สมาคมบลจ.เผยปี 54 อุตสหกรรมกองทุนรวมเติบโตเพียง 2.48% มีมูลค่าสินทรัพย์อยู่ที่ 2,082,755 ล้านบาท หลังเศรษฐกิจโลกซบเซา แบงก์ระดมเงินฝาก โปรดักส์ไม่จูงใจ ขณะที่มอนิ่งสตาร์เผย แม้เงินลงทุนโตน้อย แต่โพรดักซ์หลากหลาย และมีคู่แข่งในตลาดเพิ่ม เผยปีกระต่าย กองทุนทองคำผลตอบแทนมาแรง
นายสถาปนะ เลี้ยวประไพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC กล่าวว่า ภาพรวมอุตสหกรรมกองทุนรวมในปี 2554 นั้นไม่ค่อยมีการเติบโตเมื่อเทียบกับปี 2553 โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 2,082,755 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.48% เมื่อเทียบปี 2553 จะพบว่าเติบโต 10.12% หรือ 2,032,385 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับปี 2552 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 1,845,656 ล้านบาท และเติบโตประมาณ 20.38% โดยสาเหตุที่อุตสหกรรมกองทุนรวมเติบโตน้อยลงมากจากปัญหาเศรษฐกิจโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรโซน นอกจากนี้ปัจจัยในประเทศอย่างการเมืองและอุทกภัยก็ส่งผลกระทบด้วย
ขณะเดียวกันกองทุนตราสารหนี้โดยเฉพาะกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ได้รับความนิยมน้อยลง กองทุนดังกล่าวทยอยครบอายุและเงินจำนวนมากไหลไปยังสินทรัพย์อื่นๆที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า นอกจากนี้การะดมเงินฝากจากธนาคารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสหกรรมกองทุนรวมลดความน่าสนใจลง
ทั้งนี้กองทุนรวมที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากที่สุดคือกองทุนตราสารหนี้ กองทุนคุ้มครองเงินต้น และกองทุนทองคำ ซึ่งกองทุนทองคำมีการเติบโตและมีส่วนแบ่งทางการตลาดในปี 2554 ปรนะมาณ 90% เมื่อเทียบกับปี 2553 กองทุนดังกล่าวเติบโตเพียง 63% ส่วนการเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลนั้นมีโอกาสเติบโตต่อในปีนี้
นายสถาปนะ กล่าวต่อว่า เรามองว่ากองทุน LTF และ RMF นั้นยังมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายทางภาษี หากในอนาคตมีการตัดเรื่องนโยบายทางภาษีออกไป การเติบโตของทั้ง 2 กองทุนจะน้อยลง ซึ่งเรามองว่าทั้ง 2 กองทุน โดยเฉพาะ LTF เป็นกองทุนที่ดีและส่งเสริมการเติบโตให้กับตลาดทุนไทยได้อีกด้วย
เงินลงทุนไม่โตแต่ผลิตภัณฑ์หลากหลาย
นายพีร์ ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2554 ว่า การลงทุนที่ผ่านมามีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก ได้แก่การเกิดสีนามิในญี่ปุ่น ตามมาด้วยการถูกปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของอเมริกาจากระดับ AAA ลงมาอยู่ที่ AA+และต่อด้วยปัญหาภาวะหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรโซนโดยเฉพาะกรีซ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน นอกจากนี้การปรับราคาของราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับราคาน้ำมันที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก
ในส่วนของผลการอุตสหกรรมกองทุนรวมประเทศไทยนั้น ปีที่ผ่านมาเติบโตน้อยและค่อนข้างซบเซาเมื่อเทียบกับปี 2552-2553 โดยอุตหสกรรมกองทุนรวมเติบโตเพียงประมาณ 50,000 ล้านบาททั้งนี้เป็นผลมาจากหลายๆปัจจัยทั้งสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น และสำคัญที่สุดคือการที่สถาบันการเงินต่างๆแข่งขันกันดึงเงินฝากกลับเข้าสู่ธนาคารเพื่อต้องการรักษาฐานเงินฝากและรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นเมื่อมาตรการเงินฝากแบบใหม่ประกาศใช้ช่วงกลางปี 2555
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเติบโตไม่มากในแง่ของมูลค่าทรัพย์สินแต่ถ้ามองกันในแง่ผลิตภัณฑ์นั้นต้องถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร โดยทุกบลจ.มีการแข่งกันทางผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ กองทุนอีทีเอฟ นอกจากนี้ยังมีกองทุนคุ้มครองเงินต้น และกองทุน Secter Fund และในปี 2554 อุตสหกรรมกองทุนรวมมีบลจ.ใหม่เกิดขึ้น คือ บลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และบลจ.ทองคำแอสเซท ขณะเดียวกันยังมีอีก 2 บลจ.มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ได้แก่ บลจ.เกียรตินาคิน ที่เดิอคือ บลจ.นครหลวงไทย และบลจ.กรุงศรี ที่เปลี่ยนมาจากบลจ.อยุธยา
นายพีร์ กล่าวต่อว่า ในปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากองทุนพันธบัตรเกาหลีได้รับความนิยมน้อยลง ซึ่งในปีนี้กองทุนดังกล่าวเริ่มทยอยครบกำหนดและปิดกองทุนไปเกือบหมดโดยคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 200,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันกองทุนประเภท Trigger Fund ก็เริ่มชะลอตัวลง โดยกองทุนที่เข้ามาทดแทนในปีนี้คือกองทุนคุ้มครองเงินต้น ที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่เติบโตประมาณ 300% หรือประมาณ 300,000 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 2553 เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงต่ำ เข้าใจง่าย และมีลักษณะคล้ายเงินฝาก ในส่วน LTF และ RMF ก็ถือว่ายังเติบโตต่อเนื่องที่ระดับ 14% และ 17% ตามลำดับซึ่งยังเป็นผลมาจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนทองคำผลตอบแทนโดดเด่น
นายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศนั้นให้ผลตอบแทนและมีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ติดลบเฉลี่ยเพียง -0.19% แต่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่มทำได้ถึง 16.91% ขณะน้อยที่คือ -13.9% โดยดัชนี SET 50 นั้นติดลบ 0.25% ส่วนกลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็ก (Equity General )นั้นโดดเด่นกว่าโดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.23% โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่มนี้ทำให้ได้ถึง 17.81% ติดลบ -14.48% โดยดัชนี SET นั้น -0.72% และนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่กลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็กสามารถทำผลตอบแทนให้โดดเด่นกว่ากลุ่มที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่
ในส่วนของผลตอบแทนกองทุนที่น่าสนใจในปี 2554 คือกองทุนทองคำ โดยสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง17.86% ถึงแม้ว่าจะมีความผันผวนอย่างมากและเกิดการชะลอตัวและปรับลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผานมา ซึ่งบางกองทุนให้ผลตอบแทนสูงถึง 25% แต่บางกองทุนให้ผลตอบแทนเพียง 11% นั้นก็เป็นเพราะความต่างในเรื่องนโยบายการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนกองทุนน้ำมันที่มาแรงในไตรมาสแรก ของปีก็เกิดการปรับตัวลงในช่วงปลายปี ซึ่งความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าช่วงฤดูหนาวในยุโรปและอเมริกา
สำหรับกองทุนที่โดดเด่นคือกลุ่มตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทั้งหมดก็ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2-4% โดยกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดดเด่นมากที่สุด 4.54% ส่วนกลุ่มตลาดเงินให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.33% ขณะที่กองทุนหุ้นโดยเฉพาะกองทุนหุ้นต่างประเทศนำโดยกลุ่ม ตลาดเกิดใหม่ และกลุ่มเอเซีย แปซิฟิค ไม่รวมญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -18.07% และ -16.5% ตามลำดับ
นายสถาปนะ เลี้ยวประไพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC กล่าวว่า ภาพรวมอุตสหกรรมกองทุนรวมในปี 2554 นั้นไม่ค่อยมีการเติบโตเมื่อเทียบกับปี 2553 โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 2,082,755 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.48% เมื่อเทียบปี 2553 จะพบว่าเติบโต 10.12% หรือ 2,032,385 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับปี 2552 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ 1,845,656 ล้านบาท และเติบโตประมาณ 20.38% โดยสาเหตุที่อุตสหกรรมกองทุนรวมเติบโตน้อยลงมากจากปัญหาเศรษฐกิจโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ และปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรโซน นอกจากนี้ปัจจัยในประเทศอย่างการเมืองและอุทกภัยก็ส่งผลกระทบด้วย
ขณะเดียวกันกองทุนตราสารหนี้โดยเฉพาะกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ได้รับความนิยมน้อยลง กองทุนดังกล่าวทยอยครบอายุและเงินจำนวนมากไหลไปยังสินทรัพย์อื่นๆที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า นอกจากนี้การะดมเงินฝากจากธนาคารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสหกรรมกองทุนรวมลดความน่าสนใจลง
ทั้งนี้กองทุนรวมที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากที่สุดคือกองทุนตราสารหนี้ กองทุนคุ้มครองเงินต้น และกองทุนทองคำ ซึ่งกองทุนทองคำมีการเติบโตและมีส่วนแบ่งทางการตลาดในปี 2554 ปรนะมาณ 90% เมื่อเทียบกับปี 2553 กองทุนดังกล่าวเติบโตเพียง 63% ส่วนการเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลนั้นมีโอกาสเติบโตต่อในปีนี้
นายสถาปนะ กล่าวต่อว่า เรามองว่ากองทุน LTF และ RMF นั้นยังมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายทางภาษี หากในอนาคตมีการตัดเรื่องนโยบายทางภาษีออกไป การเติบโตของทั้ง 2 กองทุนจะน้อยลง ซึ่งเรามองว่าทั้ง 2 กองทุน โดยเฉพาะ LTF เป็นกองทุนที่ดีและส่งเสริมการเติบโตให้กับตลาดทุนไทยได้อีกด้วย
เงินลงทุนไม่โตแต่ผลิตภัณฑ์หลากหลาย
