xs
xsm
sm
md
lg

ปัจจัยบวกหนุนดัชนีหุ้นไทยไปต่อ ส่องกลยุทธ์ลงทุนที่เหมาะกับไตรมาส2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด เปิดเผยมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะค่อยๆขยายตัวตามนโยบายทางการคลัง ที่ช่วยผลักดันความเชื่อมั่น ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนให้ฟื้นตัว ที่สาคัญการส่งออกจะค่อยๆฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวตามอุปสงค์ และความแห้งแล้งจาก El Nino และ La Nina ภาคการท่องเที่ยวจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในปีนี้ 2.8%-3.8% อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากอุปสงค์และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ที่สำคัญปัญหาความแห้งแล้งจะผลักดันให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น (-0.3)% - 0.8%

ขณะที่แนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสที่จะปรับขึ้นตามแต่การปรับขึ้นจะไม่เป็นการปรับขึ้นตามทันที จะเป็นการรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจก่อนการปรับขึ้น 1.50-1.75%โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าจากแนวโน้มในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed แต่จะมีแนวโน้มทรงตัวถึงแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค 36.00-37.50

ปัจจัยภายนอกประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบ , อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและจีน , กระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลกลับเข้าสู่ประเทศเกิดใหม่ในกลุ่มเอเชีย , มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศหลัก

ส่วนปัจจัยภายในที่ต้องติดตาม ได้แก่การปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของ ธปท.,มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง,มูลค่าหุ้นไทยเทียบกับภูมิภาค,ความคืบหน้าของการลงทุนภาครัฐและความเชื่อมั่นของภาคเอกชน

ทั้งนี้ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. 59 นั้น ครม.อนุมัติแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศช่วงสงกรานต์ โดยให้นำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวและรับประทานอาหารระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย. 59 มาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท มีการต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีสาหรับการท่องเที่ยวในประเทศไม่เกิน 15,000 บาทออกไปอีก 1 ปีจากที่สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 58

ขณะเดียวกันครม. อนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ภายใต้วงเงิน 56,691 ล้านบาทและสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ภายใต้วงเงิน 54,644 ล้านบาท โดยเป็นลักษณะรถไฟฟ้า Monorail รางเดี่ยวซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขณะที่เอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนอื่นทั้งหมดและจะเร่งรัดให้จัดท้าร่าง TOR และเปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 59 รวมถึงอนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี) ภายใต้วงเงิน 82,900 ล้านบาท

ขณะเดียวกันปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมปรับเพิ่มวงเงินการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษี โดยให้มีผลบังคับใช้ในปีภาษี 60รวมถึงโครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ โดยให้เอกชนเข้ามาสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทให้แก่ข้าราชการและผู้มีรายได้น้อย

นอกจากนี้ยังมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ใน Pipeline และรออนุมัติการลงทุนรถไฟรางคู่จานวน 4 สาย ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ , ชุมพร (ภายใต้วงเงิน 23,622 ล้านบาท) มาบตาเบา ,ถนนจิระ (ภายใต้วงเงิน 28,992 ล้านบาท) , ลพบุรี - ปากน้ำโพ (ภายใต้วงเงิน 24,092 ล้านบาท) นครปฐม , หัวหิน (ภายใต้วงเงิน 19,163 ล้านบาท)

ภาพรวมและแนวโน้มตลาดหุ้นไทย

นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่ธนาคารกลางหลักทั้ง ECB และ BOJ ดำเนินการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ติดลบประกอบกับแรงซื้อคืนของนักลงทุนหลังราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพ ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2016 นักลงทุนต่างชาติกลับมามีสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยประมาณ 23,000 ล้านบาท โดยเป็นกระแสเงินทุนที่ไหลเข้ากลุ่มประเทศเกิดใหม่ในแถบเอเชียอย่างต่อเนื่องดังนั้นตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจเมื่อเทียบกับภูมิภาค เนื่องจากอัตราการจ่ายปันผลปี 2016 และ 2017 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาครวมทั้งระดับราคาหุ้นต่อกำไร (PE) ที่ยังต่ำกว่ากลุ่ม TIP Market

ตลาดคาดการณ์ผลประกอบการปี 2559 เริ่มทรงตัวได้จากผลประกอบการไตรมาสที่ 4/58 ออกมาดีกว่าคาดหลังจากที่ผลประกอบการในไตรมาสที่ 3/58 ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดปรับลดประมาณการผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปี 2558 ลง

"แนะนำการลงทุนโดยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Consumer Finance, Construction, Transport และ Tourism เลือกกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันต่ำ เช่น Refinery, Airline และ Building Materials เลือกลงทุนในหุ้นที่มี Valuation ถูก ในกลุ่ม Bank และ Property เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน เช่น Electronics และ Tourism"

ทั้งนี้บลจ.วรรณ ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย แม้ว่าดัชนีฯ จะปรับตัวขึ้นมาบ้างแล้ว เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

- สภาพคล่องในตลาดโลกยังมีค่อนข้างมากจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมของธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่น แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐและอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปีนี้ก็ตาม

- แนวโน้มการลดการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยและไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมีมากขึ้น หลังนักลงทุนมีการย้ายเงินทุนเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยไปมากแล้วในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอเมริกาปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา Sentiment ของตลาดหุ้นทั่วโลกและสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวดีขึ้น ดัชนีความผันผวน (VIX Index) ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นจากความผันผวนของราคาน้ำมันและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างสินทรัพย์หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ฯ ของธนาคารกลางสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น ในช่วงปลายเดือน ก.พ. 59 หลังตลาดคาดการณ์เรื่องธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเพิ่มนโยบายการเงินเชิงปริมาณของธนาคารกลางในประเทศหลัก โดยเฉพาะญี่ปุ่น ยุโรปและจีน รวมทั้งแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

- ผลตอบแทนของ MSCI Emerging Market ให้ผลตอบแทนต่ำ กว่า MSCI World มานานกว่า 4 ปี ขณะที่ปัจจุบัน ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ กว่าช่วง Global Financial Crisis 2008 ทา ให้ตลาดยังมีโอกาสปรับตัวขึ้น ต่อได้

- ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งเทียบกับประเทศอื่นใน EM ส่งผลให้ความเสี่ยงเรื่องการไหลออกของเงินทุนมีน้อยกว่าการใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนหลักสาหรับเศรษฐกิจไทยการลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการลงทุนภาครัฐขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและส่งสัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ

- ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงเทศกาลจ่ายปันผล (Dividend season) หลักทรัพย์ที่มีนโยบายการจ่ายปันผลยังคงเป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราการจ่ายปันผลและผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับสูง

ทางด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด หรือ LHFUND มองภาวะเศรษฐกิจโลกและการลงทุนในไตรมาส 2 รวมถึงปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยงที่น่าสนใจว่า เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 1 ยังคงแกว่งตัวในกรอบจำกัด เนื่องจากถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะจีน ที่เผชิญกับ Negative credit cycles สืบเนื่องจากการ Overleverage อย่างมากในช่วงที่ผ่านมาในภาคอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ดีภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นแสดงให้ เห็นถึงสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยจากการที่ราคาน้ำมันดิบทยอยปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดโดยได้แรงหนุนสำคัญจากสัญญาณเชิงบวกระหว่างกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ที่เริ่มหันหน้าเข้าเจรจากันมาขึ้น
การส่งผ่านทางด้านราคาไปยังเงินเฟ้อยังมีอยู่จำกัด และทำให้ธนาคารกลางต่างๆเช่นญี่ปุ่นและยุโรปสามารถที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในไตรมาสนี้ได้

โดยในไตรมาส 2 ประเมินภาวะเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในระดับทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 หลังเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางหลักๆของโลกอย่างเช่น ECB และ BoJ น่าจะเริ่มเห็นผลชัดเจนมากขึ้น

ส่วนสหรัฐฯคาดว่าระดับการจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง และระดับเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะไต่ระดับสูงขึ้นอีกตามแรงผลักดันทางด้านอุปสงค์ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Fed สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงกลางปีนี้ขณะที่ในส่วนของจีนคาดว่าเศรษฐกิจจะทรงตัวต่อไปตามเป้าหมายที่จะปรับสมดุลเข้าสู่ New normal คาด GDP ของจีนจะอยู่ในระดับ 6-7% ต่อไป

สำหรับปัจจัยเชิงบวกและลบที่มีผลต่อตลาดทุนทั่วโลกที่น่าจับตามองในช่วงถัดไปได้แก่

1) สภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

2) ตราสารทุนยังคงมีความน่าสนใจกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆในสภาวะดอกเบี้ยต่ำ

3) ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้ม ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และน่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังจะส่งผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน

ส่วนปัจจัยเชิงลบที่สำคัญได้แก่

1) Fed มีโอกาสสร้าง Negative surprise หากมีการขึ้นดอกเบี้ยก่อนกำหนด

2) Valuation ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่เริ่มอยู่ในระดับสูง

3) ความเสี่ยง Stagflation (เงินเฟ้อสูงขึ้นจาก Supply side แต่เศรษฐกิจยังชะลอ)

ทั้งนี้ในส่วนของตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 นั้น บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาดว่า SET Index จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,250 - 1,450 จุด โดยมอง Downside risk เปิดกว้างมากกว่า Upside potential จากระดับดัชนีปัจจุบันแถว 1,400 จุด

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนเน้นจึงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท เช่น อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ขนส่ง โรงพยาบาล และกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

อย่างไรก็ตามปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลต่อตลาดทุนไทยที่นักลงทุนต้องจับตามองในไตรมาสที่ 2/59 ได้แก่

1) ปัจจัยในเรื่องประเทศไทยมีความเสี่ยงถูกลดน้ำหนักในดัชนี MSCI EM เนื่องจากในเดือนพฤษภาคม MSCI จะมีการเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มหุ้น Technology ของประเทศจีน

2) ความเสี่ยงที่ตลาดอาจเผชิญ Negative surprise หาก Fed มีการขึ้นดอกเบี้ยก่อนกำหนด

3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลกดดันต่อการส่งออกของไทยต่อไป

4) หากปัญหาภัยแล้งมีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกดดันต่อรายได้เกษตรกรและภาวการณ์บริโภคภายในประเทศได้

5) ความไม่แน่นอนของปัจจัยการเมืองในประเทศจะเริ่มมีมากขึ้นในช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในกลางปีนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น