ASTVผู้จัดการรายวัน - เศรษฐกิจจีนเติบโตลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว IMF ชี้ แบงก์พาณิชย์ในยุโรปกำลังเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ ขณะที่ กลุ่มจี-20 เตรียมมาตการหนุนระบบการเงินโลก
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ.ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศที่น่าสนใจว่า IMF แถลงวิกฤตหนี้ยุโรปจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านยูโร และธนาคารยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยผู้อำนวยการแผนกตลาดการเงินและตลาดทุนของ IMF กล่าวว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยุโรปยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ตนเองเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นในระดับที่มากเพียงใด และยังไม่มีความโปร่งใสมากพอในเรื่องวิธีการที่ธนาคารปฎิบัติต่อความเสี่ยงด้านพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในยุโรปจะยังคงกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอยู่
ด้านกลุ่มจี-20 เปิดเผยในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. ว่า จะมีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อช่วยผ่อนคลายความวิตก และหนุนระบบการเงินโลก ซึ่ง การประกาศช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตาม การประกาศนั้นยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกองทุนช่วยเหลืออย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป
ขณะที่ประเทศกรีซประกาศแผนรัดเข็มขัดเพิ่มเติม โดยการปรับลดการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ 20% ซึ่งการปฎิบัติดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้กรีซสามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขในแผนความช่วยเหลือทางการเงินได้จนถึงปี 2014 และมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือวงเงิน 8 พันล้านยูโรจากต่างประเทศ เพื่อที่กรีซจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายเงินเดือนข้าราชการ และชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในเดือน ต.ค. ขณะเดียวกันรมว.คลังกรีซได้กล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาว่า มีความเป็นไปได้ 3 ทางในการคลี่คลายวิกฤติหนี้กรีซ โดยความเป็นไปได้ทางแรก คือ การที่กรีซจะผิดชำระหนี้อย่างเป็นระเบียบ โดยขอให้ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซปรับลดหนี้ลง 50% ความเป็นไปได้ที่สอง คือ การผิดชำระหนี้อย่างไม่เป็นระเบียบ และความเป็นไปได้ที่สาม คือ การดำเนินการตามแผนให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ขนาด 1.09 แสนล้านยูโร
ด้านสหรัฐอเมริกา มาตรการ Operation Twist วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ของเฟดได้ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวดีดขึ้น ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 60 ปี โดยมาตรการ Operation Twist นั้น ทางเฟดได้ปรับสัดส่วนการลงทุนในงบดุล 2.85 ล้านล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 3 ปี หรือต่ำกว่า ในวงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ และนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรอายุ 6-30 ปี ก่อนสิ้นเดือน มิ.ย. 2012 โดยเฟดหวังว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ลดลงจะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจในวงจำกัดเท่านั้น
ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้คงแนวโน้มเชิงลบแก่ตลาดพันธบัตรเทศบาลมูลค่า 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ ซึ่งมูดี้ส์ให้เหตุผลว่า แม้การจัดเก็บรายได้ปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอสำหรับรัฐต่างๆ ในการทดแทนมาตรการให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลกลางที่สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. และคาดว่ารายได้จะลดลงอีก จากการที่สภาคองเกรสกำลังหาวิธีเพื่อลดยอดการขาดดุล ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินทุนสำหรับโครงการของรัฐบาลกลางที่รัฐต่างๆ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้มูดี้ส์มองถึงความเป็นไปได้ต่อการลดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าการปรับเพิ่มจนกว่าจะเริ่มมองเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะและการฟื้นตัวของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
ส่วนโกลด์แมน แซคส์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ WTI ระยะ 3 เดือนลงสู่ 97.50 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 115 ดอลลาร์/บาร์เรล และยังคาดว่าส่วนต่างราคา WTI และ Brent จะยังคงอยู่ที่ 22.5 ดอลลาร์/บาร์เรล เหตุผลสำคัญของการปรับลดนั้นมาจากแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันโลกยังอยู่ในภาวะตึงตัวอยู่ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังสามารถปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน
ทั้งนี้จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน โดยที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อเบื้องต้น ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาคการผลิตของจีนก่อนการเปิดเผยข้อมูลของทางการ ลดลงสู่ระดับ 49.4 ในเดือน ก.ย. จากระดับ 49.9 ในเดือน ส.ค. และทรงตัวต่ำกว่าระดับ 50 (ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวลง) เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน การส่งออกในเดือน ส.ค. ของจีนชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การนำเข้าพุ่งขึ้น ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงมีความยืดหยุ่น
