บลจ.ยูโอบี (ไทย) แตะเบรกกองทุนตราสารหนี้เดนมาร์ก หลังผลตอบแทนไม่จูงใจเหมือนเดิม "วนา" แจง ยังไม่คิดหากองทุนอื่นมาออกทดแทน ยืนยันแผนการลงทุนปีนี้ไม่เน้นการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร แต่เน้นความปลอดภัยของเม็ดเงินลงทุนของลูกค้าเป็นสำคัญ แย้มสนใจออกกองทุนทาร์เก็ตฟันด์ เน้นลงทุนในหุ้นในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตัดสินใจชะลอแผนงานออกกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเดนมาร์ก จากเดิมก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดขายหน่วยลงทุนได้ประมาณปลายเดือนเมษายน 2552 โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนในซีรีส์เดียวกันกับ 2 กองทุนแรกที่ออกไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากการลงทุนในตราสารหนี้ของเดนมาร์กไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ส่วนการระดมทุนในกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/2 (UOBFIG12/2) ซึ่งได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) และครั้งเดียวในระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 2 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาสามารถระดมทุนได้ประมาณ 300 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนแผนในการออกกองทุนใหม่เล็กน้อย แต่ต้องรอดูจังหวะโอกาส และผลตอบแทนของตราสารหนี้ต่างประเทศในตลาดด้วยว่าสามารถให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจหรือไม่ ขณะเดียวกัน บริษัทยังไม่มีแผนงานในการออกกองทุนใหม่เพื่อมาทดแทนกองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเดนมาร์กแต่อย่างใด ส่วนกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ยังไมสนใจไปลงทุนเช่นเดิม
ส่วนแผนงานในการออกกองทุนที่เน้นลงทุนกึ่งตราสารหนี้กึ่งตราสารทุน ซึ่งเบื้องต้นจะเน้นลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก หลังจากก่อนหน้านี้มองว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจไม่มาก และต้องดูจังหวะในการลงทุนอีกครั้งนั้น ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยนโยบายของบริษัทในปีนี้ไม่เน้นการเจริญเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) แต่จะเน้นความปลอดภัยในเม็ดเงินลงทุนของลูกค้าเป็นสำคัญ
นายวนากล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจที่จะออกกองทุนที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทน (ทาร์เก็ต ฟันด์) เช่นกัน โดยหากออกกองทุนมาน่าจะไปลงทุนในหุ้นในภูมิเอเชีย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีหุ้นปรับตัวลงไปค่อนข้างมาก และคาดว่าน่าจะเป็นภูมิภาคที่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนภูมิภาคอื่น อาทิ สหรัฐอเมริหา และภูมิภาคยุโรป
สำหรับกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/1 (UOBFIG 12/1) และกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/2 (UOBFIG 12/2) มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้ ประเภทลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อคืนเงินลงทุน และผลตอบแทนทั้งหมดก่อนวันสิ้นอายุโครงการ 2 วัน ซึ่งจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงินในต่างประเทศที่มีรัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ค้ำประกัน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ทั้งนี้ กองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedged) ส่วนที่เหลือเงินจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน หรือเงินฝากในประเทศ
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีอายุประมาณ 1 ปี ออกโดยธนาคาร Danske ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์กเมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ และมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกันตราสาร
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี (ไทย) ได้ประเมินสถานการณ์การลงทุนของประเทศเดนมาร์กว่า เดนมาร์กเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภ่าวะเศรษฐกิจโลกโดยตรง อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี สวีเดน รัสเซีย และจีนยังคงเพิ่มขึ้น และการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะชะลอตัวลงไม่เกิน 0.5%
ขณะเดียวกัน จากรายงานของ IMF Data and Statistics ระบุเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2551 ว่าตัวเลขประมาณการณ์ GDP per Capita ของเดนมาร์กอยู่ในอันดับ 4 ของโลกจากทั้งหมด 179 ประเทศ อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 16 ประเทศจาก 106 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อ (Credit Rating) ที่ระดับ AAA โดยสถาบัน Fitch Rating อีกด้วย และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยสถาบัน Fitch Rating ยังคงมีมุมมองคงอันดับความน่าเชื่อถือของเดนมาร์กไว้ที่ระดับเดิมที่ AAA ซึ่งตราสารที่กองทุนออกเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลจะใช้นโยบายเพื่อป้องกันการเทขายสกุลเงินในประเทศ
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตัดสินใจชะลอแผนงานออกกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเดนมาร์ก จากเดิมก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดขายหน่วยลงทุนได้ประมาณปลายเดือนเมษายน 2552 โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนในซีรีส์เดียวกันกับ 2 กองทุนแรกที่ออกไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากการลงทุนในตราสารหนี้ของเดนมาร์กไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ส่วนการระดมทุนในกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/2 (UOBFIG12/2) ซึ่งได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) และครั้งเดียวในระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 2 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาสามารถระดมทุนได้ประมาณ 300 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนแผนในการออกกองทุนใหม่เล็กน้อย แต่ต้องรอดูจังหวะโอกาส และผลตอบแทนของตราสารหนี้ต่างประเทศในตลาดด้วยว่าสามารถให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจหรือไม่ ขณะเดียวกัน บริษัทยังไม่มีแผนงานในการออกกองทุนใหม่เพื่อมาทดแทนกองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเดนมาร์กแต่อย่างใด ส่วนกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ยังไมสนใจไปลงทุนเช่นเดิม
ส่วนแผนงานในการออกกองทุนที่เน้นลงทุนกึ่งตราสารหนี้กึ่งตราสารทุน ซึ่งเบื้องต้นจะเน้นลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก หลังจากก่อนหน้านี้มองว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจไม่มาก และต้องดูจังหวะในการลงทุนอีกครั้งนั้น ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยนโยบายของบริษัทในปีนี้ไม่เน้นการเจริญเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) แต่จะเน้นความปลอดภัยในเม็ดเงินลงทุนของลูกค้าเป็นสำคัญ
นายวนากล่าวว่า บริษัทให้ความสนใจที่จะออกกองทุนที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทน (ทาร์เก็ต ฟันด์) เช่นกัน โดยหากออกกองทุนมาน่าจะไปลงทุนในหุ้นในภูมิเอเชีย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีหุ้นปรับตัวลงไปค่อนข้างมาก และคาดว่าน่าจะเป็นภูมิภาคที่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนภูมิภาคอื่น อาทิ สหรัฐอเมริหา และภูมิภาคยุโรป
สำหรับกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/1 (UOBFIG 12/1) และกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/2 (UOBFIG 12/2) มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้ ประเภทลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อคืนเงินลงทุน และผลตอบแทนทั้งหมดก่อนวันสิ้นอายุโครงการ 2 วัน ซึ่งจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงินในต่างประเทศที่มีรัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ค้ำประกัน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ทั้งนี้ กองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedged) ส่วนที่เหลือเงินจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ และสถาบันการเงิน หรือเงินฝากในประเทศ
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีอายุประมาณ 1 ปี ออกโดยธนาคาร Danske ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์กเมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ และมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกันตราสาร
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี (ไทย) ได้ประเมินสถานการณ์การลงทุนของประเทศเดนมาร์กว่า เดนมาร์กเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภ่าวะเศรษฐกิจโลกโดยตรง อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี สวีเดน รัสเซีย และจีนยังคงเพิ่มขึ้น และการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะชะลอตัวลงไม่เกิน 0.5%
ขณะเดียวกัน จากรายงานของ IMF Data and Statistics ระบุเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2551 ว่าตัวเลขประมาณการณ์ GDP per Capita ของเดนมาร์กอยู่ในอันดับ 4 ของโลกจากทั้งหมด 179 ประเทศ อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 16 ประเทศจาก 106 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อ (Credit Rating) ที่ระดับ AAA โดยสถาบัน Fitch Rating อีกด้วย และกองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยสถาบัน Fitch Rating ยังคงมีมุมมองคงอันดับความน่าเชื่อถือของเดนมาร์กไว้ที่ระดับเดิมที่ AAA ซึ่งตราสารที่กองทุนออกเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลจะใช้นโยบายเพื่อป้องกันการเทขายสกุลเงินในประเทศ