คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา
Chief Economist
กองทุนบัวหลวง
Thailand’s Government Project (ต่อ)
การปรับปรุงโครงสร้างพลังงาน (Energy Reform)
ปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่เป็นจริง ให้ราคามีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคพลังงานในทุกภาคส่วน และลดภาระด้านการคลังจากการสนับสนุนราคาพลังงานเป็นระยะเวลานาน
ราคาของน้ำมันดีเซล LPG และ CNG จะถูกปรับให้เหมาะสมมากขึ้น โดยจะเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันดีเซล และปรับโครงสร้าง LPG และ CNG ให้เหมาะสมกับต้นทุนที่เป็นจริง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus Package) มูลค่า 3.645 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วย
เร่งการเบิกจ่ายจากงบที่ค้างใน FY 2014 ราว 1.47 แสนล้านบาท
เร่งเบิกจ่ายงบที่ Earmark ไว้แล้วใน FY 2015 ภายในเดือน ธ.ค. 1.29 แสนล้านบาท
เร่งเบิกจ่ายงบเพื่อซ่อมแซมและโครงการขนาดเล็กเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข 2.3 หมื่นล้านบาท
เร่งเบิกจ่ายงบที่ค้างท่อตั้งแต่ FY 2005-2013 ราว 2.49 หมื่นล้านบาท
โครงการสนับสนุนชาวนา 4 หมื่นล้านบาท
เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)
บูรณาการเศรษฐกิจไทยให้เข้าสู่ยุค Digital Economy ด้วยการบูรณาการ 5 มิติ ประกอบด้วย
พัฒนา Hard Infrastructure เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร ทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ
พัฒนา Soft Infrastructure เพื่อสร้างระบบการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานอย่างปลอดภัย
พัฒนา Service Infrastructure หรือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ
พัฒนาให้เกิดนักธุรกิจใหม่โดยใช้ IT เป็นเครื่องมือ
พัฒนา Digital Society หรือการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเครือข่าย และข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
โครงการช่วยเหลือชาวนา (Rice Pledging) เป็นงบรวมราว 1.27 แสนล้านบาทผ่านโครงการ
ปรับปรุงนโยบายสนับสนุนชาวนาผ่านการให้เงินค่าปุ๋ยแก่ชาวนาไร่ละ 432 บาท เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 8.9 หมื่นล้านบาท
ให้สินเชื่อสำหรับชาวนารายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท
จัดสรรงบ 1.73 หมื่นล้านบาทเพื่อเลื่อนระยะเวลาที่ข้าวจากภาคเหนือ และอีสานเข้าตลาด
ให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับสหกรณ์ทางการเกษตรในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อนำไปแปรรูปให้ได้มูลค่าเพิ่มมากขึ้น
สรุป 2015 Econ. Key Points
มุมมองต่อเศรษฐกิจ
US น่าจะโตที่ร้อยละ 3.0 ในปี 2015 จากร้อยละ 2.2 ในปี 2014
EU คงจะยังซึมต่อไป ปี 2015 อาจจะโตที่ร้อยละ 1.2
JP ทางการน่าจะพยายามคุมเศรษฐกิจให้โตได้ในกรอบร้อยละ 0.8-1.0
CH จะถูกกระทบจาก Structural Reform อสังหาริมทรัพย์คงจะฉุดเศรษฐกิจลงต่ำกว่าร้อยละ 7.5
TH กลับเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัวปานกลาง น่าจะโตที่ร้อยละ 4.1-4.8
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
อัตราเงินเฟ้อทรงตัวต่ำทั้งโลก จากระดับราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์
ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินสวนทางกัน (Central Bank Divergence)
สหรัฐฯ แยกตัวจากเศรษฐกิจโลก (US Decouple from Global Economy)
จับตาธนาคารกลาง
FED : QE3 จบแล้วในเดือน ต.ค. ให้จับตาเส้นทางขึ้นดอกเบี้ย
ECB : TLTRO+Covered Bond/ABS ให้ผลกระตุ้นต่ำกว่าคาด Public QE อาจจะเป็นกระสุนดอกสุดท้ายเพื่อดันงบดุล
BOJ : หากผลออกมาดีขึ้น ก็น่าจะไม่เห็นแรงกระตุ้นต่อหลังจากเพิ่มวงเงิน QQE ไปเมื่อเดือน ต.ค. ทั้งนี้ ต้องรอความชัดเจนหลังเลือกตั้งใหม่
PBoC อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย RRR ในที่สุด
BOT จับตาความเป็นไปได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย หากเศรษฐกิจสะดุด
ความเสี่ยงสำคัญ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป
เศรษฐกิจจีนดิ่งตัวลงอย่างแรง (China Hard-landing)
ความตึงเครียดทางการเมืองระดับภูมิภาค (Geo Political Tension)
ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดของ Global and Thailand Economic Outlook 2015 Main Thesis เป็นการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานในภาพใหญ่ๆ จากทีมเศรษฐกิจของกองทุนบัวหลวง ที่เป็นส่วนสำคัญ “ส่วนหนึ่ง” ต่อการตัดสินใจลงทุน ซึ่งทีมผู้จัดการกองทุนจะนำไปพิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนต่อไป