คอลัมน์ ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม ตอน
วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำว่า ท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี เป็นช่วงที่ท่านมีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้มากขึ้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่มีบุตร ผมได้แนะนำว่าท่านควรจะออมเงินโดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ดังนี้ 1. การออมเงินไว้ในบัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน 2. บัญชีเงินออมเพื่อการศึกษา 3. บัญชีเงินออมเพื่อเกษียณ 4. บัญชีเงินออมเพื่อการท่องเที่ยว
เมื่อท่านสามารถจัดการเงินออมได้และสามารถออมเงินเพื่อเกษียณได้แล้ว คราวนี้เรามาดูวิธีการบริหารเงินออมเพื่อเกษียณให้งอกเงยกันนะครับ
เป้าหมายการออมคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ”
ท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปีโดยทั่วไปมีระยะเวลาในการออมปานกลางค่อนข้างยาว ในภาษาการเงินเรียกว่า Medium to Long Time Horizon สมมติว่าเริ่มออมเมื่ออายุ 35 ปี และคาดว่าจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านจะมีเวลาทำงานเก็บออม 25 ปี จัดว่าค่อนข้างนาน หากท่านเริ่มออมช้าหน่อย เช่น เริ่มออมเมื่ออายุ 45 ปี และคาดว่าจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านมีเวลาเก็บออมเพียง 15 ปี นับว่ามีระยะเวลาในการออมปานกลาง
การมีเวลาเก็บออมนาน 15 – 25 ปี ทำให้ท่านเสียเปรียบคนที่เริ่มออมตั้งแต่เริ่มทำงาน และทำให้ต้องออมมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายหลักของเราทุนคนคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ” นั่นเอง
ระยะเวลาการเก็บออมปานกลางค่อนข้างยาว ทำให้ท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ปานกลาง และมีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดได้บ้าง
การจัดตะกร้าเงินออมที่ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation)
เมื่อเราตั้งหลักได้ชัดเจนแล้วว่า เป้าหมายของเราคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ” โดยที่เรามีระยะเวลาการเก็บออมนาน 15 – 25 ปี และสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ปานกลาง เราก็พร้อมจะจัดพอร์ตเงินออมของตัวเองแล้วครับ
ผมได้แนะนำไปแล้วว่า คำว่า “พอร์ต” ที่ว่านี้ มาจากคำว่า พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) แปลง่ายๆ ได้ว่า “ตะกร้าเงินออม” ของเรานั่นเองโดยทั่วไป หลักการจัดพอร์ตหรือตะกร้าเงินออมมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ 1.ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation) 2.รักษาเงินต้น (Capital Preservation)
สำหรับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี ผมขอให้นำให้เลือกแบบที่ 1. ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation) แต่ให้ระมัดระวังมากกว่าคนที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน เพื่อให้เข้าใจง่าย ผมสมมติว่าท่านมีทางเลือกการลงทุนเพียง 2 อย่าง ได้แก่
1.พันธบัตรรัฐบาลไทย เป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง มีความเสี่ยงต่ำ (ระดับความเสี่ยง 8.16%) แต่ก็คาดว่าจะให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำตามไปด้วย คาดว่าการลงทุนในพันธบัตรไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.08% ต่อปี
2.หุ้นไทย เป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง (ระดับความเสี่ยง 22.44%) แต่ก็คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย คาดว่าการลงทุนในหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10.59% ต่อปี
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ทั้งสองกลุ่มมีการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนที่ไม่ค่อยจะสัมพันธ์กัน ทำให้ค่าสหสัมพันธ์ (Correlations) เท่ากับ -0.04 การนำหลักทรัพย์สองกลุ่มที่ผลตอบแทนไม่สัมพันธ์กันมาใส่ไว้ในพอร์ตหรือ “ตะกร้าเงินออม” ของเราจะช่วยให้ระดับความเสี่ยงของพอร์ตในภาพรวมลดลงได้ด้วย
หากท่านเป็นคนที่กลัวความเสี่ยงมาก ท่านคงคิดว่าเอาเงินออมทั้งหมดไปลงทุนในพันธบัตรไทยดีที่สุด (ตะกร้าแบบ A) ผลที่ตามมาก็คือ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจะอยู่ในระดับ 4.08% ต่อปี ตะกร้าเงินออมของท่านจะมีความเสี่ยงที่ระดับ 8.16% และหากท่านออมเดือนละ 4,000 บาท เริ่มออมเมื่ออายุ 40 ปี เมื่อเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านจะมีเงินสะสม 1.44 ล้านบาท
แนวคิดแบบนี้เน้นความปลอดภัยเป็นหลักและใช้หลักการของการ “รักษาเงินต้น” นั่นเอง ซึ่งที่จริงแล้วไม่ค่อยเหมาะสมกับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี เพราะท่านกำลังระมัดระวังในการรักษาเงินต้นมากเกินไป ทำให้เงินของท่านงอกเงยช้า เพียง 4% ต่อปี ท้ายที่สุดแล้วท่านอาจจะมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ซึ่งก็หมายถึงการไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ในทางตรงข้าม เมื่อท่านมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ปานกลาง มีเวลาเก็บออมค่อนข้างยาว และมีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดได้บ้าง ท่านควรจะใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการสร้างพอร์ตเงินออมที่เน้นการ ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation)
ลองดูตัวอย่างตะกร้าแบบ B นะครับ ท่านแบ่งเงินออมในตะกร้าไปลงทุนในพันธบัตร 80% และลงทุนในหุ้น 20% ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 5.38% ต่อปี ในขณะที่ความเสี่ยงลดลงเหลือ 7.77% เมื่อมีผลตอบแทนมากขึ้น เงินออมเดือนละ 4,000 บาทต่อเดือนเท่ากัน ท่านจะมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 1.65 ล้านบาทเมื่อเกษียณ
หากท่านรับความเสี่ยงได้มาก ผมแนะนำให้เลือกตะกร้าแบบ C โดยแบ่งเงินออมไปลงทุนในพันธบัตรและหุ้นอย่างละครึ่ง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 7.34% ต่อปี ในขณะที่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 11.78% เมื่อมีผลตอบแทนมากขึ้น เงินออมเดือนละ 4,000 บาทต่อเดือนเท่ากัน ท่านจะมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 2.04 ล้านบาทเมื่อเกษียณ มากกว่าตะกร้าแบบ A เกือบสองเท่า
อย่างไรก็ดี การจัดตะกร้าเงินออมข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วๆ ไปนะครับ ในความเป็นจริงคนทุกคนล้วนมีความต้องการและมีลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ต่างกัน ท่านก็สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในตะกร้าเงินออมของท่านได้ตามความเหมาะสม และที่สำคัญ หากท่านรู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนไม่ชอบความเสี่ยงหรือไม่ชอบหุ้น ก็อย่าฝืนนะครับ เลือกตะกร้าที่ไม่มีหุ้นเลย (แบบ A) ก็ได้ ถึงแม้ว่าเงินออมจะโตช้าหน่อย แต่ท่านลงทุนอย่างสบายใจ ไม่ฝืนใจตัวเอง น่าจะดีกว่าครับ
ซื้อกองทุนรวม ดีกว่าลงทุนเอง
ถึงแม้ว่าผมจะแนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในหุ้น แต่ผมไม่แนะนำให้ลงทุนในหุ้นเองโดยตรงนะครับ เพราะโดยทั่วไปการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ โดยตรงต้องใช้เวลาติดตามวิเคราะห์ค่อนข้างมาก ทุกวันนี้เราสามารถลงทุนผ่าน “กองทุนรวม” เพื่อใช้บริการจากมืออาชีพให้บริหารเงินออมแทนเราน่าจะสะดวกกว่า
การลงทุนใน “กองทุนรวม” นั้นทำให้ท่านสามารถลงทุนในหุ้นได้พร้อมกันหลายๆ ตัวโดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมากนัก จึงช่วยให้ได้กระจายการลงทุนเพื่อกำจัดความเสี่ยงเฉพาะหุ้นแต่ละตัวได้ ท่านจึงเหลือแต่ความเสี่ยงของตลาดในภาพรวม ซึ่งก็จะค่อยๆ ลดทอนลงหากท่านลงทุนในระยะยาว
ดังนั้น ผมขอแนะนำว่า สำหรับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 -55 ปี ควรแบ่งพอร์ตเงินออมดังนี้
-80% ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตร
-20% ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในหุ้น
หรือจะมองหากองทุนแบบผสม ที่แบ่งลงทุนในพันธบัตร 80% ลงทุนในหุ้น 20% ก็ได้ครับ
หากท่านมีภาระภาษี ผมแนะนำว่า แทนที่จะลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป ท่านควรจะลงทุนในกองทุนแบบ Retirement Mutual Fund (RMF) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น หรือ Long Term Equity Fund (LTF) ดีกว่าครับ เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว กองทุน RMF และ LTF ยังมีลักษณะที่บังคับให้ท่านต้องลงทุนระยะยาวด้วย สอดคล้องกับลักษณะการลงทุนของท่านพอดี
สำหรับการลงทุนอื่นๆ นอกเหนือจากพันธบัตรและหุ้น เช่น ทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในต่างประเทศ นั้นมีความซับซ้อนมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เมื่อท่านมั่นใจว่าท่านมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเหล่านี้มากพอ ท่านอาจจะแบ่งเงินออมมาลงทุนได้บ้าง ผมขอแนะนำว่าในเบื้องต้นไม่ควรจะเกิน 5 – 10% ของตะกร้าเงินออมครับ
ส่วนการเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น โดยทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำครับ เพราะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าพันธบัตร ท่านอาจจะมีเงินในบัญชีเงินฝากเฉพาะส่วนที่เป็นการสำรองเงินฉุกเฉินที่ฝากถอนได้ง่าย หรือในกรณีเป็นบัญชีเงินฝากแบบพิเศษที่เน้นการออมระยะยาวและได้ดอกเบี้ยสูงเท่านั้นครับ
ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออมเงินกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพหลังเกษียณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
วิน พรหมแพทย์, CFA, win@sso.go.th
ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำว่า ท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี เป็นช่วงที่ท่านมีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้มากขึ้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่มีบุตร ผมได้แนะนำว่าท่านควรจะออมเงินโดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ดังนี้ 1. การออมเงินไว้ในบัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน 2. บัญชีเงินออมเพื่อการศึกษา 3. บัญชีเงินออมเพื่อเกษียณ 4. บัญชีเงินออมเพื่อการท่องเที่ยว
เมื่อท่านสามารถจัดการเงินออมได้และสามารถออมเงินเพื่อเกษียณได้แล้ว คราวนี้เรามาดูวิธีการบริหารเงินออมเพื่อเกษียณให้งอกเงยกันนะครับ
เป้าหมายการออมคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ”
ท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปีโดยทั่วไปมีระยะเวลาในการออมปานกลางค่อนข้างยาว ในภาษาการเงินเรียกว่า Medium to Long Time Horizon สมมติว่าเริ่มออมเมื่ออายุ 35 ปี และคาดว่าจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านจะมีเวลาทำงานเก็บออม 25 ปี จัดว่าค่อนข้างนาน หากท่านเริ่มออมช้าหน่อย เช่น เริ่มออมเมื่ออายุ 45 ปี และคาดว่าจะเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านมีเวลาเก็บออมเพียง 15 ปี นับว่ามีระยะเวลาในการออมปานกลาง
การมีเวลาเก็บออมนาน 15 – 25 ปี ทำให้ท่านเสียเปรียบคนที่เริ่มออมตั้งแต่เริ่มทำงาน และทำให้ต้องออมมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายหลักของเราทุนคนคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ” นั่นเอง
ระยะเวลาการเก็บออมปานกลางค่อนข้างยาว ทำให้ท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ปานกลาง และมีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดได้บ้าง
การจัดตะกร้าเงินออมที่ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation)
เมื่อเราตั้งหลักได้ชัดเจนแล้วว่า เป้าหมายของเราคือ “มีเงินพอใช้หลังเกษียณ” โดยที่เรามีระยะเวลาการเก็บออมนาน 15 – 25 ปี และสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ปานกลาง เราก็พร้อมจะจัดพอร์ตเงินออมของตัวเองแล้วครับ
ผมได้แนะนำไปแล้วว่า คำว่า “พอร์ต” ที่ว่านี้ มาจากคำว่า พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) แปลง่ายๆ ได้ว่า “ตะกร้าเงินออม” ของเรานั่นเองโดยทั่วไป หลักการจัดพอร์ตหรือตะกร้าเงินออมมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ 1.ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation) 2.รักษาเงินต้น (Capital Preservation)
สำหรับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี ผมขอให้นำให้เลือกแบบที่ 1. ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation) แต่ให้ระมัดระวังมากกว่าคนที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน เพื่อให้เข้าใจง่าย ผมสมมติว่าท่านมีทางเลือกการลงทุนเพียง 2 อย่าง ได้แก่
1.พันธบัตรรัฐบาลไทย เป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง มีความเสี่ยงต่ำ (ระดับความเสี่ยง 8.16%) แต่ก็คาดว่าจะให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำตามไปด้วย คาดว่าการลงทุนในพันธบัตรไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.08% ต่อปี
2.หุ้นไทย เป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง (ระดับความเสี่ยง 22.44%) แต่ก็คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย คาดว่าการลงทุนในหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10.59% ต่อปี
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ทั้งสองกลุ่มมีการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนที่ไม่ค่อยจะสัมพันธ์กัน ทำให้ค่าสหสัมพันธ์ (Correlations) เท่ากับ -0.04 การนำหลักทรัพย์สองกลุ่มที่ผลตอบแทนไม่สัมพันธ์กันมาใส่ไว้ในพอร์ตหรือ “ตะกร้าเงินออม” ของเราจะช่วยให้ระดับความเสี่ยงของพอร์ตในภาพรวมลดลงได้ด้วย
หากท่านเป็นคนที่กลัวความเสี่ยงมาก ท่านคงคิดว่าเอาเงินออมทั้งหมดไปลงทุนในพันธบัตรไทยดีที่สุด (ตะกร้าแบบ A) ผลที่ตามมาก็คือ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจะอยู่ในระดับ 4.08% ต่อปี ตะกร้าเงินออมของท่านจะมีความเสี่ยงที่ระดับ 8.16% และหากท่านออมเดือนละ 4,000 บาท เริ่มออมเมื่ออายุ 40 ปี เมื่อเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่านจะมีเงินสะสม 1.44 ล้านบาท
แนวคิดแบบนี้เน้นความปลอดภัยเป็นหลักและใช้หลักการของการ “รักษาเงินต้น” นั่นเอง ซึ่งที่จริงแล้วไม่ค่อยเหมาะสมกับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 – 55 ปี เพราะท่านกำลังระมัดระวังในการรักษาเงินต้นมากเกินไป ทำให้เงินของท่านงอกเงยช้า เพียง 4% ต่อปี ท้ายที่สุดแล้วท่านอาจจะมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ซึ่งก็หมายถึงการไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ในทางตรงข้าม เมื่อท่านมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ปานกลาง มีเวลาเก็บออมค่อนข้างยาว และมีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดได้บ้าง ท่านควรจะใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการสร้างพอร์ตเงินออมที่เน้นการ ทำให้เงินงอกเงย (Capital Appreciation)
ลองดูตัวอย่างตะกร้าแบบ B นะครับ ท่านแบ่งเงินออมในตะกร้าไปลงทุนในพันธบัตร 80% และลงทุนในหุ้น 20% ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 5.38% ต่อปี ในขณะที่ความเสี่ยงลดลงเหลือ 7.77% เมื่อมีผลตอบแทนมากขึ้น เงินออมเดือนละ 4,000 บาทต่อเดือนเท่ากัน ท่านจะมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 1.65 ล้านบาทเมื่อเกษียณ
