สัมภาษณ์พิเศษ โดย คีตฌาณ์ ลอยเลิศ
ถูกยกให้เป็นรัฐมนตรีที่สวยสุดๆ ในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล “มาร์ค” จึงเป็นธรรมดาที่เพียงแค่ก้นแตะเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์” จะถูกสื่อรุมตอมสัมภาษณ์ถี่ยิบ และยิ่งเป็นคนใกล้ชิดกับ “สุชาติ ตันเจริญ” แห่งบ้านริมน้ำ อุณหภูมิความน่าสนใจจึงร้อนฉ่าเป็นเท่าตัว
ผ่านการบริหารงานในวังจันทรเกษม มาระยะหนึ่งแล้ว ลองฟังดูว่าวันนี้ “อาจารย์กุ้ง” แฮปปี้กับเก้าอี้ตัวนี้แค่ไหน
** หลังจากรับตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ช่วงแรกในตำแหน่ง รมช.ศธ.รู้สึกว่าเป็นตำแหน่งสำคัญและต้องตั้งใจ จึงศึกษาระเบียบให้ชัดเจน ว่า บทบาทหน้าที่รัฐมนตรีคืออะไร อย่างแรกที่ศึกษาคือโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จากเดิมที่มี 14 องค์กร แล้วมาเป็น 5 องค์กรเพราะอะไร เอาโครงสร้าง 5 องค์กรมานั่งทำความเข้าใจ โดยขอให้ผู้ใหญ่ที่เคยเป็นอดีตปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรีเก่าๆ อธิบายให้ฟัง
หลังแบ่งงานแล้วเราได้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ก็เริ่มดูงานเรื่องอาชีวศึกษาในพื้นที่ และหารือกับผู้อำนวยการอาชีวศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายหลักของรัฐบาลที่เน้นเรื่องการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพซึ่งต้องทำให้ได้ และนโยบาย รมว.ศธ.ที่ต้องเปลี่ยนสัดส่วนให้คนมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น
** รู้สึกกดดันหรือไม่ที่ต้องมาทำงาน ศธ.เพราะเป็นกระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญมาก?
ไม่กดดัน แต่รู้สึกว่าโชคดีที่ได้ดูกระทรวงสำคัญ อย่างตอนนี้เข้าไปดูแลกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วย ดังนั้น เวลาเจอนายกรัฐมนตรี ท่านก็จะถามถึงงาน กยศ.ตลอด เราก็รู้สึกว่าเราเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศตอนนี้ด้วยนะ จึงรู้สึกโชคดี
** ตำแหน่ง รมต.ถือเป็นตำแหน่งสำคัญมากรู้สึกอย่างไรในการรับตำแหน่ง?
ตอนเข้าไปถวายสัตย์ปฏิญาณ ซึ่งเป็นความรู้สึกครั้งแรกในชีวิต เราตั้งใจเลยว่าจะทำตามพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทำเพื่อบ้านเมืองให้เดินต่อไปได้ แต่จะทำแง่ไหนบ้างก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ส่วนเป้าหมายทางการเมืองไม่ได้คิดเรื่องนี้ แต่คิดว่าวันนี้เข้ามาเป็นคนของสังคม ของประเทศชาติ หากวันข้างหน้ามีงานอะไรให้ทำก็ต้องทำเราหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว หากต้องถูกช่วยงานอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมก็ต้องทำ
** เข้ามาเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่ไม่นานก็ถูกตั้งฉายา?
เค้าให้ฉายาว่าเจ้าแม่อาชีวะ เพราะเค้ามองว่าเราอินกับทีมมากกว่า เพราะเราเห็นเลขาการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใส่สูทสะพายเป้วิ่งไปไหนมาไหนคนเดียวตลอด และทางอาชีวะทำงานค่อนข้างเร็วเราช้าก็คงไม่ได้ คนก็มองว่าเราอินไปหมด เพียงแต่เราช่วยเหลือสนับสนุนได้ ก็คุยกับท่านเลขาอาชีวะ อ่ะ ท่านอยากได้อะไร หากดิฉันช่วยได้ก็จะไปทำงานให้ เดี๋ยวไปประสานกับกระทรวงอื่นๆ ก็เหมือนกับไปกันได้ดีมากกว่า
