนิสัยใจคอ มีความเอื้ออาทร เอื้ออารีย์ มาช่วยงานเฉยๆ แต่มิได้เป็นเลขาคุณวีระ เพราะฉะนั้นเห็นแล้วว่า การยัดข้อหามันมั่วขนาดไหน
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ได้พูดถึงท่านนายกฯ เลย จะเล่าให้ฟังนิดนึงเรื่องของผู้ค้าราชประสงค์ เขาเดือดร้อนเขาก็ไปยื่นหนังสือท่านนายกฯ บอกว่า ท่านนายกฯ ช่วยหน่อยเถอะคุยกับเสื้อแดงให้หน่อย ท่านนายกฯ บอกว่า ไม่ได้หรอกครับอยากให้ไปคุยกันเอง เพราะถ้าผมช่วย เข้าไปยุ่งจะเหมือนกับเล่นการเมืองมากไปหน่อย เดี๋ยวเขาจะต่อว่าเอาได้
สโรชา- เอามาเป็นเรื่องการเมือง
จินดารัตน์ - ส.ว.คำนูณ ก็เลยเขียนบนเฟสบุ๊ค บอกว่า อย่างนี้เรื่องเขมรเรื่อง 7 คนไทยก็ต้องให้เราไปคุยกับฮุน เซน เองใช่ไหม เพราะเดี๋ยวจะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์มันจะบอบช้ำ
สโรชา- ให้ญาติพี่น้องไปคุยเอง
สนธิ - เวรกรรมประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีแบบนี้ เวรกรรมคราวที่แล้ว ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีแบบนั้น แบบนี้ เวรกรรมทั้งหมดเลยไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม หาคนที่ดีและจริงใจกับประเทศ หายากจริงๆ
จินดารัตน์ - ดีและจริงใจกับประเทศไม่มีอำนาจบริหารประเทศ
สนธิ - ใช่ มีจิตใจที่ตั้งใจจะทำงานเพื่อส่วนรวม ยึดถือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งจริงๆ นี่ไปยึดถือตำแหน่งตัวเอง ไปยึดถือว่าตัวเองจะต้องมีทางที่จะกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งหนึ่ง ไปยึดถือตำแหน่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี แล้วพร้อมจะหลับตาข้างหนึ่งให้พรรคร่วมรัฐบาลคดโกงประเทศชาติอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะจัดการในเรื่องพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนของไทย เพราะกลัวต่างชาติจะว่าเป็นคนไม่รักสันติภาพ เป็นห่วงเป็นใยกับภาพพจน์ของต่างชาติมากเหลือเกิน เป็นห่วงเป็นใยกับฮุน เซน มากเหลือเกิน แต่กับพี่น้องคนไทยไม่เคยเป็นห่วงเป็นใย แม้กระทั่งปัญหาของผู้ค้าราชประสงค์ ซึ่งก็เห็นเชียร์คุณอภิสิทธิ์ดีนักไม่ใช่หรอ สมัยก่อนเชียร์คุณอภิสิทธิ์ด่าพวกเราตลอดเวลาว่าเราก็เป็นตัวยุ่ง คราวนี้คุณเจอตัวจริงไม่ใช่หรอตอนนี้
สโรชา- แต่ภาพน่าสงสาร ผู้ค้าผู้ประกอบการไปนั่งเถียงกับจตุพร พรหมพันธุ์ พูดในสภามากี่ยุคกี่สมัย ไปขึ้นเวทีมาก็แล้วอะไรก็แล้ว จะไปเถียงทันเขาได้ไหมละ โดนเขาตอกกลับซะเยิน
จินดารัตน์ - จนทุกวันนี้ไม่มีใครอยากพูดเขาแล้ว
สโรชา-สรุปยืนยันเขาจะไปวันที่ 23 จะไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์ แต่อาจจะกลับเร็วหน่อย ไปแค่ 13.00-15.00 น.เขาจะเคลื่อนกลับมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเลิกประมาณ 24.00 น.
