คอลัมน์: จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสซื้อพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5 ปีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีทางเลือกการลงทุนในตราสารหนี้อื่นๆที่อาจจะพอทดแทนกันได้ก็คือ กองทุนรวมปิดตราสารหนี้ กองทุนรวมดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีอายุไม่ยาวมากนัก ดังนั้นทำให้กองทุนรวมปิดตราสารหนี้มีข้อเสียเปรียบพันธบัตรออมทรัพย์ตรงที่มีอัตราผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ก็มีข้อดีอยู่ 2-3 ประการได้แก่
1.สภาพคล่อง ถ้าลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ผู้ลงทุนจำเป็นต้องลงทุนยาวถึง 5 ปี ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมปิดซึ่งอาจมีอายุครบกำหนดไถ่ถอนโดยทั่วไปประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดของภาวะถดถอยแล้ว การมีเงินสดอยู่ในมือบ้างรวมถึงการลงทุนสั้นๆอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในกรณีที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
2.ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย การลงทุนในรูปของกองทุนรวมจะได้รับการยกเว้นภาษีจากผลตอบแทนที่ได้ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝากที่ดอกเบี้ยรับจะต้องถูกหักภาษี ดังนั้นในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจึงควรเปรียบเทียบที่ผลตอบแทนสุทธิที่นักลงทุนได้รับ
3.อัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมากแล้ว มีสัญญาณหลายๆอย่างในตลาดตราสารหนี้ที่บ่งบอกถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของผลตอบแทนตราสารหนี้ทั้งหลาย) ว่าไม่น่าจะลดต่ำลงกว่านี้อีกแล้ว การล็อคอัตราดอกเบี้ยรับคงที่ในตราสารหนี้อายุยาวอาจจะทำให้เราเสียโอกาสในการลงทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้หากเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงอย่างรวดเร็ว
กองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาล (ไทย)
จากข้อมูลปัจจุบัน ไม่ค่อยมีกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุยาวถึง 5 ปี ส่วนใหญ่ที่เจออายุจะไม่เกิน 1 ปี ตารางข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ 5 ปี และการลงทุนในกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ไปเรื่อยๆจนถึงกำหนด 5 ปี (ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 1.50% ต่อปี) พบว่าการลงทุนทั้งสองแบบจะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกันภายใต้สมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้นทุกปีๆละ 1.00% อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวที่สมมติขึ้นก็คือหากสมมติฐานการขึ้นของดอกเบี้ยดังกล่าวไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมน้อยกว่าพันธบัตรออมทรัพย์
กองทุนรวมปิดหุ้นกู้เอกชน
เนื่องจากหุ้นกู้เอกชนเป็นการกู้ยืมของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นๆกับผู้ลงทุน ดังนั้นความเสี่ยงหลักที่สำคัญที่สุดคือความเสี่ยงในเรื่องของการผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่ได้สัญญาไว้และเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนควรจะดูเมื่อลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจึงได้แก่อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของหุ้นกู้เอกชนนั้นๆซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางด้านความสามารถในการชำระหนี้ดังกล่าว
Credit Spread ได้แก่อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยเพิ่มเติมที่นักลงทุนควรได้รับถ้าเลือกลงทุนในหุ้นกู้เอกชนแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจจะถูกเบี้ยวการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นได้ (ซึ่งแตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลที่ความเสี่ยงดังกล่าวแทบจะเป็นศูนย์) หลักการคือยิ่งหุ้นกู้เอกชนมีมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำลงเท่าไร Credit Spread ดังกล่าวก็ควรจะมากขึ้นด้วยเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงด้านเครดิตที่มากขึ้น
ดังนั้น นักลงทุนไม่ควรจะดูแค่ว่าหุ้นกู้เอกชนที่ซื้อให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝากหรือพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น แต่ควรจะมีข้อมูลอ้างอิงด้วยว่าความเสี่ยงที่เราได้รับจากการซื้อหุ้นกู้เอกชนนั้นๆคุ้มหรือไม่ ตารางข้างล่างแสดงถึง Credit Spread ในตลาดสำหรับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่อันดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน
จากข้อมูลข้างต้น ถ้าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ให้ผลตอบแทน 4.00% ต่อปี และหุ้นกู้เอกชนอายุ 5 ปีที่เราต้องการลงทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A” ก็ควรจะให้ผลตอบแทนอย่างน้อยเท่ากับ 4.00%+2.38% = 6.38%
ข้อควรระวังเพิ่มเติมก่อนลงทุนในกองทุนรวมปิดหุ้นกู้เอกชน
