Thai BMA เผยนักลงทุนต่างชาติแห่เข้าลงทุนในเอเชียเพิ่มอีก 30% หลังเจอมาตรการ QE2 ส่งผลเงินในระบบประเทศสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น ด้านยุโรปยังฟื้นตัวช้า ขณะที่การซื้อขายตราสรารหนี้ในตลาดรองปีนี้ไม่คึกหลังดอกเบี้ยมีการรปรับตัวเพิ่มขึ้น
นางสายชล ลิสวัสดิ์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หรือ ThaiBMA เปิดถึงการคาดการณ์ภาวะตลาดตราสารหนี้นี้ในปีนี้ว่า การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติยังคงได้รับผลจากของมาตรการ QE2 ที่จะทำให้ปริมาณเงินในระบบของประเทศสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นมาก ประกอบกับการที่เศรษฐกิจทั้งในส่วนของสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่มยุโรปที่ยังคงฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียในที่สุดแล้วจะมีผลทำให้เม็ดเงินต่างชาติเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้รวมถึงเข้ามาลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามความเป็นไปได้ที่ทางการอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาเป็นปริมาณมากยังคงเป็นปัจจัยลบที่คอยกดดันให้ต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนมากเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงคาดว่ามูลค่าการลงทุนของต่างชาติน่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอยู่ในช่วงประมาณ 20% - 30%
สำหรับช่วงอายุของตราสราหนี้ที่จะเป็นที่นิยมซื้อขายในตลาดรองปีนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไทย น่าจะอยู่ในช่าวขาขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วยซึ่งในที่สุดแล้วจะมีผลทำให้ราคาของตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ดังนั้นการซื้อขายในตลาดรองจึงยังคงเน้นไปในตราสารที่มีอายุคงเหลือ < 5 ปี โดยเฉพาะตราสารที่มีอายุ < 1 ปี อยู่เช่นเดิม เนื่องจากตราสารกลุ่มนี้มี TTM และ Duration น้อย ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาจึงค่อนข้างน้อย
ส่วนการทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนมาจากความพยายามและความร่วมมือกันของหลายๆ หน่วยงานในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น ธปท., กลต. และ ThaiBMA มีผลช่วยทำให้ธุรกรรม Private Repo กลายเป็นที่รูจั้กของผู้ร่วมตลาดมากขึ้น และผู้ร่วมตลาดยังมองว่าธุรกรรม Repo สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยปริมาณของพันธบัตรในระบบที่จะนำมาทำ Repo นั้นยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด จึงเป็นผลกดดันทำให้การขยายตัวของธุรกรรมประเภทนี้อาจจะไม่สูงมากนัก ซึ่งโดยรวมแล้วคาดว่ามูลค่าของธุรกรรม Private Repo น่าจะเติบโตขึ้นไปจากเดิมอีกประมาณ 20% - 30%
นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลแต่ละช่วงอายุคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกประมาณ 50 - 100 basis point จึงน่าจะส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในช่วงอายุต่างๆ ขยับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นของ R/P 1 Day ในอัตราที่ใกล้เคียงกันคือช่วงอายุของพันธบัตร ระดับของอัตราผลตอบแทนปีนี้
ต่ำกว่า 1 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 2.20% - 2.50% , 1 - 5 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 2.60% - 3.70% , 6 - 10 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 3.80% - 4.30% และมากกว่า 10 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 4.40% - 5.00%
ขณะที่การลงทุนในหุ้นกู้ปีนี้จากจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น และน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปี 2553 ที่ผ่านมา นักลงทุนจึงมองหาช่องทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับในปีหน้า คาดว่าจะมีหุ้นกู้ออกใหม่อีกเป็นจำนวนมาก หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่จึงมองว่า การลงทุนในหุ้นกู้น่าจะปรับตัวสูงขึ้นไปจากเดิมอีกประมาณ 15% - 20%
นางสายชล ลิสวัสดิ์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หรือ ThaiBMA เปิดถึงการคาดการณ์ภาวะตลาดตราสารหนี้นี้ในปีนี้ว่า การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติยังคงได้รับผลจากของมาตรการ QE2 ที่จะทำให้ปริมาณเงินในระบบของประเทศสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นมาก ประกอบกับการที่เศรษฐกิจทั้งในส่วนของสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่มยุโรปที่ยังคงฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียในที่สุดแล้วจะมีผลทำให้เม็ดเงินต่างชาติเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้รวมถึงเข้ามาลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามความเป็นไปได้ที่ทางการอาจจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่มีเงินทุนไหลเข้ามาเป็นปริมาณมากยังคงเป็นปัจจัยลบที่คอยกดดันให้ต่างชาติไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุนมากเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงคาดว่ามูลค่าการลงทุนของต่างชาติน่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอยู่ในช่วงประมาณ 20% - 30%
สำหรับช่วงอายุของตราสราหนี้ที่จะเป็นที่นิยมซื้อขายในตลาดรองปีนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไทย น่าจะอยู่ในช่าวขาขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วยซึ่งในที่สุดแล้วจะมีผลทำให้ราคาของตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ดังนั้นการซื้อขายในตลาดรองจึงยังคงเน้นไปในตราสารที่มีอายุคงเหลือ < 5 ปี โดยเฉพาะตราสารที่มีอายุ < 1 ปี อยู่เช่นเดิม เนื่องจากตราสารกลุ่มนี้มี TTM และ Duration น้อย ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาจึงค่อนข้างน้อย
ส่วนการทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนมาจากความพยายามและความร่วมมือกันของหลายๆ หน่วยงานในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น ธปท., กลต. และ ThaiBMA มีผลช่วยทำให้ธุรกรรม Private Repo กลายเป็นที่รูจั้กของผู้ร่วมตลาดมากขึ้น และผู้ร่วมตลาดยังมองว่าธุรกรรม Repo สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยปริมาณของพันธบัตรในระบบที่จะนำมาทำ Repo นั้นยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด จึงเป็นผลกดดันทำให้การขยายตัวของธุรกรรมประเภทนี้อาจจะไม่สูงมากนัก ซึ่งโดยรวมแล้วคาดว่ามูลค่าของธุรกรรม Private Repo น่าจะเติบโตขึ้นไปจากเดิมอีกประมาณ 20% - 30%
นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลแต่ละช่วงอายุคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกประมาณ 50 - 100 basis point จึงน่าจะส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลในช่วงอายุต่างๆ ขยับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นของ R/P 1 Day ในอัตราที่ใกล้เคียงกันคือช่วงอายุของพันธบัตร ระดับของอัตราผลตอบแทนปีนี้
ต่ำกว่า 1 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 2.20% - 2.50% , 1 - 5 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 2.60% - 3.70% , 6 - 10 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 3.80% - 4.30% และมากกว่า 10 ปีผลตอบแทนอยู่ที่ 4.40% - 5.00%
ขณะที่การลงทุนในหุ้นกู้ปีนี้จากจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น และน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปี 2553 ที่ผ่านมา นักลงทุนจึงมองหาช่องทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับในปีหน้า คาดว่าจะมีหุ้นกู้ออกใหม่อีกเป็นจำนวนมาก หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่จึงมองว่า การลงทุนในหุ้นกู้น่าจะปรับตัวสูงขึ้นไปจากเดิมอีกประมาณ 15% - 20%