โดยนักวิเคราะห์คาดว่า การส่งออกจะชะลอตัวลงอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเห็นได้จากยอดสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ทั้งดัชนีย่อยสำหรับยอดสั่งซื้อใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ลดลงอีก ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือน ก.ย. ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์โลกที่ลดลง ขณะที่ผู้บริโภควิตกต่อความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง และวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่ลุกลามออกไป แต่เอชเอสบีซีเชื่อว่า ดัชนี PMI ที่ระดับ 48 ของจีนยังคงบ่งชี้ว่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 12-13% และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ.ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศที่น่าสนใจว่า IMF แถลงวิกฤตหนี้ยุโรปจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านยูโร และธนาคารยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยผู้อำนวยการแผนกตลาดการเงินและตลาดทุนของ IMF กล่าวว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยุโรปยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ตนเองเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นในระดับที่มากเพียงใด และยังไม่มีความโปร่งใสมากพอในเรื่องวิธีการที่ธนาคารปฎิบัติต่อความเสี่ยงด้านพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในยุโรปจะยังคงกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอยู่
ด้านกลุ่มจี-20 เปิดเผยในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. ว่า จะมีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อช่วยผ่อนคลายความวิตก และหนุนระบบการเงินโลก ซึ่ง การประกาศช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตาม การประกาศนั้นยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกองทุนช่วยเหลืออย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป
ขณะที่ประเทศกรีซประกาศแผนรัดเข็มขัดเพิ่มเติม โดยการปรับลดการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ 20% ซึ่งการปฎิบัติดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้กรีซสามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขในแผนความช่วยเหลือทางการเงินได้จนถึงปี 2014 และมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือวงเงิน 8 พันล้านยูโรจากต่างประเทศ เพื่อที่กรีซจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายเงินเดือนข้าราชการ และชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในเดือน ต.ค. ขณะเดียวกันรมว.คลังกรีซได้กล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาว่า มีความเป็นไปได้ 3 ทางในการคลี่คลายวิกฤติหนี้กรีซ โดยความเป็นไปได้ทางแรก คือ การที่กรีซจะผิดชำระหนี้อย่างเป็นระเบียบ โดยขอให้ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซปรับลดหนี้ลง 50% ความเป็นไปได้ที่สอง คือ การผิดชำระหนี้อย่างไม่เป็นระเบียบ และความเป็นไปได้ที่สาม คือ การดำเนินการตามแผนให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ขนาด 1.09 แสนล้านยูโร
ด้านสหรัฐอเมริกา มาตรการ Operation Twist วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ของเฟดได้ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวดีดขึ้น ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 60 ปี โดยมาตรการ Operation Twist นั้น ทางเฟดได้ปรับสัดส่วนการลงทุนในงบดุล 2.85 ล้านล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 3 ปี หรือต่ำกว่า ในวงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ และนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรอายุ 6-30 ปี ก่อนสิ้นเดือน มิ.ย. 2012 โดยเฟดหวังว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ลดลงจะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจในวงจำกัดเท่านั้น
ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้คงแนวโน้มเชิงลบแก่ตลาดพันธบัตรเทศบาลมูลค่า 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ ซึ่งมูดี้ส์ให้เหตุผลว่า แม้การจัดเก็บรายได้ปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอสำหรับรัฐต่างๆ ในการทดแทนมาตรการให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลกลางที่สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. และคาดว่ารายได้จะลดลงอีก จากการที่สภาคองเกรสกำลังหาวิธีเพื่อลดยอดการขาดดุล ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินทุนสำหรับโครงการของรัฐบาลกลางที่รัฐต่างๆ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้มูดี้ส์มองถึงความเป็นไปได้ต่อการลดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าการปรับเพิ่มจนกว่าจะเริ่มมองเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะและการฟื้นตัวของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
ส่วนโกลด์แมน แซคส์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ WTI ระยะ 3 เดือนลงสู่ 97.50 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 115 ดอลลาร์/บาร์เรล และยังคาดว่าส่วนต่างราคา WTI และ Brent จะยังคงอยู่ที่ 22.5 ดอลลาร์/บาร์เรล เหตุผลสำคัญของการปรับลดนั้นมาจากแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันโลกยังอยู่ในภาวะตึงตัวอยู่ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังสามารถปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน
ทั้งนี้จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน โดยที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อเบื้องต้น ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาคการผลิตของจีนก่อนการเปิดเผยข้อมูลของทางการ ลดลงสู่ระดับ 49.4 ในเดือน ก.ย. จากระดับ 49.9 ในเดือน ส.ค. และทรงตัวต่ำกว่าระดับ 50 (ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวลง) เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน การส่งออกในเดือน ส.ค. ของจีนชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การนำเข้าพุ่งขึ้น ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงมีความยืดหยุ่น
โดยนักวิเคราะห์คาดว่า การส่งออกจะชะลอตัวลงอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเห็นได้จากยอดสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ทั้งดัชนีย่อยสำหรับยอดสั่งซื้อใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ลดลงอีก ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือน ก.ย. ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์โลกที่ลดลง ขณะที่ผู้บริโภควิตกต่อความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง และวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่ลุกลามออกไป แต่เอชเอสบีซีเชื่อว่า ดัชนี PMI ที่ระดับ 48 ของจีนยังคงบ่งชี้ว่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 12-13% และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน