วันนี้ทางทีมงานขอนำเสนอบทความจากสมาคมบริษัทจัดการกองทุน เกี่ยวกับการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณกับกองทุนรวม ครับ ต้องขอบคุณสมาคมบริษัทจัดการกองทุน ด้วยนะครับ
ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย เป็นครอบครัวใหญ่ที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา คนวัยหนุ่มสาวออกไปทำไร่ทำนา คนชราอยู่บ้านเลี้ยงดูลูกหลาน หรือลูกหลานดูแลคนชรา บ้านใกล้เรือนเคียงก็พึ่งพาอาศัยกัน อบอุ่นเหมือนพี่น้อง เจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยกันดูแล ภาพในอดีตเหล่านี้ค่อยๆ ลบเลือนหายไป สังคมอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเร่งรีบ ต่างคนต่างทำมาหากิน เวลาหมดไปกับการทำงานเพื่อแลกเงินมาจับจ่ายใช้สอย การอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่แทบไม่มีให้เห็น ลูกหลานเมื่อเติบใหญ่ต่างก็แยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง สร้างครอบครัวเป็นของตัวเองเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่เริ่มหาได้ยากขึ้น การเอาใจใส่ดูแลปรนนิบัติคนเฒ่าคนแก่ก็ห่างหายไป คนชราเริ่มอยู่ตามลำพัง ใครที่มีเงินมีทองก็ดีไป ภาพที่น่าสะเทือนใจของคนชราที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว อดมื้อ กินมื้อ เจ็บไข้ได้ป่วยมีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ตามสื่อหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ คงไม่มีใครที่ต้องการอยู่ในสภาพเช่นนั้น โดยเฉพาะในวัยชรา และก็ไม่มีใครต้องการมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก อนาถา (เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา) ดังนั้นการวางแผนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน และเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตในบั้นปลายเพื่อให้มีโอกาสอยู่อย่างมีความสุขโดยลำพังได้ (พึ่งตัวเอง) จึงเป็นสิ่งสำคัญเสียแล้ว ณ วันนี้
ปัจจุบันมีการรณรงค์ส่งเสริมให้คนหันมาออมเพื่อการเกษียณกันมากขึ้น จะเห็นได้จากบริษัทหลายๆบริษัท มีสวัสดิการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันมากขึ้น ข้าราชการก็มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วคนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทที่ไม่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพล่ะ มีช่องทางการออมไหนบ้างสำหรับพวกเขา แน่นอนรัฐบาลไม่ได้ละเลยคนเหล่านี้ อีกทั้งคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว หากต้องการออมเพิ่มก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน ทางเลือกนั้นคืออะไร หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินและรู้จักกองทุนรวมกันมาบ้างแล้ว แต่มีกองทุนรวมพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว นั่นก็คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund (RMF) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกรมสรรพากร RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนออมเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ เพื่อเป็นหลักประกันให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือตกเป็นภาระให้รัฐบาลต้องคอยเลี้ยงดู RMF นั้นเป็นรูปแบบการออมผ่านการลงทุน ซึ่งแน่นอนย่อมมีความเสี่ยงแต่สามารถยอมรับได้ หากผู้ลงทุนได้ศึกษารายละเอียดจนเข้าใจ และได้รับการส่งเสริมด้วยมาตรการของภาษี ที่สามารถนำไปหักลดหย่อนจากเงินได้ในแต่ละปี คงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF นี้เป็นเช่นไร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขคร่าวๆ ของ RMF ก็มีอยู่ว่า ผู้ลงทุนต้องลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี หรือปีเว้นปี ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน และถือจนกระทั่งอายุครบ 55 ปี ถึงจะได้สิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนนั่นคือ เงินที่นำมาลงทุนซื้อ RMF ในแต่ละปี ไม่ต้องนำไปนับเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน (RMF) ในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินที่ได้รับในแต่ละปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้นๆ
นอกจากนั้นผลประโยชน์หรือกำไรจากการขายหน่วยลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีเช่นกันหากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น(ลงทุนอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน และถือจนกระทั่งอายุ 55 ปี ) แต่หากผู้ลงทุนทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ก็มีหน้าที่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับแก่กรมสรรพากร นับย้อนหลังไปในช่วง 5 ปี ปฏิทิน รวมทั้งกรณีการขายคืนหน่วยลงทุนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขแล้วมีกำไร ก็ต้องนำเงินกำไรนั้นไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย เมื่อพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ RMF อาจจะดูซับซ้อนไปนิดหนึ่ง เพราะต้องมีวินัยอยู่พอสมควร หากเพียงแต่ท่านมีความตั้งใจที่จะออมเงินเพื่อเก็บเอาไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุจริงๆ สิ่งที่เห็นยากๆ เหล่านี้ก็สามารถทำความเข้าใจปฏิบัติตามได้ไม่ยาก และหากในปีใดท่านมีค่าใช้จ่ายเยอะ ก็อาจจะลงทุนในสัดส่วนที่น้อยลงได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเอาไว้ ในทางกลับกันหากปีใดท่านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถนำมาลงทุนเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็ต้องไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้เช่นกัน นั่นก็คือสามารถยืดหยุ่นได้ตามความสามารถในการหารายได้ของตัวท่านเอง การลงทุนในกองทุนรวม RMF วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้ลงทุนมีเงินสะสมไว้ใช้จ่ายในยามแก่ชรา ไม่ต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก ยากจน สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นของแถมเป็นเรื่องรองๆ การลงทุนใน RMF ประเภทใด ให้พิจารณาความเหมาะสมของระดับความเสี่ยงที่ท่านเข้าใจและยอมรับได้
เคยคิดหรือไม่ว่า การมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส และสมบูรณ์ด้วยการเงินที่ดีนั้น เราจะมีความสุขมากแค่ไหน เกษียณอายุอย่างอบอุ่นใจ ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) เสียแต่วันนี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้สมาคมบริษัทจัดการลงทุน Call Center 02-2640900 กด 6
สำหรับท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงุทนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ
ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย เป็นครอบครัวใหญ่ที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา คนวัยหนุ่มสาวออกไปทำไร่ทำนา คนชราอยู่บ้านเลี้ยงดูลูกหลาน หรือลูกหลานดูแลคนชรา บ้านใกล้เรือนเคียงก็พึ่งพาอาศัยกัน อบอุ่นเหมือนพี่น้อง เจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยกันดูแล ภาพในอดีตเหล่านี้ค่อยๆ ลบเลือนหายไป สังคมอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเร่งรีบ ต่างคนต่างทำมาหากิน เวลาหมดไปกับการทำงานเพื่อแลกเงินมาจับจ่ายใช้สอย การอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่แทบไม่มีให้เห็น ลูกหลานเมื่อเติบใหญ่ต่างก็แยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง สร้างครอบครัวเป็นของตัวเองเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่เริ่มหาได้ยากขึ้น การเอาใจใส่ดูแลปรนนิบัติคนเฒ่าคนแก่ก็ห่างหายไป คนชราเริ่มอยู่ตามลำพัง ใครที่มีเงินมีทองก็ดีไป ภาพที่น่าสะเทือนใจของคนชราที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว อดมื้อ กินมื้อ เจ็บไข้ได้ป่วยมีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ตามสื่อหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ คงไม่มีใครที่ต้องการอยู่ในสภาพเช่นนั้น โดยเฉพาะในวัยชรา และก็ไม่มีใครต้องการมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก อนาถา (เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา) ดังนั้นการวางแผนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน และเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตในบั้นปลายเพื่อให้มีโอกาสอยู่อย่างมีความสุขโดยลำพังได้ (พึ่งตัวเอง) จึงเป็นสิ่งสำคัญเสียแล้ว ณ วันนี้