จินดารัตน์ - หรือว่าเราจะอย่างนี้ดีคะคุณสนธิ มีคนเสนอว่า คนไทยต้องเจ็บปวดแรงๆ สักครั้งหนึ่ง
สโรชา- นี่ยังเจ็บปวดไม่พออีกหรอ
จินดารัตน์ - บางคนไม่กระทบ เอาให้กระทบทั้งประเทศ เจ็บทั้งประเทศเลยดีไหม ไม่ต้องทำอะไรตอนนี้ เอาให้เยินกันทั้งประเทศ แล้วค่อยลุกขึ้นมาสู้เดี๋ยวจะมีกำลังใจฮึดสู้
สนธิ - ประเทศไทยโชคร้ายจริงๆ อยู่ในกำมือของนักการเมือง 500 คน แล้ว 500 คนก็ซื้อเสียงเข้ามาทั้งนั้น เข้ามาปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทย ทำเป็นประเทศไทยเป็นของมัน ทำให้กระบวนการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทุกคนต้องขึ้นอยู่กับมัน ทหารที่เคยรักชาติรักแผ่นดิน กลายเป็นทหารที่มองซ้ายมองขวาว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วจะได้เลื่อนตำแหน่งหรือเปล่า ตำรวจก็เหมือนกัน ข้าราชการก็เหมือนกัน คนบางคนใช้งบประมาณของกระทรวงๆ หนึ่งไปทำโปรโมชั่นจัดกีฬาเพื่อโปรโมทโรงแรมตัวเอง หมดเงินเป็นพันล้าน งบประมาณของกระทรวงนั้น ทั้งๆ ตัวเองไม่ใช่เป็นเจ้ากระทรวงแต่ตัวเองอยู่เบื้องหลังของการเจรจาเข้าร่วมรัฐบาล เพราะฉะนั้นแล้ว ผมยังสรุปว่า ประเทศไทยที่พินาศฉิบหายจนทุกวันนี้ เป็นฝีมือนักการเมืองซะ 90% ฝีมือทหารจริงๆ ตอนนี้ทหารปกครองประเทศประมาณ 10% แต่นักการเมือง 90% ที่ประเทศไทยตกต่ำทุกวันนี้ แล้วทุกวันนี้จริยธรรมที่เสื่อมทรามลงไป ศีลธรรม ทุกอย่างเห็นแก่เงินแก่ทองหมด ข้าราชการ ถ้ามันเอาน้ำแกงให้ถ้วยนึงเอาเศษเนื้อให้ชิ้นนึงก็พอใจแล้ว ยอมทำตาม นักการเมืองคือตัวทำลายชาติจริงๆ ยืนยันนะครับ นักการเมืองคือตัวทำลายชาติ ผมเคยพูดอย่างนี้มานานแล้วผมก็จะพูดต่อไป
จินดารัตน์ - คนกาญจนบุรีบอกว่า อยากให้ร่วมกันจุดธูปเพื่อเชิญเทพเทวดามาปกป้องรักษาประเทศชาติแล้วละคะ ดูเหมือนจะหมดหวังยังไงก็ไม่รู้
สนธิ - หมดหวังไปแล้ว คงจะต้องพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทน
สโรชา- มาดูเรื่องสื่อกันบ้างนะคะ เพราะว่ามีการให้ความคิดเห็นของนักวิชาการท่านหนึ่ง ที่ออกมาพูดถึงเรื่องของสื่อ บทความอันนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจ บทสัมภาษณ์ ในวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา ในเซ็กชั่นจุดประกาย นักวิชาการ ศ.ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา
สนธิ - ท่านเคยเป็นอดีตคณบดีคณะวารศาสตร์ธรรมศาสตร์
สโรชา- ท่านพูดได้น่าสนใจ มันมีหลายช่วงหลายตอนที่ท่านพูดในเรื่องของสื่อ มีการถกเถียงกันว่า สื่อเดิมทีตามทฤษฎีเดิมจะต้องเป็นกระจกส่องเงา กระจกส่องเงาสังคมว่า สังคมเป็นอย่างไรสื่อต้องสะท้อนออกมาอย่างนั้น แต่ในทฤษฎีใหม่ที่มีการพูดกันจริงๆ แล้วเริ่มต้นจากผู้จัดการ เรื่องของการจุดตะเกียงนำทาง นำสังคมมาในทิศทางที่ดี อาจารย์เปรียบเทียบเรื่องราวเหล่านี้ แล้วก็พูดถึง ASTV ด้วยว่า เป็นสื่อยุคใหม่
จินดารัตน์ - ท่านบอกว่า บทบาททางการเมืองของ ASTV ในช่วงระบอบทักษิณ ก็คือทีวีดาวเทียมซึ่งเป็นหัวหอกของสื่อไทยที่อยู่นอกระบบสื่อกระแสหลัก มีสถานภาพรอดรัด และต้นทุนการเผยแพร่ต่ำ เป็นจุดที่ ASTV สามารถทำอะไรแรงๆ แบบตายเป็นตายแจ๊งเป็นเจ๊ง คุ้นๆนะคะ ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าใครจะคิดอย่างไร แล้วเขาบอกว่าสื่อ ASTV ขยันคิด ขยันหาข้อมูล ขยันกาประเด็นมาต่อเนื่อง มันเลยกลายเป็นกระแสที่เอาไปให้สื่อกระแสหลักเขาก็อ้ำอึ้งว่า จะหันมาดูเรื่องนี้กับมันหน่อยไหม หรืออย่างไร อาจารย์เขาพูดอย่างนั้น แต่อาจารย์พูดถึงสื่อกระแสหลักแบบแรงเหมือนกันนะคะ
