ในเดือนตุลาคม 2554 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง (แบบ Outright) รวมทั้งสิ้น 1,184,064 ล้านบาท หรือลดลง 486,983 ล้านบาทจากเดือนที่ผ่านมา (ลดลง 29.14%) ทั้ง
นี้มูลค่าการซื้อขายกว่า 30% หรือประมาณ 349,535 ล้านบาท เป็นยอดการซื้อขายจากการฝากประมูล (ซื้อต่อจากผู้ที่ประมูลได้ในตลาดแรก) ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายกว่า 91% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ กระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย
และเมื่อพิจารณามูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นเป็นรายวันแล้ว จะพบว่าการซื้อขายตราสารหนี้ประจำเดือนตุลาคม เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณวันละ 59,203 ล้านบาท หรือลดลง 22.06% จากเดือนกันยายนที่มียอดซื้อขายเฉลี่ยวันละ 75,957 ล้านบาท แต่ถ้าหากแยกมูลค่าการซื้อขายออกตามประเภทของตราสารหนี้ (ตราสารระยะสั้น - ระยะยาว) แล้ว จะพบว่ากว่า 86% ของมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน (50,855 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี ในขณะที่อีกประมาณ 14% (8,348 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1
ปี
ทางด้านกลุ่มของนักลงทุนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายตราสารหนี้สูงที่สุด ยังคงเป็นกลุ่มของนักลงทุนประเภทบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company: AMC) โดยมีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 68% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investor) มีมูลค่าการซื้อขายรวม 79,311 ล้านบาท หรือคิดเป็นยอดซื้อ
สุทธิประมาณ 9,916 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 9% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน
สำหรับผลตอบแทนตลาดเมื่อวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Total Return Index) พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.45% มาอยู่ที่ระดับ 210.49 จุด เมื่อเทียบกับระดับ 205.46 จุดในเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.29% มาอยู่ที่ระดับ 175.01 จุด เมื่อเทียบกับระดับ 172.78 จุดในเดือนก่อนหน้า ทางด้านภาพรวมของเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ในเดือนตุลาคม จะพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงตลอดทุกช่วงอายุของตราสาร โดยปรับตัวลดลง ประมาณ 5 - 35 bp. โดยสามารถสรุปถึงปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ คือ
-มีแรงซื้อ (Demand) จากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ เนื่อง จากปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรปเริ่มคลี่คลายจากการประชุม รมต.คลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่ม G-20 ที่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาวิกฤติดังกล่าว ประกอบกับในเดือนตุลาคมไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล
-การเตรียมปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2555 เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 3.0 (+/- ร้อยละ 1.5) จากปัจจุบันที่ใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ร้อยละ 0.5 - 3.0 เป็นเป้าหมาย ซึ่ง
จะส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้วิจารณญาณในการปรับเปลี่ยนอัตรานโยบายได้มากขึ้น
-วิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจเป็น Negative นักลงทุนส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
-ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้นโยบายลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม
เพ็ญศิริ เลิศชัยคุณากร
ฝ่ายกำกับดูแล, ThaiBMA
นี้มูลค่าการซื้อขายกว่า 30% หรือประมาณ 349,535 ล้านบาท เป็นยอดการซื้อขายจากการฝากประมูล (ซื้อต่อจากผู้ที่ประมูลได้ในตลาดแรก) ในขณะที่มูลค่าการซื้อขายกว่า 91% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ กระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย
และเมื่อพิจารณามูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นเป็นรายวันแล้ว จะพบว่าการซื้อขายตราสารหนี้ประจำเดือนตุลาคม เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณวันละ 59,203 ล้านบาท หรือลดลง 22.06% จากเดือนกันยายนที่มียอดซื้อขายเฉลี่ยวันละ 75,957 ล้านบาท แต่ถ้าหากแยกมูลค่าการซื้อขายออกตามประเภทของตราสารหนี้ (ตราสารระยะสั้น - ระยะยาว) แล้ว จะพบว่ากว่า 86% ของมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน (50,855 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี ในขณะที่อีกประมาณ 14% (8,348 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1
ปี
ทางด้านกลุ่มของนักลงทุนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายตราสารหนี้สูงที่สุด ยังคงเป็นกลุ่มของนักลงทุนประเภทบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company: AMC) โดยมีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 68% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investor) มีมูลค่าการซื้อขายรวม 79,311 ล้านบาท หรือคิดเป็นยอดซื้อ
สุทธิประมาณ 9,916 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 9% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน
สำหรับผลตอบแทนตลาดเมื่อวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Total Return Index) พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.45% มาอยู่ที่ระดับ 210.49 จุด เมื่อเทียบกับระดับ 205.46 จุดในเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.29% มาอยู่ที่ระดับ 175.01 จุด เมื่อเทียบกับระดับ 172.78 จุดในเดือนก่อนหน้า ทางด้านภาพรวมของเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ในเดือนตุลาคม จะพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงตลอดทุกช่วงอายุของตราสาร โดยปรับตัวลดลง ประมาณ 5 - 35 bp. โดยสามารถสรุปถึงปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ คือ
-มีแรงซื้อ (Demand) จากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ เนื่อง จากปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรปเริ่มคลี่คลายจากการประชุม รมต.คลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่ม G-20 ที่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหาวิกฤติดังกล่าว ประกอบกับในเดือนตุลาคมไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล
-การเตรียมปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2555 เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 3.0 (+/- ร้อยละ 1.5) จากปัจจุบันที่ใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ร้อยละ 0.5 - 3.0 เป็นเป้าหมาย ซึ่ง
จะส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้วิจารณญาณในการปรับเปลี่ยนอัตรานโยบายได้มากขึ้น
-วิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจเป็น Negative นักลงทุนส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
-ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้นโยบายลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้เดิม
เพ็ญศิริ เลิศชัยคุณากร
ฝ่ายกำกับดูแล, ThaiBMA