** เวลาไปเยี่ยมวิทยาลัยอาชีวศึกษานักศึกษาชายแซวบ้างไหม?
(หัวเราะ) ไม่แซวนะ มีแต่อาจารย์มาชม ว่าสวยกว่าในรูปอีก แต่เด็กๆ จะเขิน ซึ่งเราจะบอกให้เด็กๆ เรียกว่าอาจารย์กุ้ง ไม่เรียกรัฐมนตรีเพราะเราก็เคยเป็นอาจารย์มาก่อน
** ช่วงเข้ามารับตำแหน่งสังคมมีสีเหลือง สีแดงเจอกระแสต่อต้านจากข้าราชการบ้างหรือไม่?
บอกตรงๆ ว่า เราไม่เคยถามเลยว่าใครสีไหน รู้แต่ว่าใครมีหน้าที่อะไร เพราะการไปถามมันไม่มีประโยชน์ เราไปสร้างปมคำถามขึ้นมาก็มีแต่ความอึดอัดในการทำงาน และไม่เช็กด้วยว่าใครสีไหน เพราะหากเราแบ่งแยกด้วยใจแล้วเราก็ทำงานลำบาก ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นหลัก
** ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วมองการศึกษาของไทยอย่างไร?
หากมองภาพรวมทั้งหมด คิดว่า ปัจจุบันเด็กเรียนรู้เร็ว สิ่งที่จะให้เด็กใช้เรียนรู้ต้องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเพราะโลกมันเปลี่ยนเร็ว การเรียนรู้มันรอบตัวเด็ก เป็นการเรียนรู้ได้ทุกจุด ต้องมองว่าเด็กไม่ได้เรียนรู้จากห้องเรียนอย่างเดียว เมื่อโลกเป็นโลกานุวัฒน์แล้วต้องตื่นตัวให้ทันการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนเด็กอาชีวศึกษาก็พัฒนาได้เร็ว เรียนแล้วเอาไปใช้ได้จริง เพียงแต่เด็กติดว่าเรียนแล้วต้องได้ปริญญา
** เจอข้อครหาว่าไปล้วงลูกการแต่งตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษา?
เราอยู่ในชีวิตการเมืองมาก็ไม่ได้ตกใจ แต่เป็นความเข้าใจผิดกันมากกว่า เพราะจริงๆ เรายังไม่รู้รายละเอียดคณะกรรมการชุดนี้เลย และไม่เคยฝากชื่อใครเข้าไป ดิฉันเคยเป็นบอร์ดรู้ว่าเป็นสิทธิ์ของประธาน และมติคณะกรรมการที่จะตั้งอนุกรรมการ จะเอาใครไปนั่งก็ได้ ชื่อต่างๆ ก็ต้องผ่านกลั่นกรองเพราะเป็นเรื่องของกฎหมาย ก็ยังแซวกันว่าไม่เคยเจอกันเลย ทำไมไม่โทรมาหากันบ้าง จะคุยผ่านสื่อหรือไร เป็นการเข้าใจผิดมากกว่า
** ให้คะแนนตัวเองในตำแหน่ง รมช.ศธ.เท่าไหร่?
ยังไม่ประเมินตัวเอง เพราะตอนแรกเราเรียนรู้โครงสร้างของ ศธ.แต่ขณะนี้เราลงหนักที่อาชีวศึกษา ถามว่าตอนนี้รู้เยอะไหม ก็ต้องบอกว่ารู้ไม่ถึงครึ่ง แต่ถามว่าต้องรีบรู้ไหม ก็ต้องรีบรู้ จึงต้องขอข้อมูลมาศึกษา แต่ดิฉันชอบอยู่ที่กระทรวง เพราะเวลาเราอยู่จะมีหน่วยงานต่างๆ มานำเสนอข้อมูลตลอด แต่ต่อไปก็ต้องลงพื้นที่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะทางใต้
** การเข้ามาเป็น รมต.ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
วิถีชีวิตไม่เปลี่ยน เพียงแต่ตารางเวลาเปลี่ยน ตื่นเช้ามากขึ้น บางครั้งหลับไปแล้วแต่สมองไม่หลับคิดตลอดว่าพรุ่งนี้จะประชุมเรื่องอะไร ไปที่ไหนบ้าง แต่ไม่มีความเครียดเพียงแต่ตื่นตัวตลอดเวลา เวลาซื้อของน้อยลง เพราะปกติก็ชอปปิ้ง แต่ต้องเป็นช่วงลดราคานะ เพราะเงินหายาก