สโรชา- สื่อกระแสหลักที่ว่า อาจารย์ยกตัวอย่างที่อยู่ช่องหนึ่ง ไม่ได้เอ่ยชื่อนะคะว่าช่องไหน แต่ถ้าพูดไปแล้วคงนึกออกว่าช่องอะไร อาจารย์บอกว่า เอาเงินของภาษีประชาชนมาดำเนินการแท้ๆ แทนที่จะเล่นเรื่องที่สังคมไทยควรจะรับรู้ข้อเท็จจริงที่ควรจะมานำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเมืองก็ไม่เสนอ หลีกเลี่ยงไป ไปเอาละครเกาหลี ฝรั่ง ญี่ปุ่น สารพัดชาติมาแปล ขึ้นซับไตเติ้ลภาษาไทย แล้วก็แพ่ภาพจนเต็มช่อง และอึดอัดจนหายใจไม่ออก อาจารย์บอกว่า สื่อแบบนี้จริงๆแล้วใช้เงินภาษีของประชาชนแท้ๆแต่กลับมาทำแบบนี้
จินดารัตน์- เขาบอกว่าการทำหน้าที่ด้านข่าวสารและข้อคิดเห็นในประเด็นคุณภาพสูงที่เป็นปัญหาใหญ่ๆ ยากๆ ที่ใครคาดๆคาดหมายกลับอ่อนปวกเปียก เจ้าหน้าที่ของเขา หมายถึงของสื่อ บางคนออกมาพูดแก้เกี้ยวว่าไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งเพิ่ม แต่พอเป็นเรื่องการเมืองของต่างประเทศบางทีก็ดูแปร่งๆเพราะถึงกับเดินทางไปทำข่าวเอง หรือไม่ก็นำข่าวที่ชาวต่างชาติเป็นคนทำมาเสนอต่อในแบบฉบับที่ใส่อารมณ์ราวกับว่าเป็นประเทศของตัวเอง
อาจารย์ยังบอกว่า เมื่อสื่อไม่แน่ใจว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะ ก็ทำเป็นขอนนอนหลับทับสิทธิ์เอาไว้ก่อน ไม่ยอมเข้าข้างใคร ทำเรื่องไม่เป็นเรื่องมาทำข่าว แต่หลีกเลี่ยงประเด็นที่เป็นปัญหาจริงๆ สื่อที่จงใจใส่เสื้อสีอื่นๆ สลับไปมา ก็เล่นบทเป็นกลางแบบหลวมๆไม่มีความลึกไม่ยอมทำอะไรเข้าประเด็นจริงๆ ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่สบาย สามารถตีกินได้เรื่อยๆ ลอยตัวอยู่เหนือความขัดแย้ง
สนธิ - สื่อตีกิน ก็เหมือนสมาคมนักตีกินแห่งประเทศไทย ที่อาจารย์พูดครั้งแรก สื่อทีวีผมไม่รู้อาจารย์หมายถึงใคร แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็น TPBS เป็นสื่อที่กินภาษีอากรเต็มที่แต่ไม่ได้ทำหน้าที่สื่อเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ปัญหา TPBS คือปัญหาบุคลากรภายในซึ่งมีความขัดแย้งสูง ส่วนสื่อตีกิน จริงๆแล้ว เครือเนชั่นก็เป็นสื่อตีกิน อ้าว ผมเป็นคนตรงไปตรงมาผมก็พูดให้ชัด เครือเนชั่นไม่เคยมีจุดยืนอะไรที่ชัดเจนเลยแม้แต่นิดเดียว อาจารย์พูดถูกเลย เป็นประเภทใส่เสื้อสีอื่นสลับไปมา เล่นบทเป็นกลางแบบหลวมๆ ตีกิน วันนี้เนชั่นก็ได้สัมปทานทำข่าว ได้เวลาทำช่องโน้นช่องนี้ ก็เพราะว่าการตีกินไง การทำแบบหลวมๆ แต่จุดยืนตัวเองไม่เคยมี อย่างชนิดที่เรียกว่าขุดประเด็นขึ้นมาแล้วจับจ้อง อย่างเรื่องเขาพระวิหารนี่เห็นได้ชัด จริงๆแล้วนัยของเขาพระวิหารมันไม่ใช่นัยของการชิงพื้นที่แค่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
มันเป็นนัยที่หมายถึงการร่วมมือกัน ถ้าเขาติดตามข่าวจริงๆเขาเข้าได้ถึงลึกซึ้งจริงๆเขาจะรู้ว่ามันเป็นเรื่องของโครงสร้างที่พิกลพิการของกระทรวงการต่างประเทศ กับนักการเมืองร่วมมือกันแล้วก็ไปร่วมมือเขมรอีท่าไหนก็ไม่รู้ ทำให้เกิดกระบวนการ MOU 2543 ขึ้นมา ผมคิดว่าถ้าเป็นต่างประเทศแล้ว สำหรับต่างประเทศ MOU 2543 เขากัดไม่ปล่อยเลยนะ เพราะเขาถือว่า MOU 2543 คือตัวต้นเหตุปัญหา เขาก็ต้องไปค้นหาสาเหตุว่า MOU 2543 นั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
สโรชา- เชื่อไหมคะ ว่าไปถามนักข่าวจำนวนไม่น้อยีที่อยู่ในภาคสนาม ณ เวลานี้ให้เขาอธิบายว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างไทย กับกัมพูชา ในประเด็นของเขาพระวิหาร หรือแม้กระทั่งในประเด็น 7 คนไทย เขายังไม่รู้รายละเอียดเลยว่าจริงๆแล้วมันอยู่ตรงไหน
สนธิ - ที่เขาไม่รู้เพราะ 1.เขาไม่ศึกษา 2.การที่เขาไม่ศึกษาก็ไม่ใช่เพราะว่าเขาไม่มีปัญญาศึกษาเขามีปัญญา แต่เขาไม่พยายามที่จะศึกษา เหตุผลก็เพราะว่า ทางพวกเราเล่นข่าวนี้ คือ สื่อมวลชนวันนี้ต้องยอมรับมันมีอาการหมั่นไส้กันขึ้นมา มีอคติ โดยลืมนึกถึงอุดมการณ์ที่แท้จริงของตัวเอง
คุณพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ท่านโทรศัพท์มาหาคุณสุรวิชช์ วีรวรรณ วันนี้บอกว่า ท่านกำลังจะจัดทีมสภาหนังสือพิมพ์ไปที่เขมร เพื่อจะหาข้อเท็จจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นมา ซึ่งนั่นเป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะถ้าสภาหนังสือพิมพ์ทำเช่นนี้ นั่นแปลวว่านักหนังสือพิมพ์ไม่สามารถจะเอาข้อมูลที่แท้จริงมาได้ ของเราไม่ต้องไปไหน เพราะข้อมูลของเราเราศึกษามาแล้ว เราโต้กับรัฐบาลชุดนี้เป็นข้อๆ เรายกตัวอย่าง เราค้นหาหลักฐานต่างๆมา เราเอาพิกัดมา เอารังวัด หลักเขตมาให้ดู เรามีนักวิชาการมา และเราพร้อมจะขึ้นเวทีสาธารณะกับใครก็ได้ เราก็ขึ้นกับนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ทั้งที่เรารู้ว่าการขึ้นเวทีกับนายกฯ ครั้งนั้น มันเสียเปรียบตรงที่ว่าเขาเป็นคนคุมเกม แล้วพูดอยู่คนเดียว เขาไม่ค่อยให้เราพูด แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็สามารถบันทึกข้อเท็จจริงที่เขาพูดออกมาวันนั้นได้ แล้วมาพิสูจน์ต่อมาภายหลังว่าสิ่งที่เขาพูดวันนั้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังมันตรงกันข้ามกัน ก็คือเขาพูดโกหกนั่นเอง เข้าใจไหมครับ เพราะฉะนั้นแล้ว นั่นคือปัญหาใหญ่ของสื่อ ไสื่อไม่พยายามเรียนรู้ มีอคติ ไม่เข้าใจถึงอุดมการณ์หน้าที่ที่แท้จริงที่ตัวเองทำ ที่อาจารย์บุญรักษ์พูดน่าสนใจมาก เมื่อสื่อไม่แน่ใจว่า ใครเป็นฝ่ายชนะก็ทำเป็นขอนอนหลับทับสิทธิ์เอาไว้ก่อนไม่ยอมเข้าข้างใคร
จินดารัตน์ - บางสื่อแกล้งตายเลยคะ
สนธิ - อย่างที่บอก นั่นคือที่มาของคำว่าเป็นกลาง อาจารย์บุญรักษ์กับผมเนี้ย มองคำว่าเป็นกลางไม่เหมือนกัน แต่มองแบบเดียวกัน ก็คือว่า ผมบอกว่า สื่อสั้นจะเสนอข่าวเป็นเป็นกลางไม่ได้แล้ว สื่อจะต้องเลือก ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะว่าสื่อ ควรที่จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะว่าตัวเองเป็นสื่อ เขาให้เป็นกระจกแล้ว เขาให้ตัวเองไปทำงานนี้เพื่อมารายงานให้ประชาชนทราบ แต่ อ.บุญรักษ์ บอกว่าการเป็นกลางนั้น เป็นกลางมันทำได้ แต่มันลึกซึ้งมาก คือพูดง่ายๆ คนที่จะทำข่าวอย่างเป็นกลาง ก็คือว่า อธิบายความ ความจริงเป็นกลางในนัยของ อ.บุญรักษ์ ก็คือว่า สามารถจะอธิบายรอบด้าน แต่ถ้าอธิบายรอบแล้ว เมื่ออธิบายจบแล้วคนอ่านก็ต้องรู้ทันทีว่าใครถูก ใครผิด แต่ในขณะเดียวกัน ผมที่ไม่เห็นด้วยกับ อ.บุญรักษ์ อยู่ตรงที่ว่า คำว่าเป็นกลางนั้น ถ้าทำในสื่อที่ทันสมัย ปัญญาของคนที่มีสื่อ กับปัญญาคนในสังคมเสพสื่อนั้น ใกล้เคียงกัน อันนั้นทำได้ แต่เนื่องจากว่าปัญญาในเมืองไทยยังต่ำ แล้วสื่อในเมืองไทยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ทำตัวเป็นตะเกียง ไม่ได้ทำตัวแม้กระทั่งเป็นกระจก หรือว่าทำแค่เทียนเล่มหนึ่ง ทำตัวเป็นไม้ขีดที่จุดฟึ่บเดียว แล้วก็ดับไปเลย เพราะฉะนั้นแล้วสังคมไทยเป็นสังคมที่มืดมิด ASTV ในนัยของผมคือ เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องทำหน้าที่เป็นตะเกียง ส่องทางให้คนไทยเห็นว่าไอ้นี่มันผิดตรงนี้นะ ไอ้นี่มันโกงตรงนั้นนะ ไอ้นี่มันมีแผนอย่างนี้นะ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แท้ที่จริงแล้วก็ใส่เสื้อนอกดูหล่ออย่างเดียว แต่เนื้อแท้แล้วเป็นคนไม่มีอะไรเลย นี่คือสิ่งซึ่งสื่อ ASTV ส่องตะเกียงให้ ในบางครั้งในการส่องตอนแรกๆ นั้นจะลำบาก เพราะพอส่องไปแล้วคนจะไม่เชื่อสายตา คนจะบอกว่า เฮ้ย เป็นไปไม่ได้
สโรชา- มันมีเช่นนี้ด้วยหรือ
สนธิ - มันมีเช่นนี้ด้วยหรือ แต่พอผ่านไปสักพักหนึ่ง เหตุการณ์ผ่านไป หรือบางครั้งต้องเจอความเจ็บปวด ประเทศต้องเจอความเจ็บปวด ประเทศต้องสูญเสียดินแดน ประเทศต้องเจอคนอย่างทักษิณ ประเทศต้องเจออย่างคุณสมัคร แล้วในที่สุดประเทศต้องเจอคนอย่างอภิสิทธิ์ แล้วเมื่อเหตุการณ์ผ่านไป แล้วเมื่อคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นแล้ว ตอค่อยๆ เริ่มผุดมาทีละอันๆๆ คนถึงบอกว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้เอง แต่ความพินาศฉิบหายมันมาเรียบร้อยแล้ว นี่คือความเสียใจที่เกิดขึ้น ผมนี่พูดตลอดเวลาว่าเวลาผมทำนายอะไรก็ตาม ผมทำข่าวอะไรก็ตาม ผมภาวนาให้ผมผิด เพราะว่าความเสียหายจะได้ไม่เกิดขึ้น ผมยอมโดนด่าคนเดียว่า สนธิ มึงทำข่าวผิด แต่ว่าความเสียหายไม่เกิดผมดีใจ แต่พอทำไปแล้ว นอกจากสนธิไม่ผิดแล้ว ASTV ผู้จัดการไม่ผิด พวกเราไม่ผิดแล้ว ความเสียหายมันพินาศฉิบหายมากกว่าที่เราคิดอีก แล้วก็เลยทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนว่า เฮ้ย ถ้าสื่อมันทำหน้าที่ของมันจริงๆ อย่างกล้าหาญ ตรงไปตรงมา ไอ้เรื่องพวกนี้จะไม่เกิดขึ้น ใช่/ไม่ใช่
สโรชา- มันจะทัน
สนธิ - มันจะทัน
สโรชา- มันจะป้องกันทัน
จินดารัตน์ - อาจารย์พูดถึงสื่อ ASTV ด้วยนะคะคุณสนธิ อาจารย์บอกว่า
สนธิ - เดี๋ยวก่อน โชคดีนะที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจสัมภาษณ์ ไม่ใช่พวกเราสัมภาษณ์
สโรชา- อันนี้ถูก
จินดารัตน์ - อ.บุญรักษ์ บอกว่า ในบางสถานการณ์สื่อไทยจำนวนมากจะเล่นการเมืองด้วยการไม่ยอมเลือกข้าง ทั้งๆ ที่ในบางกรณีมีหลักฐานเหตุผล และถึงเวลาที่สมควรเลือกข้างได้แล้ว แต่ก็ยังจงใจที่จะทำสื่อแบบลังเลและรีรอ กล้าๆ กลัวๆ กังวลว่าตนเองจะเลือกข้างผิด และจะโดนผลกระทบเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงๆ อย่างนี้ก็ไม่ใช่ความเป็นกลาง ซึ่งอันนี้อาจารย์พูดถูกนะคะ แล้วอาจารย์พูดถึงสื่อ ASTV อาจารย์บอกว่า เมื่อสื่อส่วนมากทำอะไรแบบขอไปที เฝือๆ สื่อที่ขยันคิด ขยันพูดอย่าง ASTV ก็เลยกลายเป็นตักศิลาในการเมืองไทยไปเลย ถ้าสามารถเปิดประเด็นใหม่ๆ ที่น่าติดตามได้เรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อยสักหน่อยก็ตาม จุดที่น่าสนใจมากก็คือ หลายๆ ประเด็นที่ ASTV เปิดออกมา ก็เป็นความจริงที่สำคัญมาก อย่างเช่นเรื่องหายนะ ภัยของการคอร์รัปชั่น การเมืองเก่า การเมืองใหม่ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครรับลูก สื่ออื่นๆ ก็เฉยกันเกือบหมด ราวกับว่าเป็นผู้สมยอมกับเรื่องเลอะแบบนั้น ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่าเราจะอธิบายปรากฏการณ์เช่นนี้อย่างไรเหมือนกัน
สโรชา- อาจารย์พูดถึงจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพข่าว บอกว่าจุดเด่นก็คือการนำเสนอความจริงที่ครบถ้วน เท่าที่มนุษย์พึงจะทำได้ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยปราศจากความปรารถนาในผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ การเป็นคนข่าวที่ดีจริงไม่ใช่งานง่าย ต้องทำงานหนัก เก่ง ดี และมองสถานการณ์ไกลด้วยจิตสำนึกสาธารณะ
จินดารัตน์ - ที่น่ากลัว อาจารย์ตบท้ายไว้ค่ะคุณสนธิ ต้องให้คุณสนธิอธิบายเรื่องนักบรรทัดเดียว อาจารย์บอกว่า หากมองปัจจุบัน สื่อสิ่งพิมพ์หดหายไปเรื่อยๆ แล้วก็จะเจอกับนักบรรทัดเดียว ในจอโทรทัศน์ ที่ทรงอิทธิพลในโทรทัศน์และวงการบันเทิงอเมริกันมากขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเห็นว่ารู้อะไรแบบครึ่งๆ กลางๆ เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มนุษย์สู้อุตส่าห์สร้างและสะสมเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่คนไทยไม่ชอบเขียนและอ่านหนังสือกันเป็นพิเศษ ถึงตอนนั้นนักบรรทัดเดียวจะออกมายึดพื้นที่ในจิตสำนึกสาธารณะของเราไปจนหมด
สนธิ - นักบรรทัดเดียวในเมืองไทยก็คือพวกเล่าข่าวตอนเช้า
จินดารัตน์ - เอาแต่เฮดไลน์เหรอคะ
สนธิ - เอาแต่เฮดไลน์ บรรทัดเดียว ปรมาจารย์นักบรรทัดเดียว ชื่อสรยุทธ์ สุทัศนจินดา แล้วก็หลายๆ ช่องก็เป็นอย่างนั้น นักข่าวแบบนักบรรทัดเดียวนี่น่ากลัว อ.บุญรักษ์ พูดถูก คือรู้ครึ่งๆ กลางๆ
