บลจ.ยูโอบีตั้งเป้าดันเอยูเอ็ม โต 10,000 ล้านบาท เล็งคลอดกองทุนใหม่ 9 กองทุน ทั้งตราสารหนี้ในและต่างประเทศ ประเดิมกองเอฟไอเอฟไตรมาสแรก ควบคู่กับการเร่งปั๊มยอดกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี ชูนโยบายลงทุนบอนด์ภาครัฐ ไม่สนปรับเปลี่ยนนโยบายลงทุนหุ้นกู้เพิ่ม แม้อยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง ส่วนการลงทุนในหุ้น เล็งเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่มพาณิชย์,เกษตร และกลุ่มค้าปลีก
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) ในปี 2552 ไว้ที่ 76,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาทจากปี 2551 ซึ่งมีเอยูเอ็มอยู่ที่ประมาณ 66,000 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าภาวะเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลง โดยที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุนได้ปรับตัวลดลงพอสมควร ส่งผลให้เอยูเอ็มในปี 2551 ได้ปรับลดลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปีที่แล้ว
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนออกกองทุนใหม่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9 กองทุน และมีมูลค่าโครงการประมาณ 1,000 - 2,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเสนอขายกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ประมาณ 1- 2 กองทุนได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งจะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก โดยเบื้องต้นคาดว่าจะออกกองทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ และกองทุนเปิดที่มีการลิงค์ผลตอบแทนกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง
ขณะเดียวกัน บริษัทจะเน้นเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ แม้ว่ามีแนวโน้มที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีปรับลดอัตราดอกเบี้นนโยบายลงอีก 1.00% ภายในปีนี้ก็ตาม แต่จะไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของกองทุนมาลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเพิ่มเติมแต่อย่างใด
สำหรับกองทุน UOBSD จะเน้นลงทุนในลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และเงินฝากธนาคาร ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Notes) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative)
นายวนา กล่าวว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมกองทุนรวมปีนี้มีโอกาสจะเจริญเติบโตประมาณ 5 - 10% จากปีที่แล้ว หลังจากในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเงินฝาก ส่งผลให้เม็ดเงินไหลออกไปจากอุตสาหกรรมกองทุนรวมเป็นจำนวนมาก แต่มองว่าในปีนี้สงครามเงินฝากได้จบสิ้นลงไปแล้ว โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาหนี้เสีย (NPL) ขึ้นอีก
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่สหรัฐอเมริกาออกมาเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น คาดว่าน่าจะส่งผลอย่างชัดเจนประมาณ 1 ปีข้างหน้า โดยภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียน่าจะฟื้นตัวก่อน เนื่องจากไม่มีปัญหาดังเช่นสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งมีหนี้สินค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ยังมีการซื้อขายและส่งออกกันเองภายในประเทศภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และไม่ได้พึ่งพิงสหรัฐฯมากนัก
ส่วนทิศทางตลาดหุ้นปีนี้ น่าจะมีความผันผวนอยู่มาก โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก แต่เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นครึ่งปีหลังจากความเชื่อมั่นรัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพมากขึ้น และเชื่อว่าจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่อง ซึ่งจะเริ่มเห็นผลไตรมาส 3/2552 และคาดว่าจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15%จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 400 กว่าจุด
ขณะที่การบริหารพอร์ตกองทุนหุ้นช่วงนี้จะทยอยซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น โดยให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีพื้นฐานการดำเนินงานที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กลุ่มพาณิชย์ สินค้าเกษตร และกลุ่มค้าปลีก เป็นต้น แต่จะลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มพลังงานลง โดยสัดส่วนการถือครองเงินสดจะมีไม่ถึง 10% ของพอร์ตลงทุน
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) ในปี 2552 ไว้ที่ 76,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาทจากปี 2551 ซึ่งมีเอยูเอ็มอยู่ที่ประมาณ 66,000 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าภาวะเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลง โดยที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุนได้ปรับตัวลดลงพอสมควร ส่งผลให้เอยูเอ็มในปี 2551 ได้ปรับลดลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าไม่น่าจะแย่กว่าปีที่แล้ว
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนออกกองทุนใหม่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 9 กองทุน และมีมูลค่าโครงการประมาณ 1,000 - 2,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเสนอขายกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ประมาณ 1- 2 กองทุนได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งจะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก โดยเบื้องต้นคาดว่าจะออกกองทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ และกองทุนเปิดที่มีการลิงค์ผลตอบแทนกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง
ขณะเดียวกัน บริษัทจะเน้นเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ แม้ว่ามีแนวโน้มที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีปรับลดอัตราดอกเบี้นนโยบายลงอีก 1.00% ภายในปีนี้ก็ตาม แต่จะไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของกองทุนมาลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเพิ่มเติมแต่อย่างใด
สำหรับกองทุน UOBSD จะเน้นลงทุนในลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และเงินฝากธนาคาร ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Notes) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative)
นายวนา กล่าวว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมกองทุนรวมปีนี้มีโอกาสจะเจริญเติบโตประมาณ 5 - 10% จากปีที่แล้ว หลังจากในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเงินฝาก ส่งผลให้เม็ดเงินไหลออกไปจากอุตสาหกรรมกองทุนรวมเป็นจำนวนมาก แต่มองว่าในปีนี้สงครามเงินฝากได้จบสิ้นลงไปแล้ว โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง และธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาหนี้เสีย (NPL) ขึ้นอีก
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่สหรัฐอเมริกาออกมาเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น คาดว่าน่าจะส่งผลอย่างชัดเจนประมาณ 1 ปีข้างหน้า โดยภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียน่าจะฟื้นตัวก่อน เนื่องจากไม่มีปัญหาดังเช่นสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งมีหนี้สินค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ยังมีการซื้อขายและส่งออกกันเองภายในประเทศภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และไม่ได้พึ่งพิงสหรัฐฯมากนัก
ส่วนทิศทางตลาดหุ้นปีนี้ น่าจะมีความผันผวนอยู่มาก โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก แต่เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้นครึ่งปีหลังจากความเชื่อมั่นรัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพมากขึ้น และเชื่อว่าจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาต่อเนื่อง ซึ่งจะเริ่มเห็นผลไตรมาส 3/2552 และคาดว่าจะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นสิ้นปีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15%จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 400 กว่าจุด
ขณะที่การบริหารพอร์ตกองทุนหุ้นช่วงนี้จะทยอยซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น โดยให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีพื้นฐานการดำเนินงานที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กลุ่มพาณิชย์ สินค้าเกษตร และกลุ่มค้าปลีก เป็นต้น แต่จะลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มพลังงานลง โดยสัดส่วนการถือครองเงินสดจะมีไม่ถึง 10% ของพอร์ตลงทุน