หากจะว่าไปแล้วสุภาษิตไทยที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” คงจะนำมาปรับใช้กับการลงทุนในกองทุนรวมได้ดีไม่น้อย โดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ หากจะใช้ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีตของแต่ละกองทุนมาเป็นเข็มทิศ หรือตัวช่วยในการเข้าไปลงทุน แต่นักลงทุนเองก็ควรจะดูตัวเลขของผลตอบแทนของกองทุนอย่างน้อย 3 ปีย้อนหลังขึ้นไป หรือหากจะเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นควรย้อนหลัง 5 ปีขึ้นไปเลยยิ่งดีที่สุด
ขณะเดียวกัน นักลงทุนเองก็ควรนำผลตอบแทนของกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น ไม่ใช่นำเอากองทุนหุ้นไปเปรียบเทียบกับกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจากทั้งสองกองทุนนี้มีเป้าหมายในการลงทุน นโยบายในการลงทุน และความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง
และที่ขาดไม่ได้เห็นจะได้แก่ สไตล์ในการบริหารของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั่นเอง ว่ามีความเหมาะสมกับนักลงทุนเองหรือไม่ และแต่ละ บลจ.ก็อาจจะมีจุดดีจุดเด่น หรือแม้กระทั่งจุดด้อยแตกต่างกันออกไปด้วย และที่สำคัญไม่น้อยคือการศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน หรือใฝ่หาความรู้จากสิ่งรอบตัว ตลอดจนเครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากจะช่วยให้เรามีความรู้ ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับแล้ว ยังส่งผลดีต่อการลงทุนในอนาคตของเราเองด้วย
ในช่วงที่ผ่านมา ทีมงาน ”ASTVผู้จัดการกองทุนรวม” ได้แนะนำกองทุนที่มีการลงทุนตามช่วงอายุ และเป้าหมายในช่วงเกษียณอายุมาแล้ว วันนี้ ขอพานักลงทุนนำเอาผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมาใช้เป็นเข็มทิศในการลงทุนกัน แต่กรณีนี้จะง่ายขึ้นไปอีกนิดด้วยการนำรางวัลในแวดวงกองทุนรวมที่เพิ่งมีการประกาศกันไปอย่างรางวัล The Post-Lipper Thailand Fund Awards 2009 มาเป็นตัวช่วยกัน แต่ก็ต้องใช้ตัวช่วยนี้อย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน เนื่องจากรางวัลไม่ได้รับประกันถึงผลตอบแทนที่ดีในอนาคตเลย
สำหรับรางวัล The Post-Lipper Thailand Fund Awards 2009 จำนวนทั้งหมด 14 รางวัล ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด ได้รับรางวัล Best Overall Fund Group หรือกองทุนภายใต้การบริหารจัดการมีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มตราสารหนี้ ตราสารทุนและกลุ่มสินทรัพย์ผสม
ส่วนรางวัล Best Bond Fund Group หรือกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ที่ดีที่สุด เป็นของ บลจ.กรุงไทย รางวัล Best Equity Fund Group หรือ บลจ.ที่มีผลงานด้านกองทุนตราสารทุนดีที่สุด เป็นของ บลจ.บัวหลวง และรางวัล Best Mixed Assets Group หรือกลุ่มกองทุนผสมที่ดีที่สุด เป็นของ บลจ.อยุธยา ซึ่งทั้ง 4 รางวัลพิจารณาในช่วงระยะเวลา 3 ปี
ขณะที่รางวัลกองทุนสารหนี้ที่ดีที่สุดในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปี เป็นของกองทุนเปิดไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ 2 (RMF2) บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงไทย ส่วนรางวัลกองทุนตราสารทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลาเดียวกันเป็นของกองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP) บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง
นอกจากนี้ รางวัลกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นที่ดีที่สุดเป็นของกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง และรางวัลกองทุนรวมผสมแบบสมดุลที่ดีที่สุด เป็นของกองทุนเปิดฮาร์เวสท์ (Harvest Fund) บริหารจัดการโดย บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)
และในระยะเวลา 10 ปีเป็นของกองทุนเปิดธีรสมบัติ (TSB) บริหารจัดการโดย บลจ.ธนชาต เป็นผู้คว้ารางวัลประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ ส่วนกองทุนอยุธยาทุนทวีปันผล (AYF Star Capital) บริหารจัดการโดย บลจ.อยุธยา คว้ารางวัลประเภทกองทุนตราสารทุน ในช่วงระยะเวลา 10 ปี
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนรางวัลทั้งหมด 14 รางวัล ปรากฏว่า บลจ.บัวหลวง ได้รับรางวัลสูงสุด 5 รางวัล รองลงมา บลจ.กรุงไทย 3 รางวัล บลจ.อยุธยา 2 รางวัล บลจ.ธนชาต 2 รางวัล และบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ซึ่งได้รับจำนวน 1 รางวัล
จากข้อมูลพบว่า กองทุนที่ได้รับรางวัลประจำปี 2550 เคยได้รับรางวัลมาแล้วในปี 2550 นั่นคือ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนที่ได้รับรางวัลในปี 2550 ประเภทกองทุนตราสารทุนที่ดีที่สุดระยะเวลา 3 ปี ขณะที่กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เคยได้รับรางวัลประเภทกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นที่ดีที่สุดระยะเวลา 3 ปี
วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทได้รางวัลมาจากการที่บริษัทยังคงรักษานโยบายในการลงทุนแบบเดิม ซึ่งจะเน้นลงทุ้นในหุ้นที่มีคุณภาพ (Good Stock) และช่วงเวลาที่ดีในการซื้อขาย (Good Trade) เป็นหลัก
ส่วนการที่นักลงทุนจะนำผลการดำเนินงานมาเป็นตัวช่วยใยการลงทุน ต้องการให้นักลงทุนมองในระยะยาว 5 – 10 ปี ไม่ใช่มองเพียงแค่ผลการดำเนินงานแบบปีต่อปีเท่านั้น และขอให้ศึกษาสไตล์การบริหารงานของแต่ละ บลจ.ด้วยว่า บลจ.ใดที่มีความเหมาะสมกับตนเอง และการได้รับรางวัลไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับประกันผลการดำเนินงานได้
ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.อยุธยา กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผลได้รางวัลมาจากการที่กองทุนมีผลประกอบการชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี โดยมีหลักการลงทุน โดยจะเน้นลงทุนในระยะยาว และมีการถือครองหุ้น 100% อยู่ตลอดเวลา เน้นลงทุนในหุ้นที่อัตราการเติบโตสูง ขณะที่หุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปรับขึ้นมาประมาณ 30% ขณะที่กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผลได้อยู่ที่ 200% ซึ่งในหลักการเลือกหุ้นที่มีอัตราการการเจริญเติบโตสูง และไม่ใช้กลุยทธ์ในการถือเงินสดจำนวนมาก เลือกหุ้นที่มีคุณภาพ และดีในระยะยาว
สำหรับรางวัลกลุ่มกองทุนผสมที่ดีที่สุดนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการถือครองเงินสดในมือ และจะหาจังหวะในการเข้าไปลงทุน ขณะที่ในช่วงที่ปัญหาการเมือง และภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง กองทุนผสมจะหันมาถือครองเงินสดมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้เคยถือครองเงินสดสูงสุดที่ระดับ 50 – 60% และต่ำสุดที่ระดับ 20 – 30% ซึ่งตลาดหุ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไม่ดี กองทุนจะหันมาถือครองเงินสดมาก ส่งผลให้กองทุนมีผลตอบแทนชนะกองทุนในประเภทเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนจะนำผลรางวัลมาเป็นตัวช่วยในการลงทุนจะต้องดูว่ามีกองทุนใด บริหาโดย บลจ.ใดที่มีความโดดเด่น และได้รับรางวัล แต่จะต้องดูด้วยว่ามาจากสาเหตุอะไร จะต้องทำการบ้าน มีผลประกอบการดีต่อเนื่อง และสามารถรักษาความต่อเนื่องได้ เนื่องจากผลงานในอดีตไม่ได้การันตีถึงผลงานในอนาคตด้วย หากกองทุนนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนสามารถนำกองทุนนั้นมาเป็นแนวทางในการลงทุนได้
จุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า กองทุนเปิดฮาร์เวสท์เป็นกองทุนหุ้นผสมกับตราสารหนี้ โดยหลักการสำคัญที่ทำให้กองทุนมีผลการดำเนินงานดีที่สุด เนื่องจากมีการกระจายสินทรัพย์ในการลงทุนแบบ Asset Allocation ระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ โดยในบางช่วงจะลงทุนในหุ้นน้อย และลงทุนในตราสารหนี้มาก และเมื่อตลาดหุ้นกลับมาดี ก็กลับมาลงทุนในหุ้นมากขึ้น และปรับลดการลงทุนในตราสารหนี้ลง
ทั้งนี้ รางวัลเป็นรางวัลวัดผลงานในอดีต หากพูดตามตรงคือไม่สามารถบอกได้ว่าผลงานในอดีตจะบอกว่ากองทุนนี้จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แต่อย่างน้อยเป็นการพิสูจน์ได้ว่าหลักการ และแนวทางการลงทุนมีความถูกต้อง จึงนำมาซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีได้ แต่นักลงทุนสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง
...สุดท้ายนี้ ทีมงาน ”ASTVผู้จัดการกองทุนรวม” อยากฝากบอกทิ้งท้ายเอาไว้ว่า รางวัลที่ได้แต่ละปีของแต่ละ บลจ.อาจจะไม่มีความสำคัญ หรือมีความหมายต่อนักลงทุนเลย หากนโยบายในการลงทุนของกองทุนที่ได้รางวัลนั้น ไม่เหมาะสมกับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เราคาดว่าจะได้รับในอนาคต ดังนั้น นักลงทุนควรเลือกนโยบาย และความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเองเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการลงทุนอย่างแท้จริง แต่อย่าลืมว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนการตัดสินใจลงทุน”
ขณะเดียวกัน นักลงทุนเองก็ควรนำผลตอบแทนของกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น ไม่ใช่นำเอากองทุนหุ้นไปเปรียบเทียบกับกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจากทั้งสองกองทุนนี้มีเป้าหมายในการลงทุน นโยบายในการลงทุน และความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง
และที่ขาดไม่ได้เห็นจะได้แก่ สไตล์ในการบริหารของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั่นเอง ว่ามีความเหมาะสมกับนักลงทุนเองหรือไม่ และแต่ละ บลจ.ก็อาจจะมีจุดดีจุดเด่น หรือแม้กระทั่งจุดด้อยแตกต่างกันออกไปด้วย และที่สำคัญไม่น้อยคือการศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน หรือใฝ่หาความรู้จากสิ่งรอบตัว ตลอดจนเครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ เนื่องจากจะช่วยให้เรามีความรู้ ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับแล้ว ยังส่งผลดีต่อการลงทุนในอนาคตของเราเองด้วย
ในช่วงที่ผ่านมา ทีมงาน ”ASTVผู้จัดการกองทุนรวม” ได้แนะนำกองทุนที่มีการลงทุนตามช่วงอายุ และเป้าหมายในช่วงเกษียณอายุมาแล้ว วันนี้ ขอพานักลงทุนนำเอาผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมาใช้เป็นเข็มทิศในการลงทุนกัน แต่กรณีนี้จะง่ายขึ้นไปอีกนิดด้วยการนำรางวัลในแวดวงกองทุนรวมที่เพิ่งมีการประกาศกันไปอย่างรางวัล The Post-Lipper Thailand Fund Awards 2009 มาเป็นตัวช่วยกัน แต่ก็ต้องใช้ตัวช่วยนี้อย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน เนื่องจากรางวัลไม่ได้รับประกันถึงผลตอบแทนที่ดีในอนาคตเลย