จินดารัตน์ - รู้อะไรไม่จริง
สนธิ - รู้อะไรไม่จริง แต่ความที่เป็นนักบรรทัดเดียวนั้น ทำไมถึงเป็นนักบรรทัดเดียว ที่เป็นนักบรรทัดเดียวก็เพราะว่า โดยพื้นฐาน กรอบของสื่อ คือโทรทัศน์ กรอบของเวลา ที่ตายตัว ไม่ใช่สื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งสามารถเขียนได้ หรือสื่อออนไลน์เขียนได้เต็มที่ มาเขียนได้แล้วมาปรับปรุงได้ มีเวลา มันมีแค่ 8 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า สมมุติ มันมีเวลาพูดเพียงแค่นี้ พูดมากกว่านี้ก็ไม่ได้ มันก็เลยต้องพูดบรรทัดเดียว แล้วเอาบรรทัดเดียวที่ตัวเองคิดเป็นยังไง ออกมา โดยที่อยู่ในบริบทที่อาจารย์พูดว่ารู้ครึ่งๆ กลางๆ ตรงนี้น่ากลัว ตรงนี้จะเป็นการสื่อความหมายที่ผิด จะทำให้คนรับฟัง หรือเสพอันนี้ไป เข้าใจผิด แล้วจะทำให้การเชื่อมต่อจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจากผู้ให้กลับไปที่ผู้รับผิดอีกเช่นกัน เมื่อผู้รับผิดแล้วเผอิญผู้รับไมได้มีผู้รับคนเดียว คนดูโทรทัศน์ดูกันเป็นแสนเป็นล้านคน คนล้านคนเข้าใจเรื่องผิดนี่น่ากลัวนะ เพราะฉะนั้นแล้วสังคมถึงจะไม่มีวันเจริญก้าวหน้าได้ ถ้าเรามีสื่อแบบนักบรรทัดเดียวเยอะ คำถามมีอยู่ว่า เสรีภาพของสื่อที่แท้จริงนั้นควรจะเป็นเช่นไร เสรีภาพของสื่อที่แท้จริงนั้นคือว่า สื่อต้องกล้าพูดความจริง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อสื่อกล้าพูดความจริงแล้ว ความจริงที่สื่อพูดนั้น ต้องประกอบไปด้วยขุมทรัพย์แห่งปัญญา และหลักฐาน อย่างน้อยที่สุดต้องมีตรรกะที่ถูกต้อง
เหมือนอย่างเราพยายามอธิบายเรื่องของเขมร เรื่องของการที่คนไทย 7 คน เราพยายามที่จะโต้แย้ง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ที่ท่านบอกว่า ตรงนี้ไม่มีหลักฐานว่าประชาชนได้เคยทำกินอยู่ เราก็เอาประชาชนซึ่งมีหลักฐาน มีเอกสารสิทธิ ว่าเขาอยู่ตรงนี้เอาประชาชนมาออกทีวีให้เห็น ว่าเนี้ยพ่อแม่เขา เคยทำนาอยู่ตรงนี้ แล้วโดนแย่งที่ไป เพราะฉะนั้นแล้ว โดยลักษณะแบบนี้สื่อที่จะไปในลักษณะแบบนี้ได้ ต้องศึกษาค้นคว้า แต่สื่อมันขี้เกียจ คุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ไม่มีเวลาจะทำอะไร นอกจากจะให้โปรดิวเซอร์เตรียมหัวข้อมา แล้วตัวเองก็ใช้วาทะ ใช้คารม ใช้การแสดง ลีลาออกไป ผสมผสานกัน เพราะฉะนั้นลักษณะการเล่าข่าวเช่นนี้นั้นไม่ใช่เป็นการเล่าข่าวที่แท้จริง แท้ที่จริงแล้วเป็นการแสดงการเล่าข่าว เป็นบริบทหนึ่งของการบันเทิงมากกว่าเป็นบริบทที่แท้จริงของการเป็นสื่อมวลชน
จินดารัตน์ - พอพูดถึงการแสดง แอนมีเรื่องจริงนะคะ เรื่องจริงเช้านี้ด้วย เมื่อสัก 7- 8 ปีที่แล้ว คือ มีนักเล่าข่าวอย่างที่คุณสนธิ ให้รางวัลไปแล้วเรียบร้อยเนี้ยนะคะ เขาพูดกับแอนว่า เวลานั่งทำข่าวด้วยกัน คนหนึ่งต้องรู้มากกว่าอีกคนหนึ่งมันถึงจะสนุก เพราะการเล่าข่าวก็คือการแสดงอย่างหนึ่ง เขาพูดกับแอนอย่างนี้จริงๆนะคะ แอนพอได้ยินคำพูดของคุณสนธิ เลยคิดว่ามันก็จริงนะ เขารู้สึกอย่างนั้น มันเป็นการแสดงอย่างหนึ่ง
สโรชา - เขาก็วางบทคู่สนทนาเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
จินดารัตน์ - ว่าอีนี่ต้องโง่กว่า
สนธิ - ที่สำคัญคือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่อง 3 เขาจะเน้นในเรื่องวงการข่าว เขาจะเน้นผู้หญิงหน้าตาดี มีอยู่ครั้งหนึ่งเอาดารามาออก เพราะจริงๆเขาไม่ได้ขายข่าว เขาจะขายหน้าตามากกว่า เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งซึ่ง คือคุณสังเกตอย่าง สมัยก่อนที่โทรทัศน์รุ่นเก่า คนที่อ่านข่าว หรือคนที่มาพูดในเรื่องข่าว เป็นคนที่มีความรู้ อย่างน้อยที่สุดจะรู้ไปทางด้านหนึ่ง ไม่รู้อีกด้านก็ไม่เป็นไร แต่เขาก็รู้ด้านหนึ่ง แต่บุคลิกเขาไม่ได้เป็นดารา นักแสดง เขาไม่ได้หล่อ ไม่ได้สวย แต่พอมายุคนี้แล้ว