xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดหุ้นไทยพื้นฐานดี มุมมองเชิงบวก....น่าลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ เปิดเผยแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นว่า บริษัทยังคงมุมมองในเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเป้าหมาย SET Index ที่ 1,200 จุดในปี 2011 ซึ่งการปรับขึ้นของดัชนีในปี 2011 จะมาจากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในเชิงปริมาณ (QE2) ของสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อดัชนีของตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่องที่เกิดจากการอัดฉีดเม็ดเงินของสหรัฐฯ ความเปราะบางของตลาดก็ย่อมจะมีมากขึ้น ทำให้เราเชื่อว่า แม้ในปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้น จะยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ควรจะต้องให้ความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น เพราะหากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติมีการไหลกลับเข้าสหรัฐฯ หรือไหลออกจากการลงทุนใน Risky Assets ดัชนีก็สามารถปรับตัวลดลงได้อย่างมากและเร็วเช่นกัน

ทั้งนี้จากการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับเพิ่มขึ้นมากว่า 160% ขึ้นมาสู่ระดับ 1,000 จุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤต Lehman ในช่วงปลายปี 2008 อาจจะมีคำถามว่า ณ ขณะนี้ตลาดหุ้นไทยเกิดภาวะฟองสบู่ (Bubble) ขึ้นแล้วหรือยัง เม็ดเงินลงทุนต่างชาติจะเข้ามาอีกมากน้อยแค่ไหน และ Valuation ณ ขณะนี้ยังมี Upside หรือไม่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงกลัวกับภาพที่ SET Index ปรับตัวลดลงรุนแรงจากระดับ 1,700 จุดลงมาในช่วงปี 1993

อย่างไรก็ตามในมุมมองของบริษัท เชื่อว่า ถึงแม้สภาพคล่องที่ไหลเข้ามาจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นคล้ายกับในช่วงปี 1993 แต่หากกลับไปดูในอดีต จะพบว่ายังมีปี 2003 ที่ดัชนีตลาดหุ้นไทย และดัชนีของตลาดเกิดใหม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องจากการปรับลดดอกเบี้ยในสหรัฐฯ เช่นกัน

ทั้งนี้หากเทียบสองช่วงเวลาดังกล่าว กับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทเชื่อว่ามีความใกล้เคียงกับช่วงปี 2003 โดยเฉพาะในเรื่องของ Valuations ของตลาด, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์, ความแข็งแรงของสถานะทางการเงินของบริษัท และอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังคงต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เพียงแต่สิ่งที่แตกต่างสำคัญในช่วงปี 1993 และเกิดการปรับตัวลดลงรุนแรงในเวลาต่อมาคือ ความแข็งแกร่งของงบดุล ที่ในตอนนั้นงบดุลของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างอ่อนแอ รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศยังอยู่ในสภาวะขาดดุล และอัตราแลกเปลี่ยนที่ในขณะนั้นยังคงถูกตรึงไว้กับดอลลาห์สหรัฐ ทำให้เมื่อเกิดเม็ดเงินลงทุนไหลออกจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน ทำให้ตลาดปรับตัวลดลงรุนแรงได้ในทันที

ในทางกลับกัน หากวิเคราะห์ในช่วงปี 2003 ที่งบดุลบริษัทมีความแข็งแกร่งและประเทศอยู่ในสภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ถึงแม้ Fed จะยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับขึ้นได้ ทำให้เราเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานของตลาดเกิดใหม่ในขณะนี้ ที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับปี 2003 ประกอบกับนโยบายทางการเงินเชิงผ่อนคลายของสหรัฐฯ ที่จะกินเวลาไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี จะทำให้สภาพคล่องไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ และส่งผลให้มีการปรับขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นต่อไป

ทั้งนี้ หากวิเคราะห์พุ่งเป้ามาที่การลงทุนในแถบ Asia (Ex-Japan) การปรับเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นในแถบนี้อาจทำให้นักลงทุนกังวลถึงสภาวะฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากความกังวลในเรื่องนี้ เราจึงได้นำปัจจัยต่างๆมาเปรียบเทียบให้ดูว่า ณ ตอนนี้ตลาดหุ้นในเอเชียเกิดภาวะฟองสบู่แล้วหรือยัง ซึ่งโดยสรุปเชื่อว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคนี้ยังคงมี Upside

