ผู้จัดการกองทุน เชื่อ แบงก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก-พันธบัตรออมทรัพย์ ไม่ดึงเงินกองทุนรวม ชี้เป็นการลงทุนระยะยาว ระบุอาจมีนักลงทุนโยกเงินบ้างจากผลตอบแทนที่จูงใจ แต่เชื่อผลตอบแทนน้อยกว่าหลังหักภาษี เหตุกองทุนมีสภาพคล่อง-ไม่ต้องจ่ายภาษี
นายสุรชัย พรชัยทิพย์รัตน์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด เปิดเผยว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว 1 ปี 2 ปี และ 3 ปีขึ้นไป โดย 1 ปีจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ซึ่งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ บริษัทมองว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากนักลงทุนยังคงให้ความสนใจและพอใจผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมมากกว่า
ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในครั้งนี้ อาจจะมีบ้างที่นักลงทุนอาจจะโยกเงินไปฝากธนาคารแต่คงมีจำนวนน้อย และไม่ทำให้ขนาดของกองทุนรวมตราสารหนี้มีขนาดเล็กลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่อยากที่จะล๊อคเงินไว้กับธนาคารระยะยาว ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่มากนัก นอกจากนี้ หากนักลงทุนต้องการลงทุนในระยะยาวการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีอายุ 1 ปีถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.5-2.8% ซึ่งจากจุดนี้ คาดว่านักลงทุนที่เป็นนักลงทุนจริงๆจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้ และจะยังคงลงทุนในกองทุนรวมต่อไปอย่างแน่นอน
"การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวขึ้นมานั้น จะไม่ทำให้นักลงทุนไถ่ถอนหน่วยลงทุนออกไปลงทุนในเงินฝาก เพราะธนาคารที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมีเพียงไม่กี่ธนาคาร ไม่ได้ปรับขึ้นทั้งหมด อีกทั้งจำนวนที่ปรับขึ้นก็เพียงนิดเดียว พอหักภาษี 15% จะทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับเหลือไม่ถึง 1% ขณะที่การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า มีสภาพคล่องมากกว่า และไม่ต้องเสียภาษีด้วย จึงทำให้นักลงทุนที่ลงทุนเมื่อครบกำหนดโครงการจะได้รับผลตอบแทนที่เต็มจำนวน"นายสุรชัยกล่าว
สำหรับโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 400,000 ล้านบาทนั้น มองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการระดมเงินจากนักลงทุนในประเทศ ซึ่งการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกและชดเชยให้แก่นักลงทุนที่ฝากเงินมากกว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมกองทุนได้รับผลกระทบมากนัก โดยเมื่อเทียบผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับนั้น พบว่าการลงทุนในกองทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดี และมีสภาพคล่องที่สูงกว่า จึงคาดว่านักลงทุนจะไม่มีการโยกเงินออกไปอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ จะทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมได้รับผลกระทบมากกว่าโครงการของรัฐบาล
นาย วิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมตราสารหนี้ หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น คาดว่าจะไม่มากนัก ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนมีการเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนรวมไปฝากเงินบ้าง เนื่องจากการลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และฝากเงินนั้น เป็นการลงทุนที่เป็นรูปแบบใกล้เคียงกัน
"การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการปรับขึ้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับแต่ละแบงก์ โดยแล้วแต่ว่าธนาคารใดที่ต้องการระดมเงินเพื่อจะนำไปปล่อยกู้ให้แก่นักลงทุนก็มีความเป็นไปได้ ขณะที่ ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจากการฝากเงินตอนนี้ถือว่าน้อยมาก ต่อให้ขึ้นมาอีก 1% ก็ไม่ทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับนั้น เท่ากับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีทั้งความมั่นคง และปลอดภัย โดยการฝากแบงก์นักลงทุนจะต้องเสียภาษีถึง 15% หากปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก 1% รวมกับของเก่าอีก 1% รวมกันก็ได้ 2% หักภาษีอีก สรุปก็ได้ไม่ถึง 1%ขณะที่การลงทุนในกองทุนรวมให้ผลตอบแทนมากกว่า ประมาณ 2-2.5% ซึ่งจากจุดนี้ นักลงทุนมีความเข้าใจอยู่แล้วและคาดว่าจะมีนักลงทุนส่วนน้อยที่จะโยกเงินไปลงทุนในเงินฝาก"นาย วิน กล่าว
นายวิน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 50,000 ล้านบาท โดยให้ดอกเบี้ย 2.5%ของรัฐบาลนั้น โดยอาจจะกระทบต่อกองทุนรวมในส่วนของกองทุนรวมตราสารหนี้บ้าง ซึ่งการออกพันธบัตรแล้วให้ผลตอบแทนที่สูงอาจจะทำให้นักลงทุนมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนบ้าง แต่อาจจะไม่มากนัก เพราะรัฐบาลได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ออกมาให้นักลงทุนได้ร่วมลงทุนเป็นระยะอยู่แล้ว ดังนั้น การออกพันธบัตรในรอบนี้จึงไม่ถือว่ามีความหวือหวามากเท่าไหร่
ทั้งนี้ รัฐบาลมีความต้องการเงินเพื่อไปใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงได้มีโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ขึ้นเพื่อระดมทุนในประเทศ แต่ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนั้นจะต้องรอการอนุมัติในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ก่อนจะจึงทราบว่าโครงการผ่านการอนุมัติหรือไม่
"การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์นั้น เป็นการล็อกเงินลงทุนยาวถึง 5 ปี ถึงแม้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงแต่สภาพคล่องน้อย ทำให้นักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนนั้นมีน้อย โดยเป็นนักลงทุนกลุ่มที่มีเงินไม่รีบร้อนในการใช้เงิน ขณะที่การลงทุนในกองทุนนั้นมีสภาพคล่องสูง สามารถซื้อขายได้ทุกวัน หรือหากนักลงทุนต้องการล็อคเงิน กองทุนก็มีการลงทุนให้นักลงทุนเลือกหลากหลายรูปแบบตามความชอบของนักลงทุนแต่ละท่าน" นายวินกล่าว
นายสุรชัย พรชัยทิพย์รัตน์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด เปิดเผยว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว 1 ปี 2 ปี และ 3 ปีขึ้นไป โดย 1 ปีจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ซึ่งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ บริษัทมองว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากนักลงทุนยังคงให้ความสนใจและพอใจผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมมากกว่า
ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในครั้งนี้ อาจจะมีบ้างที่นักลงทุนอาจจะโยกเงินไปฝากธนาคารแต่คงมีจำนวนน้อย และไม่ทำให้ขนาดของกองทุนรวมตราสารหนี้มีขนาดเล็กลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่อยากที่จะล๊อคเงินไว้กับธนาคารระยะยาว ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่มากนัก นอกจากนี้ หากนักลงทุนต้องการลงทุนในระยะยาวการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีอายุ 1 ปีถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.5-2.8% ซึ่งจากจุดนี้ คาดว่านักลงทุนที่เป็นนักลงทุนจริงๆจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้ และจะยังคงลงทุนในกองทุนรวมต่อไปอย่างแน่นอน
"การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวขึ้นมานั้น จะไม่ทำให้นักลงทุนไถ่ถอนหน่วยลงทุนออกไปลงทุนในเงินฝาก เพราะธนาคารที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมีเพียงไม่กี่ธนาคาร ไม่ได้ปรับขึ้นทั้งหมด อีกทั้งจำนวนที่ปรับขึ้นก็เพียงนิดเดียว พอหักภาษี 15% จะทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับเหลือไม่ถึง 1% ขณะที่การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า มีสภาพคล่องมากกว่า และไม่ต้องเสียภาษีด้วย จึงทำให้นักลงทุนที่ลงทุนเมื่อครบกำหนดโครงการจะได้รับผลตอบแทนที่เต็มจำนวน"นายสุรชัยกล่าว
สำหรับโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 400,000 ล้านบาทนั้น มองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการระดมเงินจากนักลงทุนในประเทศ ซึ่งการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกและชดเชยให้แก่นักลงทุนที่ฝากเงินมากกว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมกองทุนได้รับผลกระทบมากนัก โดยเมื่อเทียบผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับนั้น พบว่าการลงทุนในกองทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดี และมีสภาพคล่องที่สูงกว่า จึงคาดว่านักลงทุนจะไม่มีการโยกเงินออกไปอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ จะทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมได้รับผลกระทบมากกว่าโครงการของรัฐบาล
นาย วิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมตราสารหนี้ หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น คาดว่าจะไม่มากนัก ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนมีการเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนรวมไปฝากเงินบ้าง เนื่องจากการลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และฝากเงินนั้น เป็นการลงทุนที่เป็นรูปแบบใกล้เคียงกัน
"การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการปรับขึ้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับแต่ละแบงก์ โดยแล้วแต่ว่าธนาคารใดที่ต้องการระดมเงินเพื่อจะนำไปปล่อยกู้ให้แก่นักลงทุนก็มีความเป็นไปได้ ขณะที่ ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจากการฝากเงินตอนนี้ถือว่าน้อยมาก ต่อให้ขึ้นมาอีก 1% ก็ไม่ทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับนั้น เท่ากับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีทั้งความมั่นคง และปลอดภัย โดยการฝากแบงก์นักลงทุนจะต้องเสียภาษีถึง 15% หากปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก 1% รวมกับของเก่าอีก 1% รวมกันก็ได้ 2% หักภาษีอีก สรุปก็ได้ไม่ถึง 1%ขณะที่การลงทุนในกองทุนรวมให้ผลตอบแทนมากกว่า ประมาณ 2-2.5% ซึ่งจากจุดนี้ นักลงทุนมีความเข้าใจอยู่แล้วและคาดว่าจะมีนักลงทุนส่วนน้อยที่จะโยกเงินไปลงทุนในเงินฝาก"นาย วิน กล่าว
นายวิน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 50,000 ล้านบาท โดยให้ดอกเบี้ย 2.5%ของรัฐบาลนั้น โดยอาจจะกระทบต่อกองทุนรวมในส่วนของกองทุนรวมตราสารหนี้บ้าง ซึ่งการออกพันธบัตรแล้วให้ผลตอบแทนที่สูงอาจจะทำให้นักลงทุนมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนบ้าง แต่อาจจะไม่มากนัก เพราะรัฐบาลได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ออกมาให้นักลงทุนได้ร่วมลงทุนเป็นระยะอยู่แล้ว ดังนั้น การออกพันธบัตรในรอบนี้จึงไม่ถือว่ามีความหวือหวามากเท่าไหร่
ทั้งนี้ รัฐบาลมีความต้องการเงินเพื่อไปใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายภายในประเทศ จึงได้มีโครงการออกพันธบัตรออมทรัพย์ขึ้นเพื่อระดมทุนในประเทศ แต่ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนั้นจะต้องรอการอนุมัติในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ก่อนจะจึงทราบว่าโครงการผ่านการอนุมัติหรือไม่
"การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์นั้น เป็นการล็อกเงินลงทุนยาวถึง 5 ปี ถึงแม้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงแต่สภาพคล่องน้อย ทำให้นักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนนั้นมีน้อย โดยเป็นนักลงทุนกลุ่มที่มีเงินไม่รีบร้อนในการใช้เงิน ขณะที่การลงทุนในกองทุนนั้นมีสภาพคล่องสูง สามารถซื้อขายได้ทุกวัน หรือหากนักลงทุนต้องการล็อคเงิน กองทุนก็มีการลงทุนให้นักลงทุนเลือกหลากหลายรูปแบบตามความชอบของนักลงทุนแต่ละท่าน" นายวินกล่าว