สังคมมันเปลี่ยนไปแล้ว กลายเป็นว่าจะต้องมีการแสดงออกอะไรบางอย่าง ต้องเป็นคนดังในสังคม มีอยู่ครั้งหนึ่งจำได้ไหม ที่ช่อง 11 สมัยคุณจักรภพอยู่จำได้ไหม ที่เอาปนัดดา วงศ์ผู้ดี ไปออก นึกออกไหม จำได้ไหม คุณบุ๋ม เอาไปออก ก็เพราะว่าต้องการขายความเป็นปนัดดา วงศ์ผู้ดี สังเกตให้ดีๆ ในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น CNN หรือ BBC สังเกตไหม BBC จะมีนักข่าวอินเดีย พิธีกรหน้าดำปื้ดเลย แก่ๆ แต่ว่าพูดถึงความคมในความคิดของเขา เขาคม เขามีความสวยงามในความคิด สวยงามในข้อคิด แต่เขาไม่ได้ดูสวยงามในหน้าตาของเขา
จินดารัตน์- คือผู้ชมของเขาจะมองข้ามเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก
สนธิ - เขาจะดูว่าคนๆนี้คิดอย่างไร พูดอย่างไร ดังนั้นคุณจะดูว่า ดาราของโทรทัศน์ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นดาราที่มีชื่อ เก่งๆ อย่างเช่นไคน์ แซกการี่ หรือเปล่า แซกการี่นี่เป็นคนตะวันออกกลาง แต่เกิดในอเมริกา เขาเป็นคนที่วิเคราะห์อะไรเก่งมาก อีกคนมี ดร.กุปต้า เป็นหมออินเดียนะ แต่ว่ารักษาคนในอเมริกา แล้วก็มาเป็นผู้สื่อข่าว เป็นบรรณาธิการทางด้านสุขภาพ สาธารณสุข
สโรชา - หรือแลร์รี่ คิง เพิ่งวางไมค์ไปเนี้ย
สนธิ - เพิ่งวางไมค์ไป แก่จนเหนียงยาน ตัวเองหน้าตาดูอะไรไม่ได้เลย แต่ลักษณะการถามเขา การฟังเขา หรือแม้กระทั่งอย่าง โอปราห์ วินฟรีย์ ซึ่งไม่สวย เป็นคนดำอ้วน แต่ว่าเขาเข้าใจที่จะตั้งคำถาม และเข้าใจรอจังหวะตอบ แล้วเขาเข้าใจที่จะแทรก มีเวลา เพราะฉะนั้นแล้ว น่าเสียดายต่างประเทศเขาเน้นที่ปัญญา ความคมของความคิด เขาไม่ได้เน้นที่รูปร่างหน้าตาสวย เขาไม่เคยคิดจะเอาคนอย่างนิโคล คิดแมน มาออก เขาไม่มี หรือแม้กระทั่งรายการซึ่งค่อนข้างจะเป็นรายการเสียดสี เช่น รายการจอห์น สจ๊วต ของ CNN ไอ้หมอนี่ก็เสียดสีเก่ง หน้าตาก็เหมือนเต้าหู้ยี้อย่างไงอย่างงั้น มันตรงกันข้ามเลย เพราะฉะนั้นแล้วเมืองไทยก็เลยกลายเป็น ผมยอมรับว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ฉาบฉวยมาก อะไรที่มีสาระ ความจริงจัง มีปัญญาจริงๆ มีองค์ความรู้ คนจะไม่สนใจเท่ากับว่า ฉาบฉวยไม่เป็นไรขอให้หล่อ ขอให้สวย
จินดารัตน์ - เพราะฉะนั้นคนดู ASTV ก็ก้าวข้ามผ่านตรงนั้นมาหมดแล้ว
สโรชา- เป็นอินเตอร์แล้ว
สนธิ - เป็นอินเตอร์แล้ว เพราะว่าสุภาพสตรี ASTV มันดูไม่ได้ซักคน แต่ว่า ต่อนิดนึงของ อ.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา อ.บุญรักษ์ เป็นนักสื่อสารมวลชนที่มองประเด็นอะไรหลายอย่างทะลุ ที่มองทะลุไม่ใช่เพราะว่าท่านสนับสนุนเรา ท่านเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมา เราไม่มีการติดต่ออะไรกับท่านเลย ทั้งหมดที่ท่านให้สัมภาษณ์ หรือท่านเขียนบทความในอดีตเรื่องสื่อนั้น มาจากมันสมองของท่าน มาจากปัญญาของท่านแท้ๆ ท่านเป็นนักสื่อสารมวลชน นักนิเทศศาสตร์ที่ผมยอมรับคนหนึ่งในประเทศไทย และมีคนที่ผมยอมรับน้อยมากในประเทศไทย มี อ.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา, พงษ์ศักดิ์ พยัคฆ์วิเชียร อีกคนที่ผมยอมรับในเรื่องความคิด ที่เหลือแล้วสื่อมวลชนจะมีอัตตากันมาก บางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า ASTV ขึ้นอยู่กับศาสดาว่าอย่างไรสาวกจะว่าตาม เขากระแนะกระแหนมาที่ผม แต่เขาไม่เคยคิดมาโต้เถียงประเด็นที่ผมพยายามจะพูด พยายามจะนำเสนอ เช่น ผมนำเสนอเรื่องของนักการเมืองคือตัวทำลายชาติ ผมนำเสนอว่าการคอร์รัปชั่น ผมนำเสนอว่า การเลือกตั้งประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องวันแมนวันโหวต เขาไม่เคยเถียงผมเรื่องนี้ เขาไม่เคยเปิดเวทีมาสู้กับผมในเรื่องนี้ อาจจะเป็นเพราะว่า คนพวกนี้สติปัญญามีเพียงแค่ ตกลงกันไม่ได้ก็ยุบสภาไปแล้วเลือกตั้งเข้ามาใหม่ เขามองแค่นี้ เขาเหมือนกับเรือวนในอ่าง วนไปวนมา อย่างมากที่สุดวน 4-5 รอบ เขาก็บอกว่า มันก็เหมือนเดิมนั่นแหละ แต่เขาไม่เคยมีข้อเสนอใหม่ๆ ให้สังคมไทย แต่เราก้าวข้ามความจำเจ เราก้าวข้ามลาภยศอะไรทุกอย่าง เราไปสู่เส้นทางที่เราต้องให้ปัญญากับประชาชน ที่สำคัญที่สุดคือ จากการที่เราทำเช่นนี้ก็เลยก่อให้เกิดศัตรูโดยที่เราไม่ต้องการ เรานอกจากจะต้องต่อสู้กับบรรดาคนซึ่งเป็นศัตรูของชาติบ้านเมืองแล้ว เรายังต่อสู้กับสื่อมวลชนบางคนซึ่งเข้าข้างศัตรูของบ้านเมือง เช่น หนังสือพิมพ์บางฉบับยืนข้างเสื้อแดง ยืนข้างทักษิณ โกหกว่าตี๋ ชิงชัย จำได้ไหมมือถือระเบิด ทั้งๆ ที่เขาถือคือพวงกุญแจ นี่ยกตัวอย่าง เขากล่าวหาคนๆ หนึ่งที่แขนขาด พิการว่าถือระเบิด ทั้งๆ ที่ถือกุญแจ เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายที่ปราบปรามพันธมิตรฯ ว่าก็พวกคุณถือระเบิดอยู่แขนถึงขาด พอพิสูจน์ไม่ใช่ เขาไม่ได้มีความละอายแก่ใจเลยแม้แต่นิดเดียวที่จะขอโทษตี๋ ชิงชัย เขาก็ยังหน้าด้านๆ พูดต่อไปในหลายๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นสื่อกลุ่มพวกนี้ก็คือสื่อซึ่งผมถือว่าเป็นสื่อที่น่ากลัว อย่างน้อยที่สุดเขาเป็นสื่อซึ่งเขาไม่ยึดหลักการวิชาชีพสื่อเลย แต่พวกนี้ไม่น่ากลัวเท่ากับพวกสื่อจริงๆ เพราะอย่างน้อยสื่อในกลุ่มพวกนั้นเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่า เขายืนข้างโน้น เขามีความเชื่ออย่างนั้น เรากับเขาต้องเอาความเชื่อต่อความเชื่อสู้กันและหนุนกันด้วยหลักฐาน แล้วทุกครั้งที่หนุนด้วยหลักฐานเขาจะสู้เราไม่ได้เลย นี่เป็นการต่อสู้เหมือนกับฝ่ายนั้นคือฝ่ายทักษิณ สื่อตีกินคือ สื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สื่อแนวอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือตีกิน ขอตีกินก่อน ตอนนี้ทักษิณไม่ไหวแล้วขอยืนตรงข้ามทักษิณ แต่ว่ายืนเผื่อไว้ เปิดประตูบานนึงเผื่อคุยกันได้
จินดารัตน์ - เหมือนเชียร์มวย
สนธิ - เหมือนเชียร์มวย สื่อตีกิน สื่อกลางกลวง นั้นก็สื่อในเครือเนชั่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพธุรกิจ คมชัดลึก ทุกรายการของเครือเนชั่น นั่นคือสื่อตีกิน นี่ผมกล้าฟันธง ผมเป็นผู้อาวุโสคนหนึ่งในวงการสื่อ ในปัจจุบันผมคิดว่าผมพูดได้ แล้วผมก็พูดอย่างไม่อาย ผมไม่กลัว ผมไม่เคยกลัวสื่อเลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นฉบับไหน จะเป็นทีวีช่องไหน เอามาเจอกันตัวต่อตัว หรือเอาหลักฐานมาพูดกัน หรือเอาหลักการมาพูดกัน เอาทฤษฎีมาพูดกัน ผมพร้อมจะเจอทุกเวที เพราะฉะนั้นแล้วสื่อที่น่ากลัวที่สุดคือ สื่อตีกิน และสื่อกลางกลวง
จินดารัตน์ - ในยามที่บ้านเมืองวุ่นวายแกล้งตายซะก่อน พอรู้ว่าฝ่ายไหนชนะเชียร์ฝ่ายนั้น
สนธิ - ฝ่ายไหนชนะก็ฟื้นทันทีเลย แล้วพวกนี้อยู่ได้ตลอดนะ เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีคนที่เข้าไปหาแล้วรับงานออกมาปกป้องอภิสิทธิ์เพื่อได้ผลประโยชน์ในทางอ้อม เช่น ได้สัมปทานเวลา ได้โฆษณา
จินดารัตน์ - อย่างนี้พรรคการเมืองก็มีพรรคตีกินด้วยซิคะ อย่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 193 วันอะไรอย่างนี้จะมีพรรคตีกิน
สนธิ - พรรคตีกินคือพรรคประชาธิปัตย์
สโรชา- มาหลังวิกฤต แอบมา
สนธิ - คุณอยากได้ของจริงตรงไปตรงมา ฉายาผมเขาเรียก สนธิไปยาลใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคตีกินจริงๆ นะ เป็นพรรคการเมืองที่ไม่เคยมีอุดมการณ์ เป็นพรรคตีกิน กลางกลวง แล้วหลายๆ ครั้งแกล้งตาย นอกจากแกล้งตายแล้วยังให้ประชาชนไปตายก่อนด้วย
จินดารัตน์ - ประชาชนต้องตายก่อนไม่ใช่มาก่อน
สโรชา- เปิดประเด็น เดี๋ยวเราพักกันก่อนนะคะ กลับมาคุยกันถึงเหตุบ้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจในปี 2554 สักครู่เดียวค่ะ