** นริศราเป็นคนติดดินหรือไม่?
เป็นคนง่ายๆ แต่รู้จักกาลเทศะมากกว่า เพราะคุณแม่เข้มงวดเรื่องนี้ ส่วนคุณพ่อหวงลูกสาว เพราะฉะนั้นการแต่งตัวหรือซื้อของ คุณพ่อสอนเสมอ ว่าเรามี...แต่ต้องรู้จักค่าของเงิน และการแต่งตัว การกิน การเดินต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่ใช่ไม่มีเลย แต่ต้องไม่โอ้อวด แต่งตัวก็ไม่ใช่ว่าจะเอาเด่นเป็นหลัก
** ยังมีอะไรที่เราอยากทำแต่ยังไม่ได้ทำอาจจะเป็นความใฝ่ฝัน?
อยากเป็นดอกเตอร์ แต่ยังไม่ได้ทำเสียที แต่ก็เรียนเรื่องต่างๆ ไปเรื่อยๆ เรียนรู้โลกกว้าง พอมาเป็นรัฐมนตรีก็ยังเรียนไม่ได้ เพราะห้ามขาดงาน แต่ชีวิตเรียนรู้รอบข้างตลอดเวลา เพราะเรายังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมาก ก็บอกกับตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องเรียนแล้วได้ประกาศนียบัตร ส่วนเรื่องการเมืองก็เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเพราะเห็นมา 7-8 ปีแล้ว การเป็นรัฐมนตรีก็เรียนรู้จากผู้ใหญ่ เอาส่วนที่ดีและเหมาะกับตัวเองมาใช้
ถูกยกให้เป็นรัฐมนตรีที่สวยสุดๆ ในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล “มาร์ค” จึงเป็นธรรมดาที่เพียงแค่ก้นแตะเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์” จะถูกสื่อรุมตอมสัมภาษณ์ถี่ยิบ และยิ่งเป็นคนใกล้ชิดกับ “สุชาติ ตันเจริญ” แห่งบ้านริมน้ำ อุณหภูมิความน่าสนใจจึงร้อนฉ่าเป็นเท่าตัว
ผ่านการบริหารงานในวังจันทรเกษม มาระยะหนึ่งแล้ว ลองฟังดูว่าวันนี้ “อาจารย์กุ้ง” แฮปปี้กับเก้าอี้ตัวนี้แค่ไหน
** หลังจากรับตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ช่วงแรกในตำแหน่ง รมช.ศธ.รู้สึกว่าเป็นตำแหน่งสำคัญและต้องตั้งใจ จึงศึกษาระเบียบให้ชัดเจน ว่า บทบาทหน้าที่รัฐมนตรีคืออะไร อย่างแรกที่ศึกษาคือโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จากเดิมที่มี 14 องค์กร แล้วมาเป็น 5 องค์กรเพราะอะไร เอาโครงสร้าง 5 องค์กรมานั่งทำความเข้าใจ โดยขอให้ผู้ใหญ่ที่เคยเป็นอดีตปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรีเก่าๆ อธิบายให้ฟัง
หลังแบ่งงานแล้วเราได้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ก็เริ่มดูงานเรื่องอาชีวศึกษาในพื้นที่ และหารือกับผู้อำนวยการอาชีวศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายหลักของรัฐบาลที่เน้นเรื่องการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพซึ่งต้องทำให้ได้ และนโยบาย รมว.ศธ.ที่ต้องเปลี่ยนสัดส่วนให้คนมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น
