คอลัมน์ Wealth Manager Talk
คมศร ประกอบผล, AFPTTM
Investment Strategist
บลจ. ทิสโก้ จำกัด
ไตรมาสแรกของปีที่กำลังจะผ่านไปนั้นเต็มไปด้วยข่าวดีจากทั้งสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซามาตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ในปี 2008 ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ตัวเลขยอดขายและราคาบ้านในสหรัฐฯ และที่สำคัญสต็อกบ้านสร้างเสร็จที่ถูกธนาคารยึดมาเป็นจำนวนมากในยุคฟองสบู่แตก นั้นถูกระบายด้วยการขายทอดตลาดไปจนใกล้หมดและทำให้จำนวนสต็อกบ้านในสหรัฐปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี ในขณะที่ความต้องการบ้านเติบโตขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาคการก่อสร้างก็เริ่มกลับมาสร้างบ้านมากขึ้นเพื่อเติมสต็อกที่ร่อยหรอ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นก็มีข่าวดีจากรัฐบาลใหม่ที่เริ่มเข้าบริหารประเทศในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้วางกรอบการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) จำนวนมหาศาล ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเกือบ 20% เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงนั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันของสินค้าญี่ปุ่นในตลาดโลก และช่วยกระตุ้นการส่งออกของญี่ปุ่นที่ซบเซามาอย่างต่อเนื่องจากผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่ามาก่อนหน้านี้ และส่งผลให้ GDP ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น
ด้านจีน เศรษฐกิจก็มีการเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 4 ที่ผ่านมาหลังจากที่แนวโน้มการเติบโตชะลอลงมาโดยตลอดเนื่องจากเศรษฐกิจต้องใช้เวลาปรับตัวกับผลของนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ทางการจีนใช้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อและป้องกันการก่อตัวของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์มาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
ผมเชื่อว่าการเติบโตของ 3 เศรษฐกิจหลักที่กล่าวมา ซึ่งนับรวมเป็นราว 40% ของ GDP โลก จะทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้ว และทำให้ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับการลงทุนในหุ้น แต่มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐออกมา ก็ยังน่าจะ “เอาอยู่” และจำกัดผลกระทบให้อยู่ในวงแคบ และไม่ลุกลามไปยังเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก โดยความเสี่ยงที่คาดว่าจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของตลาดในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะมีอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่
1.การจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาในเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากพอจะจัดตั้งรัฐบาลได้ ผ่านไป 1 เดือนพรรคการเมืองต่างๆ ก็ยังล้มเหลวในการรวบรวมเสียงข้างมาก ทางออกที่เป็นไปได้คือการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เพื่อบริหารประเทศในช่วงสูญญากาศทางการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีการคาดกันว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ของอิตาลีจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในช่วงเดือนกันยายน หรืออย่างช้าไม่เดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งเราก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่าผลการเลือกตั้งครั้งหน้าของอิตาลีจะเป็นอย่างไร
2.การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาประธานาธิบดีโอบาม่า ได้ออกกฏหมายชั่วคราวเพื่อเลื่อนเวลาการเพิ่มเพดานการกู้ของรัฐบาลสหรัฐ โดยกฏหมายดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ และเราก็ต้องมาจับตาดูกันว่า การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าวจะมีความขัดแย้งมากแค่ไหน และส่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน จนนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐอีกครั้ง เหมือนในปี 2011 อีกหรือไม่
3.การเลือกตั้งในเยอรมันนี การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมันนี จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน ปีนี้ ในฐานะประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศกลุ่มยูโรโซน ผลการเลือกตั้งในเยอรมันนีจะมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งหากมีการเมืองเปลี่ยนขั้วเกิดขึ้น ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรปทั้งหมด ล่าสุดตามโพลสำรวจความนิยมของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ชี้ว่าคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลในปัจจุบันและพรรคฝ่ายค้านมีความสูสีกันมาก และทำให้เราคาดเดาผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ลำบาก
ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นทั่วโลกได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ดี ผมยังเชื่อว่าน่าจะมีทางออกในทางบวกต่อตลาดหุ้น และตลาดจะปรับฐานแค่เพียงระยะสั้นเท่านั้น แต่นักลงทุนก็ควรติดตามความเคลื่อนไหวของประเด็นเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานะการณ์ เช่น ขายหุ้นทำกำไรบางส่วนในช่วงใกล้เหตุการณ์สำคัญ เพื่อถือเงินสดไว้บางส่วน สำหรับรอซื้อหุ้นในช่วงตลาดผันผวนอีกครั้ง
คมศร ประกอบผล, AFPTTM
Investment Strategist
บลจ. ทิสโก้ จำกัด
ไตรมาสแรกของปีที่กำลังจะผ่านไปนั้นเต็มไปด้วยข่าวดีจากทั้งสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซามาตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ในปี 2008 ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ตัวเลขยอดขายและราคาบ้านในสหรัฐฯ และที่สำคัญสต็อกบ้านสร้างเสร็จที่ถูกธนาคารยึดมาเป็นจำนวนมากในยุคฟองสบู่แตก นั้นถูกระบายด้วยการขายทอดตลาดไปจนใกล้หมดและทำให้จำนวนสต็อกบ้านในสหรัฐปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี ในขณะที่ความต้องการบ้านเติบโตขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาคการก่อสร้างก็เริ่มกลับมาสร้างบ้านมากขึ้นเพื่อเติมสต็อกที่ร่อยหรอ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นก็มีข่าวดีจากรัฐบาลใหม่ที่เริ่มเข้าบริหารประเทศในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้วางกรอบการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) จำนวนมหาศาล ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเกือบ 20% เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงนั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันของสินค้าญี่ปุ่นในตลาดโลก และช่วยกระตุ้นการส่งออกของญี่ปุ่นที่ซบเซามาอย่างต่อเนื่องจากผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่ามาก่อนหน้านี้ และส่งผลให้ GDP ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น
ด้านจีน เศรษฐกิจก็มีการเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 4 ที่ผ่านมาหลังจากที่แนวโน้มการเติบโตชะลอลงมาโดยตลอดเนื่องจากเศรษฐกิจต้องใช้เวลาปรับตัวกับผลของนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ทางการจีนใช้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อและป้องกันการก่อตัวของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์มาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
ผมเชื่อว่าการเติบโตของ 3 เศรษฐกิจหลักที่กล่าวมา ซึ่งนับรวมเป็นราว 40% ของ GDP โลก จะทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตที่เร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้ว และทำให้ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับการลงทุนในหุ้น แต่มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐออกมา ก็ยังน่าจะ “เอาอยู่” และจำกัดผลกระทบให้อยู่ในวงแคบ และไม่ลุกลามไปยังเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก โดยความเสี่ยงที่คาดว่าจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของตลาดในช่วงที่เหลือของปีนี้ น่าจะมีอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่
1.การจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาในเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากพอจะจัดตั้งรัฐบาลได้ ผ่านไป 1 เดือนพรรคการเมืองต่างๆ ก็ยังล้มเหลวในการรวบรวมเสียงข้างมาก ทางออกที่เป็นไปได้คือการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เพื่อบริหารประเทศในช่วงสูญญากาศทางการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีการคาดกันว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ของอิตาลีจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในช่วงเดือนกันยายน หรืออย่างช้าไม่เดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งเราก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่าผลการเลือกตั้งครั้งหน้าของอิตาลีจะเป็นอย่างไร
2.การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาประธานาธิบดีโอบาม่า ได้ออกกฏหมายชั่วคราวเพื่อเลื่อนเวลาการเพิ่มเพดานการกู้ของรัฐบาลสหรัฐ โดยกฏหมายดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ และเราก็ต้องมาจับตาดูกันว่า การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าวจะมีความขัดแย้งมากแค่ไหน และส่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน จนนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐอีกครั้ง เหมือนในปี 2011 อีกหรือไม่
3.การเลือกตั้งในเยอรมันนี การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมันนี จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน ปีนี้ ในฐานะประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศกลุ่มยูโรโซน ผลการเลือกตั้งในเยอรมันนีจะมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งหากมีการเมืองเปลี่ยนขั้วเกิดขึ้น ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรปทั้งหมด ล่าสุดตามโพลสำรวจความนิยมของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ชี้ว่าคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลในปัจจุบันและพรรคฝ่ายค้านมีความสูสีกันมาก และทำให้เราคาดเดาผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ลำบาก
ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นทั่วโลกได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ดี ผมยังเชื่อว่าน่าจะมีทางออกในทางบวกต่อตลาดหุ้น และตลาดจะปรับฐานแค่เพียงระยะสั้นเท่านั้น แต่นักลงทุนก็ควรติดตามความเคลื่อนไหวของประเด็นเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานะการณ์ เช่น ขายหุ้นทำกำไรบางส่วนในช่วงใกล้เหตุการณ์สำคัญ เพื่อถือเงินสดไว้บางส่วน สำหรับรอซื้อหุ้นในช่วงตลาดผันผวนอีกครั้ง