คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การวิเคราะห์ความสามารถในการบริหารหนี้สิน (Debt Management Analysis) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประเมินถึงปริมาณการใช้หนี้สินของบริษัท ว่าบริษัทมีปริมาณหนี้สินมากน้อยเพียงใด สัดส่วนของโครงสร้างของเงินทุนของกิจการเป็นอย่างไร คือ บริษัทโดยรวมนั้นมีแหล่งของเงินทุนมาจากแหล่งใด มาจากแหล่งของหนี้สิน หรือมาจากแหล่งของเงินลงทุนของเจ้าของมากกว่ากัน หากบริษัทใดมีหนี้สินจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมากกว่าส่วนของเจ้าของ หรือเมื่อเรานำบริษัทที่จะทำการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งขันแล้ว เราจะสามารถทำการวิเคราะห์ได้ว่าบริษัทของเราเองนั้นใช้แหล่งที่มาของเงินทุนจากหนี้สินมากกว่าหรือน้อยกว่าคู่แข่งขัน
การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีหนี้สินมากจนเกินไป หรือมีหนี้สินน้อยจนเกินไปนั้น ก็ส่งผลให้เกิดข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน บริษัทที่มีหนี้สินมากจนเกินไปนั้น อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจมากกว่าบริษัทที่มีแหล่งเงินทุนจากหนี้สินน้อยกว่า หรือบริษัทที่ใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สินน้อยเกินไป ก็อาจทำให้สัดส่วนของเงินทุนของบริษัท มีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า เพราะการใช้สัดส่วนของหนี้สนิไม่เหามะสมของบริษัทอาจทำให้บริษัทมีต้นทุนสุงมากกว่าปกติได้เช่นกัน
อัตราส่วนแรกที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพหรือความสามารถในการบริหารหนี้สินนั้นก็คือ อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าฐานะทางการเงินของกิจการนั้นมาจากแหล่งของหนี้สินมากน้อยเพียงใด โดยอัตราส่วนนี้จะสามารถคำนวณได้จาก การนำเอาหนี้สินทั้งหมดที่กิจการมี หรือที่ปรากฎอยู่ในงบดุล หารด้วยสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมี แล้วคูรด้วย 100 จะทำให้เราทราบว่ากิจการนั้นมีหนี้สินคิดเป็นร้อยละเท่าใดต่อสินทรัพย์ หากบริษัทใดมีค่าอัตราส่วนดังกล่าวสูง แสดงให้เห็นว่ากิจการนั้นมีหนี้สินมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต หรือหากบริษัทต้องการที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็อาจจะกระทำได้ยากเช่นกัน เพราะผู้ให้กู้จะพิจารณาจากอัตราส่วนนี้
อัตราส่วนที่สองในกลุ่มนี้ คือ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Time Interest earned) สามรถคำนวณได้โดยนำเอากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) หรือกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (Earnings Before Interest and Taxes) ซึ่งเป็นค่าที่สามารถหาได้จากงบกำไรขาดทุนของบริษัท นำมาหารด้วยดอกเบี้ยจ่ายรายปีของบริษัท ซึ่งปรากฎอยู่ในงบดุลเช่นเดียวกัน ค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณนั้นจะทำให้เราทราบว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย ซึ่งเป็นรายจ่ายของการกู้ยืมเงินได้มากน้อยเพียงใด หากความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต่ำ บริษัทจะประสบปัญหาในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมในอนาคต
การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Analysis) เป็นการวัดถึงความสามารถในการทำกำไรด้านต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึงรายได้และรายจ่ายของกิจการว่ามีความสอดคล้องกันเพียงใด หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เป็นการวัดว่ากิจการมีรายจ่ายในส่วนใดมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน ยังคงวิเคราะห์ถึงความสามารถในการทำกำไรต่อเงินที่กิจการจัดสรรมาลงทุน เช่น การเปรียบเทียบกำไรกับเงินทุนที่เจ้าของนำมาลงทุน หรือการเปรียบเทียบกำไรกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่บริษัทได้ลงทุนไป
อัตรากำไรต่อยอดขาย (Profit Margin on Sales) เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของกิจการโดยเปรียบเทียบจากการนำเอากำไรสุทธิของกิจการ มาหารด้วยยอดขายที่บริษัทสามารถขายได้ตลอดทั้งปี และคูณด้วย 100 จะได้ผลการคำนวณออกมาเป็นอัตราร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ หากค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณนั้นมีค่ามาก ก็แสดงว่าบริษัทมีรายได้ดี และบริษัทก็มีรายจ่ายต่าง ๆ ที่ค่อนข้างน้อย หากค่าออกมาค่อนข้างน้อย แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีรายจ่ายมาก ทำให้อัตรากำไรมีน้อย อัตราส่วนนี้จึงบ่งบอกให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายของบริษัท ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Total Assets: ROA) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกำไรสุทธิของกิจการและสินทรัพย์รวมของกิจการ การคำนวณอัตราผลตอบแทนนี้สามารถทำได้โดย การนำเอากำไรสุทธิหารด้วยสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท และคูณด้วย 100 ผลที่ได้จากการคำนวณนั้นจะทำให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่า ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ที่บริษัทได้ซื้อมาหรือลงทุนไปนั้น มีความคุ้มค่าเพียงใด เพราะผลการคำนวณที่ได้จะออกมาในรูปของอัตราร้อยละ หากอัตราร้อยละมีค่าสูง ก็จะแสดงให้ทราบว่ากิจการมีผลกำไรค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทได้ลงทุนไป หากออกมาต่ำ ก็จะแสดงหเห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการกำไรต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนของบริษัทที่ได้ลงทุนไปในสินทรัพย์
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Common Equity: ROE) เป็นอัตราส่วนที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างผลกำไรของบริษัท และเงินทุนที่เจ้าของกิจการได้ลงทุนไป สามารถคำนวณได้โดย นำเอากำไรสุทธิของบริษัท หารด้วยส่วนของผู้เป็นเจ้าของ หรือเงินทุนที่กิจการได้ลงทุนไป) และคูณด้วย 100 ผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอัตราร้อยละ หากผลที่ได้มีค่าสูง ก็จะแสดงให้ทราบว่าบริษัทมีผลกำไรสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเงินที่ได้ลงทุนไป หากผลการคำนวณออกมาต่ำ ก็แสดงว่าบริษัทไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการดำเนินการ จึงทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของบริษัท ได้รับผลตอบแทนที่ต่ำ หรืออาจไม่คุ้มค่ากับการที่ได้ลงทุนไป
การวิเคราะห์มูลค่าทางการตลาด (Market Value Analysis) ซึ่งการวัดในกลุ่มนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นำมาเปรียบเทียบกับกำไรต่อหุ้น กระแสเงินสดต่อหุ้น และมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น เพื่อให้ทราบว่าบริษัทมีสถานะการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบแล้วดีมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทอื่น ๆ ได้
อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price/Earnings Ratio: P/E Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้นที่บริษัทมี การคำนวณอัตราส่วนนี้สามารถทำได้โดยการนำเอา ราคาหุ้นสามัญที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มาหหารด้วยกำไรต่อหุ้นของบริษัท ซึ่งค่าที่คำนวณได้ออกมาจะเป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่า หากบริษัทมีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ผู้ลงทุนโดยทั่วไปจะยินดีซื้อหุ้นของบริษัทในราคาเท่าใด หากค่าดังกล่าวมีค่าที่คำนวณได้สูง ก็จะแสดงให้เห็นว่าผุ้ลงทุนมองกิจการว่าจะมีอนาคตดี ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงที่สุด
ค่า P/E Ratio นั้นมีการมองในหลากหลายมุมมอง คือ อาจมีผู้วิเคราะห์บางรายมองว่าการที่มีค่า P/E Ratio สูงนั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะทำให้ระยะเวลาการคืนทุนของกิจการนั้นยาวนานออกไป เพราะการคำนวณค่า P/E นั้น เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างราคาหุ้นสามัญ และกำไรต่อหุ้น หากราคาหุ้นสามัญซื้อขายหุ้นละ 10 บาท และกิจการมีกำไรต่อหุ้น 1 บาท จะทำให้ได้ค่า P/E Ratio เท่ากับ 10 เท่า ก็จะแสดงให้เห็นว่าการลงทุนซื้อหุ้นในวันนี้จะต้องใช้ระยะเวลา 10 ปีจึงจะคืนทุน ดังนั้นค่า P/E ยิ่งมากก็แสดงว่าระยะเวลาในการคืนทุนนั้นยาวนานออกไป การมอง P/E Ratio ด้วยวิธีนี้นั้นอาจเป็นมุมมองในด้านระยะเวลาการคืนทุน แต่การลงทุนในหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนต้องมองอนาคตของกิจการเสมอ ผุ้ลงทุนควรมองที่ความมั่งคั่งของผุ้ลงทุนเอง หากค่า P/E ยิ่งมากก็จะแสดงให้เห็นว่าราคาหลักทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นมีค่าสูง ผุ้ลงทุนก็จะได้รับความมั่งคั่งที่สูงขึ้นด้วย
อัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสดต่อหุ้น (Price/Cash Flow Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีทัศนคติต่อหุ้นนี้อย่างไร ซึ่งอัตราส่วนนี้สามารถคำนวณได้โดยนำเอา ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หารด้วยกระแสเงินสดต่อหุ้นของกิจการ โดยผลที่คำนวณได้จะแสดงให้เห็นว่าหากกิจการมีกระแสเงินสดต่อหุ้น 1 บาท นักลงทุนจะยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในราคาเท่าใด ดังนั้นหากอัตราส่วนนี้มีอัตราที่สูง จึงแสดงว่าผุ้ลงทุนจะยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์สูงกว่าบริษัทอื่น
อัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาตามบัญชี (Market/Book Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบริษัท เพราะถ้าค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณมีค่าเท่าใดก็ตาม จะแสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีมุมมองต่อกิจการอย่างไร หากกิจการมีราคาหุ้นตามบัญชี 1 บาท ผู้ลงทุนจะยินดีซื้อหุ้นดังกล่าวในราคาใด โดยการคำนวณอัตราส่วนนี้สามารถทำได้โดย นำเอาราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์หารด้วยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นของกิจการ
อัตราส่วนทั้ง 5 กลุ่มนี้มีจุดประสงค์ในการวัดที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถวัดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวได้ การวิเคราะห์บริษัทจึงต้องกระทำทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน จะได้เห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของกิจการไปพร้อม ๆ กัน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การวิเคราะห์ความสามารถในการบริหารหนี้สิน (Debt Management Analysis) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประเมินถึงปริมาณการใช้หนี้สินของบริษัท ว่าบริษัทมีปริมาณหนี้สินมากน้อยเพียงใด สัดส่วนของโครงสร้างของเงินทุนของกิจการเป็นอย่างไร คือ บริษัทโดยรวมนั้นมีแหล่งของเงินทุนมาจากแหล่งใด มาจากแหล่งของหนี้สิน หรือมาจากแหล่งของเงินลงทุนของเจ้าของมากกว่ากัน หากบริษัทใดมีหนี้สินจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมากกว่าส่วนของเจ้าของ หรือเมื่อเรานำบริษัทที่จะทำการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งขันแล้ว เราจะสามารถทำการวิเคราะห์ได้ว่าบริษัทของเราเองนั้นใช้แหล่งที่มาของเงินทุนจากหนี้สินมากกว่าหรือน้อยกว่าคู่แข่งขัน
การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีหนี้สินมากจนเกินไป หรือมีหนี้สินน้อยจนเกินไปนั้น ก็ส่งผลให้เกิดข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน บริษัทที่มีหนี้สินมากจนเกินไปนั้น อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจมากกว่าบริษัทที่มีแหล่งเงินทุนจากหนี้สินน้อยกว่า หรือบริษัทที่ใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สินน้อยเกินไป ก็อาจทำให้สัดส่วนของเงินทุนของบริษัท มีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า เพราะการใช้สัดส่วนของหนี้สนิไม่เหามะสมของบริษัทอาจทำให้บริษัทมีต้นทุนสุงมากกว่าปกติได้เช่นกัน
อัตราส่วนแรกที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพหรือความสามารถในการบริหารหนี้สินนั้นก็คือ อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าฐานะทางการเงินของกิจการนั้นมาจากแหล่งของหนี้สินมากน้อยเพียงใด โดยอัตราส่วนนี้จะสามารถคำนวณได้จาก การนำเอาหนี้สินทั้งหมดที่กิจการมี หรือที่ปรากฎอยู่ในงบดุล หารด้วยสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมี แล้วคูรด้วย 100 จะทำให้เราทราบว่ากิจการนั้นมีหนี้สินคิดเป็นร้อยละเท่าใดต่อสินทรัพย์ หากบริษัทใดมีค่าอัตราส่วนดังกล่าวสูง แสดงให้เห็นว่ากิจการนั้นมีหนี้สินมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต หรือหากบริษัทต้องการที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็อาจจะกระทำได้ยากเช่นกัน เพราะผู้ให้กู้จะพิจารณาจากอัตราส่วนนี้
อัตราส่วนที่สองในกลุ่มนี้ คือ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Time Interest earned) สามรถคำนวณได้โดยนำเอากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) หรือกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (Earnings Before Interest and Taxes) ซึ่งเป็นค่าที่สามารถหาได้จากงบกำไรขาดทุนของบริษัท นำมาหารด้วยดอกเบี้ยจ่ายรายปีของบริษัท ซึ่งปรากฎอยู่ในงบดุลเช่นเดียวกัน ค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณนั้นจะทำให้เราทราบว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย ซึ่งเป็นรายจ่ายของการกู้ยืมเงินได้มากน้อยเพียงใด หากความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต่ำ บริษัทจะประสบปัญหาในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมในอนาคต
การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Analysis) เป็นการวัดถึงความสามารถในการทำกำไรด้านต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึงรายได้และรายจ่ายของกิจการว่ามีความสอดคล้องกันเพียงใด หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เป็นการวัดว่ากิจการมีรายจ่ายในส่วนใดมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน ยังคงวิเคราะห์ถึงความสามารถในการทำกำไรต่อเงินที่กิจการจัดสรรมาลงทุน เช่น การเปรียบเทียบกำไรกับเงินทุนที่เจ้าของนำมาลงทุน หรือการเปรียบเทียบกำไรกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่บริษัทได้ลงทุนไป
อัตรากำไรต่อยอดขาย (Profit Margin on Sales) เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของกิจการโดยเปรียบเทียบจากการนำเอากำไรสุทธิของกิจการ มาหารด้วยยอดขายที่บริษัทสามารถขายได้ตลอดทั้งปี และคูณด้วย 100 จะได้ผลการคำนวณออกมาเป็นอัตราร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ หากค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณนั้นมีค่ามาก ก็แสดงว่าบริษัทมีรายได้ดี และบริษัทก็มีรายจ่ายต่าง ๆ ที่ค่อนข้างน้อย หากค่าออกมาค่อนข้างน้อย แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีรายจ่ายมาก ทำให้อัตรากำไรมีน้อย อัตราส่วนนี้จึงบ่งบอกให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายของบริษัท ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Total Assets: ROA) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกำไรสุทธิของกิจการและสินทรัพย์รวมของกิจการ การคำนวณอัตราผลตอบแทนนี้สามารถทำได้โดย การนำเอากำไรสุทธิหารด้วยสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท และคูณด้วย 100 ผลที่ได้จากการคำนวณนั้นจะทำให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่า ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ที่บริษัทได้ซื้อมาหรือลงทุนไปนั้น มีความคุ้มค่าเพียงใด เพราะผลการคำนวณที่ได้จะออกมาในรูปของอัตราร้อยละ หากอัตราร้อยละมีค่าสูง ก็จะแสดงให้ทราบว่ากิจการมีผลกำไรค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทได้ลงทุนไป หากออกมาต่ำ ก็จะแสดงหเห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการกำไรต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนของบริษัทที่ได้ลงทุนไปในสินทรัพย์
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Common Equity: ROE) เป็นอัตราส่วนที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างผลกำไรของบริษัท และเงินทุนที่เจ้าของกิจการได้ลงทุนไป สามารถคำนวณได้โดย นำเอากำไรสุทธิของบริษัท หารด้วยส่วนของผู้เป็นเจ้าของ หรือเงินทุนที่กิจการได้ลงทุนไป) และคูณด้วย 100 ผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอัตราร้อยละ หากผลที่ได้มีค่าสูง ก็จะแสดงให้ทราบว่าบริษัทมีผลกำไรสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเงินที่ได้ลงทุนไป หากผลการคำนวณออกมาต่ำ ก็แสดงว่าบริษัทไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการดำเนินการ จึงทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของบริษัท ได้รับผลตอบแทนที่ต่ำ หรืออาจไม่คุ้มค่ากับการที่ได้ลงทุนไป