หากท่านรับความเสี่ยงได้มาก ผมแนะนำให้เลือกตะกร้าแบบ C โดยแบ่งเงินออมไปลงทุนในพันธบัตรและหุ้นอย่างละครึ่ง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 7.34% ต่อปี ในขณะที่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 11.78% เมื่อมีผลตอบแทนมากขึ้น เงินออมเดือนละ 4,000 บาทต่อเดือนเท่ากัน ท่านจะมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 2.04 ล้านบาทเมื่อเกษียณ มากกว่าตะกร้าแบบ A เกือบสองเท่า
อย่างไรก็ดี การจัดตะกร้าเงินออมข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำทั่วๆ ไปนะครับ ในความเป็นจริงคนทุกคนล้วนมีความต้องการและมีลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ต่างกัน ท่านก็สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในตะกร้าเงินออมของท่านได้ตามความเหมาะสม และที่สำคัญ หากท่านรู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนไม่ชอบความเสี่ยงหรือไม่ชอบหุ้น ก็อย่าฝืนนะครับ เลือกตะกร้าที่ไม่มีหุ้นเลย (แบบ A) ก็ได้ ถึงแม้ว่าเงินออมจะโตช้าหน่อย แต่ท่านลงทุนอย่างสบายใจ ไม่ฝืนใจตัวเอง น่าจะดีกว่าครับ
ซื้อกองทุนรวม ดีกว่าลงทุนเอง
ถึงแม้ว่าผมจะแนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในหุ้น แต่ผมไม่แนะนำให้ลงทุนในหุ้นเองโดยตรงนะครับ เพราะโดยทั่วไปการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ โดยตรงต้องใช้เวลาติดตามวิเคราะห์ค่อนข้างมาก ทุกวันนี้เราสามารถลงทุนผ่าน “กองทุนรวม” เพื่อใช้บริการจากมืออาชีพให้บริหารเงินออมแทนเราน่าจะสะดวกกว่า
การลงทุนใน “กองทุนรวม” นั้นทำให้ท่านสามารถลงทุนในหุ้นได้พร้อมกันหลายๆ ตัวโดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมากนัก จึงช่วยให้ได้กระจายการลงทุนเพื่อกำจัดความเสี่ยงเฉพาะหุ้นแต่ละตัวได้ ท่านจึงเหลือแต่ความเสี่ยงของตลาดในภาพรวม ซึ่งก็จะค่อยๆ ลดทอนลงหากท่านลงทุนในระยะยาว
ดังนั้น ผมขอแนะนำว่า สำหรับท่านที่อยู่ในช่วงอายุ 35 -55 ปี ควรแบ่งพอร์ตเงินออมดังนี้
-80% ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตร
-20% ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในหุ้น
หรือจะมองหากองทุนแบบผสม ที่แบ่งลงทุนในพันธบัตร 80% ลงทุนในหุ้น 20% ก็ได้ครับ
หากท่านมีภาระภาษี ผมแนะนำว่า แทนที่จะลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป ท่านควรจะลงทุนในกองทุนแบบ Retirement Mutual Fund (RMF) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น หรือ Long Term Equity Fund (LTF) ดีกว่าครับ เพราะนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว กองทุน RMF และ LTF ยังมีลักษณะที่บังคับให้ท่านต้องลงทุนระยะยาวด้วย สอดคล้องกับลักษณะการลงทุนของท่านพอดี
สำหรับการลงทุนอื่นๆ นอกเหนือจากพันธบัตรและหุ้น เช่น ทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนในต่างประเทศ นั้นมีความซับซ้อนมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เมื่อท่านมั่นใจว่าท่านมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเหล่านี้มากพอ ท่านอาจจะแบ่งเงินออมมาลงทุนได้บ้าง ผมขอแนะนำว่าในเบื้องต้นไม่ควรจะเกิน 5 – 10% ของตะกร้าเงินออมครับ
ส่วนการเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น โดยทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำครับ เพราะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าพันธบัตร ท่านอาจจะมีเงินในบัญชีเงินฝากเฉพาะส่วนที่เป็นการสำรองเงินฉุกเฉินที่ฝากถอนได้ง่าย หรือในกรณีเป็นบัญชีเงินฝากแบบพิเศษที่เน้นการออมระยะยาวและได้ดอกเบี้ยสูงเท่านั้นครับ
ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออมเงินกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพหลังเกษียณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.