1.โดยทั่วไป กองทุนรวมหุ้นกู้เอกชนจะมีนโยบายการลงทุนที่จะกำหนดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้แต่ละตัว เช่น ตราสารหนี้ทุกตัวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่ำ “A-“ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนควรที่จะสอบถามรายละเอียดถึงแต่ละตราสารที่ลงทุนว่าเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ยอมรับได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ลงทุนมีความไม่ชอบส่วนตัวในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ก็ควรที่จะต้องสอบถามกับ บริษัทจัดการลงทุนด้วยว่ามีบริษัทที่ลงทุนเข้าข่ายดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะตัดสินใจไม่ลงทุนก็ได้ถ้ามี ถึงแม้ว่าจะมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ตรงตามนโยบายก็ตาม
2.การกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก กองทุนรวมที่มีหุ้นกู้เอกชน 10 บริษัทย่อมเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีหุ้นกู้เอกชนเพียงบริษัทเดียวอย่างแน่นอน เพราะโอกาสของการล้มละลาย 10 บริษัทพร้อมกันย่อมน้อยกว่า 1 บริษัท
กองทุนรวมปิดตราสารหนี้ต่างประเทศ
กองทุนรวมแบบนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากส่วนใหญ่มักจะให้อัตราผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยมีความเสี่ยงไม่มากนัก กองทุนที่ได้ยินบ่อยๆได้แก่ กองทุนรวมตราสารหนี้เกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี มีข้อควรระวังก่อนที่จะลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว ได้แก่
1.นักลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนนั้นเป็นพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นๆ หรือได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้ากองทุนรวมลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารหรือรัฐวิสาหกิจหลายๆแห่งของเกาหลีใต้ ตราสารดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยรัฐบาลเกาหลีใต้หรือไม่ ประเด็นความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนนั้นไม่ใช่เรื่องของเครดิต แต่เป็นเรื่องที่ว่าผู้ลงทุนรู้หรือไม่ว่ากำลังลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
2.ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อลงทุนตราสารทางการเงินต่างประเทศ ความเสี่ยงดังกล่าวอาจทำให้ผลตอบแทนผิดไปจากเป้าหมายหรือแม้กระทั่งขาดทุนได้แม้ว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนจะให้ผลตอบแทนตามที่ต้องการ ดังนั้นสิ่งที่ควรตรวจสอบจึงได้แก่
- กองทุนรวมดังกล่าวป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนฯเต็มจำนวนหรือแค่บางส่วน
- ธนาคารคู่สัญญาที่กองทุนรวมทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนฯด้วยนั้นมีกี่ธนาคาร มีฐานะการเงินที่ดีหรือไม่ (ยิ่งมากธนาคารและมีความน่าเชื่อถือมากเท่าไรก็ยิ่งดี)
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสซื้อพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5 ปีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีทางเลือกการลงทุนในตราสารหนี้อื่นๆที่อาจจะพอทดแทนกันได้ก็คือ กองทุนรวมปิดตราสารหนี้ กองทุนรวมดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีอายุไม่ยาวมากนัก ดังนั้นทำให้กองทุนรวมปิดตราสารหนี้มีข้อเสียเปรียบพันธบัตรออมทรัพย์ตรงที่มีอัตราผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ก็มีข้อดีอยู่ 2-3 ประการได้แก่
1.สภาพคล่อง ถ้าลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ผู้ลงทุนจำเป็นต้องลงทุนยาวถึง 5 ปี ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมปิดซึ่งอาจมีอายุครบกำหนดไถ่ถอนโดยทั่วไปประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดของภาวะถดถอยแล้ว การมีเงินสดอยู่ในมือบ้างรวมถึงการลงทุนสั้นๆอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในกรณีที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนใหม่ๆที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
2.ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากดอกเบี้ย การลงทุนในรูปของกองทุนรวมจะได้รับการยกเว้นภาษีจากผลตอบแทนที่ได้ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝากที่ดอกเบี้ยรับจะต้องถูกหักภาษี ดังนั้นในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจึงควรเปรียบเทียบที่ผลตอบแทนสุทธิที่นักลงทุนได้รับ
3.อัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมากแล้ว มีสัญญาณหลายๆอย่างในตลาดตราสารหนี้ที่บ่งบอกถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของผลตอบแทนตราสารหนี้ทั้งหลาย) ว่าไม่น่าจะลดต่ำลงกว่านี้อีกแล้ว การล็อคอัตราดอกเบี้ยรับคงที่ในตราสารหนี้อายุยาวอาจจะทำให้เราเสียโอกาสในการลงทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้หากเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงอย่างรวดเร็ว
กองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาล (ไทย)
จากข้อมูลปัจจุบัน ไม่ค่อยมีกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุยาวถึง 5 ปี ส่วนใหญ่ที่เจออายุจะไม่เกิน 1 ปี ตารางข้างล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ 5 ปี และการลงทุนในกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ไปเรื่อยๆจนถึงกำหนด 5 ปี (ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 1.50% ต่อปี) พบว่าการลงทุนทั้งสองแบบจะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกันภายใต้สมมติฐานว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้นทุกปีๆละ 1.00% อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวที่สมมติขึ้นก็คือหากสมมติฐานการขึ้นของดอกเบี้ยดังกล่าวไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมน้อยกว่าพันธบัตรออมทรัพย์
กองทุนรวมปิดหุ้นกู้เอกชน
เนื่องจากหุ้นกู้เอกชนเป็นการกู้ยืมของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นๆกับผู้ลงทุน ดังนั้นความเสี่ยงหลักที่สำคัญที่สุดคือความเสี่ยงในเรื่องของการผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่ได้สัญญาไว้และเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนควรจะดูเมื่อลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจึงได้แก่อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของหุ้นกู้เอกชนนั้นๆซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางด้านความสามารถในการชำระหนี้ดังกล่าว
Credit Spread ได้แก่อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยเพิ่มเติมที่นักลงทุนควรได้รับถ้าเลือกลงทุนในหุ้นกู้เอกชนแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจจะถูกเบี้ยวการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นได้ (ซึ่งแตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลที่ความเสี่ยงดังกล่าวแทบจะเป็นศูนย์) หลักการคือยิ่งหุ้นกู้เอกชนมีมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำลงเท่าไร Credit Spread ดังกล่าวก็ควรจะมากขึ้นด้วยเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงด้านเครดิตที่มากขึ้น
ดังนั้น นักลงทุนไม่ควรจะดูแค่ว่าหุ้นกู้เอกชนที่ซื้อให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝากหรือพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น แต่ควรจะมีข้อมูลอ้างอิงด้วยว่าความเสี่ยงที่เราได้รับจากการซื้อหุ้นกู้เอกชนนั้นๆคุ้มหรือไม่ ตารางข้างล่างแสดงถึง Credit Spread ในตลาดสำหรับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่อันดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน
จากข้อมูลข้างต้น ถ้าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ให้ผลตอบแทน 4.00% ต่อปี และหุ้นกู้เอกชนอายุ 5 ปีที่เราต้องการลงทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A” ก็ควรจะให้ผลตอบแทนอย่างน้อยเท่ากับ 4.00%+2.38% = 6.38%
ข้อควรระวังเพิ่มเติมก่อนลงทุนในกองทุนรวมปิดหุ้นกู้เอกชน
1.โดยทั่วไป กองทุนรวมหุ้นกู้เอกชนจะมีนโยบายการลงทุนที่จะกำหนดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้แต่ละตัว เช่น ตราสารหนี้ทุกตัวต้องมีอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่ำ “A-“ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนควรที่จะสอบถามรายละเอียดถึงแต่ละตราสารที่ลงทุนว่าเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ยอมรับได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ลงทุนมีความไม่ชอบส่วนตัวในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ก็ควรที่จะต้องสอบถามกับ บริษัทจัดการลงทุนด้วยว่ามีบริษัทที่ลงทุนเข้าข่ายดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะตัดสินใจไม่ลงทุนก็ได้ถ้ามี ถึงแม้ว่าจะมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ตรงตามนโยบายก็ตาม
2.การกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก กองทุนรวมที่มีหุ้นกู้เอกชน 10 บริษัทย่อมเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีหุ้นกู้เอกชนเพียงบริษัทเดียวอย่างแน่นอน เพราะโอกาสของการล้มละลาย 10 บริษัทพร้อมกันย่อมน้อยกว่า 1 บริษัท
กองทุนรวมปิดตราสารหนี้ต่างประเทศ
กองทุนรวมแบบนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากส่วนใหญ่มักจะให้อัตราผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยมีความเสี่ยงไม่มากนัก กองทุนที่ได้ยินบ่อยๆได้แก่ กองทุนรวมตราสารหนี้เกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี มีข้อควรระวังก่อนที่จะลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว ได้แก่
1.นักลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนนั้นเป็นพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นๆ หรือได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้ากองทุนรวมลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารหรือรัฐวิสาหกิจหลายๆแห่งของเกาหลีใต้ ตราสารดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยรัฐบาลเกาหลีใต้หรือไม่ ประเด็นความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนนั้นไม่ใช่เรื่องของเครดิต แต่เป็นเรื่องที่ว่าผู้ลงทุนรู้หรือไม่ว่ากำลังลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
2.ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อลงทุนตราสารทางการเงินต่างประเทศ ความเสี่ยงดังกล่าวอาจทำให้ผลตอบแทนผิดไปจากเป้าหมายหรือแม้กระทั่งขาดทุนได้แม้ว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนจะให้ผลตอบแทนตามที่ต้องการ ดังนั้นสิ่งที่ควรตรวจสอบจึงได้แก่
- กองทุนรวมดังกล่าวป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนฯเต็มจำนวนหรือแค่บางส่วน
- ธนาคารคู่สัญญาที่กองทุนรวมทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนฯด้วยนั้นมีกี่ธนาคาร มีฐานะการเงินที่ดีหรือไม่ (ยิ่งมากธนาคารและมีความน่าเชื่อถือมากเท่าไรก็ยิ่งดี)