คอลัมน์ จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
ก่อนที่เราจะนำเงินออมไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์การลงทุนที่ต้องการนั้น ความรู้เบื้องต้นที่เราควรมี ได้แก่
การกำหนดสัดส่วนการลงทุน
จากงานวิจัยต่างๆ รวมถึงประสบการณ์การลงทุน พบว่า การกำหนดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) เป็นปัจจัยหลักสำคัญของการบรรลุผลตอบแทนการลงทุน และจุดประสงค์การลงทุนที่ต้องการในระยะยาว ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงการจับจังหวะการลงทุนในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวเพื่อที่จะบรรลุอัตราผลตอบแทนให้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ที่ได้กำหนดไว้ อาทิเช่น การเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนๆกั น หรือการเปรียบเทียบกับดัชนีต่างๆ เช่น ดัชนี SET 50 สำหรับการลงทุนในตราสารทุน หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ และดัชนี Thai BMA Government Bond สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว
การพิจารณาในเรื่องของอัตราผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่แตกต่างกับการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นผลตอบแทนการลงทุนระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ในหลายๆประเทศ ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทุนในระยะยาว (10 ปี หรือยาวกว่า) ส่วนใหญ่จะมากกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตราสารทุนมีความเสี่ยง หรือความผันผวนที่มากกว่าตราสารหนี้
สไตล์การลงทุน
นอกเหนือจากการกำหนดประเภทของกลุ่มหลักทรัพย์ในนโยบายการลงทุนแล้ว การปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของการบริหารกองทุนจำเป็นต้องถูกคำนึงถึงด้วย ตัวอย่างของสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน (สำหรับตราสารทุน) ได้แก่
•Growth Stock
•Value Stock
•Market Neutral Strategy
•Medium/Small Capitalization
•Indexing หรือ Enhanced Indexing
ตัวอย่างของความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุน เช่น การลงทุนในตราสารทุนสไตล์ Growth (หรือการลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตของกำไรอย่างมาก) มักจะเหมาะสม ถ้า ณ ขณะนั้นมีบริษัทที่มีผลกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดดค่อนข้างน้อย ในทางกลับกัน ถ้าในตลาดมีบริษัทที่มีการเติบโตของผลกำไรสูงมีอยู่เป็นจำนวนมาก การเลือกสไตล์การลงทุนแบบ Value จะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยเกณฑ์มาตรฐาน
การประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุน
การวัด หรือประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายการลงทุนของผู้ลงทุน และประสิทธิภาพในทักษะการบริหารเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน โดยทั่วไปในการประเมินผลการดำเนินงานระยะสั้นมักจะทำการวัดในทุกๆไตรมาส รวมถึงการเปรียบเทียบกับดัชนีอ้างอิงที่เหมาะสมด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรจะพิจารณาถึงการประเมินผลประกอบการโดยกำหนดระยะเวลาในการวัดค่อนข้างยาว เช่น 3-5 ปี เป็นอย่างน้อย เพื่อลดผลกระทบของความบิดเบือนต่อผลการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้นได้จาก ความผันผวนระยะสั้น และวงจรเศรษฐกิจ หรือวงจรตลาดการลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง โอกาสความน่าจะเป็น หรือความไม่แน่นอนทั้งในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น ทั้งในแง่บวกและลบ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มค่า และด้อยค่าลงของเงินลงทุน นักลงทุนจำเป็นต้องทำความเข้าใจ และสามารถประเมินถึงชนิดของความเสี่ยงชนิดต่างๆที่ยอมรับได้ อาทิเช่น
- ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างรวดเร็วของมูลค่าเงินลงทุน
- ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange or Currency Risk) เป็นความเสี่ยงที่ตราสารที่ลงทุนซึ่งอยู่ในรูปของเงินสกุลต่างประเทศจะมีมูลค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินของผู้ลงทุน และทำให้ผู้ลงทุนมีผลตอบแทนในรูปสกุลเงินของผู้ลงทุนลดลง
- ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุน (Concentration Risk) การลงทุนในสัดส่วนการลงทุนที่มากเกินไปในหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง อาจส่งผลเสียต่อมูลค่าเงินลงทุนโดยรวมได้หากเกิดเหตุการณ์เฉพาะอย่างที่ส่งผลเสียต่อหลักทรัพย์ หรืออุตสาหกรรมนั้นๆ
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) อาทิเช่นการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้มูลค่าตลาดของตราสารหนี้ระยะสั้นของเงินลงทุนลดลงได้
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ คือ หลักทรัพย์ที่ใช้เวลานานในการหาผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ณ ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด การลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อเกิดความต้องการใช้เงินสดกะทันหัน หรือเกิดการด้อยค่าลงของเงินลงทุนได้
- ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) อาทิเช่น การด้อยค่าของตราสารหนี้เอกชน หากหุ้นกู้ดังกล่าวถูกลดอันดับเครดิต (Credit Rating Downgrade) หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Default)
- ความเสี่ยงด้านการลงทุน (Investment Risk) คือความเสี่ยงของการลดลงของเงินลงทุนจากผลของภาวะการลงทุนของตลาด
ความเข้าใจ และความสามารถในการประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีความสำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการเงินลงทุนซึ่งจะต้องสามารถวิเคราะห์ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น การแกว่งตัวของตลาดทั้งขาขึ้นและขาลง (Bull and Bear Markets) ซึ่งมักจะมีการขึ้นลงของราคามากเกินไปจากความเป็นจริง และสามารถตอบสนองกับโอกาสดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากสภาวการณ์ของตลาดทั้งทางด้านการช่วยปกป้องการลดค่าลงของเงินลงทุน (Hedging) และการช่วยเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้มากขึ้นภายใต้ความเสี่ยงที่กำหนด (Return Enhancement)
มีคำกล่าวเก่าๆหนึ่ง กล่าวไว้ว่า ภาวะการลงทุนไม่ว่าในตลาดใดๆ สะท้อนถึง ความโลภ และความกลัวของนักลงทุนในตลาด (Greed and Fear) คำถามแรกที่นักลงทุนมักจะคำนึงถึงก่อนอันดับแรก ได้แก่ผลตอบแทนการลงทุนซึ่งการที่ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนก็เพื่อหวังกำไรให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักลงทุนทั่วไปมักจะลืมนึกถึง คือ ความกลัว หรือความเสี่ยงที่จะขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่มาพร้อมๆกับผลตอบแทน เหมือนเหรียญสองด้านที่มีทั้งผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน (Return and Risk) โดยทั่วไปแล้วการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดผลขาดทุนที่สูงเช่นกัน (Higher Risk, Higher Return) การคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยจำกัดการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น และมีข้อจำกัดการคุ้มครองเงินต้น เป็นต้น อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง ดังนั้น ในทางกลับกันสิ่งที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์ก่อนการพิจารณาในเรื่องอัตราผลตอบแทน และการกำหนดนโยบายการลงทุน จึงได้แก่การสำรวจข้อจำกัดการลงทุน รวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
ก่อนที่เราจะนำเงินออมไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์การลงทุนที่ต้องการนั้น ความรู้เบื้องต้นที่เราควรมี ได้แก่
การกำหนดสัดส่วนการลงทุน
จากงานวิจัยต่างๆ รวมถึงประสบการณ์การลงทุน พบว่า การกำหนดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) เป็นปัจจัยหลักสำคัญของการบรรลุผลตอบแทนการลงทุน และจุดประสงค์การลงทุนที่ต้องการในระยะยาว ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงการจับจังหวะการลงทุนในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวเพื่อที่จะบรรลุอัตราผลตอบแทนให้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ที่ได้กำหนดไว้ อาทิเช่น การเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนๆกั น หรือการเปรียบเทียบกับดัชนีต่างๆ เช่น ดัชนี SET 50 สำหรับการลงทุนในตราสารทุน หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ และดัชนี Thai BMA Government Bond สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว
การพิจารณาในเรื่องของอัตราผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่แตกต่างกับการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นผลตอบแทนการลงทุนระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ในหลายๆประเทศ ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทุนในระยะยาว (10 ปี หรือยาวกว่า) ส่วนใหญ่จะมากกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตราสารทุนมีความเสี่ยง หรือความผันผวนที่มากกว่าตราสารหนี้
สไตล์การลงทุน
นอกเหนือจากการกำหนดประเภทของกลุ่มหลักทรัพย์ในนโยบายการลงทุนแล้ว การปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาของการบริหารกองทุนจำเป็นต้องถูกคำนึงถึงด้วย ตัวอย่างของสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน (สำหรับตราสารทุน) ได้แก่
•Growth Stock
•Value Stock
•Market Neutral Strategy
•Medium/Small Capitalization
•Indexing หรือ Enhanced Indexing
ตัวอย่างของความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุน เช่น การลงทุนในตราสารทุนสไตล์ Growth (หรือการลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตของกำไรอย่างมาก) มักจะเหมาะสม ถ้า ณ ขณะนั้นมีบริษัทที่มีผลกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดดค่อนข้างน้อย ในทางกลับกัน ถ้าในตลาดมีบริษัทที่มีการเติบโตของผลกำไรสูงมีอยู่เป็นจำนวนมาก การเลือกสไตล์การลงทุนแบบ Value จะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยเกณฑ์มาตรฐาน
การประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุน
การวัด หรือประเมินอัตราผลตอบแทนการลงทุนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายการลงทุนของผู้ลงทุน และประสิทธิภาพในทักษะการบริหารเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน โดยทั่วไปในการประเมินผลการดำเนินงานระยะสั้นมักจะทำการวัดในทุกๆไตรมาส รวมถึงการเปรียบเทียบกับดัชนีอ้างอิงที่เหมาะสมด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรจะพิจารณาถึงการประเมินผลประกอบการโดยกำหนดระยะเวลาในการวัดค่อนข้างยาว เช่น 3-5 ปี เป็นอย่างน้อย เพื่อลดผลกระทบของความบิดเบือนต่อผลการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้นได้จาก ความผันผวนระยะสั้น และวงจรเศรษฐกิจ หรือวงจรตลาดการลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุน
ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง โอกาสความน่าจะเป็น หรือความไม่แน่นอนทั้งในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น ทั้งในแง่บวกและลบ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มค่า และด้อยค่าลงของเงินลงทุน นักลงทุนจำเป็นต้องทำความเข้าใจ และสามารถประเมินถึงชนิดของความเสี่ยงชนิดต่างๆที่ยอมรับได้ อาทิเช่น
- ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างรวดเร็วของมูลค่าเงินลงทุน
- ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange or Currency Risk) เป็นความเสี่ยงที่ตราสารที่ลงทุนซึ่งอยู่ในรูปของเงินสกุลต่างประเทศจะมีมูลค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินของผู้ลงทุน และทำให้ผู้ลงทุนมีผลตอบแทนในรูปสกุลเงินของผู้ลงทุนลดลง
- ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุน (Concentration Risk) การลงทุนในสัดส่วนการลงทุนที่มากเกินไปในหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง อาจส่งผลเสียต่อมูลค่าเงินลงทุนโดยรวมได้หากเกิดเหตุการณ์เฉพาะอย่างที่ส่งผลเสียต่อหลักทรัพย์ หรืออุตสาหกรรมนั้นๆ
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) อาทิเช่นการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้มูลค่าตลาดของตราสารหนี้ระยะสั้นของเงินลงทุนลดลงได้
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ คือ หลักทรัพย์ที่ใช้เวลานานในการหาผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ณ ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด การลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อเกิดความต้องการใช้เงินสดกะทันหัน หรือเกิดการด้อยค่าลงของเงินลงทุนได้
- ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) อาทิเช่น การด้อยค่าของตราสารหนี้เอกชน หากหุ้นกู้ดังกล่าวถูกลดอันดับเครดิต (Credit Rating Downgrade) หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Default)
- ความเสี่ยงด้านการลงทุน (Investment Risk) คือความเสี่ยงของการลดลงของเงินลงทุนจากผลของภาวะการลงทุนของตลาด
ความเข้าใจ และความสามารถในการประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีความสำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการเงินลงทุนซึ่งจะต้องสามารถวิเคราะห์ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น การแกว่งตัวของตลาดทั้งขาขึ้นและขาลง (Bull and Bear Markets) ซึ่งมักจะมีการขึ้นลงของราคามากเกินไปจากความเป็นจริง และสามารถตอบสนองกับโอกาสดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากสภาวการณ์ของตลาดทั้งทางด้านการช่วยปกป้องการลดค่าลงของเงินลงทุน (Hedging) และการช่วยเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้มากขึ้นภายใต้ความเสี่ยงที่กำหนด (Return Enhancement)
มีคำกล่าวเก่าๆหนึ่ง กล่าวไว้ว่า ภาวะการลงทุนไม่ว่าในตลาดใดๆ สะท้อนถึง ความโลภ และความกลัวของนักลงทุนในตลาด (Greed and Fear) คำถามแรกที่นักลงทุนมักจะคำนึงถึงก่อนอันดับแรก ได้แก่ผลตอบแทนการลงทุนซึ่งการที่ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนก็เพื่อหวังกำไรให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักลงทุนทั่วไปมักจะลืมนึกถึง คือ ความกลัว หรือความเสี่ยงที่จะขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่มาพร้อมๆกับผลตอบแทน เหมือนเหรียญสองด้านที่มีทั้งผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุน (Return and Risk) โดยทั่วไปแล้วการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดผลขาดทุนที่สูงเช่นกัน (Higher Risk, Higher Return) การคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยจำกัดการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น และมีข้อจำกัดการคุ้มครองเงินต้น เป็นต้น อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง ดังนั้น ในทางกลับกันสิ่งที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์ก่อนการพิจารณาในเรื่องอัตราผลตอบแทน และการกำหนดนโยบายการลงทุน จึงได้แก่การสำรวจข้อจำกัดการลงทุน รวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุน