xs
xsm
sm
md
lg

ดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ คว้าแชมป์กองบอนด์ส่งท้ายปีหนู

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับปีหนู...ถ้าใครเป็นนักลงทุนตัวจริง ก็พอจะทราบดีว่า ปี 2551 ที่ผ่านมา การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะนักลงทุนที่ถือตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปรับลดดอกเบี้ยนั่นเอง

ส่วนกองทุนไหนจะให้ผลตอบแทนเป็นอันดับ 1 ตลอดปีหนูที่ผ่านมา คอลัมน์ "Best of Fund" จึงขอนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนตราสารแห่งหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ว่ามีกองทุนใดบ้างที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ได้นำข้อมูลเหล่านี้ ไปประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนในกองทุนต่อไป

สำหรับกองทุนตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนทั้งปี 2551 เป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 5,568.48 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 18.03% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง 15.56% อันดับ2 กองทุนเปิด เค พันธบัตร 3/56 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทยเช่นกัน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 1,735.97 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 13.41% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 10.94%

อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ภายใต้การบริหารของบลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 293.52 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 10.03% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 7.56% อันดับ 4กองทุนเปิดธนสาร ภายใต้การบริหารของบลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 913.98 ล้านบาทให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 8.79% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6.32%

อันดับ 5 กองทุนรวม ธีรสมบัติ ภายใต้การบริหารของบลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 784.57 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 8.71% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6.24% อันดับ 6 กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ภายใต้การบริหารของบลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 772.66 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 8.14% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 5.67%

อันดับ 7 กองทุนเปิดทรัพย์สมบูรณ์ตราสารหนี้ 4 ภายใต้การบริหารของบลจ.ยูโอบี โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 637.57 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.60% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 4.13% อันดับ 8 กองทุนเปิดอยุธยาตราสารอุดมทรัพย์2 ภายใต้การบริหารของบลจ.อยุธยา โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 56.69 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.48% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 4.01%

อันดับ 9 กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเจริญทรัพย์ ภายใต้การบริหารของบลจ.อยุธยา โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 325.02ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.86% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3.39% และอันดับ 10 กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 3 ภายใต้การบริหารของบลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 6,356.97 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.74% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 3.27%

ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้เทียบ คือ THB 1 Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million ซึ่งให้ผลตอบแทน 2.47%

เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
นายอิสรา พุฒตาลศรี ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนผสม บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ โดยสาเหตุที่กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากในปีผ่านมา อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กองทุนของบริษัทมีผลตอบแทนที่ดี อีกทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย

โดยการเลือกลงทุนของกองทุน ABFTH จะเลือกลงทุนในตราสารหนี้อายุเฉลี่ยประมาณ 5 ปีขึ้นไป โดยตราสารหนี้ของกองทุนเป็นตราสารหนี้ระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้มาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างต่อเนื่องจึงทำให้กองทุนสามารถมีผลกำไรเพิ่มขึ้นด้วย

กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH) เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยกองทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนในประเทศไทยที่ยอมรับความเสี่ยงจากการขาดทุนได้ในระดับต่ำ มีมูลค่าจำนวนเงินทุนโครงการ 15,000 ล้านบาท

สำหรับนโยบายการลงทุน จะลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้สกุลเงินบาทดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือ (2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรของรัฐบาลไทย หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย หรือหน่วยงานราชการอิสระ หรือส่วนราชการ หรือองค์กรกึ่งรัฐ (Quasi Thai Government) โดยตราสารดังกล่าว ต้องมีรัฐบาลไทยค้ำประกันทั้งจำนวนหรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade จาก Fitch Ratings หรือ Standard & Poor's หรือ Moody's Investors Service หรือ (3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือ (4) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational) ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ AA- จากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) หรือ (5) ตราสารอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง หรือ (6) ตราสารไม่ด้อยสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ตราสารของผู้ออกตราสารนั้นมีคุณสมบัติเป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันจากรัฐบาล
กำลังโหลดความคิดเห็น