xs
xsm
sm
md
lg

กูรูแนะจับตาปัญหาหนี้ยุโรปต่อ อาจเห็นสัญญาณบวกจากG-20

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน-นักวิเคราะห์บล.เอเชียพลัส แนะนักลงทุนจับตาปัญหาหนี้ยุโรปต่อเนื่อง หลังมูดี้ส์ปรับลดเครดิตเรตติ่งสเปนจาก A เป็น Aa2 พร้อมประเมินหลังวันที่ 23 ตุลาคม น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านบวกในการแก้ปัญหาวิกฤติการเงินในยุโรปจากการประชุมของกลุ่ม G-20

รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)เอเชียพลัส จำกัด มองว่า การปรับลดเครดิตเรตติ้งประเทศในกลุ่ม PIIGS ยังฝุ่นตลบ ล่าสุด Moody’s ได้ทำการปรับลดเครดิตเรตติ่งของประเทศสเปน จาก A เป็นAa2 (เป็นระดับการลงทุน ลำดับ 5) พร้อมปรับมุมมองระยะยาวเป็นลบ ทั้งนี้นับเป็นการปรับลดเครดิตครั้งที่ 2 หลังจากเดือน มี.ค. 2554(ปรับลดเครดิตเรตติ้งของสเปนจาก Aa1 Aa2) แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดครั้งนี้เป็นการปรับลดตามหลัง S&P ซึ่งเมื่อ 14 ต.ค. ที่ผ่านมาได้ ปรับลดเครดิตเรตติ้งของสเปนครั้งแรกในปี 2554 จาก AA เป็น AA- (ปรับลดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2553 จาก AA+ เหลือ AA) แต่ยังอยู่ในชั้นลงทุน แม้การปรับลดเครดิตเรตติ้งเป็นการสะท้อนฐานะการเงินที่ด้อยลง และต้นทุนการกู้ยืมจะสูงขึ้น แต่ไม่น่าจะสร้างความแปลกใจให้กับตลาด

ทั้งนี้หากพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล (อายุ 2 ปี) ของสเปน พบว่ายังคงทรงตัวในระดับสูง 3.9 แม้จะอ่อนตัวจากระดับสูงสุดที่ 4.58% เมื่อต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาตามลำดับ ประเด็นนี้จึงน่าจะมีน้ำหนักน้อย แต่ประเด็นที่น่าจะให้ความสำคัญหลังจากนี้ก็คือ บทบาทของ G-20 กับการเข้ามาล้วงลูกในการแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรปภายใต้คณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่เรียกว่าTroika โดยมีเยอรมัน และฝรั่งเศส เป็นแกนนำในการนำเสนอแผนการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินของสหภาพยุโรป (ทั้งในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงิน เช่น ให้กู้ยืม และช่วยเหลือเพิ่มทุน) ซึ่งคาดว่าหลังจากวันที่ 23 ต.ค. น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในด้านบวกที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาวิกฤติการเงินในยุโรป และน่าจะหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนอีกครั้ง จากนี้ให้ติดตามค่าเงินยูโรเมื่อเทียบดอลลาร์ แม้มีแนวโน้มอ่อนตัวมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา แต่คาดว่ามีโอกาสฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่รายงานจากฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะในยุโรปคือ การเมืองในประเทศกรีซ ซึ่งหากเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้กรีซเลือกเดินในแนวทางที่แตกต่างจากปัจจุบัน ซึ่งความสามารถในการลงดการขาดดุลการคลังของกรีซตามข้อกำหนดความช่วยเหลือจาก EU-IMF ซึ่งถ้าทำไม่ได้ก็อาจไม่ได้รับความช่วยเหลือ,การขยายขนาดและบทบาทของ EFSF ซึ่งถ้าขยายไม่ได้ก็ไม่มีเงิน/ช่องทางที่จะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่กรีซ แต่การให้สภาพฯเยอรมนีให้ความเห็นชอบทำให้ความเสี่ยงด้านนี้ลดลง ,และแนวทางในการควบคุมผลกระทบ (Contagion)จากการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ

โดยปัจจุบันแนวทางที่มีการเสนอหลักคือการเพิ่มขนาด EFSF อีกเพื่อให้เพียงพอต่อการช่วยเหลือ อิตาลีและสเปน หากจำเป็นและการเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ในยุโรป ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยน EFSF ให้เป็นธนาคารเพื่อสามารถกู้ยืม (Leverage)ได้ โดยแนวทางดังกล่าวน่าจะต้องใช้เวลาในการศึกษา ให้ความเห็นชอบ และเตรียมความพร้อมจึงทำให้ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังน่าจะกดดันเศรษฐกิจ-การลงทุนได้อีกระยะหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุดความชัดเจนในแนวทางก็น่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่ผู้นำยูโรโซนสามารถช่วยให้ตลาดคลายความกังวลได้
กำลังโหลดความคิดเห็น