xs
xsm
sm
md
lg

KTAMมองน้ำมัน-ทองคำปี53รุ่ง หลังดีมาน์ล้นเเต่ซัพพลายมีน้อย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุทยุต  เชื้อพานิช
 
ผู้จัดการกองทุน บลจ.กรุงไทย ประเมิน น้ำมัน-ทองคำ ยังมาเเรง หลังประเทศกำลังพัฒนาต้องการน้ำมันจำนวนมาก ส่วนธนาคารกลางหลายๆประเทศเริ่มสะสมทองคำแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ซัพพลายทั้งสองอย่างยังมีน้อย
 
นายสุทยุต  เชื้อพานิช ผู้จัดการ ฝ่ายลงทุน - ตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะนำโดยประเทศที่เกิดใหม่ ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตต้องพึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวผลักดันให้ความต้องการน้ำมันทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น Merrill Lynch คาดการณ์การเติบโตของความต้องการน้ำมันในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (non-OECD) ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
 
 ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง ในขณะที่กลุ่มโอเปค จะยังคงควบคุมซับพลาย์อย่างใกล้ชิดในปริมาณน้ำมันที่จำกัด ส่วนอัตราการขยายตัวของความต้องการน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกในปีหน้า
 
โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเพิ่มระดับความต้องการของโลหะในปี 2010 อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้โลหะจะเป็นไปอย่างช้าๆและยังมีความเสี่ยงที่ราคาจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนักเนื่องจากความต้องการจากประเทศที่พัฒนาแล้วยังไม่มากพอที่จะมาทดแทนการนำเข้าของจีนที่ลดลงได้
 
อย่างไรก็ตามความต้องการของทองคำจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากการที่รัฐบาลกลางหลายแห่งในโลกได้หันไปถือทองคำเพื่อเป็นทุนสำรอง แทนสกุลเงินดอลร์สหรัฐที่เริ่มจะแสดงความไม่แน่นอนให้เห็นปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับธนาคารกลางของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ คือ ทองคำอาจมีจำนวนไม่มากเพียงพอ
 
นายสุทยุต  กล่าวอีกว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เพิ่มความต้องการสินค้าเกษตรเป็นอย่างมาก แต่ด้านปริมาณการผลิตนั้นไม่อาจจะขยายตัวตามได้ทัน เมื่อเทียบกับปี 1970 ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 26% เพื่อเลี้ยงคนที่เพิ่มขึ้น 80% เนื่องจากความจำกัดทางปัจจัยพื้นฐานทำให้มีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่
 
ส่วนราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำในปัจจุบัน นับว่าเป็นจุดเข้าซื้อที่ดีสำหรับการลงทุนในระยะปานกลาง ความไม่สมดุลของความต้องการ และปริมาณที่มีของสินค้าเกษตรจะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นได้
 
ขณะที่ตราสารหนี้ภาคเอกชนมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลในปี 2010 เนื่องมาจากปัจจัยพื้นฐานของสินเชื่อที่ดีขึ้น รวมถึง ปัจจัยสนับสนุนทางเทคนิคในตลาดตราสารหนี้ ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ บริษัทเอกชนสามารถกู้ยิมเงินระยะยาวเพื่อมาใช้หนี้ระยะสั้นได้

 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับงบการเงิน ปัจจัยพื้นฐานของสินเชื่อที่ดีขึ้น ช่วยทำให้มุมมองต่อความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ดูดีขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่นในตลาดตราสารหนี้ประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูง ดังจะเห็นได้จากการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือStandard & Poor’s เริ่มเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทมากกว่าการปรับลดอันดับลง
กำลังโหลดความคิดเห็น