อินไซด์กองทุน 2 สัญชาติ "เดนมาร์ก-เกาหลีใต้" บลจ.ชง เป็นทางเลือก หาผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรในประเทศ "บลจ.ยูโอบี" ชูเดนมาร์ก ความมั่นคงสูง เหตุได้รัฐบาลค้ำประกัน แม้ผลตอบแทนต่ำแต่ปลอดภัย ด้าน "บลจ.กรุงไทย" เผย ผลตอบแทน 4.75% ของบอนด์เกาหลี สูงสุดแล้ว เหตุมาตรการอัดฉีดเงินของเฟด จะฉุดผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้นทั่วโลก ระบุเดินหน้าส่งกองทุนเอาใจลูกค้าต่อ
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการ-หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ความน่าสนใจของตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศเดนมาร์ก อยู่ที่การมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกัน ประกอบกับอันดับเครดิตก็อยู่ในระดับสูงที่ AAA ซึ่งถือว่าค่อนข้างมั่นคง หากเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรป ที่ภาพรัฐบาลออกมาค้ำประกันการออกตราสารหนี้ของสถาบันการเงินเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ ฝรั่งเศษ เยอรมัน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ประเทศเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ถ้าเทียบกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนดังกล่าว เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศเดนมาร์ก ที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการเรียกความเชื่อมั่นเข้ามาในระบบสถาบันการเงินของประเทศตัวเอง
"ปัจจุบันการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุประมาณ 1 ปี ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1% กว่าๆ ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำหากเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในต่างประเทศ ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา บริษัทเองไม่ได้ออกกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ออกมาเลย ดังนั้น เราจึงคิดว่า การออกกองทุนที่มีความปลอดภัยสูงและให้ผลตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้ และสูงกว่าผลตอบแทนในประเทศ การลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินในเดนมาร์กและมีรัฐบาลค้ำประกัน จึงน่าจะเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนในช่วงนี้ได้"นายชุติพนธ์กล่าว
สำหรับการลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ นายชุติพนธ์กล่าวว่า กองทุนที่ออกมาในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้โดยตรง และการลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในเกาหลีใต้ที่เปิดขายในต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการลงทุนในรูปแบบหลัง ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากสถาบันการเงินเหล่านี้ต้องการเงิน จึงเห็นการให้ดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับเป็นการลงทุนขาเดียวคือ ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสวอปเป็นเงินบาท ทำให้ต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินต่ำกว่า ในขณะที่กองทุนที่ลงทุนตรงในพันธบัตรเกาหลีใต้ อาจจะมีต้นทุนจากการสวอปเงินวอนเป็นดอลลาร์ แล้วค่อนสวอปเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทอีกที
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี อยู่ระหว่างเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/1 (UOBFIG12/1) ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีอายุประมาณ 1 ปี ออกโดยธนาคาร Danske ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์กเมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ และมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกันตราสาร โดยกองทุนมีมูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 18 – 24 มีนาคม 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่กองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงถึง 4.75% นั้น มาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ตัวตราสารหนี้เองที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ประกอบกับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ต้นทุนกับป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ทำให้ได้ผลตอบแทนบวกเข้ามาในกองทุน เนื่องจากดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ดังนั้น เวลาสวอปจากเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมาประกาศว่าจะอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการซื้อตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศ เชื่อว่าจะทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับลดลงทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ เพราะมาตรการดังกล่าว จะทำให้เงินจะไหลเข้าสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งจะไหลออกมานอกประเทศด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ระบบสภาพคล่องของโลกเพิ่มขึ้น และเมื่อสภาพคล่องเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับลดลงตามไปด้วย
"หลังจากนี้ ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้อาจจะไม่เห็นอยู่ในระดับที่สูงถึง 4.75% เช่นนี้แล้ว เนื่องจากเฟดอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้ตราสารหนี้ระยะสั้นมั่วโลกปรับลดลง"นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ยังมองว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ ถึงแม้ผลตอบแทนอาจจะลดลงบ้างหลังจากนี้ เพราะยังเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในประเทศ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศในกลุ่มยุโรป อย่างเช่น เดนมาร์กที่มีกองทุนออกมาในขณะนี้ มองว่าก็เป็นทางเลือกนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งบลจ.กรุงไทยเอง ก็ศึกษาการลงทุนในกลุ่มประเทศยุโรปเช่นกัน เนื่องจากได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งนอกจากเดนมาร์กแล้ว ประเทศวีเดนเองก็น่าสนใจ แต่ยังมองว่ากลุ่มประเทศในยุโรปค่อนข้างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก และนักลงทุนในประเทศอาจจะไม่คุ้นเคยมากนัก
สำหรับบลจ.กรุงไทย อยู่ระหว่างเสนอขาย กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 4 ในระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคมนี้ โดยกองทุนดังกล่าว มีอายุโครงการ 1 ปี เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ประเภท Euro Commercial Paper (ECP) /Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดยสถาบันการเงินภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับสูงสุด คือ A1 โดย S&P และ F1 โดย Fitch โดยกองทุนจะลงทุนใน Export - Import Bank of Korea และ Korea Development Bank ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 50 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 4.75 %ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้ว รวมถึงเงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนด้วย
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการ-หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ความน่าสนใจของตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศเดนมาร์ก อยู่ที่การมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกัน ประกอบกับอันดับเครดิตก็อยู่ในระดับสูงที่ AAA ซึ่งถือว่าค่อนข้างมั่นคง หากเทียบกับกลุ่มประเทศในยุโรป ที่ภาพรัฐบาลออกมาค้ำประกันการออกตราสารหนี้ของสถาบันการเงินเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ ฝรั่งเศษ เยอรมัน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ประเทศเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ถ้าเทียบกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนดังกล่าว เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศเดนมาร์ก ที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการเรียกความเชื่อมั่นเข้ามาในระบบสถาบันการเงินของประเทศตัวเอง
"ปัจจุบันการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุประมาณ 1 ปี ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1% กว่าๆ ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำหากเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในต่างประเทศ ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา บริษัทเองไม่ได้ออกกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ออกมาเลย ดังนั้น เราจึงคิดว่า การออกกองทุนที่มีความปลอดภัยสูงและให้ผลตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้ และสูงกว่าผลตอบแทนในประเทศ การลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินในเดนมาร์กและมีรัฐบาลค้ำประกัน จึงน่าจะเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนในช่วงนี้ได้"นายชุติพนธ์กล่าว
สำหรับการลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ นายชุติพนธ์กล่าวว่า กองทุนที่ออกมาในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้โดยตรง และการลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในเกาหลีใต้ที่เปิดขายในต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการลงทุนในรูปแบบหลัง ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากสถาบันการเงินเหล่านี้ต้องการเงิน จึงเห็นการให้ดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับเป็นการลงทุนขาเดียวคือ ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและสวอปเป็นเงินบาท ทำให้ต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินต่ำกว่า ในขณะที่กองทุนที่ลงทุนตรงในพันธบัตรเกาหลีใต้ อาจจะมีต้นทุนจากการสวอปเงินวอนเป็นดอลลาร์ แล้วค่อนสวอปเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทอีกที
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี อยู่ระหว่างเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี เอฟไอจี 12/1 (UOBFIG12/1) ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่มีอายุประมาณ 1 ปี ออกโดยธนาคาร Danske ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์กเมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ และมีรัฐบาลเดนมาร์กเป็นผู้ค้ำประกันตราสาร โดยกองทุนมีมูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 18 – 24 มีนาคม 2552 และมีมูลค่าเม็ดเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่กองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงถึง 4.75% นั้น มาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ตัวตราสารหนี้เองที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ประกอบกับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ต้นทุนกับป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ทำให้ได้ผลตอบแทนบวกเข้ามาในกองทุน เนื่องจากดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ดังนั้น เวลาสวอปจากเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมาประกาศว่าจะอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการซื้อตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในประเทศ เชื่อว่าจะทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับลดลงทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ เพราะมาตรการดังกล่าว จะทำให้เงินจะไหลเข้าสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งจะไหลออกมานอกประเทศด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ระบบสภาพคล่องของโลกเพิ่มขึ้น และเมื่อสภาพคล่องเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับลดลงตามไปด้วย
"หลังจากนี้ ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้อาจจะไม่เห็นอยู่ในระดับที่สูงถึง 4.75% เช่นนี้แล้ว เนื่องจากเฟดอัดฉีดเงินเข้าระบบด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้ตราสารหนี้ระยะสั้นมั่วโลกปรับลดลง"นายสมชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ยังมองว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ ถึงแม้ผลตอบแทนอาจจะลดลงบ้างหลังจากนี้ เพราะยังเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในประเทศ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศในกลุ่มยุโรป อย่างเช่น เดนมาร์กที่มีกองทุนออกมาในขณะนี้ มองว่าก็เป็นทางเลือกนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งบลจ.กรุงไทยเอง ก็ศึกษาการลงทุนในกลุ่มประเทศยุโรปเช่นกัน เนื่องจากได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งนอกจากเดนมาร์กแล้ว ประเทศวีเดนเองก็น่าสนใจ แต่ยังมองว่ากลุ่มประเทศในยุโรปค่อนข้างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก และนักลงทุนในประเทศอาจจะไม่คุ้นเคยมากนัก
สำหรับบลจ.กรุงไทย อยู่ระหว่างเสนอขาย กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐต่างประเทศ 12 เดือน 4 ในระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคมนี้ โดยกองทุนดังกล่าว มีอายุโครงการ 1 ปี เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ประเภท Euro Commercial Paper (ECP) /Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดยสถาบันการเงินภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับสูงสุด คือ A1 โดย S&P และ F1 โดย Fitch โดยกองทุนจะลงทุนใน Export - Import Bank of Korea และ Korea Development Bank ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 50 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 4.75 %ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้ว รวมถึงเงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนด้วย