คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
ทีมจัดการการลงทุน
บลจ.ทิสโก้ จำกัด
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ผิดไปกว่าคาดการณ์มากนัก ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมามากในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์อาจสร้างความคาดหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดีขึ้นผ่านทางการบริโภคที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่จากข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมายังไม่เห็นสัญญาณการขยายตัวของการบริโภคที่จะดีกว่าคาดการณ์มากนัก ดังนั้นประมาณการ Global GDP growth สำหรับปี 2015 ยังคงไว้ที่ 3.5% เช่นเดิม โดยประเทศที่มีการปรับประมาณการ GDP(g) ขึ้นได้แก่ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่จะมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ที่ 1.2% และ 1.6% (calendar year) เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 1.0% และ 1.4% ตามลำดับ ขณะที่จีนด้วยดัชนีชี้นำภาคการผลิต (PMI) ที่ออกมาต่ำกว่า 50 บ่งบอกถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ GDP(g) ถูกปรับลดลงมาที่ 7.0% สำหรับปี 2015 เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 7.1%
เศรษฐกิจสหรัฐฯ - ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา ข้อมูลเศรษฐกิจออกมาค่อนข้างผสมผสานมีทั้งดีและไม่ดี กล่าวคือในภาคการจ้างงานให้ภาพที่ค่อนข้างดี unemployment rate ปรับลดลงมาอยู่ที่ 5.5% ขณะที่อัตราการจ้างงานเฉลี่ย 6 เดือนอยู่สูงถึง 293,000 ตำแหน่งต่อเดือน ในทางตรงกันข้าม retail sales และ existing home sales ที่ขยายตัวชะลอลง ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2015 อาจไม่ได้ดีดังที่คาดไว้ และด้วยภาพที่ดีของการจ้างงานทำให้ในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ครั้งล่าสุดได้ทำการถอดคำว่า “patient” ออกจากรายงานการประชุม FOMC เป็นการส่งสัญญาณว่า Fed จะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เจ้าหน้าที่ Fed ปรับลดการคาดการณ์ ค่ากลางของ Fed fund rate ในปีนี้ลงมาที่ 0.625% จาก 1.125% ทำให้เห็นว่า Fed ได้ใช้ความระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายเป็นอย่างมาก บลจ.ทิสโก้เชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีนี้ไม่มาก โดยเรายังคงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไว้ที่ 3.3% และเชื่อว่า Fed fund rate จะปรับขึ้นในเดือนกันยายนนี้ การที่ Fed เลื่อนเวลาการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 นี้ได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจยุโรป- สำหรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในช่วงที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มประมาณการ GDP(g) จากเดิม 1.0% ในปี 2015 มาที่ 1.2% ทั้งนี้เพื่อสะท้อนราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ส่งผลให้ private consumption ปรับดีขึ้น ในขณะที่ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ยังช่วยสนับสนุน export ให้ขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม นอกจากนี้ จากมาตรการ QE ที่ออกมา ด้วย size ที่สูงกว่าคาด คือ EUR60bn และมีลักษณะเป็น open-endedness จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ทั้งนี้ เพราะ statement ของ ECB เน้นย้ำว่าจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินไปจนกว่าจะเห็นอัตราเงินเฟ้อปรับขึ้นมาที่ 2% ตามที่ตั้งเป้าไว้ และความเชื่อมั่นนี้เอง หากสามารถปรับขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ นับว่าเป็น upside risk ที่ยังไม่อยู่ในประมาณการนี้ สำหรับคาดการณ์ GDP(g) ในไตรมาสที่ 1/2015 จากดัชนีภาคการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงได้บ่งชี้ว่า GDP(g) ในไตรมาสที่ 1 จะออกมาที่ +1.6% QoQ ann. นับว่าเป็นการเริ่มต้นของปีที่ดีของยุโรป
เศรษฐกิจญี่ปุ่น- หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ออกมาตรการ QQE ออกมา และเลื่อนการปรับขึ้น consumption tax ที่มีกำหนดจะปรับขึ้นในปีนี้ออกไป ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้มีแนวโน้มสดใส ปลอดจากผลกระทบจากการปรับขึ้น consumption tax ดังเช่นปีที่ผ่านมา ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าจากการทำ QQE จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออก นอกจากนี้ private consumption ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวได้สูงจากการปรับลดลงของราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ด้วยแนวโน้มดังกล่าว BoJ ได้ปรับประมาณการ GDP(g) ใน FY15 ขึ้นจาก 1.5% มาที่ 2.1% in line กับประมาณการของ บลจ.ที่ 2.2%
สำหรับคาดการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1CY15 GDP จะเติบโตได้ที่ 3% QoQ, ann จากปัจจัยสนับสนุนจาก Household income ที่มีการขยายตัวค่อนข้างดีจาก employee compensation ใน 4Q/CY14 ที่ปรับเพิ่มขึ้น 2.2% ใน nominal terms ทำให้ private spending น่าจะฟื้นขึ้นได้ต่อเนื่อง ส่วนค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงได้ช่วยสนับสนุนให้ export ขยายตัวได้ดีขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2015 รายงาน export growth มีการเติบโตทั้งใน volume และ value terms และผลพวงจาก export ที่ขยายตัวได้ดีขึ้นจะทำให้มีการขยายตัวของการลงทุน ดังนั้น สำหรับในไตรมาสที่ 2 เรายังคงมุมมองในเชิงบวกต่อการลงทุนในญี่ปุ่นเช่นเดิม
เศรษฐกิจจีน - รายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากิจกรรมทั้งภาคการผลิต การบริโภค การลงทุน มีแนวโน้มชะลอลง บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 1/2015 จะออกมาอ่อนแอเกินกว่าคาด ทำให้เกิดการปรับประมาณการคาดการณ์ GDP(g) 2015 ลงมาอยู่ที่ 7.0% เทียบกับระดับ 7.4% ในปี 2014 in line กับ target growth ที่ธนาคารกลางจีน (PBoC) กำหนดไว้ที่ 7.0%
อย่างไรก็ดี จากความเสี่ยงที่จีนจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง ทำให้ บลจ.มีมุมมองว่า PBoC จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยคาดการณ์ว่า PBOC จะทำการปรับลด policy rate ลงอีก 25bps รวมถึงปรับ RRR ลงอีก 50bps ภายในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปจะฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ sentiment การลงทุนในจีน ในไตรมาสที่ 2 ได้เป็นอย่างดี