สัปดาห์ที่แล้ว ร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งลงทุนโดยตรงด้วยตนเอง และลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้กันไปแล้ว อย่างไรก็ดี มีข้อขัดข้องทางเทคนิคในการจัดพิมพ์ข้อมูลเปรียบเทียบการลงทุนแบบทางตรงและทางอ้อม จึงทำให้ข้อมูลไม่ชัดเจน และมีผู้สนใจหลายท่านได้ถามไถ่กลับมาที่สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมคิด-ชวนคุย คราวนี้ จึงขอนำตารางเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวมานำเสนออีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน และต้องขออภัยในข้อขัดข้องทางเทคนิคดังกล่าวมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ
ลงทุนในกองทุนรวม
ลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้
การบริหารจัดการเงินลงทุน
มีมืออาชีพคอยตัดสินใจเลือกตราสารที่จะลงทุนและบริหารการลงทุนให้ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนคอยติดตามข่าวสารข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ต้องวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน
ด้วยตนเอง รวมทั้งต้องติดตามและวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
จำนวนเงินลงทุนเริ่มต้น
ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก( เริ่มต้นที่หลักพันบาท)
ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก(เริ่มต้นที่หลักแสนบาท)
การกระจายความเสี่ยงเงินลงทุนจำนวนเดียวกันสามารถลงทุนได้ในตราสารหนี้หลายตัว หากเกิดปัญหากับตราสารหนี้ตัวใดตัวหนึ่ง อาจไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อกองทุนรวม
เงินลงทุนจำนวนเดียวกันอาจสามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้เพียงตัวเดียว หากเกิดปัญหากับตราสารหนี้นั้น เช่น เกิดปัญหาฐานะการเงินของผู้ออก ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืน
การซื้อขาย/สภาพคล่อง
ซื้อขายได้ตลอดเวลาตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม ณ ขณะนั้น (NAV)
(ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนรวม)
- หากต้องการซื้อขายเปลี่ยนมือ (ไม่ได้ถือจนครบอายุ) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการซื้อขายและการคำนวณราคาเป็นอย่างดี
- สภาพคล่องขึ้นกับมูลค่าการเสนอขายและปริมาณการซื้อขายในตลาด
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ผลตอบแทนทุกชนิดที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุนได้รับยกเว้นภาษี (แต่ถ้าผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจากกองทุนรวม ต้องเสียภาษี 10 %)
ผลตอบแทนที่เป็นดอกเบี้ย ผู้ลงทุนต้องเสียภาษี 15 %
สรุปได้ว่า การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้นั้นเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยากลงทุน
ในตราสารหนี้แต่มีอุปสรรคในการลงทุน หรือรู้สึกว่ายุ่งยากซับซ้อนเกินไป ไม่มีเวลา หรือแม้แต่สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสในการซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่มักจะมีการแย่งกันจองซื้อในช่วงที่ออกเสนอขาย ก็อาจพิจารณาให้การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกล่าวได้ว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้นั้น มีข้อได้เปรียบหลักๆ จากการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยตนเองอยู่หลายประการ เช่น
ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมากๆ แต่ก็สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลายตัว
มีมืออาชีพ หรือ ผู้จัดการกองทุน (fund manager) มาช่วยบริหารจัดการเงินให้
สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลากหลายทั้งประเภทและอายุ จึงมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่ดีกว่า หากมีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ที่ทำให้ตราสารหนี้ตัวใดตัวหนึ่งมีแนวโน้มไปในทางลบ ก็จะมีการถัวเฉลี่ยกำไรจากตราสารตัวอื่นๆ มาชดเชยการขาดทุนได้
ซื้อง่าย ขายคล่อง เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ง่ายกว่าซื้อตราสารหนี้เองโดยตรง (มีสภาพคล่องสูงกว่า)
ดังนั้น หากผู้ลงทุนเห็นว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องเหล่านี้ให้ท่านได้ ก็นับว่าเป็นช่องทางการลงทุนที่เหมาะกับท่านเลยทีเดียว สำหรับครั้งต่อไป เราจะมาดูกันว่า กองทุนรวมตราสารหนี้นั้นมีให้เลือกกันกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร โปรดติดตามต่อไปในฉบับหน้า...สวัสดี
ลงทุนในกองทุนรวม
ลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้
การบริหารจัดการเงินลงทุน
มีมืออาชีพคอยตัดสินใจเลือกตราสารที่จะลงทุนและบริหารการลงทุนให้ โดยผู้ถือหน่วยลงทุนคอยติดตามข่าวสารข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ต้องวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน
ด้วยตนเอง รวมทั้งต้องติดตามและวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
จำนวนเงินลงทุนเริ่มต้น
ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก( เริ่มต้นที่หลักพันบาท)
ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก(เริ่มต้นที่หลักแสนบาท)
การกระจายความเสี่ยงเงินลงทุนจำนวนเดียวกันสามารถลงทุนได้ในตราสารหนี้หลายตัว หากเกิดปัญหากับตราสารหนี้ตัวใดตัวหนึ่ง อาจไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อกองทุนรวม
เงินลงทุนจำนวนเดียวกันอาจสามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้เพียงตัวเดียว หากเกิดปัญหากับตราสารหนี้นั้น เช่น เกิดปัญหาฐานะการเงินของผู้ออก ตราสารหนี้ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืน
การซื้อขาย/สภาพคล่อง
ซื้อขายได้ตลอดเวลาตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม ณ ขณะนั้น (NAV)
(ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุนรวม)
- หากต้องการซื้อขายเปลี่ยนมือ (ไม่ได้ถือจนครบอายุ) ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการซื้อขายและการคำนวณราคาเป็นอย่างดี
- สภาพคล่องขึ้นกับมูลค่าการเสนอขายและปริมาณการซื้อขายในตลาด
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ผลตอบแทนทุกชนิดที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุนได้รับยกเว้นภาษี (แต่ถ้าผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจากกองทุนรวม ต้องเสียภาษี 10 %)
ผลตอบแทนที่เป็นดอกเบี้ย ผู้ลงทุนต้องเสียภาษี 15 %
สรุปได้ว่า การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้นั้นเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยากลงทุน
ในตราสารหนี้แต่มีอุปสรรคในการลงทุน หรือรู้สึกว่ายุ่งยากซับซ้อนเกินไป ไม่มีเวลา หรือแม้แต่สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสในการซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่มักจะมีการแย่งกันจองซื้อในช่วงที่ออกเสนอขาย ก็อาจพิจารณาให้การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกล่าวได้ว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้นั้น มีข้อได้เปรียบหลักๆ จากการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยตนเองอยู่หลายประการ เช่น
ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมากๆ แต่ก็สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลายตัว
มีมืออาชีพ หรือ ผู้จัดการกองทุน (fund manager) มาช่วยบริหารจัดการเงินให้
สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลากหลายทั้งประเภทและอายุ จึงมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนที่ดีกว่า หากมีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ที่ทำให้ตราสารหนี้ตัวใดตัวหนึ่งมีแนวโน้มไปในทางลบ ก็จะมีการถัวเฉลี่ยกำไรจากตราสารตัวอื่นๆ มาชดเชยการขาดทุนได้
ซื้อง่าย ขายคล่อง เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ง่ายกว่าซื้อตราสารหนี้เองโดยตรง (มีสภาพคล่องสูงกว่า)
ดังนั้น หากผู้ลงทุนเห็นว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องเหล่านี้ให้ท่านได้ ก็นับว่าเป็นช่องทางการลงทุนที่เหมาะกับท่านเลยทีเดียว สำหรับครั้งต่อไป เราจะมาดูกันว่า กองทุนรวมตราสารหนี้นั้นมีให้เลือกกันกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร โปรดติดตามต่อไปในฉบับหน้า...สวัสดี