ASTVผู้จัดการรายวัน - Fitch Rating ลดอันดับเครดิต สเปนและอิตาลีจากระดับ AA+ สู่ AA- และจากระดับ AA- สู่ระดับ A+ ตามลำดับ จับตามาตรการแก้วิกฤตหนี้ยุโรปโดยเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ยุโรป
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจยุโรปว่า Fitch Rating ได้ทำการ Downgrade Credit Ratings ของประเทศสเปนและอิตาลีลง 2 ระดับ และ 1 ระดับตามลำดับ และคงแนวโน้มเชิงลบ โดยFitch ได้ปรับลดเครดิตเรตติ้งของสเปน จากระดับ AA+ สู่ AA- ส่วนอิตาลีนั้นมีการปรับลดจากระดับ AA- สู่ระดับ A+ ซึ่งการคงแนวโน้มเชิงลบนั้นได้บ่งบอกถึงสัญญาณของอันตราย และการปรับลดเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า และส่งผลเชิงลบต่อมุมมองนักลงทุน
ด้าน ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมันเตรียมเผยมาตรการใหม่ในการแก้ไขวิกฤตหนี้ยูโรโซนก่อนสิ้นเดือนนี้ ได้กล่าวหลังจากการเจรจาที่กรุงเบอร์ลินว่า เป้าหมายของพวกเขา คือ การกำหนดแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหากรีซ การตกลงในเรื่องแนวทางการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ในยุโรป และการนำเสนอแผนเร่งรัดการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยูโรโซนภายในสิ้นเดือนนี้ก่อนที่จะถึงการประชุมสุดยอด G-20 ที่เมืองคานส์ในวันที่ 3-4 พ.ย. ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตลาดกำลังจับตารอและอาจส่งผลต่อทิศทางตลาดในเดือนหน้าได้
ทั้งนี้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศตรึงดอกเบี้ยที่ 0.5% และลงมติมาตรการ QE2 ในการซื้อสินทรัพย์อีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ สู่ระดับ 2.75 แสนล้านปอนด์ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของอังกฤษ ซึ่งการออกมาตรการ QE2 ดังกล่าว ได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของอังกฤษประหลาดใจถึงการเริ่มใช้มาตรการอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และส่งผลเชิงบวกต่อตลาด
ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.5% ตามคาด และประกาศจะอัดฉีดสภาพคล่องผ่านทางการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้แก่ธนาคารยุโรป โดยประธาน ECB กล่าวว่า อีซีบีจะปล่อยกู้ระยะ 1 ปีอย่างไม่จำกัดจำนวนในปฏิบัติการ 2 ครั้ง และจะใช้นโยบายเข้าซื้อตราสารหนี้มีประกัน 4 หมื่นล้านยูโร โดยการประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยด้วยคะแนนที่ไม่เป็นเอกฉันท์ได้สร้างความผิดหวังให้นักลงทุนบางส่วน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม กรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดว่าการเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือยุโรปจะสูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในเดือน ก.ค. วงเงิน 4.40 แสนล้านยูโร ถึงแม้ว่าวงเงินดังกล่าว ทางนักเศรษฐศาสตร์ เทรดเดอร์ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นมองว่ามีแนวโน้มไม่เพียงพอ การเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลืออาจเป็นไปได้ยาก แต่ยังเปิดกว้างสำหรับโครงการอื่นๆ ที่จะมีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแทรกแซงมากขึ้น
นอกตากนี้ รัฐมนตรีคลังของ คลังของยุโรป ต่างเห็นกันที่จะปกป้องภาคธนาคารก่อนที่จะลุกลามเป็นวิกฤตการณ์ ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดนั้น รัฐมนตรีซึ่งเคยปฏิเสธการเพิ่มทุนธนาคารมาก่อนหน้านี้ ต่างก็ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งใหม่ โดยทางรัฐมนตรีคลังของยุโรปมีความเห็นพ้องร่วมกันมากขึ้น ในการเสริมสถานะเงินทุนของธนาคารยุโรป เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความไม่แน่นอน ซึ่งน่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจยุโรปว่า Fitch Rating ได้ทำการ Downgrade Credit Ratings ของประเทศสเปนและอิตาลีลง 2 ระดับ และ 1 ระดับตามลำดับ และคงแนวโน้มเชิงลบ โดยFitch ได้ปรับลดเครดิตเรตติ้งของสเปน จากระดับ AA+ สู่ AA- ส่วนอิตาลีนั้นมีการปรับลดจากระดับ AA- สู่ระดับ A+ ซึ่งการคงแนวโน้มเชิงลบนั้นได้บ่งบอกถึงสัญญาณของอันตราย และการปรับลดเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า และส่งผลเชิงลบต่อมุมมองนักลงทุน
ด้าน ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมันเตรียมเผยมาตรการใหม่ในการแก้ไขวิกฤตหนี้ยูโรโซนก่อนสิ้นเดือนนี้ ได้กล่าวหลังจากการเจรจาที่กรุงเบอร์ลินว่า เป้าหมายของพวกเขา คือ การกำหนดแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหากรีซ การตกลงในเรื่องแนวทางการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ในยุโรป และการนำเสนอแผนเร่งรัดการประสานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในยูโรโซนภายในสิ้นเดือนนี้ก่อนที่จะถึงการประชุมสุดยอด G-20 ที่เมืองคานส์ในวันที่ 3-4 พ.ย. ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตลาดกำลังจับตารอและอาจส่งผลต่อทิศทางตลาดในเดือนหน้าได้
ทั้งนี้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศตรึงดอกเบี้ยที่ 0.5% และลงมติมาตรการ QE2 ในการซื้อสินทรัพย์อีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ สู่ระดับ 2.75 แสนล้านปอนด์ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของอังกฤษ ซึ่งการออกมาตรการ QE2 ดังกล่าว ได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ของอังกฤษประหลาดใจถึงการเริ่มใช้มาตรการอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และส่งผลเชิงบวกต่อตลาด
ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.5% ตามคาด และประกาศจะอัดฉีดสภาพคล่องผ่านทางการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้แก่ธนาคารยุโรป โดยประธาน ECB กล่าวว่า อีซีบีจะปล่อยกู้ระยะ 1 ปีอย่างไม่จำกัดจำนวนในปฏิบัติการ 2 ครั้ง และจะใช้นโยบายเข้าซื้อตราสารหนี้มีประกัน 4 หมื่นล้านยูโร โดยการประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยด้วยคะแนนที่ไม่เป็นเอกฉันท์ได้สร้างความผิดหวังให้นักลงทุนบางส่วน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม กรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดว่าการเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือยุโรปจะสูงกว่าที่ตกลงกันไว้ในเดือน ก.ค. วงเงิน 4.40 แสนล้านยูโร ถึงแม้ว่าวงเงินดังกล่าว ทางนักเศรษฐศาสตร์ เทรดเดอร์ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นมองว่ามีแนวโน้มไม่เพียงพอ การเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลืออาจเป็นไปได้ยาก แต่ยังเปิดกว้างสำหรับโครงการอื่นๆ ที่จะมีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแทรกแซงมากขึ้น
นอกตากนี้ รัฐมนตรีคลังของ คลังของยุโรป ต่างเห็นกันที่จะปกป้องภาคธนาคารก่อนที่จะลุกลามเป็นวิกฤตการณ์ ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดนั้น รัฐมนตรีซึ่งเคยปฏิเสธการเพิ่มทุนธนาคารมาก่อนหน้านี้ ต่างก็ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งใหม่ โดยทางรัฐมนตรีคลังของยุโรปมีความเห็นพ้องร่วมกันมากขึ้น ในการเสริมสถานะเงินทุนของธนาคารยุโรป เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความไม่แน่นอน ซึ่งน่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้