คอลัมน์ : จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
สำหรับนักลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดได้แก่ความเสี่ยงที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวจะผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน หรือ Default Risk ถึงแม้ว่าหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพหรืออีกนัยหนึ่งหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่สูงจะถูกประเมินจากบริษัทจัดอันดับเครดิตแล้วว่ามีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ความสามารถในการชำระหนี้ได้ตลอดอายุของหุ้นกู้เอกชนนั้นๆอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลงได้ เนื่องจากสภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูงและการแข่งขันทางธุรกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ในทางปฏิบัติ ผู้ลงทุนจะมีบริษัทจัดอันดับเครดิตคอยช่วยติดตามและให้ข้อมูลความเป็นไปของบริษัท รวมถึงคอยเตือนถึงความเสี่ยงในเรื่องสถานะทางการเงินว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ในความเป็นจริงคือ การประกาศเตือนในเรื่องเครดิตหรือการปรับลดอันดับเครดิตมักจะไม่ค่อยทันการณ์ ดังนั้น การติดตามความเสี่ยงของหุ้นกู้เอกชนที่ผู้ลงทุนถืออยู่ด้วยตนเองน่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี และยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างสูง
การติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลของหุ้นกู้เอกชนที่เรามีอยู่ที่น่าจะทำได้ไม่ยากและค่อนข้างจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงข้างต้นได้ดีพอสมควร ได้แก่การบันทึกและติดตามข้อมูลแนวโน้มสัดส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้เอกชนดังกล่าวด้วยตนเอง
-การติดตามข้อมูลดังกล่าวควรทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อดูแนวโน้มอย่างใกล้ชิดและทันการณ์ในกรณีเกิดความผิดปรกติขึ้น อาทิเช่น รายไตรมาส เป็นต้น
-การเลือกลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงในแง่ของการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน
ข้อมูลสัดส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ได้แก่
1.Leverage Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่บ่งบอกถึงปริมาณการใช้หนี้ในการดำเนินงานของบริษัท หรืออีกนัยหนึ่งช่วยให้ภาพของบริษัทในเรื่องความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้ได้กระแสเงินสดว่าเพียงพอต่อภาระผูกพันหรือไม่
2.Liquidity Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยบ่งบอกความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น สัดส่วนทางการเงินในหมวดนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเจ้าหนี้ระยะสั้นหรือเมื่อหุ้นกู้เอกชนมีอายุใกล้วันครบกำหนดไถ่ถอน
3.Operational Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยวัดประสิทธิภาพของบริษัทในการดำเนินงานว่ามีการใช้ทรัพยากรต่างๆของบริษัทอย่างคุ้มค่าหรือไม่
4.Profitability Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยวัดความสามารถในการทำกำไรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบอกถึงความสามารถของบริษัทในการผลิตกระแสเงินสดเพื่อใช้ชำระหนี้
5.Solvency Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ให้ภาพของบริษัทในเรื่องความเพียงพอและความแน่นอนของกระแสเงินสดที่บริษัทสามารถทำได้ว่าสามารถชำระภาระผูกพันที่มีได้หรือไม่
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
สำหรับนักลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดได้แก่ความเสี่ยงที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวจะผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน หรือ Default Risk ถึงแม้ว่าหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพหรืออีกนัยหนึ่งหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่สูงจะถูกประเมินจากบริษัทจัดอันดับเครดิตแล้วว่ามีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ความสามารถในการชำระหนี้ได้ตลอดอายุของหุ้นกู้เอกชนนั้นๆอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลงได้ เนื่องจากสภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูงและการแข่งขันทางธุรกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ในทางปฏิบัติ ผู้ลงทุนจะมีบริษัทจัดอันดับเครดิตคอยช่วยติดตามและให้ข้อมูลความเป็นไปของบริษัท รวมถึงคอยเตือนถึงความเสี่ยงในเรื่องสถานะทางการเงินว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ในความเป็นจริงคือ การประกาศเตือนในเรื่องเครดิตหรือการปรับลดอันดับเครดิตมักจะไม่ค่อยทันการณ์ ดังนั้น การติดตามความเสี่ยงของหุ้นกู้เอกชนที่ผู้ลงทุนถืออยู่ด้วยตนเองน่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารความเสี่ยงที่ช่วยบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่การฟื้นตัวอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี และยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างสูง
การติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลของหุ้นกู้เอกชนที่เรามีอยู่ที่น่าจะทำได้ไม่ยากและค่อนข้างจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงข้างต้นได้ดีพอสมควร ได้แก่การบันทึกและติดตามข้อมูลแนวโน้มสัดส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้เอกชนดังกล่าวด้วยตนเอง
-การติดตามข้อมูลดังกล่าวควรทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อดูแนวโน้มอย่างใกล้ชิดและทันการณ์ในกรณีเกิดความผิดปรกติขึ้น อาทิเช่น รายไตรมาส เป็นต้น
-การเลือกลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงในแง่ของการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน
ข้อมูลสัดส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ได้แก่
1.Leverage Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่บ่งบอกถึงปริมาณการใช้หนี้ในการดำเนินงานของบริษัท หรืออีกนัยหนึ่งช่วยให้ภาพของบริษัทในเรื่องความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้ได้กระแสเงินสดว่าเพียงพอต่อภาระผูกพันหรือไม่
2.Liquidity Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยบ่งบอกความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น สัดส่วนทางการเงินในหมวดนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเจ้าหนี้ระยะสั้นหรือเมื่อหุ้นกู้เอกชนมีอายุใกล้วันครบกำหนดไถ่ถอน
3.Operational Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยวัดประสิทธิภาพของบริษัทในการดำเนินงานว่ามีการใช้ทรัพยากรต่างๆของบริษัทอย่างคุ้มค่าหรือไม่
4.Profitability Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ช่วยวัดความสามารถในการทำกำไรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบอกถึงความสามารถของบริษัทในการผลิตกระแสเงินสดเพื่อใช้ชำระหนี้
5.Solvency Ratios
หมายถึง สัดส่วนทางการเงินที่ให้ภาพของบริษัทในเรื่องความเพียงพอและความแน่นอนของกระแสเงินสดที่บริษัทสามารถทำได้ว่าสามารถชำระภาระผูกพันที่มีได้หรือไม่