บลจ.กรุงไทย เปิดไอพีโอ "กรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12เดือน 1" ลงทุนในตราสารหนี้สถาบันการเงินเกาหลี ชูผลตอบเเทนสูงถึง 4.60%ต่อปี พร้อมทั้งเปิดขายโรโอเวอร์"กรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6 เดือน1"รอบใหม่ ให้ยิลด์ 1.30% ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนพร้อมกันเเล้วตั้งเเต่วันนี้ถึง 28 เมษายนนี้
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในช่วงนี้ว่า ตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นในประเทศอายุไม่เกิน 1 ปี ยังทรงตัวที่ประมาณ 0.70 - 0.88% ซึ่งเกิดจากสภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นที่มีอยู่ในระดับสูง คาดว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะยังคงทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จากภาวะการณ์ดังกล่าว ทำให้ตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านเครดิต และจากผู้ฝากเงินที่หันมาลงทุนในกองทุนตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้น
โดยบลจ.ได้เปิดจำหน่ายกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12เดือน 1(KTFF12M1) ที่มีอายุโครงการ 1 ปี เเละมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยกองทุนทจะลงทุนในนตราสารหนี้สถาบันการเงินภาครัฐต่างประเทศ ได้แก่ Export – Import Bank of Korea และ Korea Development Bank ซึ่งสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ เป็นกลไกที่สำคัญของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ในปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีถือหุ้นในสถาบันการเงินดังกล่าวทั้ง 100 % ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 4.60% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนจูงใจกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในประเทศ ที่มีอายุใกล้เคียงกัน และเงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน เปิดขายครั้งเเรกตั้งเเต่วันนี้ถึง (ไอพีโอ) -28 เมษายน 2552
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12เดือน1 จะเน้นลงทุนในตราสารเเห่งหนี้ เงินฝาก เเละหรือตราสารทางการเงินต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารเเห่งหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารเเห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารเเห่งหนี้ทั่วไปเละหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)หรือสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกำหนด ทั้งนี้กองทุนจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง(Hedging) เเต่กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเเฝง (Structured Note)
ขณะเดียวกันบลจ.ยังได้เปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6 เดือน1( KTSIV6M1) ในรอบใหม่( Roll Over) อีกครั้ง โดยกองทุนดังกล่าวมีโครงการอายุ 6 เดือน เเละกองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน และเงินฝากสถาบันการเงิน โดยได้รับการจัดอันดับเครดิตตั้งแต่ A- ขึ้นไป ซึ่งกองทุนจะลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ 20% เงินฝาก /บัตรเงินฝาก / ตั๋วแลกเงินของธนาคารเกียรตินาคิน และธนาคารทิสโก้ ในสัดส่วนสถาบันละ 20% ตั๋วแลกเงินของบมจ.บัตรกรุงไทย และบมจ.ภัทรลิสซิ่ง บริษัทละ 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 1.30% ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนตั้งเเต่วันนี้ถึง 24 เมษายน 2552
โดยกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6 เดือน1 จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารเเห่งหนี้ภาคเอกชน เเละหรือตราสารเเห่งหนี้ภาครัฐที่มีคุณภาพ เเละมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นสูง เเละหรือเงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ โดยกองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เเละจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Structured Note)
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในช่วงนี้ว่า ตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นในประเทศอายุไม่เกิน 1 ปี ยังทรงตัวที่ประมาณ 0.70 - 0.88% ซึ่งเกิดจากสภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นที่มีอยู่ในระดับสูง คาดว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะยังคงทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จากภาวะการณ์ดังกล่าว ทำให้ตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นยังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านเครดิต และจากผู้ฝากเงินที่หันมาลงทุนในกองทุนตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้น
โดยบลจ.ได้เปิดจำหน่ายกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12เดือน 1(KTFF12M1) ที่มีอายุโครงการ 1 ปี เเละมีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยกองทุนทจะลงทุนในนตราสารหนี้สถาบันการเงินภาครัฐต่างประเทศ ได้แก่ Export – Import Bank of Korea และ Korea Development Bank ซึ่งสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ เป็นกลไกที่สำคัญของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ในปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีถือหุ้นในสถาบันการเงินดังกล่าวทั้ง 100 % ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 4.60% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนจูงใจกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในประเทศ ที่มีอายุใกล้เคียงกัน และเงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน เปิดขายครั้งเเรกตั้งเเต่วันนี้ถึง (ไอพีโอ) -28 เมษายน 2552
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 12เดือน1 จะเน้นลงทุนในตราสารเเห่งหนี้ เงินฝาก เเละหรือตราสารทางการเงินต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารเเห่งหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารเเห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารเเห่งหนี้ทั่วไปเละหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)หรือสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกำหนด ทั้งนี้กองทุนจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง(Hedging) เเต่กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเเฝง (Structured Note)
ขณะเดียวกันบลจ.ยังได้เปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6 เดือน1( KTSIV6M1) ในรอบใหม่( Roll Over) อีกครั้ง โดยกองทุนดังกล่าวมีโครงการอายุ 6 เดือน เเละกองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน และเงินฝากสถาบันการเงิน โดยได้รับการจัดอันดับเครดิตตั้งแต่ A- ขึ้นไป ซึ่งกองทุนจะลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ 20% เงินฝาก /บัตรเงินฝาก / ตั๋วแลกเงินของธนาคารเกียรตินาคิน และธนาคารทิสโก้ ในสัดส่วนสถาบันละ 20% ตั๋วแลกเงินของบมจ.บัตรกรุงไทย และบมจ.ภัทรลิสซิ่ง บริษัทละ 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 1.30% ต่อปี เปิดขายหน่วยลงทุนตั้งเเต่วันนี้ถึง 24 เมษายน 2552
โดยกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ท อินเวส 6 เดือน1 จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารเเห่งหนี้ภาคเอกชน เเละหรือตราสารเเห่งหนี้ภาครัฐที่มีคุณภาพ เเละมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นสูง เเละหรือเงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ โดยกองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เเละจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Structured Note)