xs
xsm
sm
md
lg

สัญญาณจากยูโรโซน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โดย ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ
Dr.win@one-asset.com

ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยและส่งผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งเวลานั้นไม่เพียงยูโรโซนเท่านั้นที่เศรษฐกิจถดถอย สหรัฐอเมริกาก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งข่าวคราวของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ที่พยายามแก้ไขภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิกยูโรโซนมีออกมาโดยตลอด ด้วยมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และปัจจุบันเริ่มเห็นตัวเลข เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มกลับมาฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอบรับกับมาตรการดังกล่าว เพราะการทำ QE คือการเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบได้ส่งผลดีให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงที่มี QE โดยเฉลี่ยประมาณ 19% การอัดฉีดเงินทำให้กลุ่มยูโรโซนฟื้นตัวหรือไม่ อย่างน้อยค่าเงินที่อ่อนค่าจะดีต่อเศรษฐกิจ แต่ในเรื่องการลงทุนเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันอยู่

ตัวเลขเศรษฐกิจกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซนมีสัญญาณที่บ่งชี้ทิศทางการเริ่มฟื้นตัวได้ดี นำโดยเศรษฐกิจประเทศเยอรมนีที่ยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่กลุ่มประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้แก่ อิตาลี สเปน โปรตุเกส และกรีซ ก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงที่ประสบวิกฤตทางการเงิน โดยจะเห็นได้จากตัวเลขยอดคำสั่งซื้อภาคการผลิตยูโรโซนปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคการบริโภคในประเทศของกลุ่มสมาชิกเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลข GDP กลุ่มยูโรโซนในไตรมาส 2 มีการเติบโต 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคาดการณ์อยู่ 1.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ในเชิงการลงทุนแล้ว การปรับตัวของเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์สนับสนุนความน่าสนใจลงทุน ขณะที่ตลาดหุ้นยูโรโซนเริ่มค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับทาง ECB ที่ยังคงนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการคงนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปในระยะยาวที่นานกว่ากำหนดการเดิมคือเดือนกันยายนของปีหน้า อีกทั้งมีท่าทีที่พร้อมจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาในระบบเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจของยูโรโซนมีปัจจัยอะไรเพิ่มเติมที่น่ากังวลหรือส่งสัญญาณให้เห็นว่าจะเป็นปัจจัยลบกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้เห็นอีกภาพหนึ่งคือเม็ดเงินในระบบจะยังคงมีในระดับสูงและเอื้อต่อสินทรัพย์เสี่ยงเช่นตลาดหุ้น

ขณะเดียวกัน หากกลับมามองเชิงพื้นฐานของตลาดหุ้นแล้ว ปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลดี ประกอบกับการคาดการณ์ของตลาดที่เกี่ยวกับอัตรากำไรต่อราคา (P/E) ของ MSCI Europe ในปี 2016 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13.58 เท่า ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ค่า P/E ของดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15.19 เท่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่นสหรัฐอเมริกา และยังมีโอกาสฟื้นตัวได้จากนี้ไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลง และหากพิจารณาด้านต้นทุนแรงงานในปัจจุบันที่ยังต่ำได้เอื้อผลดีต่อบริษัทจดทะเบียนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้ อัตราการจ่ายปันผลของดัชนี MSCI Europe มีอัตราการจ่ายปันผลเฉลี่ยประมาณ 3.6% ซึ่งสูงกว่าดัชนี MSCI World ที่มีอัตราการจ่ายปันผลเฉลี่ยประมาณ 2.6% ทำให้ผมมองว่า ทั้งราคาหุ้นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และการจ่ายปันผลที่ยังสูงกว่าดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปมีความน่าสนใจและส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปได้อีก

สำหรับผู้ลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นต่างประเทศ การกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยทาง บลจ.วรรณได้เปิดเสนอขายกองทุนวรรณ ยูโรเปี้ยน 8 ฟันด์ (Euro8) ซึ่งกระจายการลงทุนใน ETF ของตลาดหุ้นยุโรป และ ETF ของตลาดหุ้นในประเทศเยอรมนี และปรับสัดส่วนลงทุนในหุ้นรายตัวในประเทศแถบยูโรโซนที่คาดว่าจะได้รับผลดีจากการอ่อนค่าของค่าเงินยูโร โดยเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานเฉพาะตัวที่น่าสนใจลงทุน เช่น Allianz, Daimler, Unilever, Deutsche Telekom เป็นต้น


•นักลงทุนสามารถสอบถามเพิ่มเติมและขอรับร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจที่หมายเลข 0-2659-8888 ต่อ 1 ครับ

•“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน


กำลังโหลดความคิดเห็น