xs
xsm
sm
md
lg

ก.ล.ต.ระดมพลสกัดนักการเมืองโกง เล็งออก “CSR Nnti-Corruption Guideline” เป็นแนวทาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ก.ล.ต.จับมือ 3 หน่วยงานตลาดทุนจัดทำแผนมาตรการป้องกันคอร์รัปชันของนักการเมือง-ข้าราชการระดับสูงโดยใช้ตลาดทุน เหตุมารตรการปัจจุบันใช้ไม่ได้ผล เล็งออก “CSR Nnti-Corruption Guideline” เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการป้องปรามคอร์รัปชัน คาดแผนเสร็จภายในปีนี้

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ทาง ก.ล.ต.ได้มีการหารือกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) และสมาคมบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในเรื่องมาตรการป้องปราม เปิดโปงคอร์รัปชัน ของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง ที่ใช้เครื่องมือตลาดทุน ในโครงการที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลงาน ซึ่งมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้ ซึ่งมาตรการดูแลในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่ได้ผลจากเน้นตรวจสอบเฉพาะด้านผู้รับเงินเป็นหลัก จึงต้องมีการเพิ่มกระบวนการห้องปรามและตรวจสอบด้านผู้จ่ายเงิน

ทั้งนี้ จากการหารือเห็นควรให้มีมาตรการที่จะทำให้การจ่ายเงินคอร์รัปชันโดยธุรกิจต่างๆ นั้นทำได้ยากลำบากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันด้วยความสามารถเป็นหลักโดยจะเน้นทางด้านผู้จ่ายเงิน และควรมีมาตรการจูงใจ คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนด CSR Nnti- Corruption Guideline เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน ที่เข้าร่วมโครงการป้องปรามคอร์รัปชัน

สำหรับบริษัทใดเห็นด้วยกับ CSR Nnti-Corruption Guideline ให้บริษัทนั้นประกาศ CSR Nnti-Corruption Guideline ของตนเองว่า บริษัทจะไม่เป็นผู้จ่ายเงินคอร์รัปชันและบริษัทจะเรียกร้องให้ผู้ที่ขายสินค้าและบริการให้กับบริษัทต้องประกาศด้วย และอนาคตบริษัทจะไม่ค้าขายกับบริษัทใดที่ไม่ยอมประกาศ CSR Nnti-Corruption Guideline และบริษัทที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐจะต้องเป็นบริษัทที่มีการประกาศ CSR Nnti-Corruption และทางบลจ. ก็จะให้ความสำคัญเรื่องดักงล่าวในการจัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนเฉพาะหุ้นของบริษัทที่มีการประกาศ CSR Nnti-Corruption Guideline

อย่างไรก็ตาม มาตรการจูงใจอาจไม่เพียงพอ เพราะคาดจะมีบางบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามจึงควรมีมาตการกำกับตรวจสอบควบคู่โดยให้ออกกฎหมายทำนองเดียวกัน ก.ล.ต.สหรัฐฯ เพื่อทำหนดให้ผู้สอบบัญชีจะต้องแสดงรายการที่น่าสงสัยแยกออกต่างหากและให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อสุ่มตรวจสอบการจ่ายของบริษัทต่างๆ ที่จ่ายในรูปแบบเงินสด การสุ่มตรวจสอบไม่ที่จะเป็นอุปสรรคก่อการประกอบธุรกิจปกติของบริษัท จึงควรเน้นเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ เช่น มีรายได้เกินกว่า 200 ล้านบาท เป็นต้น และเน้นเฉพาะกรณีที่เป็นเงินก้อนใหญ่ เกินร้อยละ 10 ของแต่ละโครงการและเป็นจำนวนเงินเกินกว่า 10 ล้านบาทด้วย

นายธีระชัย กล่าวว่า สำหรับองค์กรที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบควรมีอำนาจในการเรียกเอกกสารรวมทั้งบุคคลต่างๆ มาให้ข้อมูล และองค์กรดังกล่าวควรส่งผลตรวจสอบโดยตรงไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อดำเนินคดีกับผู้รับและจ่ายเงิน ซึ่ง ก.ล.ต.อาจเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เหมาะสม และมาตรการกำกับตรวจสอบนี้ควรดำเนินการกับทุกบริษัทพร้อมกันและเท่าเทียมกันทั้งบริษัทจดทะเบียนและไม่เป็นบริษัทจดทะเบียน คาดว่า จะประกาศแผนงานที่ชัดเจนให้ทราบภายในสิ้นปีนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น