หลังจาก บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของสหัรฐอเมริกา เกิดภาวะล้มละลายลง เนื่องมาจากปัญหาของวิกฤติสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือ ซับไพรม์ ก็ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงบ้านเราด้วย...และจากภาวะที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้นักลงทุนต่างมองหาวิธีการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เอง ถือเป็นการลงทุนอีกทางที่สามารถหนีปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ได้ ซึ่งที่ผ่านมา บรรดาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ต่างส่งกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ออกมาเป็นทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแทนที่ดีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 3 เดือน6 เดือน...
คอลัมน์ "Best of fund" สัปดาห์นี้ เลยขอพามาดูผลตอบแทน 10 อันดับแรกของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจการลงทุน พร้อมทั้งมุมมองและกลยุทธ์ของกองทุนที่คว้าผลตอบแทนอันดับ 1 มาเปิดเผยให้นักลงทุนได้รับทราบ
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 5,297.86 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 7.26% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.79% อันดับ 2 กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 8ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,152.96 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.38%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.91%
อันดับ 3 กองทุนเปิดเค พันธบัตร 3/56 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1609.38 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.04% แและสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่2.57% อันดับ4 อยุธยาตราสารอุดมทรัพย์ 2 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 54.85 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.64%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.17%
อันดับ 5 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 601.41ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.60% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.13% อันดับ 6กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 570.44 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.42% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.95%
อันดับ 7 กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 6,302.40 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.35%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88% อันดับ 8 โครงการจัดการกองทุนเปิดธนสาร ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 908.51 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.35% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88%
อันดับ 9 กองทุนเปิดธีรสมบัติ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 86.08 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.32% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.85% และอันดับ10 กองทุนเปิด ทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 152.16 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่4.31%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.84%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐาน คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนใน THB 1Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million ซึ่งให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.47%
เปิดกลยุทธ์การลงทุน
จากรายงานผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี จะเห็นได้ว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบลจ.กสิกรไทย ติด 10 อันดับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีสูงสุดถึง4 กองทุน ได้แก่ และกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ , กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 8,กองทุนเปิดเค พันธบัตร 3/56 และ กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 3
อิศรา พุฒตาลศรี ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุน บลจ. กสิกรไทย ได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนประเภท INDEX FUND โดยบริษัทได้มีวิธีการบริหารตาม INDEX ของตลาด และเป็นการบริหารแบบ INDEX Company ในประเทศยุโรป
โดยในช่วงที่ผ่านมานั้น INDEX ในตลาดมีความไม่แน่นอนขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างหนีความผันผวนมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้กันมากขึ้น ดังนั้น การลงทุนในกองทุนระยะยาว จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนระยะยาวปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม การลงทุนของเราจะเน้นลงทุนที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารอยู่ที่ประมาณ 5 ปี เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH ) เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยมีจำนวนเงินทุนโครงการอยู่ที่ 15,000,000,000.00 บาท
โดย กองทุนจะลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้สกุลเงินบาทดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือ (2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรของรัฐบาลไทย หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย หรือหน่วยงานราชการอิสระ หรือส่วนราชการ หรือองค์กรกึ่งรัฐ (Quasi Thai Government) โดยตราสารดังกล่าว ต้องมีรัฐบาลไทยค้ำประกันทั้งจำนวนหรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade จาก Fitch Ratings หรือ Standard & Poor's หรือ Moody's Investors Service หรือ (3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือ (4) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational) ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ AA- จากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) หรือ (5) ตราสารอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง หรือ (6) ตราสารไม่ด้อยสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ตราสารของผู้ออกตราสารนั้นมีคุณสมบัติเป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันจากรัฐบาล
การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้เอง ถือเป็นการลงทุนอีกทางที่สามารถหนีปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ได้ ซึ่งที่ผ่านมา บรรดาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ต่างส่งกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ออกมาเป็นทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแทนที่ดีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 3 เดือน6 เดือน...
คอลัมน์ "Best of fund" สัปดาห์นี้ เลยขอพามาดูผลตอบแทน 10 อันดับแรกของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจการลงทุน พร้อมทั้งมุมมองและกลยุทธ์ของกองทุนที่คว้าผลตอบแทนอันดับ 1 มาเปิดเผยให้นักลงทุนได้รับทราบ
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 5,297.86 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 7.26% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.79% อันดับ 2 กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 8ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,152.96 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.38%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.91%
อันดับ 3 กองทุนเปิดเค พันธบัตร 3/56 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1609.38 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.04% แและสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่2.57% อันดับ4 อยุธยาตราสารอุดมทรัพย์ 2 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 54.85 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.64%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.17%
อันดับ 5 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 601.41ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.60% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.13% อันดับ 6กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 570.44 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.42% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.95%
อันดับ 7 กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กสิกรไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 6,302.40 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.35%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88% อันดับ 8 โครงการจัดการกองทุนเปิดธนสาร ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 908.51 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.35% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.88%
อันดับ 9 กองทุนเปิดธีรสมบัติ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 86.08 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.32% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.85% และอันดับ10 กองทุนเปิด ทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 152.16 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่4.31%และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.84%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐาน คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนใน THB 1Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million ซึ่งให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.47%
เปิดกลยุทธ์การลงทุน
จากรายงานผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี จะเห็นได้ว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบลจ.กสิกรไทย ติด 10 อันดับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีสูงสุดถึง4 กองทุน ได้แก่ และกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ , กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 8,กองทุนเปิดเค พันธบัตร 3/56 และ กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 3
อิศรา พุฒตาลศรี ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุน บลจ. กสิกรไทย ได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนประเภท INDEX FUND โดยบริษัทได้มีวิธีการบริหารตาม INDEX ของตลาด และเป็นการบริหารแบบ INDEX Company ในประเทศยุโรป
โดยในช่วงที่ผ่านมานั้น INDEX ในตลาดมีความไม่แน่นอนขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างหนีความผันผวนมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้กันมากขึ้น ดังนั้น การลงทุนในกองทุนระยะยาว จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนของกองทุนระยะยาวปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม การลงทุนของเราจะเน้นลงทุนที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารอยู่ที่ประมาณ 5 ปี เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH ) เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยมีจำนวนเงินทุนโครงการอยู่ที่ 15,000,000,000.00 บาท
โดย กองทุนจะลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้สกุลเงินบาทดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือ (2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรของรัฐบาลไทย หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย หรือหน่วยงานราชการอิสระ หรือส่วนราชการ หรือองค์กรกึ่งรัฐ (Quasi Thai Government) โดยตราสารดังกล่าว ต้องมีรัฐบาลไทยค้ำประกันทั้งจำนวนหรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade จาก Fitch Ratings หรือ Standard & Poor's หรือ Moody's Investors Service หรือ (3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือ (4) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational) ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ AA- จากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) หรือ (5) ตราสารอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง หรือ (6) ตราสารไม่ด้อยสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ตราสารของผู้ออกตราสารนั้นมีคุณสมบัติเป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันจากรัฐบาล