ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กแบงก์ชาติระบุแม้ราคาทองขึ้น แต่การซื้อทองเก็บในทุนสำรองคงไม่ได้ เหตุสภาพคล่องน้อย เผยสิ้นเดือน พ.ย.นี้ขอมติบอร์ดไฟเขียวลงทุนตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ที่ ธปท.ไม่ได้เป็นสมาชิก หวังกระจายความเสี่ยง และสร้างผลตอบแทนที่ดี พร้อมทำเครื่องชี้วัดระดับทุนสำรองเหมาะสมและสัดส่วนการใช้ Forward
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาทองคำจะปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แม้มีบางฝ่ายเสนอให้ ธปท.หันมาซื้อทองคำเก็บไว้ในทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ก็คงไม่ได้ เนื่องจากทองคำมีสภาพคล่องน้อย คือ ต้องใช้ระยะเวลาในการแปลงเป็นเงินอีกทั้งหากต่อไปราคาทองคำตกลงอาจส่งผลให้ขาดทุนได้
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) ปลายเดือน พ.ย.นี้ สายตลาดการเงิน ธปท.จะขออนุมัติให้สามารถนำทุนสำรองในส่วนของ ธปท.ไปลงทุนตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ ธปท.ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่มีความมั่นคงได้ เพื่อให้ ธปท.มีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น กระจายความเสี่ยง รวมถึงสร้างผลตอบแทนที่ดี แต่ยึดหลักความมั่นคงอันดับแรก และธปท.จะทยอยขอขยายขอบเขตในการลงทุนต่อไป ซึ่งจะเป็นเรื่องเก่าที่ยังค้างกับ กกธ.ชุดเก่า รวมถึงจะเป็นเรื่องที่มีโอกาสทำได้เร็วก็จะดำเนินการก่อน โดยพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ลงทุนได้จะต้องมีเรตติ้งไม่ต่ำกว่าระดับ A เช่นเดียวกับประเภทของตราสารหนี้ที่ ธปท.จะนำทุนสำรองไปลงทุนได้ในขณะนี้
ปัจจุบัน ธปท.สามารถนำทุนสำรองไปลงทุนได้เฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีความมั่นคงสูง โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า ระดับ A รวมถึงพันธบัตร และตราสารหนี้ขององค์กรการเงินระหว่างประเทศที่ธปท.เป็นสมาชิก เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เป็นต้น
ทำเครื่องชี้วัดระดับทุนสำรองฯ
ขณะนี้ ธปท.กำลังศึกษาเครื่องชี้วัดระดับเงินทุนสำรองในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะตลาดการเงินเปลี่ยนแปลงไป และมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกับเงินทุนสำรอง โดยเฉพาะโอกาสเงินไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนต่างๆ ในไทยจำนวนมาก อีกทั้งคาดว่าจะมีกระแสเงินทุนต่างชาติเข้ามาในเอเชียเยอะขึ้น รวมถึงไทยด้วยประกอบกับในปัจจุบันปริมาณเงินทุนสำรองมีจำนวนมากพอสมควร ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มต้นทุนในการดูดซับสภาพคล่องได้ และหากน้อยเกินไปอาจดูเหมือนไม่มั่นคงในสายตานักลงทุน จึงต้องพิจารณาระดับทุนสำรองให้เหมาะสม
“ในอดีตไทยมีหนี้ค่อนข้างเยอะ แต่เงินสำรองมีน้อย ทำให้หลักการพิจารณาทุนสำรองที่เหมาะสมจะดูจากเงินสำรองมากกว่า 2 เท่าของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และมี 5.5 เท่าของหนี้ระยะสั้น รวมถึงดูจาก 12 เดือนของการนำเข้า แต่ปัจจุบันสถานการณ์กลับกันไทยมีทุนสำรองเยอะ แต่มีหนี้น้อย จึงต้องพิจารณาระดับทุนสำรองใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”
หาสัดส่วนใช้Forwardแทรกบาท
หลักการบริหารเงินสำรองของไทยในปัจจุบันจะเน้นดูแลสภาพคล่อง สร้างความมั่นคง และให้ได้ผลตอบแทนที่ดีผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย และการใช้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(Forward) เพื่อดูดซับสภาพคล่องของธปท.ในปัจจุบัน แม้สัดส่วน Forward จะสูง แต่ในอดีตเคยมีสูงกว่านี้ ทำให้สายตลาดการเงินกำลังพิจารณาสัดส่วนการใช้ Forward เทียบกับทุนสำรองที่เหมาะสมด้วยว่าควรอยู่ระดับใด เพราะหากมี Forward ต่ำมากอาจกระทบตลาด Swap ขาดสภาพคล่องได้ รวมถึงนักลงทุนเกิดความกังวลได้
ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะไทยมีการลดใช้เงินดอลลาร์ และจากการสำรวจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณ80%ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด พบว่า สัดส่วนเงินดอลลาร์ในปี 43 เทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้ลดลงทุกประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีการใช้เงินดอลลาร์จาก 91% เหลือ 88% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจาก 58% เหลือ 48%
อย่างไรก็ตาม การถือเงินทุนสำรองไว้ 1.เพื่อใช้ในการทำนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงรักษาความมั่นใจให้แก่นักลงทุนเห็นว่าไทยมีเสถียรภาพ 2. .เพื่อหนุนหลังในการออกธนบัตร ปกติใช้เงินหนุนหลังอยู่ที่ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ขณะนี้ปริมาณการใช้ธนบัตรในแต่ละปีไม่มากนัก แต่หากเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นปริมาณการใช้ธนบัตรเพิ่มขึ้น 3.เพื่อรองรับเงินไหลเข้ามายังไทย ซึ่งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากในขณะนี้ยังไม่ใช่เงินลงทุนที่แท้จริง พร้อมทั้งรองรับภาคธุรกิจในการขยายกำลังการผลิต และความต้องการนำเข้าสินค้าในอนาคต และ4.เพื่อบริหารอัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทแข็งก็ต้องมีไว้หนุนมากขึ้นด้วย แม้ขณะนี้ยังไม่ได้มีปัญหา.
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาทองคำจะปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แม้มีบางฝ่ายเสนอให้ ธปท.หันมาซื้อทองคำเก็บไว้ในทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ก็คงไม่ได้ เนื่องจากทองคำมีสภาพคล่องน้อย คือ ต้องใช้ระยะเวลาในการแปลงเป็นเงินอีกทั้งหากต่อไปราคาทองคำตกลงอาจส่งผลให้ขาดทุนได้
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการ ธปท. (กกธ.) ปลายเดือน พ.ย.นี้ สายตลาดการเงิน ธปท.จะขออนุมัติให้สามารถนำทุนสำรองในส่วนของ ธปท.ไปลงทุนตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ ธปท.ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่มีความมั่นคงได้ เพื่อให้ ธปท.มีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น กระจายความเสี่ยง รวมถึงสร้างผลตอบแทนที่ดี แต่ยึดหลักความมั่นคงอันดับแรก และธปท.จะทยอยขอขยายขอบเขตในการลงทุนต่อไป ซึ่งจะเป็นเรื่องเก่าที่ยังค้างกับ กกธ.ชุดเก่า รวมถึงจะเป็นเรื่องที่มีโอกาสทำได้เร็วก็จะดำเนินการก่อน โดยพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ลงทุนได้จะต้องมีเรตติ้งไม่ต่ำกว่าระดับ A เช่นเดียวกับประเภทของตราสารหนี้ที่ ธปท.จะนำทุนสำรองไปลงทุนได้ในขณะนี้
ปัจจุบัน ธปท.สามารถนำทุนสำรองไปลงทุนได้เฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีความมั่นคงสูง โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า ระดับ A รวมถึงพันธบัตร และตราสารหนี้ขององค์กรการเงินระหว่างประเทศที่ธปท.เป็นสมาชิก เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เป็นต้น
ทำเครื่องชี้วัดระดับทุนสำรองฯ
ขณะนี้ ธปท.กำลังศึกษาเครื่องชี้วัดระดับเงินทุนสำรองในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะตลาดการเงินเปลี่ยนแปลงไป และมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกับเงินทุนสำรอง โดยเฉพาะโอกาสเงินไหลเข้าออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนต่างๆ ในไทยจำนวนมาก อีกทั้งคาดว่าจะมีกระแสเงินทุนต่างชาติเข้ามาในเอเชียเยอะขึ้น รวมถึงไทยด้วยประกอบกับในปัจจุบันปริมาณเงินทุนสำรองมีจำนวนมากพอสมควร ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มต้นทุนในการดูดซับสภาพคล่องได้ และหากน้อยเกินไปอาจดูเหมือนไม่มั่นคงในสายตานักลงทุน จึงต้องพิจารณาระดับทุนสำรองให้เหมาะสม
“ในอดีตไทยมีหนี้ค่อนข้างเยอะ แต่เงินสำรองมีน้อย ทำให้หลักการพิจารณาทุนสำรองที่เหมาะสมจะดูจากเงินสำรองมากกว่า 2 เท่าของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และมี 5.5 เท่าของหนี้ระยะสั้น รวมถึงดูจาก 12 เดือนของการนำเข้า แต่ปัจจุบันสถานการณ์กลับกันไทยมีทุนสำรองเยอะ แต่มีหนี้น้อย จึงต้องพิจารณาระดับทุนสำรองใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”
หาสัดส่วนใช้Forwardแทรกบาท
หลักการบริหารเงินสำรองของไทยในปัจจุบันจะเน้นดูแลสภาพคล่อง สร้างความมั่นคง และให้ได้ผลตอบแทนที่ดีผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย และการใช้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า(Forward) เพื่อดูดซับสภาพคล่องของธปท.ในปัจจุบัน แม้สัดส่วน Forward จะสูง แต่ในอดีตเคยมีสูงกว่านี้ ทำให้สายตลาดการเงินกำลังพิจารณาสัดส่วนการใช้ Forward เทียบกับทุนสำรองที่เหมาะสมด้วยว่าควรอยู่ระดับใด เพราะหากมี Forward ต่ำมากอาจกระทบตลาด Swap ขาดสภาพคล่องได้ รวมถึงนักลงทุนเกิดความกังวลได้
ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะไทยมีการลดใช้เงินดอลลาร์ และจากการสำรวจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณ80%ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด พบว่า สัดส่วนเงินดอลลาร์ในปี 43 เทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้ลดลงทุกประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีการใช้เงินดอลลาร์จาก 91% เหลือ 88% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจาก 58% เหลือ 48%
อย่างไรก็ตาม การถือเงินทุนสำรองไว้ 1.เพื่อใช้ในการทำนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงรักษาความมั่นใจให้แก่นักลงทุนเห็นว่าไทยมีเสถียรภาพ 2. .เพื่อหนุนหลังในการออกธนบัตร ปกติใช้เงินหนุนหลังอยู่ที่ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ขณะนี้ปริมาณการใช้ธนบัตรในแต่ละปีไม่มากนัก แต่หากเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นปริมาณการใช้ธนบัตรเพิ่มขึ้น 3.เพื่อรองรับเงินไหลเข้ามายังไทย ซึ่งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากในขณะนี้ยังไม่ใช่เงินลงทุนที่แท้จริง พร้อมทั้งรองรับภาคธุรกิจในการขยายกำลังการผลิต และความต้องการนำเข้าสินค้าในอนาคต และ4.เพื่อบริหารอัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทแข็งก็ต้องมีไว้หนุนมากขึ้นด้วย แม้ขณะนี้ยังไม่ได้มีปัญหา.