บริษัท ศูนย์วิจัยกสิรไทย รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่ากว่าระดับ 30.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย หลังจากความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารบางแห่งในยุโรปโดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้กระตุ้นแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ของนักลงทุน พร้อมๆ กับเพิ่มแรงเทขายในสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ อนึ่ง แม้ว่ามาตรการเสริมสภาพคล่องเงินดอลลาร์ฯ ให้กับระบบธนาคารยุโรปของธนาคารกลางชั้นนำ 5 แห่ง จะช่วยหนุนสินทรัพย์เสี่ยงและเงินเอเชียให้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงท้ายสัปดาห์ แต่เงินบาทก็ยังคงอ่อนค่ากว่า 30.35 โดยเข้าแตะระดับต่ำสุดในรอบประมาณ 2 เดือนที่ 30.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ในวันศุกร์ (16 ก.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 30.37 จากระดับ 30.04 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (9 ก.ย.)
แนวโน้มสัปดาห์นี้ (19-23 ก.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.20-30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาผลการประชุมของรัฐมนตรีสหภาพยุโรป ความคืบหน้าในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (20-21 ก.ย.) รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลยอดขายบ้านมือสอง การเริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้างเดือนส.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (16 ก.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 30.37 จากระดับ 30.04 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (9 ก.ย.)
แนวโน้มสัปดาห์นี้ (19-23 ก.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.20-30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาผลการประชุมของรัฐมนตรีสหภาพยุโรป ความคืบหน้าในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (20-21 ก.ย.) รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลยอดขายบ้านมือสอง การเริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้างเดือนส.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์