บลจ.แอสเซทพลัสคาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 870-950 จุด ตามผลกระทบจากต่างประเทศ ขณะที่ผลตอบแทนบอนด์ไทยยังได้รับอานิสงส์เงินทุนไหลเข้าต่อ ส่วนน้ำมัน-ทองคำยังผัวผวน แต่ระยะยาวราคายังดี
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วง 2 สัปดาห์นี้( 26 กันยายน - 7 ตุลาคม 2554) คาดว่า ดัชนี SETน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 870-950 จุด โดยในสัปดาห์นี้ SET Index น่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลก ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกานอกจากนั้นการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นอีกด้วย
ขณะที่ตลาดต่างประเทศน่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นของกรีซและทำให้ CDS ของกรีซปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปในเดือนกันยายนก็ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนั้นเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25 % และประกาศใช้มาตรการ Operation Twist ด้วยการใช้เงินมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอายุการไถ่ถอน 6-30 ปี พร้อมกับขายพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือต่ำกว่าทำให้เกิดความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ต้องติดตามคือการประชุมผ่านร่างกฎหมายเพื่อขยายวงเงินกองทุนเพื่อความช่วยเหลือทางการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยคาดว่าดัชนี
S&P500 น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,100-1,150 จุด ขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 16,800-17,800 จุด
ส่วนแนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรในสองสัปดาห์ข้างหน้าคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยน่าจะได้รับอิทธิพลจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง ทั้งนี้มีปัจจัยที่ต้องจับตาดูได้แก่แนวโน้มการตัดสินใจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งจะมีการประชุมขึ้นในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 โดยตลาดส่วนใหญ่คาดว่ากนง.มีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม ทั้งนี้ ปัญหาจากซีกโลกตะวันตกที่ส่อเค้ายังไม่มีทางออกชัดเจนขึ้นจะเป็นเหตุผลประกอบการพิจารณาในนโยบายอัตราดอกเบี้ยด้วย
ขณะที่ราคาน้ำมันในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้า คาดว่า ราคาน้ำมันดิบน่าจะยังผันผวนจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจของโลก อย่างไรก็ดี ในระยะยาวนักลงทุนยังมองว่าปัจจัยภาวะเงินเฟ้อ และความต้องการบริโภคน้ำมันโดยเฉพาะในประเทศจีนน่าจะช่วยพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ผันผวนลงไปต่ำกว่าระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ 71.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาทองคำ จะมีความผันผวนสูงตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ผันผวนตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ
แต่ในระยะยาวความผันผวนน่าจะเบาบางลงหลังจากที่นักลงทุนหายตื่นตระหนก ในระยะสั้นนี้นักลงทุนอาจจับตาดูและเฝ้าระวังหากราคาลงไปใกล้ระดับราคาเฉลี่ยในช่วง 150 วันก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 1,573 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วง 2 สัปดาห์นี้( 26 กันยายน - 7 ตุลาคม 2554) คาดว่า ดัชนี SETน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 870-950 จุด โดยในสัปดาห์นี้ SET Index น่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลก ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกานอกจากนั้นการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นอีกด้วย
ขณะที่ตลาดต่างประเทศน่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นของกรีซและทำให้ CDS ของกรีซปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปในเดือนกันยายนก็ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนั้นเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25 % และประกาศใช้มาตรการ Operation Twist ด้วยการใช้เงินมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอายุการไถ่ถอน 6-30 ปี พร้อมกับขายพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือต่ำกว่าทำให้เกิดความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ต้องติดตามคือการประชุมผ่านร่างกฎหมายเพื่อขยายวงเงินกองทุนเพื่อความช่วยเหลือทางการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนกันยายน โดยคาดว่าดัชนี
S&P500 น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,100-1,150 จุด ขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 16,800-17,800 จุด
ส่วนแนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรในสองสัปดาห์ข้างหน้าคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยน่าจะได้รับอิทธิพลจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง ทั้งนี้มีปัจจัยที่ต้องจับตาดูได้แก่แนวโน้มการตัดสินใจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งจะมีการประชุมขึ้นในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 โดยตลาดส่วนใหญ่คาดว่ากนง.มีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม ทั้งนี้ ปัญหาจากซีกโลกตะวันตกที่ส่อเค้ายังไม่มีทางออกชัดเจนขึ้นจะเป็นเหตุผลประกอบการพิจารณาในนโยบายอัตราดอกเบี้ยด้วย
ขณะที่ราคาน้ำมันในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้า คาดว่า ราคาน้ำมันดิบน่าจะยังผันผวนจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจของโลก อย่างไรก็ดี ในระยะยาวนักลงทุนยังมองว่าปัจจัยภาวะเงินเฟ้อ และความต้องการบริโภคน้ำมันโดยเฉพาะในประเทศจีนน่าจะช่วยพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ผันผวนลงไปต่ำกว่าระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ 71.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาทองคำ จะมีความผันผวนสูงตามความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ผันผวนตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ
แต่ในระยะยาวความผันผวนน่าจะเบาบางลงหลังจากที่นักลงทุนหายตื่นตระหนก ในระยะสั้นนี้นักลงทุนอาจจับตาดูและเฝ้าระวังหากราคาลงไปใกล้ระดับราคาเฉลี่ยในช่วง 150 วันก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 1,573 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์