การวิเคราะห์มูลค่าทางการตลาด (Market Value Analysis) ซึ่งการวัดในกลุ่มนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นำมาเปรียบเทียบกับกำไรต่อหุ้น กระแสเงินสดต่อหุ้น และมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น เพื่อให้ทราบว่าบริษัทมีสถานะการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบแล้วดีมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทอื่น ๆ ได้
อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price/Earnings Ratio: P/E Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้นที่บริษัทมี การคำนวณอัตราส่วนนี้สามารถทำได้โดยการนำเอา ราคาหุ้นสามัญที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มาหหารด้วยกำไรต่อหุ้นของบริษัท ซึ่งค่าที่คำนวณได้ออกมาจะเป็นค่าที่แสดงให้ทราบว่า หากบริษัทมีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ผู้ลงทุนโดยทั่วไปจะยินดีซื้อหุ้นของบริษัทในราคาเท่าใด หากค่าดังกล่าวมีค่าที่คำนวณได้สูง ก็จะแสดงให้เห็นว่าผุ้ลงทุนมองกิจการว่าจะมีอนาคตดี ผู้ถือหุ้นมีความมั่งคั่งสูงที่สุด
ค่า P/E Ratio นั้นมีการมองในหลากหลายมุมมอง คือ อาจมีผู้วิเคราะห์บางรายมองว่าการที่มีค่า P/E Ratio สูงนั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะทำให้ระยะเวลาการคืนทุนของกิจการนั้นยาวนานออกไป เพราะการคำนวณค่า P/E นั้น เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างราคาหุ้นสามัญ และกำไรต่อหุ้น หากราคาหุ้นสามัญซื้อขายหุ้นละ 10 บาท และกิจการมีกำไรต่อหุ้น 1 บาท จะทำให้ได้ค่า P/E Ratio เท่ากับ 10 เท่า ก็จะแสดงให้เห็นว่าการลงทุนซื้อหุ้นในวันนี้จะต้องใช้ระยะเวลา 10 ปีจึงจะคืนทุน ดังนั้นค่า P/E ยิ่งมากก็แสดงว่าระยะเวลาในการคืนทุนนั้นยาวนานออกไป การมอง P/E Ratio ด้วยวิธีนี้นั้นอาจเป็นมุมมองในด้านระยะเวลาการคืนทุน แต่การลงทุนในหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนต้องมองอนาคตของกิจการเสมอ ผุ้ลงทุนควรมองที่ความมั่งคั่งของผุ้ลงทุนเอง หากค่า P/E ยิ่งมากก็จะแสดงให้เห็นว่าราคาหลักทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นมีค่าสูง ผุ้ลงทุนก็จะได้รับความมั่งคั่งที่สูงขึ้นด้วย
อัตราส่วนราคาต่อกระแสเงินสดต่อหุ้น (Price/Cash Flow Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีทัศนคติต่อหุ้นนี้อย่างไร ซึ่งอัตราส่วนนี้สามารถคำนวณได้โดยนำเอา ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หารด้วยกระแสเงินสดต่อหุ้นของกิจการ โดยผลที่คำนวณได้จะแสดงให้เห็นว่าหากกิจการมีกระแสเงินสดต่อหุ้น 1 บาท นักลงทุนจะยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในราคาเท่าใด ดังนั้นหากอัตราส่วนนี้มีอัตราที่สูง จึงแสดงว่าผุ้ลงทุนจะยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์สูงกว่าบริษัทอื่น
อัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาตามบัญชี (Market/Book Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อบริษัท เพราะถ้าค่าที่ได้ออกมาจากการคำนวณมีค่าเท่าใดก็ตาม จะแสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนมีมุมมองต่อกิจการอย่างไร หากกิจการมีราคาหุ้นตามบัญชี 1 บาท ผู้ลงทุนจะยินดีซื้อหุ้นดังกล่าวในราคาใด โดยการคำนวณอัตราส่วนนี้สามารถทำได้โดย นำเอาราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์หารด้วยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นของกิจการ
อัตราส่วนทั้ง 5 กลุ่มนี้มีจุดประสงค์ในการวัดที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถวัดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวได้ การวิเคราะห์บริษัทจึงต้องกระทำทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน จะได้เห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของกิจการไปพร้อม ๆ กัน