สำหรับรางวัล The Post-Lipper Thailand Fund Awards 2009 จำนวนทั้งหมด 14 รางวัล ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด ได้รับรางวัล Best Overall Fund Group หรือกองทุนภายใต้การบริหารจัดการมีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มตราสารหนี้ ตราสารทุนและกลุ่มสินทรัพย์ผสม
ส่วนรางวัล Best Bond Fund Group หรือกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ที่ดีที่สุด เป็นของ บลจ.กรุงไทย รางวัล Best Equity Fund Group หรือ บลจ.ที่มีผลงานด้านกองทุนตราสารทุนดีที่สุด เป็นของ บลจ.บัวหลวง และรางวัล Best Mixed Assets Group หรือกลุ่มกองทุนผสมที่ดีที่สุด เป็นของ บลจ.อยุธยา ซึ่งทั้ง 4 รางวัลพิจารณาในช่วงระยะเวลา 3 ปี
ขณะที่รางวัลกองทุนสารหนี้ที่ดีที่สุดในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปี เป็นของกองทุนเปิดไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ 2 (RMF2) บริหารจัดการโดย บลจ.กรุงไทย ส่วนรางวัลกองทุนตราสารทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลาเดียวกันเป็นของกองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP) บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง
นอกจากนี้ รางวัลกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นที่ดีที่สุดเป็นของกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) บริหารจัดการโดย บลจ.บัวหลวง และรางวัลกองทุนรวมผสมแบบสมดุลที่ดีที่สุด เป็นของกองทุนเปิดฮาร์เวสท์ (Harvest Fund) บริหารจัดการโดย บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)
และในระยะเวลา 10 ปีเป็นของกองทุนเปิดธีรสมบัติ (TSB) บริหารจัดการโดย บลจ.ธนชาต เป็นผู้คว้ารางวัลประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ ส่วนกองทุนอยุธยาทุนทวีปันผล (AYF Star Capital) บริหารจัดการโดย บลจ.อยุธยา คว้ารางวัลประเภทกองทุนตราสารทุน ในช่วงระยะเวลา 10 ปี
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนรางวัลทั้งหมด 14 รางวัล ปรากฏว่า บลจ.บัวหลวง ได้รับรางวัลสูงสุด 5 รางวัล รองลงมา บลจ.กรุงไทย 3 รางวัล บลจ.อยุธยา 2 รางวัล บลจ.ธนชาต 2 รางวัล และบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ซึ่งได้รับจำนวน 1 รางวัล
จากข้อมูลพบว่า กองทุนที่ได้รับรางวัลประจำปี 2550 เคยได้รับรางวัลมาแล้วในปี 2550 นั่นคือ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนที่ได้รับรางวัลในปี 2550 ประเภทกองทุนตราสารทุนที่ดีที่สุดระยะเวลา 3 ปี ขณะที่กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เคยได้รับรางวัลประเภทกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นที่ดีที่สุดระยะเวลา 3 ปี
วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทได้รางวัลมาจากการที่บริษัทยังคงรักษานโยบายในการลงทุนแบบเดิม ซึ่งจะเน้นลงทุ้นในหุ้นที่มีคุณภาพ (Good Stock) และช่วงเวลาที่ดีในการซื้อขาย (Good Trade) เป็นหลัก
ส่วนการที่นักลงทุนจะนำผลการดำเนินงานมาเป็นตัวช่วยใยการลงทุน ต้องการให้นักลงทุนมองในระยะยาว 5 – 10 ปี ไม่ใช่มองเพียงแค่ผลการดำเนินงานแบบปีต่อปีเท่านั้น และขอให้ศึกษาสไตล์การบริหารงานของแต่ละ บลจ.ด้วยว่า บลจ.ใดที่มีความเหมาะสมกับตนเอง และการได้รับรางวัลไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับประกันผลการดำเนินงานได้
ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.อยุธยา กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผลได้รางวัลมาจากการที่กองทุนมีผลประกอบการชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี โดยมีหลักการลงทุน โดยจะเน้นลงทุนในระยะยาว และมีการถือครองหุ้น 100% อยู่ตลอดเวลา เน้นลงทุนในหุ้นที่อัตราการเติบโตสูง ขณะที่หุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปรับขึ้นมาประมาณ 30% ขณะที่กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผลได้อยู่ที่ 200% ซึ่งในหลักการเลือกหุ้นที่มีอัตราการการเจริญเติบโตสูง และไม่ใช้กลุยทธ์ในการถือเงินสดจำนวนมาก เลือกหุ้นที่มีคุณภาพ และดีในระยะยาว
สำหรับรางวัลกลุ่มกองทุนผสมที่ดีที่สุดนั้นจะใช้กลยุทธ์ในการถือครองเงินสดในมือ และจะหาจังหวะในการเข้าไปลงทุน ขณะที่ในช่วงที่ปัญหาการเมือง และภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง กองทุนผสมจะหันมาถือครองเงินสดมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้เคยถือครองเงินสดสูงสุดที่ระดับ 50 – 60% และต่ำสุดที่ระดับ 20 – 30% ซึ่งตลาดหุ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไม่ดี กองทุนจะหันมาถือครองเงินสดมาก ส่งผลให้กองทุนมีผลตอบแทนชนะกองทุนในประเภทเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนจะนำผลรางวัลมาเป็นตัวช่วยในการลงทุนจะต้องดูว่ามีกองทุนใด บริหาโดย บลจ.ใดที่มีความโดดเด่น และได้รับรางวัล แต่จะต้องดูด้วยว่ามาจากสาเหตุอะไร จะต้องทำการบ้าน มีผลประกอบการดีต่อเนื่อง และสามารถรักษาความต่อเนื่องได้ เนื่องจากผลงานในอดีตไม่ได้การันตีถึงผลงานในอนาคตด้วย หากกองทุนนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนสามารถนำกองทุนนั้นมาเป็นแนวทางในการลงทุนได้
จุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจกองทุนรวมและที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า กองทุนเปิดฮาร์เวสท์เป็นกองทุนหุ้นผสมกับตราสารหนี้ โดยหลักการสำคัญที่ทำให้กองทุนมีผลการดำเนินงานดีที่สุด เนื่องจากมีการกระจายสินทรัพย์ในการลงทุนแบบ Asset Allocation ระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ โดยในบางช่วงจะลงทุนในหุ้นน้อย และลงทุนในตราสารหนี้มาก และเมื่อตลาดหุ้นกลับมาดี ก็กลับมาลงทุนในหุ้นมากขึ้น และปรับลดการลงทุนในตราสารหนี้ลง
ทั้งนี้ รางวัลเป็นรางวัลวัดผลงานในอดีต หากพูดตามตรงคือไม่สามารถบอกได้ว่าผลงานในอดีตจะบอกว่ากองทุนนี้จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แต่อย่างน้อยเป็นการพิสูจน์ได้ว่าหลักการ และแนวทางการลงทุนมีความถูกต้อง จึงนำมาซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีได้ แต่นักลงทุนสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง
...สุดท้ายนี้ ทีมงาน ”ASTVผู้จัดการกองทุนรวม” อยากฝากบอกทิ้งท้ายเอาไว้ว่า รางวัลที่ได้แต่ละปีของแต่ละ บลจ.อาจจะไม่มีความสำคัญ หรือมีความหมายต่อนักลงทุนเลย หากนโยบายในการลงทุนของกองทุนที่ได้รางวัลนั้น ไม่เหมาะสมกับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เราคาดว่าจะได้รับในอนาคต ดังนั้น นักลงทุนควรเลือกนโยบาย และความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเองเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการลงทุนอย่างแท้จริง แต่อย่าลืมว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนการตัดสินใจลงทุน”