เอเจนซี/เอเอฟพี - ผู้นำของ 7 ประเทศที่ร่วมอยู่ในกลุ่ม จี-20 ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันพฤหัสบดี (22) ซึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องให้ยุโรปปฏิบัติการอย่างเด็ดขาดยิ่งขึ้นในการแก้ไขวิกฤตหนี้สินของพวกเขา ในช่วงใกล้ๆ กันนั้นก็มีการเผยแพร่รายงานการศึกษาของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งเตือนว่าเ วลานี้สกุลเงินยูโรโดยรวมกำลังตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง
ขณะที่บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับท็อปทางด้านการเงินจากทั่วโลก กำลังชุมนุมกันอยู่ในกรุงวอชิงตัน เพื่อร่วมการประชุมทั้งของ กลุ่ม 20 ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รายใหญ่ (จี-20) ตลอดจนการประชุมประจำปีภาคฤดูใบไม้ร่วงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก บรรดาผู้นำของ ออสเตรเลีย, แคนาดา, อินโดนีเซีย, อังกฤษ, เม็กซิโก, แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ ก็ได้ร่วมกันจัดทำจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่ง ส่งถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม จี-20 ปีนี้ โดยมีเนื้อหาเน้นหนักถึงเรื่องที่ภัยคุกคามจากวิกฤตยูโรโซนกำลังแพร่กระจายออกไปทั่วโลก
“ทั้งรัฐบาลต่างๆ และสถาบันต่างๆ ของยูโรโซน ต้องลงมือปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เพื่อคลี่คลายวิกฤตเงินยูโร นอกจากนั้นชาติยุโรปทั้งหมดต้องหันมาเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินที่กำลังขยายตัว เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้มันแพร่ระบาดไปสู่เศรษฐกิจโลกในวงกว้าง” ผู้นำของ 7 ประเทศซึ่งล้วนเป็นสมาชิกของ จี-20 กล่าวในจดหมายเปิดผนึก
“ยูโรโซนต้องพิจารณาถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ทุกๆ ทาง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะบังเกิดเสถียรภาพระยะยาวในสกุลเงินตราระหว่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกสกุลนี้”
ด้านรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ก็ออกมาส่งเสียงเตือนยุโรปเช่นกัน โดยบอกว่าการสกัดกั้นวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการใช้ความพยายามเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะจัดหาทรัพยากรเอาไว้ให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้กรีซถึงกับต้องประกาศการหยุดพักชำระหนี้ แต่พร้อมกันนั้นเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ยุโรปจะลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การออกโรงของบรรดาผู้นำโลกเหล่านี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกพากันตกฮวบฮาบเมื่อวันพฤหัสบดี สืบเนื่องจากนักลงทุนกังวลกับการที่ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดูไร้ความสดใส โดยเฉพาะการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ในวันอังคาร(20) และวันพุธ(21) ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเผชิญความเสี่ยงในทางขาลงอย่างร้ายแรงในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ ตลาดหุ้นของลอนดอน, ปารีส, แฟรงเฟิร์ต, และมาดริด ต่างดำดิ่งลงมากว่า 5% ระหว่างการซื้อขายช่วงหนึ่งในวันพฤหัสบดี
ธ.กลางยุโรปเตือนยูโรอยู่ในอันตราย**
ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้เผยแพร่รายงาการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “ความไม่สมดุลทางการคลังซึ่งกำลังเพิ่มทวีขึ้นอย่างใหญ่หลวงในระดับทั่วทั้งเขตยูโรโดยรวม และสถานการณ์อันเลวร้ายในประเทศสมาชิกรายประเทศ มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการบ่อนทำลายเสถียรภาพ, การเจริญเติบโต, และการจ้างงาน, ตลอดจนความสามารถที่จะดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนของอีเอ็มยู (สหภาพเงินตรายุโรป) เอง”
รายงานวิจัยฉบับนี้ ผู้เขียนร่วมคนหนึ่ง คือ เจอร์เกน สตาร์ก หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอีซีบี ผู้ยื่นใบลาออกในเดือนที่แล้ว ภายหลังจากคัดค้านนโยบายของอีซีบีที่ออกรับซื้อพันธบัตรของพวกชาติยูโรโซนที่ประสบวิกฤตหนี้สินภาคสาธารณะหนักหน่วง
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ ได้เสนอแนะให้พวกประเทศยูโรโซนยอมรับกฎเกณฑ์ใหม่ทางด้านหนี้สินที่มีความเข้มงวด, ยินยอมให้ปัญหาการขาดดุลของแต่ละชาติสมาชิก ถูกกำกับตรวจสอบในระดับยูโรโซน โดยที่ถ้าหากชาติใดยังละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ก็จะต้องถูกลงโทษด้วยการปรับโดยอัตโนมัติ
ขณะที่บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับท็อปทางด้านการเงินจากทั่วโลก กำลังชุมนุมกันอยู่ในกรุงวอชิงตัน เพื่อร่วมการประชุมทั้งของ กลุ่ม 20 ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รายใหญ่ (จี-20) ตลอดจนการประชุมประจำปีภาคฤดูใบไม้ร่วงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก บรรดาผู้นำของ ออสเตรเลีย, แคนาดา, อินโดนีเซีย, อังกฤษ, เม็กซิโก, แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ ก็ได้ร่วมกันจัดทำจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่ง ส่งถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม จี-20 ปีนี้ โดยมีเนื้อหาเน้นหนักถึงเรื่องที่ภัยคุกคามจากวิกฤตยูโรโซนกำลังแพร่กระจายออกไปทั่วโลก
“ทั้งรัฐบาลต่างๆ และสถาบันต่างๆ ของยูโรโซน ต้องลงมือปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เพื่อคลี่คลายวิกฤตเงินยูโร นอกจากนั้นชาติยุโรปทั้งหมดต้องหันมาเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินที่กำลังขยายตัว เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้มันแพร่ระบาดไปสู่เศรษฐกิจโลกในวงกว้าง” ผู้นำของ 7 ประเทศซึ่งล้วนเป็นสมาชิกของ จี-20 กล่าวในจดหมายเปิดผนึก
“ยูโรโซนต้องพิจารณาถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ทุกๆ ทาง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะบังเกิดเสถียรภาพระยะยาวในสกุลเงินตราระหว่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกสกุลนี้”
ด้านรัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ก็ออกมาส่งเสียงเตือนยุโรปเช่นกัน โดยบอกว่าการสกัดกั้นวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการใช้ความพยายามเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะจัดหาทรัพยากรเอาไว้ให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้กรีซถึงกับต้องประกาศการหยุดพักชำระหนี้ แต่พร้อมกันนั้นเขาก็แสดงความเชื่อมั่นว่า ยุโรปจะลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การออกโรงของบรรดาผู้นำโลกเหล่านี้ บังเกิดขึ้นในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกพากันตกฮวบฮาบเมื่อวันพฤหัสบดี สืบเนื่องจากนักลงทุนกังวลกับการที่ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดูไร้ความสดใส โดยเฉพาะการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ในวันอังคาร(20) และวันพุธ(21) ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเผชิญความเสี่ยงในทางขาลงอย่างร้ายแรงในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ ตลาดหุ้นของลอนดอน, ปารีส, แฟรงเฟิร์ต, และมาดริด ต่างดำดิ่งลงมากว่า 5% ระหว่างการซื้อขายช่วงหนึ่งในวันพฤหัสบดี
ธ.กลางยุโรปเตือนยูโรอยู่ในอันตราย**
ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้เผยแพร่รายงาการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “ความไม่สมดุลทางการคลังซึ่งกำลังเพิ่มทวีขึ้นอย่างใหญ่หลวงในระดับทั่วทั้งเขตยูโรโดยรวม และสถานการณ์อันเลวร้ายในประเทศสมาชิกรายประเทศ มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการบ่อนทำลายเสถียรภาพ, การเจริญเติบโต, และการจ้างงาน, ตลอดจนความสามารถที่จะดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนของอีเอ็มยู (สหภาพเงินตรายุโรป) เอง”
รายงานวิจัยฉบับนี้ ผู้เขียนร่วมคนหนึ่ง คือ เจอร์เกน สตาร์ก หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอีซีบี ผู้ยื่นใบลาออกในเดือนที่แล้ว ภายหลังจากคัดค้านนโยบายของอีซีบีที่ออกรับซื้อพันธบัตรของพวกชาติยูโรโซนที่ประสบวิกฤตหนี้สินภาคสาธารณะหนักหน่วง
ในรายงานการวิจัยฉบับนี้ ได้เสนอแนะให้พวกประเทศยูโรโซนยอมรับกฎเกณฑ์ใหม่ทางด้านหนี้สินที่มีความเข้มงวด, ยินยอมให้ปัญหาการขาดดุลของแต่ละชาติสมาชิก ถูกกำกับตรวจสอบในระดับยูโรโซน โดยที่ถ้าหากชาติใดยังละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ก็จะต้องถูกลงโทษด้วยการปรับโดยอัตโนมัติ