คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บีที จำกัด
0-2686-9500
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies) อยู่ในระหว่างการยื่นประกาศฉบับใหม่ เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พิจารณา เรื่อง มาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม (Mutual Funds Performance Measurement Standards) เพื่อปรับปรุงแก้ไขประกาศฉบับเก่า ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2544
หลักการในการวัดผลดำเนินงานของกองทุนรวม ยังคงเหมือนเดิม คือ คำนวณเป็นผลตอบแทนรวม (Total Return) และ ใช้วิธีการลงบัญชีแบบบัญชีคงค้าง (Accrual Accounting) โดยให้วัดผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาในแบบถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลา (Time-weighted Return) และนำมาหาผลตอบแทนรวมในช่วงเวลาที่ยาวกว่า โดยการต่อเชื่อมแบบเรขาคณิต (Geometric Link)
การจัดประเภทกองทุนรวมให้พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน และ นโยบายการลงทุน ส่วนเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ที่นำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม มีการระบุรายละเอียดมากขึ้นจากเดิม โดยแบ่งได้ถึง 15 ประเภท และมีการเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหัวข้อก็คือ การเปิดเผยค่าความเสี่ยงและข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมได้ดียิ่งขึ้น โดยให้มี การรายงาน ค่า Information Ratio (IR) ควบคู่ไปกับผลการดำเนินงานด้วย ในทุกประเภทของกองทุน
นอกจากนั้น สำหรับกองทุนที่มีการลงทุนใน ตราสารแห่งหนี้ ก็ให้เปิดเผยค่า Modified Duration ของกองทุน และเปิดเผยสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยจำแนกตามอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ได้แก่ AAA AA A BBB BB B CCC CC C รวมทั้งสัดส่วนของตราสารแห่งหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
สำหรับค่า Information Ratio นั้น เป็น อัตราส่วนที่เกิดขึ้นจาก ตัวตั้ง หรือ เศษ ที่คำนวณมาจาก ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนส่วนเกิน (Average of Excess Return) โดยการนำ ค่าผลตอบแทนของกองทุน ลบ ค่าผลตอบแทนของเกณฑ์มาตรฐาน รายวัน มาหาค่าเฉลี่ย ฉะนั้นกองทุนรวมที่มีค่า IR เป็น บวก แสดงว่า กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในขณะที่กองทุนรวมที่มีค่า IR เป็น ลบ แสดงว่า กองทุนให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ตัวหาร หรือ ส่วน ของ อัตราส่วน IR คือ ค่า Tracking Error โดยคำนวณจาก ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของ ค่าผลตอบแทนส่วนเกิน (Excess Return) กับ ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนส่วนเกิน (Average of Excess Return) นั่นเอง ถือเสมือนว่าเป็นค่าความเสี่ยงที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบ เพื่อดูว่ากองทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน โดยที่ กองทุนรวมที่มี ค่า Tracking Error สูงกว่า จะมีความเสี่ยงมากกว่า กองทุนรวมที่มีค่า Tracking Error ต่ำกว่า
ฉะนั้น หลังจาก ประกาศฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะก่อนสิ้นปีนี้ ผู้ลงทุนก็จะมีข้อมูลเพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างกองทุนรวมได้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่ดูเฉพาะผลตอบแทนของกองทุนเท่านั้น จะต้องเหลือบดู ค่า Information Ratio ด้วย ว่าเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับกองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุน หรือ เกณฑ์มาตรฐานที่เหมือนกัน รวมทั้งจะได้ทราบ ค่า Modified Duration สำหรับกองทุนที่มีการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ซึ่งค่ายิ่งมากก็ยิ่งเสี่ยงมาก (ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวขึ้น ราคาจะลดลงมากกว่ากองทุนที่มี Modified Duration ที่ต่ำกว่า)
สุดท้าย ดูสัดส่วนในการลงทุนของตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต และตราสารแห่งหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับเครดิตด้วย เพราะผลตอบแทนที่ดีขึ้นเพียง 15 - 25 basis points (0.15% - 0.25%) อาจจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อตราสารแห่งหนี้นั้นมีการถูกลดอันดับเครดิต หรือ ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้ หรือ ที่เรียกกันว่า เกิด Default ไงครับ
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
“ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต”*
ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บีที จำกัด
0-2686-9500
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies) อยู่ในระหว่างการยื่นประกาศฉบับใหม่ เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พิจารณา เรื่อง มาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวม (Mutual Funds Performance Measurement Standards) เพื่อปรับปรุงแก้ไขประกาศฉบับเก่า ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2544
หลักการในการวัดผลดำเนินงานของกองทุนรวม ยังคงเหมือนเดิม คือ คำนวณเป็นผลตอบแทนรวม (Total Return) และ ใช้วิธีการลงบัญชีแบบบัญชีคงค้าง (Accrual Accounting) โดยให้วัดผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาในแบบถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลา (Time-weighted Return) และนำมาหาผลตอบแทนรวมในช่วงเวลาที่ยาวกว่า โดยการต่อเชื่อมแบบเรขาคณิต (Geometric Link)
การจัดประเภทกองทุนรวมให้พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน และ นโยบายการลงทุน ส่วนเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ที่นำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม มีการระบุรายละเอียดมากขึ้นจากเดิม โดยแบ่งได้ถึง 15 ประเภท และมีการเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหัวข้อก็คือ การเปิดเผยค่าความเสี่ยงและข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนรวมได้ดียิ่งขึ้น โดยให้มี การรายงาน ค่า Information Ratio (IR) ควบคู่ไปกับผลการดำเนินงานด้วย ในทุกประเภทของกองทุน
นอกจากนั้น สำหรับกองทุนที่มีการลงทุนใน ตราสารแห่งหนี้ ก็ให้เปิดเผยค่า Modified Duration ของกองทุน และเปิดเผยสัดส่วนการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยจำแนกตามอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ได้แก่ AAA AA A BBB BB B CCC CC C รวมทั้งสัดส่วนของตราสารแห่งหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
สำหรับค่า Information Ratio นั้น เป็น อัตราส่วนที่เกิดขึ้นจาก ตัวตั้ง หรือ เศษ ที่คำนวณมาจาก ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนส่วนเกิน (Average of Excess Return) โดยการนำ ค่าผลตอบแทนของกองทุน ลบ ค่าผลตอบแทนของเกณฑ์มาตรฐาน รายวัน มาหาค่าเฉลี่ย ฉะนั้นกองทุนรวมที่มีค่า IR เป็น บวก แสดงว่า กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในขณะที่กองทุนรวมที่มีค่า IR เป็น ลบ แสดงว่า กองทุนให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ตัวหาร หรือ ส่วน ของ อัตราส่วน IR คือ ค่า Tracking Error โดยคำนวณจาก ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของ ค่าผลตอบแทนส่วนเกิน (Excess Return) กับ ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนส่วนเกิน (Average of Excess Return) นั่นเอง ถือเสมือนว่าเป็นค่าความเสี่ยงที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบ เพื่อดูว่ากองทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน โดยที่ กองทุนรวมที่มี ค่า Tracking Error สูงกว่า จะมีความเสี่ยงมากกว่า กองทุนรวมที่มีค่า Tracking Error ต่ำกว่า
ฉะนั้น หลังจาก ประกาศฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะก่อนสิ้นปีนี้ ผู้ลงทุนก็จะมีข้อมูลเพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างกองทุนรวมได้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่ดูเฉพาะผลตอบแทนของกองทุนเท่านั้น จะต้องเหลือบดู ค่า Information Ratio ด้วย ว่าเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับกองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุน หรือ เกณฑ์มาตรฐานที่เหมือนกัน รวมทั้งจะได้ทราบ ค่า Modified Duration สำหรับกองทุนที่มีการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ซึ่งค่ายิ่งมากก็ยิ่งเสี่ยงมาก (ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวขึ้น ราคาจะลดลงมากกว่ากองทุนที่มี Modified Duration ที่ต่ำกว่า)
สุดท้าย ดูสัดส่วนในการลงทุนของตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต และตราสารแห่งหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับเครดิตด้วย เพราะผลตอบแทนที่ดีขึ้นเพียง 15 - 25 basis points (0.15% - 0.25%) อาจจะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อตราสารแห่งหนี้นั้นมีการถูกลดอันดับเครดิต หรือ ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้ หรือ ที่เรียกกันว่า เกิด Default ไงครับ
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”
“ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต”*