ในบทความคราวก่อนได้เปรียบเทียบช่องทางการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยตนเองกับการลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้กันไปแล้ว ซึ่งผู้ลงทุนก็คงได้ทราบถึงข้อดีและข้อได้เปรียบของการลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ เช่นว่า มีมืออาชีพมาช่วยเลือกตราสารหนี้ดีๆให้เรา มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมีสภาพคล่องสูง วันนี้ ดิฉันจะขอเล่าถึงกองทุนรวมตราสารหนี้แต่ละแบบเพื่อให้ทุกท่านได้รู้จัก และเลือกลงทุนในแบบที่เหมาะกับตนเอง
กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือที่เราทราบกันแล้วว่าเป็น กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ ซึ่งเป็นได้ทั้ง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ภาคเอกชน หรือแม้แต่ตราสารที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงเงินฝาก เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น
ประเภทของตราสารหนี้ที่กองทุนเข้าลงทุนจะเป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงของกองทุนรวมนั้น ๆ
ในการพิจารณาระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารหนี้ในเบื้องต้น ก็ให้ดูว่ากองทุนนั้นนำเงินไปลงทุนในอะไร? หากเน้นลงทุนในพันธบัตร (ซึ่งมักจะตั้งชื่อกองโดยใส่คำว่าพันธบัตรเข้าไปด้วย) ผู้ลงทุนก็สามารถประเมินได้ว่าอย่างน้อย 80% ของกองทุนนั้นจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ ซึ่งอาจจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือตั๋วเงินคลัง ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงที่รัฐจะเบี้ยวหนี้ (credit risk) ในระดับต่ำ (พูดง่ายๆ ว่ากองทุนรวมนี้ไม่น่าจะมีความเสี่ยงที่รัฐไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้กองทุนรวม) ประมาณการณ์ผลตอบแทนของกองทุนรวมกลุ่มนี้ก็จะใกล้เคียงกับการลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยองค์กรภาครัฐโดยตรง
นอกจากนั้น หากมีคำว่าพันธบัตรและชื่อประเทศอื่นแถมท้ายมาด้วย ก็หมายความว่าเป็นกองทุนที่จะนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศดังกล่าว (Foreign Investment Fund: FIF) ซึ่งในกรณีหลังนี้ ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่จะเกิดจากการที่กองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น ปัญหาทางการเมืองหรือสภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไปลงทุน (country risk) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (foreign exchange risk) เป็นต้น
ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ก็จะกระจายเงินไปลงทุนในหุ้นกู้ซึ่งออกโดยภาคเอกชน ส่วนใหญ่กองทุนรวมประเภทนี้จะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนรวมพันธบัตร (ปกติตราสารหนี้ภาครัฐที่มีอายุใกล้เคียงกัน มักจะเสนออัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากตราสารหนี้ภาครัฐมีความน่าเชื่อถือและมั่นคงกว่า) และด้วยเหตุที่กองทุนรวมจัดเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่ลงทุนระยะยาวและมีวงเงินลงทุนสูง จึงได้เปรียบกว่าผู้ลงทุนทั่วไปในแง่ของการเข้าถึงหุ้นกู้ดีๆ เพราะหุ้นกู้บางรุ่นอาจเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไปๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถซื้อได้ หรือบางครั้งอาจเสนอขายในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการกันมาก ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนจำนวนหนึ่งพลาดโอกาสในการจองซื้อหุ้นกู้นั้นไป
ดังนั้น สำหรับผู้ลงทุนที่อกหักจากการเข้าคิวซื้อหุ้นกู้ กองทุนรวมหุ้นกู้ก็น่าจะพอดามอกได้... แต่กองทุนรวมกลุ่มนี้จะสังเกตยากกว่า เพราะอ่านเพียงชื่อไม่สามารถรู้ได้ว่าลงทุนในหุ้นกู้ตัวใดบ้าง ต้องเข้าไปดูไส้ในของแต่ละกองทุนรวม จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ("บลจ.") แต่ละแห่ง ซึ่งนอกจากจะเปิดเผยสัดส่วนการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทแล้ว ยังเปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ให้ผู้ลงทุนได้ทราบกันด้วย ดังนั้นหากดูแล้วกองทุนรวมใดมีหุ้นกู้ที่เราชื่นชอบ ผู้ลงทุนก็สามารถเป็นเจ้าของได้โดยการลงทุนกับกองทุนรวมนั้นๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ลงทุนซึ่งโดยปกติต้องมีเงินฝากส่วนหนึ่งค้างไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารเผื่อไว้ใช้สอยในการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็อยากจะขอแนะนำให้ลองพิจารณากองทุนรวมตลาดเงิน เป็นทางเลือกก็น่าจะดี เพราะกองทุนประเภทนี้จัดว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญเงินลงทุนต่ำมากทีเดียว แถมยังสภาพคล่องสูงด้วย ร่วมคิด-ชวนคุย จะหาโอกาสนำเรื่องราวของกองทุนรวมประเภทนี้มาเล่าสู่กันฟังในคราวต่อๆ ไป
กองทุนรวมตราสารหนี้....ในมิติอื่นๆ
นอกเหนือจากการแยกประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ตามหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมเข้าไปลงทุนแล้ว กองทุนรวมตราสารหนี้ยังอาจแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยแบ่งเป็น "กองทุนปิด" ซึ่งกำหนดอายุโครงการไว้แน่นอน มีการเสนอขายครั้งเดียว ไม่รับซื้อคืนก่อนครบอายุ โดยจะคืนเงินลงทุนให้ตามมูลค่ากองทุน ณ วันที่ครบอายุ ซึ่งการที่ล็อกเงินไว้เป็นเวลาแน่นอนทำให้ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และอาจประมาณการอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าได้อีกด้วย
ส่วน "กองทุนเปิด" ซึ่งอาจกำหนดอายุโครงการหรือไม่ก็ได้ มีข้อดีคือมีสภาพคล่องสูงกว่า เพราะเปิดให้ผู้ลงทุนซื้อๆ ขายๆ ได้ตลอด ซึ่งอาจจะเป็นทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละกองทุนรวมกำหนดไว้อย่างไร
กองทุนรวมตราสารหนี้ยังแบ่งได้ ตามกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการบริหาร โดยอาจแบ่งได้เป็นบริหารแบบเชิงรุก (actively managed fund) ที่มุ่งเอาชนะผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง (Benchmark) (สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ อาจหมายถึง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ที่มีอายุใกล้เคียงกับอายุกองทุน) จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูงกว่า และ บริหารแบบเชิงรับ (passively managed fund) ที่ลงทุนในตราสารและสัดส่วนที่เลียนแบบองค์ประกอบของพอร์ตดัชนีอ้างอิง (Benchmark portfolio) เพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง เช่น "กองทุนรวมดัชนีตราสารหนี้ (Bond-Index fund)"
"กองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) ตราสารหนี้" ซึ่งมีข้อดี คือ ค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุนต่ำ และเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการผลตอบแทนที่เบี่ยงเบนไปจากดัชนีอ้างอิงมากนัก
หวังว่าเรื่องราวเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านตามสมควร คราวหน้า เราจะมาคุยกันต่อว่าความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารหนี้มีอะไรบ้าง ลาไปก่อนสำหรับวันนี้ ... สวัสดี
คำถามร่วมสนุก : “กลยุทธ์การบริหารกองทุนรวมแบบเชิงรับ (passively managed fund) มีข้อดีอย่างไร?” รีบตอบด่วนที่ 02-695-9509 หรือ 02-263-6000 ของรางวัลมีจำกัดนะคะ)
info@sec.or.th
กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือที่เราทราบกันแล้วว่าเป็น กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ ซึ่งเป็นได้ทั้ง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ภาคเอกชน หรือแม้แต่ตราสารที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงเงินฝาก เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น
ประเภทของตราสารหนี้ที่กองทุนเข้าลงทุนจะเป็นตัวสะท้อนความเสี่ยงของกองทุนรวมนั้น ๆ
ในการพิจารณาระดับความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารหนี้ในเบื้องต้น ก็ให้ดูว่ากองทุนนั้นนำเงินไปลงทุนในอะไร? หากเน้นลงทุนในพันธบัตร (ซึ่งมักจะตั้งชื่อกองโดยใส่คำว่าพันธบัตรเข้าไปด้วย) ผู้ลงทุนก็สามารถประเมินได้ว่าอย่างน้อย 80% ของกองทุนนั้นจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ ซึ่งอาจจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือตั๋วเงินคลัง ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงที่รัฐจะเบี้ยวหนี้ (credit risk) ในระดับต่ำ (พูดง่ายๆ ว่ากองทุนรวมนี้ไม่น่าจะมีความเสี่ยงที่รัฐไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้กองทุนรวม) ประมาณการณ์ผลตอบแทนของกองทุนรวมกลุ่มนี้ก็จะใกล้เคียงกับการลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยองค์กรภาครัฐโดยตรง
นอกจากนั้น หากมีคำว่าพันธบัตรและชื่อประเทศอื่นแถมท้ายมาด้วย ก็หมายความว่าเป็นกองทุนที่จะนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศดังกล่าว (Foreign Investment Fund: FIF) ซึ่งในกรณีหลังนี้ ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่จะเกิดจากการที่กองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น ปัญหาทางการเมืองหรือสภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไปลงทุน (country risk) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (foreign exchange risk) เป็นต้น
ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ก็จะกระจายเงินไปลงทุนในหุ้นกู้ซึ่งออกโดยภาคเอกชน ส่วนใหญ่กองทุนรวมประเภทนี้จะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนรวมพันธบัตร (ปกติตราสารหนี้ภาครัฐที่มีอายุใกล้เคียงกัน มักจะเสนออัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากตราสารหนี้ภาครัฐมีความน่าเชื่อถือและมั่นคงกว่า) และด้วยเหตุที่กองทุนรวมจัดเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่ลงทุนระยะยาวและมีวงเงินลงทุนสูง จึงได้เปรียบกว่าผู้ลงทุนทั่วไปในแง่ของการเข้าถึงหุ้นกู้ดีๆ เพราะหุ้นกู้บางรุ่นอาจเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไปๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถซื้อได้ หรือบางครั้งอาจเสนอขายในวงกว้าง และเป็นที่ต้องการกันมาก ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนจำนวนหนึ่งพลาดโอกาสในการจองซื้อหุ้นกู้นั้นไป
ดังนั้น สำหรับผู้ลงทุนที่อกหักจากการเข้าคิวซื้อหุ้นกู้ กองทุนรวมหุ้นกู้ก็น่าจะพอดามอกได้... แต่กองทุนรวมกลุ่มนี้จะสังเกตยากกว่า เพราะอ่านเพียงชื่อไม่สามารถรู้ได้ว่าลงทุนในหุ้นกู้ตัวใดบ้าง ต้องเข้าไปดูไส้ในของแต่ละกองทุนรวม จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ("บลจ.") แต่ละแห่ง ซึ่งนอกจากจะเปิดเผยสัดส่วนการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทแล้ว ยังเปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ให้ผู้ลงทุนได้ทราบกันด้วย ดังนั้นหากดูแล้วกองทุนรวมใดมีหุ้นกู้ที่เราชื่นชอบ ผู้ลงทุนก็สามารถเป็นเจ้าของได้โดยการลงทุนกับกองทุนรวมนั้นๆ นั่นเอง
สำหรับผู้ลงทุนซึ่งโดยปกติต้องมีเงินฝากส่วนหนึ่งค้างไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารเผื่อไว้ใช้สอยในการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็อยากจะขอแนะนำให้ลองพิจารณากองทุนรวมตลาดเงิน เป็นทางเลือกก็น่าจะดี เพราะกองทุนประเภทนี้จัดว่ามีความเสี่ยงที่จะสูญเงินลงทุนต่ำมากทีเดียว แถมยังสภาพคล่องสูงด้วย ร่วมคิด-ชวนคุย จะหาโอกาสนำเรื่องราวของกองทุนรวมประเภทนี้มาเล่าสู่กันฟังในคราวต่อๆ ไป
กองทุนรวมตราสารหนี้....ในมิติอื่นๆ
นอกเหนือจากการแยกประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ตามหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมเข้าไปลงทุนแล้ว กองทุนรวมตราสารหนี้ยังอาจแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยแบ่งเป็น "กองทุนปิด" ซึ่งกำหนดอายุโครงการไว้แน่นอน มีการเสนอขายครั้งเดียว ไม่รับซื้อคืนก่อนครบอายุ โดยจะคืนเงินลงทุนให้ตามมูลค่ากองทุน ณ วันที่ครบอายุ ซึ่งการที่ล็อกเงินไว้เป็นเวลาแน่นอนทำให้ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และอาจประมาณการอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าได้อีกด้วย
ส่วน "กองทุนเปิด" ซึ่งอาจกำหนดอายุโครงการหรือไม่ก็ได้ มีข้อดีคือมีสภาพคล่องสูงกว่า เพราะเปิดให้ผู้ลงทุนซื้อๆ ขายๆ ได้ตลอด ซึ่งอาจจะเป็นทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละกองทุนรวมกำหนดไว้อย่างไร
กองทุนรวมตราสารหนี้ยังแบ่งได้ ตามกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการบริหาร โดยอาจแบ่งได้เป็นบริหารแบบเชิงรุก (actively managed fund) ที่มุ่งเอาชนะผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง (Benchmark) (สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ อาจหมายถึง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ที่มีอายุใกล้เคียงกับอายุกองทุน) จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูงกว่า และ บริหารแบบเชิงรับ (passively managed fund) ที่ลงทุนในตราสารและสัดส่วนที่เลียนแบบองค์ประกอบของพอร์ตดัชนีอ้างอิง (Benchmark portfolio) เพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง เช่น "กองทุนรวมดัชนีตราสารหนี้ (Bond-Index fund)"
"กองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) ตราสารหนี้" ซึ่งมีข้อดี คือ ค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุนต่ำ และเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการผลตอบแทนที่เบี่ยงเบนไปจากดัชนีอ้างอิงมากนัก
หวังว่าเรื่องราวเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านตามสมควร คราวหน้า เราจะมาคุยกันต่อว่าความเสี่ยงของกองทุนรวมตราสารหนี้มีอะไรบ้าง ลาไปก่อนสำหรับวันนี้ ... สวัสดี
คำถามร่วมสนุก : “กลยุทธ์การบริหารกองทุนรวมแบบเชิงรับ (passively managed fund) มีข้อดีอย่างไร?” รีบตอบด่วนที่ 02-695-9509 หรือ 02-263-6000 ของรางวัลมีจำกัดนะคะ)
info@sec.or.th