นายพีร์ ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมการลงทุนในปี 2554 ว่า การลงทุนที่ผ่านมามีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก ได้แก่การเกิดสีนามิในญี่ปุ่น ตามมาด้วยการถูกปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของอเมริกาจากระดับ AAA ลงมาอยู่ที่ AA+และต่อด้วยปัญหาภาวะหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรโซนโดยเฉพาะกรีซ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน นอกจากนี้การปรับราคาของราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับราคาน้ำมันที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก
ในส่วนของผลการอุตสหกรรมกองทุนรวมประเทศไทยนั้น ปีที่ผ่านมาเติบโตน้อยและค่อนข้างซบเซาเมื่อเทียบกับปี 2552-2553 โดยอุตหสกรรมกองทุนรวมเติบโตเพียงประมาณ 50,000 ล้านบาททั้งนี้เป็นผลมาจากหลายๆปัจจัยทั้งสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น และสำคัญที่สุดคือการที่สถาบันการเงินต่างๆแข่งขันกันดึงเงินฝากกลับเข้าสู่ธนาคารเพื่อต้องการรักษาฐานเงินฝากและรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นเมื่อมาตรการเงินฝากแบบใหม่ประกาศใช้ช่วงกลางปี 2555
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเติบโตไม่มากในแง่ของมูลค่าทรัพย์สินแต่ถ้ามองกันในแง่ผลิตภัณฑ์นั้นต้องถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร โดยทุกบลจ.มีการแข่งกันทางผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ กองทุนอีทีเอฟ นอกจากนี้ยังมีกองทุนคุ้มครองเงินต้น และกองทุน Secter Fund และในปี 2554 อุตสหกรรมกองทุนรวมมีบลจ.ใหม่เกิดขึ้น คือ บลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และบลจ.ทองคำแอสเซท ขณะเดียวกันยังมีอีก 2 บลจ.มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ได้แก่ บลจ.เกียรตินาคิน ที่เดิอคือ บลจ.นครหลวงไทย และบลจ.กรุงศรี ที่เปลี่ยนมาจากบลจ.อยุธยา
นายพีร์ กล่าวต่อว่า ในปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากองทุนพันธบัตรเกาหลีได้รับความนิยมน้อยลง ซึ่งในปีนี้กองทุนดังกล่าวเริ่มทยอยครบกำหนดและปิดกองทุนไปเกือบหมดโดยคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 200,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันกองทุนประเภท Trigger Fund ก็เริ่มชะลอตัวลง โดยกองทุนที่เข้ามาทดแทนในปีนี้คือกองทุนคุ้มครองเงินต้น ที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่เติบโตประมาณ 300% หรือประมาณ 300,000 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปี 2553 เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงต่ำ เข้าใจง่าย และมีลักษณะคล้ายเงินฝาก ในส่วน LTF และ RMF ก็ถือว่ายังเติบโตต่อเนื่องที่ระดับ 14% และ 17% ตามลำดับซึ่งยังเป็นผลมาจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี
กองทุนทองคำผลตอบแทนโดดเด่น
นายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศนั้นให้ผลตอบแทนและมีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ติดลบเฉลี่ยเพียง -0.19% แต่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่มทำได้ถึง 16.91% ขณะน้อยที่คือ -13.9% โดยดัชนี SET 50 นั้นติดลบ 0.25% ส่วนกลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็ก (Equity General )นั้นโดดเด่นกว่าโดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.23% โดยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในกลุ่มนี้ทำให้ได้ถึง 17.81% ติดลบ -14.48% โดยดัชนี SET นั้น -0.72% และนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่กลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็กสามารถทำผลตอบแทนให้โดดเด่นกว่ากลุ่มที่ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่
ในส่วนของผลตอบแทนกองทุนที่น่าสนใจในปี 2554 คือกองทุนทองคำ โดยสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง17.86% ถึงแม้ว่าจะมีความผันผวนอย่างมากและเกิดการชะลอตัวและปรับลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผานมา ซึ่งบางกองทุนให้ผลตอบแทนสูงถึง 25% แต่บางกองทุนให้ผลตอบแทนเพียง 11% นั้นก็เป็นเพราะความต่างในเรื่องนโยบายการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนกองทุนน้ำมันที่มาแรงในไตรมาสแรก ของปีก็เกิดการปรับตัวลงในช่วงปลายปี ซึ่งความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าช่วงฤดูหนาวในยุโรปและอเมริกา
สำหรับกองทุนที่โดดเด่นคือกลุ่มตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทั้งหมดก็ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2-4% โดยกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดดเด่นมากที่สุด 4.54% ส่วนกลุ่มตลาดเงินให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.33% ขณะที่กองทุนหุ้นโดยเฉพาะกองทุนหุ้นต่างประเทศนำโดยกลุ่ม ตลาดเกิดใหม่ และกลุ่มเอเซีย แปซิฟิค ไม่รวมญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -18.07% และ -16.5% ตามลำดับ