บลจ.แอสเซท พลัส คาดอาร์/พี รอบหน้า กนง.ขยับดอกเบี้ยลงอีก 0.25-0.50% กดดันผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ลดลงต่อเนื่อง พร้อมเพิ่มช่องว่างหุ้นกู้เอกชนสูงขึ้น ล่าสุด ส่ง "กองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 7" รองรับ เน้นลงทุนในตั๋วแลกเงิน รอบการลงทุนประมาณ 8 เดือน ชูผลตอบแทน 2.50% เปิดไอพีโอถึง 2 เมษายนนี้ ด้าน บลจ.กรุงไทย ขายบอนด์กิมจิต่อเนื่อง
นายวิน อุดมรัตนวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่า ทิศทางดอกเบี้ยในช่วงนี้ยังคงอยู่ในช่วงขาลง โดยคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 เมษายน นี้ น่าจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25-0.50% และคาดว่าสิ้นปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.75-1.00% จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ น่าจะอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ -1.5% ถึง 0.5%
ทั้งนี้ จากการที่ตลาดคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวลดลงนั้น ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 1ปี ปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประมาณ 28-38 bps ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากแรงซื้อที่มีปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่กรอบ 0-0.25% เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงปริมาณเพิ่มเติม เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ซึ่งทำให้ตลาดมองว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง
นายวินกล่าวว่า การที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงค่อนข้างมาก ทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชนปรับตัวสูงขึ้นมาก ในด้านการลงทุนจึงควรกระจายการลงทุนมาในส่วนตราสารหนี้เอกชนบางส่วนเพื่อสร้างโอกาสผลตอบแทนให้สูงขึ้น
“ในช่วงนี้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ และต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าพันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นจังหวะเหมาะที่จะลงทุนในตราสารหนี้เอกชน เช่น ตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง และบริษัทผู้ออกตราสารนั้นๆ มีสถานะการเงินที่ดี เนื่องจาก ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล”นายวิน กล่าว
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 2 เมษายน นี้ บริษัท จะเปิดขาย IPO กองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 7 (ASP-ACFIXED7) ผลตอบแทนประมาณการที่ 2.50% ต่อปี จากการลงทุนในตั๋วแลกเงินอายุประมาณ 8 เดือน ที่บริษัทผู้ออกตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น บมจ. โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา(CENTEL) บมจ.ภัทรลิสซิ่ง (PL) บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ (LHB)และบมจ.น้ำตาลมิตรผล (MPSC)
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 5 อีกครั้ง โดยจะเปิดขายหน่วยลงทุนตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 7 เมษายน 2552 นี้
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 5 จะเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ รัฐวิสาหกิจต่างประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาในเงินฝากในสถาบันการเงินต่างประเทศ ตราสารเเห่งหนี้หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่มีคุณภาพ ตามที่คณะกรรมการหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือให้ความเห็นชอบในต่างประเทศเป็นหลัก นอกจากการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักเเล้ว บริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนบางส่วนในประเทศไทย
ทั้งนี้ บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับธนาคารพาณิชย์ไทย เเละหรือธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีตัวเเปรเป็นอัตราเเลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงในอัตราเเลกเปลี่ยน ตามที่คณะกรรมการก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ขณะเดียวกัน บริษัทจัดการจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเเห่งประเทศไทย เเละเเจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเเฝง (Structured Notes)
นายวิน อุดมรัตนวนิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยว่า ทิศทางดอกเบี้ยในช่วงนี้ยังคงอยู่ในช่วงขาลง โดยคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 เมษายน นี้ น่าจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25-0.50% และคาดว่าสิ้นปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.75-1.00% จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ น่าจะอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ -1.5% ถึง 0.5%
ทั้งนี้ จากการที่ตลาดคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวลดลงนั้น ส่งผลให้ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 1ปี ปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประมาณ 28-38 bps ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากแรงซื้อที่มีปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่กรอบ 0-0.25% เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงปริมาณเพิ่มเติม เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ซึ่งทำให้ตลาดมองว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง
นายวินกล่าวว่า การที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงค่อนข้างมาก ทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชนปรับตัวสูงขึ้นมาก ในด้านการลงทุนจึงควรกระจายการลงทุนมาในส่วนตราสารหนี้เอกชนบางส่วนเพื่อสร้างโอกาสผลตอบแทนให้สูงขึ้น
“ในช่วงนี้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ และต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าพันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นจังหวะเหมาะที่จะลงทุนในตราสารหนี้เอกชน เช่น ตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง และบริษัทผู้ออกตราสารนั้นๆ มีสถานะการเงินที่ดี เนื่องจาก ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล”นายวิน กล่าว
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 2 เมษายน นี้ บริษัท จะเปิดขาย IPO กองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 7 (ASP-ACFIXED7) ผลตอบแทนประมาณการที่ 2.50% ต่อปี จากการลงทุนในตั๋วแลกเงินอายุประมาณ 8 เดือน ที่บริษัทผู้ออกตราสารได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น บมจ. โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา(CENTEL) บมจ.ภัทรลิสซิ่ง (PL) บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ (LHB)และบมจ.น้ำตาลมิตรผล (MPSC)
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 5 อีกครั้ง โดยจะเปิดขายหน่วยลงทุนตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 7 เมษายน 2552 นี้
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 5 จะเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐ รัฐวิสาหกิจต่างประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาในเงินฝากในสถาบันการเงินต่างประเทศ ตราสารเเห่งหนี้หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่มีคุณภาพ ตามที่คณะกรรมการหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดหรือให้ความเห็นชอบในต่างประเทศเป็นหลัก นอกจากการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักเเล้ว บริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนบางส่วนในประเทศไทย
ทั้งนี้ บริษัทจัดการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับธนาคารพาณิชย์ไทย เเละหรือธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีตัวเเปรเป็นอัตราเเลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงในอัตราเเลกเปลี่ยน ตามที่คณะกรรมการก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ ขณะเดียวกัน บริษัทจัดการจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารเเห่งประเทศไทย เเละเเจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเเฝง (Structured Notes)