บลจ.เอ็มเอฟซีเป็นปลื้ม ทาร์เก็ตฟันด์เข้าเป้าเป็นกองที่ 3 ของปี ล่าสุด "เอ็มเอฟซี โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 3" ใช้เวลาเพียง 2 เดือนครึ่งกำไร 10% ด้านบลจ.แมนูไลฟ์ จ่ายเงินปันผล "แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล" ครั้งแรกหลังตั้งกองทุนได้เพียง 2 สัปดาห์ ผู้ถือหน่วยเฮรับหน่วยลงทุนละ 0.70 บาทต่อหน่วย
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากดัชนีหุ้นไทยได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 3 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 10% โดยมีมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.20 บาท ซึ่งเข้าเงื่อนไขการเลิกกองทุนตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดโครงการ โดยผลการดำเนินงานดังกล่าวใช้เวลาเพียง 2 เดือนครึ่งหลังจากเปลี่ยนประเภทกองทุน ทั้งนี้ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 3 ถือเป็นกองทุนทาร์เกตฟันด์กองที่ 3 ของปีนี้ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีเอง กำลังอยู่ระหว่างการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี สปอท 9.99 (SPOT 9.99) มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนไว้ที่ 9.99% ภายในเวลา 1 ปี ซึ่งจะเสนอขายจนถึงวันที่ 16 กันยายนนี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีการบริหารแบบ Active เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเน้นลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีและมีสภาพคล่องสูง และตราสารหนี้ไทยที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาดได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนด้วยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใน SET50 Index Futures ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ กองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลา 1 ปี หากมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด SPOT 9.99 เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 11.19 บาทเป็นเวลา 5 วันทำการติดต่อกัน หรือ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 11.19 บาท และทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสดทั้งหมด ณ วันทำการใด และผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนคืนไม่ต่ำกว่า 10.99 บาท โดยบริษัทจะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงิน (MM-GOV) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความมั่นคง ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องของผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไป แต่หากเกินระยะเวลา 1 ปีแล้ว ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถเลือกได้สะดวกตามความต้องการว่าจะลงทุนต่อไป ซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม หรือขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ โดยกองทุนจะยังคงตั้งเป้าหมายผลตอบแทนไว้ที่ร้อยละ 9.99 ต่อไป
นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้มีมติให้จ่ายเงินปันผลของกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล (MS-EQ DIV) ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.70 บาท โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 16 กันยายน 2552 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในภายวันที่ 23 กันยายน 2552 นี้
ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล (MS-EQ DIV) ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดย ณ วันที่ 14 กันยายน 2552 มูลค่าทรัพท์สินสุทธิ เท่ากับ 66,526,667.18 บาทและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน เท่ากับ 10.7483 บาท การประกาศจ่ายเงินปันผลในครั้งนี้ เป็นการประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกหลังจากการจดทะเบียนกองทุน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552 เพียงประมาณ 2 สัปดาห์ เท่านั้น
สำหรับกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนระยะปานกลางถึงระยะยาวของหุ้นสามัญในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยคำนึงถึงราคาและมูลค่าที่เหมาะสม ปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ ประวัติการจ่ายเงินปันผลรวมถึงแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลของหลักทรัพย์นั้นๆ กองทุนจะมีการกระจายการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สำหรับการลงทุนในส่วนที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
โดยกองทุนนี้มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละ 12 ครั้ง โดยบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผล ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากกำไรสะสม หรือจากกำไรสุทธิ ซึ่งประกอบด้วยกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง (realized gain) และกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized gain) หรือจากการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ หรือ จากการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานดังกล่าว อาจไม่รวมถึงกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized gain) ก็ได้
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากดัชนีหุ้นไทยได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 3 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 10% โดยมีมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.20 บาท ซึ่งเข้าเงื่อนไขการเลิกกองทุนตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดโครงการ โดยผลการดำเนินงานดังกล่าวใช้เวลาเพียง 2 เดือนครึ่งหลังจากเปลี่ยนประเภทกองทุน ทั้งนี้ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โพรฟิต 10 ซีรี่ส์ 3 ถือเป็นกองทุนทาร์เกตฟันด์กองที่ 3 ของปีนี้ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีเอง กำลังอยู่ระหว่างการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี สปอท 9.99 (SPOT 9.99) มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนไว้ที่ 9.99% ภายในเวลา 1 ปี ซึ่งจะเสนอขายจนถึงวันที่ 16 กันยายนนี้ โดยกองทุนดังกล่าวมีการบริหารแบบ Active เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเน้นลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีและมีสภาพคล่องสูง และตราสารหนี้ไทยที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาดได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนด้วยการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใน SET50 Index Futures ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ กองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลา 1 ปี หากมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด SPOT 9.99 เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 11.19 บาทเป็นเวลา 5 วันทำการติดต่อกัน หรือ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 11.19 บาท และทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสดทั้งหมด ณ วันทำการใด และผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนคืนไม่ต่ำกว่า 10.99 บาท โดยบริษัทจะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงิน (MM-GOV) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความมั่นคง ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องของผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไป แต่หากเกินระยะเวลา 1 ปีแล้ว ผู้ถือหน่วยลงทุนจะสามารถเลือกได้สะดวกตามความต้องการว่าจะลงทุนต่อไป ซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม หรือขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ โดยกองทุนจะยังคงตั้งเป้าหมายผลตอบแทนไว้ที่ร้อยละ 9.99 ต่อไป
นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้มีมติให้จ่ายเงินปันผลของกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล (MS-EQ DIV) ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.70 บาท โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 16 กันยายน 2552 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในภายวันที่ 23 กันยายน 2552 นี้
ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนของ กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล (MS-EQ DIV) ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดย ณ วันที่ 14 กันยายน 2552 มูลค่าทรัพท์สินสุทธิ เท่ากับ 66,526,667.18 บาทและมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุน เท่ากับ 10.7483 บาท การประกาศจ่ายเงินปันผลในครั้งนี้ เป็นการประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรกหลังจากการจดทะเบียนกองทุน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552 เพียงประมาณ 2 สัปดาห์ เท่านั้น
สำหรับกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ ปันผล เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนระยะปานกลางถึงระยะยาวของหุ้นสามัญในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยคำนึงถึงราคาและมูลค่าที่เหมาะสม ปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ ประวัติการจ่ายเงินปันผลรวมถึงแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลของหลักทรัพย์นั้นๆ กองทุนจะมีการกระจายการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สำหรับการลงทุนในส่วนที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
โดยกองทุนนี้มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละ 12 ครั้ง โดยบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผล ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากกำไรสะสม หรือจากกำไรสุทธิ ซึ่งประกอบด้วยกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง (realized gain) และกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized gain) หรือจากการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ หรือ จากการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานดังกล่าว อาจไม่รวมถึงกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized gain) ก็ได้