** รู้สึกกดดันหรือไม่ที่ต้องมาทำงาน ศธ.เพราะเป็นกระทรวงที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญมาก?
ไม่กดดัน แต่รู้สึกว่าโชคดีที่ได้ดูกระทรวงสำคัญ อย่างตอนนี้เข้าไปดูแลกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วย ดังนั้น เวลาเจอนายกรัฐมนตรี ท่านก็จะถามถึงงาน กยศ.ตลอด เราก็รู้สึกว่าเราเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศตอนนี้ด้วยนะ จึงรู้สึกโชคดี
** ตำแหน่ง รมต.ถือเป็นตำแหน่งสำคัญมากรู้สึกอย่างไรในการรับตำแหน่ง?
ตอนเข้าไปถวายสัตย์ปฏิญาณ ซึ่งเป็นความรู้สึกครั้งแรกในชีวิต เราตั้งใจเลยว่าจะทำตามพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทำเพื่อบ้านเมืองให้เดินต่อไปได้ แต่จะทำแง่ไหนบ้างก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ส่วนเป้าหมายทางการเมืองไม่ได้คิดเรื่องนี้ แต่คิดว่าวันนี้เข้ามาเป็นคนของสังคม ของประเทศชาติ หากวันข้างหน้ามีงานอะไรให้ทำก็ต้องทำเราหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว หากต้องถูกช่วยงานอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมก็ต้องทำ
** เข้ามาเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่ไม่นานก็ถูกตั้งฉายา?
เค้าให้ฉายาว่าเจ้าแม่อาชีวะ เพราะเค้ามองว่าเราอินกับทีมมากกว่า เพราะเราเห็นเลขาการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใส่สูทสะพายเป้วิ่งไปไหนมาไหนคนเดียวตลอด และทางอาชีวะทำงานค่อนข้างเร็วเราช้าก็คงไม่ได้ คนก็มองว่าเราอินไปหมด เพียงแต่เราช่วยเหลือสนับสนุนได้ ก็คุยกับท่านเลขาอาชีวะ อ่ะ ท่านอยากได้อะไร หากดิฉันช่วยได้ก็จะไปทำงานให้ เดี๋ยวไปประสานกับกระทรวงอื่นๆ ก็เหมือนกับไปกันได้ดีมากกว่า
** เวลาไปเยี่ยมวิทยาลัยอาชีวศึกษานักศึกษาชายแซวบ้างไหม?
(หัวเราะ) ไม่แซวนะ มีแต่อาจารย์มาชม ว่าสวยกว่าในรูปอีก แต่เด็กๆ จะเขิน ซึ่งเราจะบอกให้เด็กๆ เรียกว่าอาจารย์กุ้ง ไม่เรียกรัฐมนตรีเพราะเราก็เคยเป็นอาจารย์มาก่อน
** ช่วงเข้ามารับตำแหน่งสังคมมีสีเหลือง สีแดงเจอกระแสต่อต้านจากข้าราชการบ้างหรือไม่?
บอกตรงๆ ว่า เราไม่เคยถามเลยว่าใครสีไหน รู้แต่ว่าใครมีหน้าที่อะไร เพราะการไปถามมันไม่มีประโยชน์ เราไปสร้างปมคำถามขึ้นมาก็มีแต่ความอึดอัดในการทำงาน และไม่เช็กด้วยว่าใครสีไหน เพราะหากเราแบ่งแยกด้วยใจแล้วเราก็ทำงานลำบาก ส่วนใหญ่จะทำงานเป็นหลัก
** ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วมองการศึกษาของไทยอย่างไร?
หากมองภาพรวมทั้งหมด คิดว่า ปัจจุบันเด็กเรียนรู้เร็ว สิ่งที่จะให้เด็กใช้เรียนรู้ต้องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเพราะโลกมันเปลี่ยนเร็ว การเรียนรู้มันรอบตัวเด็ก เป็นการเรียนรู้ได้ทุกจุด ต้องมองว่าเด็กไม่ได้เรียนรู้จากห้องเรียนอย่างเดียว เมื่อโลกเป็นโลกานุวัฒน์แล้วต้องตื่นตัวให้ทันการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนเด็กอาชีวศึกษาก็พัฒนาได้เร็ว เรียนแล้วเอาไปใช้ได้จริง เพียงแต่เด็กติดว่าเรียนแล้วต้องได้ปริญญา
** เจอข้อครหาว่าไปล้วงลูกการแต่งตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษา?
เราอยู่ในชีวิตการเมืองมาก็ไม่ได้ตกใจ แต่เป็นความเข้าใจผิดกันมากกว่า เพราะจริงๆ เรายังไม่รู้รายละเอียดคณะกรรมการชุดนี้เลย และไม่เคยฝากชื่อใครเข้าไป ดิฉันเคยเป็นบอร์ดรู้ว่าเป็นสิทธิ์ของประธาน และมติคณะกรรมการที่จะตั้งอนุกรรมการ จะเอาใครไปนั่งก็ได้ ชื่อต่างๆ ก็ต้องผ่านกลั่นกรองเพราะเป็นเรื่องของกฎหมาย ก็ยังแซวกันว่าไม่เคยเจอกันเลย ทำไมไม่โทรมาหากันบ้าง จะคุยผ่านสื่อหรือไร เป็นการเข้าใจผิดมากกว่า
** ให้คะแนนตัวเองในตำแหน่ง รมช.ศธ.เท่าไหร่?
ยังไม่ประเมินตัวเอง เพราะตอนแรกเราเรียนรู้โครงสร้างของ ศธ.แต่ขณะนี้เราลงหนักที่อาชีวศึกษา ถามว่าตอนนี้รู้เยอะไหม ก็ต้องบอกว่ารู้ไม่ถึงครึ่ง แต่ถามว่าต้องรีบรู้ไหม ก็ต้องรีบรู้ จึงต้องขอข้อมูลมาศึกษา แต่ดิฉันชอบอยู่ที่กระทรวง เพราะเวลาเราอยู่จะมีหน่วยงานต่างๆ มานำเสนอข้อมูลตลอด แต่ต่อไปก็ต้องลงพื้นที่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะทางใต้
** การเข้ามาเป็น รมต.ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
วิถีชีวิตไม่เปลี่ยน เพียงแต่ตารางเวลาเปลี่ยน ตื่นเช้ามากขึ้น บางครั้งหลับไปแล้วแต่สมองไม่หลับคิดตลอดว่าพรุ่งนี้จะประชุมเรื่องอะไร ไปที่ไหนบ้าง แต่ไม่มีความเครียดเพียงแต่ตื่นตัวตลอดเวลา เวลาซื้อของน้อยลง เพราะปกติก็ชอปปิ้ง แต่ต้องเป็นช่วงลดราคานะ เพราะเงินหายาก
** นริศราเป็นคนติดดินหรือไม่?
เป็นคนง่ายๆ แต่รู้จักกาลเทศะมากกว่า เพราะคุณแม่เข้มงวดเรื่องนี้ ส่วนคุณพ่อหวงลูกสาว เพราะฉะนั้นการแต่งตัวหรือซื้อของ คุณพ่อสอนเสมอ ว่าเรามี...แต่ต้องรู้จักค่าของเงิน และการแต่งตัว การกิน การเดินต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่ใช่ไม่มีเลย แต่ต้องไม่โอ้อวด แต่งตัวก็ไม่ใช่ว่าจะเอาเด่นเป็นหลัก
** ยังมีอะไรที่เราอยากทำแต่ยังไม่ได้ทำอาจจะเป็นความใฝ่ฝัน?
อยากเป็นดอกเตอร์ แต่ยังไม่ได้ทำเสียที แต่ก็เรียนเรื่องต่างๆ ไปเรื่อยๆ เรียนรู้โลกกว้าง พอมาเป็นรัฐมนตรีก็ยังเรียนไม่ได้ เพราะห้ามขาดงาน แต่ชีวิตเรียนรู้รอบข้างตลอดเวลา เพราะเรายังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมาก ก็บอกกับตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องเรียนแล้วได้ประกาศนียบัตร ส่วนเรื่องการเมืองก็เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเพราะเห็นมา 7-8 ปีแล้ว การเป็นรัฐมนตรีก็เรียนรู้จากผู้ใหญ่ เอาส่วนที่ดีและเหมาะกับตัวเองมาใช้