ปัจจุบันมีการรณรงค์ส่งเสริมให้คนหันมาออมเพื่อการเกษียณกันมากขึ้น จะเห็นได้จากบริษัทหลายๆบริษัท มีสวัสดิการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันมากขึ้น ข้าราชการก็มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วคนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทที่ไม่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพล่ะ มีช่องทางการออมไหนบ้างสำหรับพวกเขา แน่นอนรัฐบาลไม่ได้ละเลยคนเหล่านี้ อีกทั้งคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว หากต้องการออมเพิ่มก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน ทางเลือกนั้นคืออะไร หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินและรู้จักกองทุนรวมกันมาบ้างแล้ว แต่มีกองทุนรวมพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว นั่นก็คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund (RMF) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกรมสรรพากร RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนออมเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ เพื่อเป็นหลักประกันให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือตกเป็นภาระให้รัฐบาลต้องคอยเลี้ยงดู RMF นั้นเป็นรูปแบบการออมผ่านการลงทุน ซึ่งแน่นอนย่อมมีความเสี่ยงแต่สามารถยอมรับได้ หากผู้ลงทุนได้ศึกษารายละเอียดจนเข้าใจ และได้รับการส่งเสริมด้วยมาตรการของภาษี ที่สามารถนำไปหักลดหย่อนจากเงินได้ในแต่ละปี คงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF นี้เป็นเช่นไร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขคร่าวๆ ของ RMF ก็มีอยู่ว่า ผู้ลงทุนต้องลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี หรือปีเว้นปี ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน และถือจนกระทั่งอายุครบ 55 ปี ถึงจะได้สิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนนั่นคือ เงินที่นำมาลงทุนซื้อ RMF ในแต่ละปี ไม่ต้องนำไปนับเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน (RMF) ในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินที่ได้รับในแต่ละปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้นๆ
นอกจากนั้นผลประโยชน์หรือกำไรจากการขายหน่วยลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีเช่นกันหากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น(ลงทุนอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน และถือจนกระทั่งอายุ 55 ปี ) แต่หากผู้ลงทุนทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ ก็มีหน้าที่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับแก่กรมสรรพากร นับย้อนหลังไปในช่วง 5 ปี ปฏิทิน รวมทั้งกรณีการขายคืนหน่วยลงทุนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขแล้วมีกำไร ก็ต้องนำเงินกำไรนั้นไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีด้วย เมื่อพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ RMF อาจจะดูซับซ้อนไปนิดหนึ่ง เพราะต้องมีวินัยอยู่พอสมควร หากเพียงแต่ท่านมีความตั้งใจที่จะออมเงินเพื่อเก็บเอาไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุจริงๆ สิ่งที่เห็นยากๆ เหล่านี้ก็สามารถทำความเข้าใจปฏิบัติตามได้ไม่ยาก และหากในปีใดท่านมีค่าใช้จ่ายเยอะ ก็อาจจะลงทุนในสัดส่วนที่น้อยลงได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเอาไว้ ในทางกลับกันหากปีใดท่านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถนำมาลงทุนเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็ต้องไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้เช่นกัน นั่นก็คือสามารถยืดหยุ่นได้ตามความสามารถในการหารายได้ของตัวท่านเอง การลงทุนในกองทุนรวม RMF วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้ลงทุนมีเงินสะสมไว้ใช้จ่ายในยามแก่ชรา ไม่ต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก ยากจน สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นของแถมเป็นเรื่องรองๆ การลงทุนใน RMF ประเภทใด ให้พิจารณาความเหมาะสมของระดับความเสี่ยงที่ท่านเข้าใจและยอมรับได้
เคยคิดหรือไม่ว่า การมีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส และสมบูรณ์ด้วยการเงินที่ดีนั้น เราจะมีความสุขมากแค่ไหน เกษียณอายุอย่างอบอุ่นใจ ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) เสียแต่วันนี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้สมาคมบริษัทจัดการลงทุน Call Center 02-2640900 กด 6
สำหรับท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงุทนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