สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เผย การซื้อขายตราสารหนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังได้ปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศที่ส่งสัญญาณดีขึ้นหนุน ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังเน้นซื้อขายไปที่ตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่ถึง 1 ปี
รายงานข่าวจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือThaiBMA เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การซื้อขายเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง โดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น เริ่มจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนธันวาคม 2554 ที่ขยายตัว 3.53% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีกว่า (ต่ำกว่า) ที่คาดการณ์กันไว้ เช่นเดียวกันกับตัวเลขเศรษฐกิของสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 มาอยู่ที่ระดับ 64.5 จากระดับ 55.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามปัญหาหนี้สาธาณะของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันบรรยากาศการลงทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อยู่ต่อไป หาก EU ยังไม่มีมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะที่ชัดเจนและทันการณ์ อาจส่งผลให้ปัญหาหนี้ดังกล่าวลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป รวมไปถึงประเทศคู่ค้าที่สำคัญอื่นๆด้วย
ทั้งนี้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในสัปดาห์นี้ (3 วันทำการ) มีมูลค่ารวม 219,057 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ73,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ประมาณ 28% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้วจะพบว่ากว่า 88% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 192,476 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (State Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน)
ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 20,763 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (CorporateBond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 4,601 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9% และ 2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับสำหรับพันธบัตรรัฐบาล รุ่นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือ รุ่น LB15DA (อายุ 3.9 ปี), LB17OA (อายุ 5.7 ปี)และ LB145B (อายุ 2.3 ปี) มีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 4,552 ล้านบาท 3,158 ล้านบาท และ 2,947 ล้านบาท ตามลำดับส่วนพันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก คือรุ่น CB12124A (อายุ 14 วัน),CB12117A (อายุ 14 วัน) และ CB12503A (อายุ 363 วัน) มูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 122,965 ล้านบาท 15,241 ล้านบาท และ 5,988ล้านบาท ตามลำดับ
ทางด้านหุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกนั้น ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) (CPF41DA (AA-)) มูลค่าการซื้อขาย 902 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (TLT128A (AAA))มูลค่าการซื้อขาย 430 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI14OA (A+)) มูลค่าการซื้อขาย 315 ล้านบาท
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติมียอด ขายสุทธิ 580 ล้านบาทในตลาดตราสารหนี้ โดยที่มูลค่าการซื้อขายส่วนใหญ่ของนักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงเน้นไปในตราสารระยะสั้น (มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 1 ปี) เป็นหลัก จึงไม่ได้ส่งผลต่อภาพรวมของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดมากเท่าใดนัก และสำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่ถึงแม้จะมีสัดส่วนของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดค่อนข้างน้อย แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงมียอดซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องประมาณ 603 ล้านบาท
รายงานข่าวจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือThaiBMA เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การซื้อขายเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง โดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น เริ่มจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนธันวาคม 2554 ที่ขยายตัว 3.53% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีกว่า (ต่ำกว่า) ที่คาดการณ์กันไว้ เช่นเดียวกันกับตัวเลขเศรษฐกิของสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคม ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 มาอยู่ที่ระดับ 64.5 จากระดับ 55.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามปัญหาหนี้สาธาณะของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันบรรยากาศการลงทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อยู่ต่อไป หาก EU ยังไม่มีมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะที่ชัดเจนและทันการณ์ อาจส่งผลให้ปัญหาหนี้ดังกล่าวลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป รวมไปถึงประเทศคู่ค้าที่สำคัญอื่นๆด้วย
ทั้งนี้ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในสัปดาห์นี้ (3 วันทำการ) มีมูลค่ารวม 219,057 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ73,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ประมาณ 28% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้วจะพบว่ากว่า 88% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 192,476 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (State Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน)
ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 20,763 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (CorporateBond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 4,601 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9% และ 2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับสำหรับพันธบัตรรัฐบาล รุ่นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือ รุ่น LB15DA (อายุ 3.9 ปี), LB17OA (อายุ 5.7 ปี)และ LB145B (อายุ 2.3 ปี) มีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 4,552 ล้านบาท 3,158 ล้านบาท และ 2,947 ล้านบาท ตามลำดับส่วนพันธบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก คือรุ่น CB12124A (อายุ 14 วัน),CB12117A (อายุ 14 วัน) และ CB12503A (อายุ 363 วัน) มูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 122,965 ล้านบาท 15,241 ล้านบาท และ 5,988ล้านบาท ตามลำดับ
ทางด้านหุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกนั้น ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) (CPF41DA (AA-)) มูลค่าการซื้อขาย 902 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (TLT128A (AAA))มูลค่าการซื้อขาย 430 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI14OA (A+)) มูลค่าการซื้อขาย 315 ล้านบาท
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติมียอด ขายสุทธิ 580 ล้านบาทในตลาดตราสารหนี้ โดยที่มูลค่าการซื้อขายส่วนใหญ่ของนักลงทุนกลุ่มนี้ยังคงเน้นไปในตราสารระยะสั้น (มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 1 ปี) เป็นหลัก จึงไม่ได้ส่งผลต่อภาพรวมของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดมากเท่าใดนัก และสำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่ถึงแม้จะมีสัดส่วนของการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดค่อนข้างน้อย แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงมียอดซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องประมาณ 603 ล้านบาท