นอกจากนี้หากพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของ Net Debt to Equity Ratio และ Loan to Deposit Ratio ของภูมิภาคเอเชีย จะเห็นได้ว่า Ratios ทั้งสองนี้ช่วยสร้างความมั่นใจว่าภาวะฟองสบู่ที่เกิดจากเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ายังไม่มีอะไรที่เป็นความเสี่ยง ณ ขณะนี้
ขณะเดียวกันอีกปัจจัยหนึ่งที่เราใช้ ในการดูว่าตลาดหุ้นเกิดภาวะฟองสบู่แล้วหรือยัง สามารถดูได้จากขนาดของการออกหุ้นเพิ่มทุน เทียบกับมูลค่าตลาด ถ้าแตะที่ระดับ 4% จะเป็นสัญญาณของภาวะฟองสบู่ ซึ่งถ้าดู ratio นี้ ณ ปัจจุบันยังไม่มีสัญญานของภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตามจากภาพรวมของปัจจัยภายนอกที่ยังคงเอื้อต่อ Fund Flow ที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในแถบเอเชียรวมทั้งตลาดไทย เรายังมองเห็นว่าตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ที่จะยังคงสนับสนุนการปรับตัวขึ้นของดัชนีในปี 2011 ดังนี้

1.Valuation ของตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกันยังคงมีความน่าสนใจสูง ในปี 2011 คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะมี Earning Growth ที่ 18.1% ถ้าใช้ PEG (PER to Growth) Ratio ในการเปรียบเทียบ จะเห็นว่า PEG ของตลาดหุ้นไทยอยู่ใน 4 อันดับแรกของ Valuation ที่ยังถูกอยู่เมื่อเทียบกับ Growth ในขณะเดียวกัน Dividend Yield ของตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 3.9% เป็นรองเพียงแค่ประเทศไต้หวันเท่านั้น

2.นโยบายของรัฐบาลยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยภาพของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกถูกกระทบจากอัตราการเติบโตที่ชะลอลงในปีหน้า รัฐบาลจึงหันมาเน้นที่จะให้เศรษฐกิจเติบโตจากการบริโภคและการลงทุนมากขึ้น เห็นได้จากการวางเป้าการขาดดุลงบประมาณในปี 2011 ที่ 3.9% ของ GDP ข่าวต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนในเมกะโปรเจค จะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ดีต่อตลาดหุ้น

3.การปรับขึ้นของ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ถ่านหิน และ ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก QE2 จะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักในหุ้นกลุ่มนี้ถึง 1/3 ของมูลค่าตลาดโดยรวม เราเชื่อว่าหุ้นกลุ่มนี้จะนำตลาดขึ้นในปี 2011 ได้ นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ผ่านมา เราได้เห็นแล้วว่าถึงแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตแบบ L-Shaped ราคาน้ำมันก็สามารถปรับขึ้นได้ และสามารถยืนเหนือ 80 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ได้อย่างมั่นคง ทำให้เราเชื่อว่า Downside ของราคาน้ำมันมีจำกัด โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นมายืนเหนือ 90เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ภายในสิ้นปี 2011

จากปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยที่ยังคงแข็งแกร่ง ประกอบกับเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่จะไหลเข้ามาจากมาตรการ QE2 เราเชื่อว่าดัชนีของตลาดจะสามารถปรับขึ้นไปได้ในกรอบ 1,100 -1,200 จุด คิดเป็น PER’11 ที่ 13.58x - 14.80x ซึ่ง PER ในระดับนี้ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ที่ 15x ในช่วงปี 1990-2000 โดยเราจะเน้น หุ้นในกลุ่ม พลังงาน ปิโตรเคมี ธนาคารพาณิชย์ และวัสดุก่อสร้างเนื่องจากเราเชื่อว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะได้รับประโยชน์จาก QE2 และ การลงทุนในปี 2011

อย่างไรก็ตาม จากที่ได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ว่า เนื่องจากตลาดหุ้นในช่วงปีหน้าจะมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นตลาดจะมีความผันผวนมากขึ้น นักลงทุนพร้อมที่จะขายหุ้นเพื่อทำกำไรได้ตลอดเวลาหากเห็นสัญญาณใดๆ ที่ทำให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลออกและหากมีปัจจัยลบเกิดขึ้น ดัชนีตลาดก็จะปรับลดได้แรงเช่นกัน ดังนั้น สำหรับปี 2011 เราจึงอยากจะให้ความสำคัญกับการเฝ้าติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ตราบใดที่ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะเกิดขึ้น เรายังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป

ที่มา:บลจ.ทิสโก้
กำลังโหลดความคิดเห็น