สุธี เหลืองอร่ามกุล นักวิจัย สถาบันจัดอันดับ Lipper กล่าวถึงภาพรวมของกองทุนรวมในเดือน ธันวาคมที่ผ่านมาว่า การฟื้นตัวของตลาดหุ้นในเดือนธันวาคม ช่วยให้ผลตอบแทนกองทุนรวมหุ้น กลับมาเป็นบวกได้อีกครั้งที่ร้อยละ 8.37 เพิ่มขึ้นจากที่ติดลบร้อยละ 2.45 ในเดือนก่อน แต่หากพิจารณาผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปีที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ กองทุนรวมหุ้น จะขาดทุนสูงถึงร้อยละ 41.08 กองทุนรวมผสม ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลาดทุน ช่วยให้ผลตอบแทนสูงขึ้นร้อยละ 5.82 ในเดือนธันวาคม แต่ก็ขาดทุนร้อยละ 28.96 จากปีก่อน สำหรับกองทุนรวมพันธบัตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 3.17 ในเดือนธันวาคมและในปี 2551 ตามลำดับ
ส่วนกองทุนรวมตลาดเงินปรากฎว่ามีการขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ0.53 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นผลจากกองทุนรวมตลาดเงินบางกองมีการแยกหนี้เสีย (Set Aside) จากการลงทุนในตราสารหนี้ของ TFSC แต่หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปี 2551 กองทุนรวมตลาดเงินสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 2.50 ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ สำหรับกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะร่วงลง แต่ราคาสินค้าเกษตรที่ดีขึ้น ช่วยรักษาผลตอบแทนเป็นบวกร้อยละ 2.43 ในเดือนธันวาคม แต่หากพิจารณาทั้งปี 2551 ก็พบว่ากองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ขาดทุนร้อยละ 39.78
กองทุนรวมตราสารทุน
ผลจากการฟื้นตัวของตลาดในเดือนสุดท้ายของปี 51 ช่วยส่งให้กองทุนหุ้นหลายประเภทกลับเข้ามาติดประเภทของกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนรวมหุ้นลงทุนในญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนร้อยละ 16.46จากกองทุนเดียวในกลุ่ม คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งจากการดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นญี่ปุ่นและการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน ตามมาด้วย กองทุนรวมหุ้นลงทุนในประเทศ มีกำไรเฉลี่ยร้อยละ 9.84 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในบริษัทเล็ก-กลางใน APAC (Equity Asia Pacific Sm&Mid Cap) มีผลตอบแทนร้อยละ 9.67 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในกลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ มีผลตอบแทนร้อยละ 7.67 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในยูโรโซน มีผลตอบแทนร้อยละ 6.7 กองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ตะวันออกไกล มีผลตอบแทนร้อยละ 6.13 และกองทุนรวมหุ้นกลุ่มประเทศจีน มีผลตอบแทนร้อยละ 5.97
นอกจากนี้ การดีดตัวกลับของตลาดหุ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Big-Cap ช่วยให้กองทุนเปิดดัชนีธุรกิจพลังงานและธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นกองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดร้อยละ 18.23 ตามมาด้วย กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท ให้ผลตอบแทนร้อยละ 16.46 กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อควิตี แวลู ซึ่งลงทุนในประเทศ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 14.68 เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 14.10 กองทุนเปิดอยุธยาเอ็นแฮนซ์เซ็ท 50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.45 กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.42 บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.36 ทหารไทย SET50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.26 ทหารไทย SET50 ปันผล ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.23 และกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ อิควิตี้ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.07 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่มีผลตอบแทนต่ำที่สุด 10 อันดับ พบว่าเป็นกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศอาทิเช่น กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท ไฟแนนเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ ขาดทุนร้อยละ 6.49 และกองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ขาดทุนร้อยละ 2.93
สำหรับผลตอบแทนจากกองทุนรวมหุ้นตลอดปี 51 จะพบว่ากองทุนโดยส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนติดลบ ตามตลาดที่อยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ โดยในปี 51 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในจีน ขาดทุนร้อยละ 63.75 ตามมาด้วย กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ยุโรป ขาดทุนร้อยละ 63.44 กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ตะวันออกไกล ขาดทุนร้อยละ56.30 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในบริษัทเล็ก-กลางใน APAC ขาดทุนร้อยละ 54.84กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ขาดทุน 54.62 และกองทุนรวมหุ้นลงทุนในยุโรป ขาดทุนร้อยละ 50.96 เป็นต้น
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้นสูงสุดในปี 2551 พบว่ามีเพียงกองทุนเปิด ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ซึ่งลงทุนในทองคำสามารถสร้างผลตอบแทนทั้งปีเป็นบวกได้ร้อยละ 6.32 เท่านั้น รองลงมาได้แก่ บัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ซึ่งลงทุนในหุ้นกลุ่มเชิงอนุรักษ์อย่างกลุ่มเวชภัณฑ์และสุขภาพ ขาดทุนร้อยละ 22.70 ตามมาด้วยกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในประเทศ ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 2 ก็ขาดทุนร้อยละ27.32 กองทุนเปิด อเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น ขาดทุนร้อยละ 27.47 และ กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 3ขาดทุนร้อยละ 27.84 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 ได่แก่ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ขาดทุนถึงร้อยละ 70.13
กองทุนรวมตราสารหนี้
สุธี ให้ความเห็นอีกว่า ผลของวิกฤติการเศรษฐกิจโลกและความวิตกกังวลของนักลงทุนยังคงกดดันให้ตลาดเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ลงอีกร้อยละ 0.75-1.0 สู่ระดับร้อยละ0-0.25 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีพ.ศ.2497 และธนาคารแห่งประเทศไทยก็สร้างความประหลาดใจแก่ตลาด โดยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 100 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ได้ฉุดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดิ่งลงต่ออีกเดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีในเดือนธันวาคม ได้ร่วงลงอีก69 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ดิ่งลงถึง 134 basis pointsมาอยู่ที่ร้อยละ 2.51 ซึ่งการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วยดันให้ราคาตราสารหนี้สูงขึ้นและเพิ่มผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารหนี้ในระยะสั้น โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศ มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87
สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในเดือนธ.ค มพบว่า กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ พรีมาเวสท์(ไทยแลนด์)อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตบอนด์ฟันด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.56 และกองทุนเปิดเค โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 8.66 ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดได้แก่ กรุงไทยตราสารหนี้ปันผล มีผลตอบแทนร้อยละ 5.13
กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ กองทุนเปิดเอสซีไอ ฟิกซ์ โกรท ขาดทุนร้อยละ -13.87 กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรสหราชอาณาจักร ขาดทุนร้อยละ 7.39 และกลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท ซึ่งได้รับผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลักสำหรับในปี 2551 ผลของวิกฤติการเงินและการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ หันมาให้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.25 ในปี 2550 ลงเหลือร้อยละ 0-0.25 และกดให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลงจากร้อยละ 4.032 เหลือร้อยละ 2.22 เท่านั้น
โดย ธปท .ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 3.25 ในปี 50 เหลือเพียงร้อยละ 2.75ซึ่งกดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ลดลง 249 basis points จากปีก่อน เหลือร้อยละ 2.51 ซึ่งลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ให้ผลักดันให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้สูงขึ้น โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ลงทุนทั่วโลก ในปี 51 ให้เป็นประเภทของกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในปี 2551 ที่ร้อยละ 7.38
ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ ให้ผลตอบแทนที่ร้อยละ 4.12สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2551 ได้แก่ กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ กองทุนเปิดเคพันธบัตร 3/56 ให้ผลตอบแทนระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 13.57 รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดเคแอสเซ็ท โกลบัลฟิกซ์อินคัม 3 ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.09 และตามมาด้วยกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ธนสาร ธีรสมบัติ และกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 10.14,8.89, 8.81, และ 8.23 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 คือ กองทุนเปิดอยุธยา โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ ขาดทุนร้อยละ -29.28 กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรสหราชอาณาจักรขาดทุนร้อยละ -20.94 และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนอีเมอร์จิ้งออพพอร์ทูนิตี้ส์บอนด์ฟันด์ ขาดทุนร้อยละ -19.15 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยน
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นระยะสั้นในช่วงท้ายปี 51 ช่วยให้ผลตอบแทนกองทุนRMFในกลุ่มกองทุนรวมหุ้นกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในหุ้น Big-Cap ที่สามารถปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยกองทุนRMFให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ ทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.27 รองลงมา ได้แก่ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิดหุ้นคุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ และ JUMBO 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.20, 12.28, และ 11.97 ตามลำดับ
ด้านกองทุนRMF ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคมเป็นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมตราสารหนี้ อาทิ กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิด ยูโอบี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ ไอเอ็นจี ไทย ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ และทหารไทยธนบดี เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 0.14, 0.21, 0.22 และ 0.23 ตามลำดับ
ในปี 2551 กองทุน RMF ที่ได้ผลตอบแทนสูงจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นหลัก เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากราคาตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นหลังการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย โดยกองทุน RMFที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2551 ได้แก่ ธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 กรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 และธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.32, 11.27, 11.26 และ 9.77 ตามลำดับ ขณะที่กองทุน RMFที่ได้ผลตอบแทนต่ำสุดพบว่าเป็นกองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมผสม ที่เน้นลงทุนในหุ้น เนื่องจากได้รับผลจากดัชนีตลาดหุ้นที่ร่วงลงเกือบร้อยละ 50 ในปี 2551 ได้แก่ กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่าอินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ ขาดทุนร้อยละ 56.36 รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพและทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 47.74 และ 47.60 ตามลำดับ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ในเดือนธันวาคม พบว่าอานิสงค์จากตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวช่วยให้กองทุนLTF ไม่มีกองทุนใดขาดทุนโดยกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนสูงสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ กองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่ม Big-cap อาทิกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยา SET50 กองทุนเปิด ยูโอบี หุ้นระยะยาว วรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาววรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว และJUMBO 25 ปันผล หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนร้อยละ 12.91,12.63, 12.41, 12.41, และ 12.00 ขณะที่กองทุนLTF ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท ซึ่งเป็นกองทุนที่ใช้ตราสารอนุพันธ์มาปิดความเสี่ยงของตลาดในช่วงขาลง แต่ช่วงตลาดปรับตัวสูงขึ้นก็จะปิดโอกาสปรับขึ้นตามตลาดด้วย มีผลตอบแทนร้อยละ 1.15 และ 4.54 ตามลำดับ
ตลอดปี 2551 ถือว่าไม่ใช่ปีทองของตลาดหุ้น เนื่องจากตลาดได้กลับตัวเป็นช่วงขาลงส่งผลให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาวโดยส่วนใหญ่มีผลตอบแทนติดลบตามตลาด ยกเว้นกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว ที่ใช้อนุพันธ์ปิดความเสี่ยงของตลาดช่วงขาลง และสร้างผลตอบแทนตลอดปี 2551 เท่ากับร้อยละ 6.03 รองลงมาได้แก่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท ซึ่งขาดทุนร้อยละ 16.96 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีโกลบอลหุ้นระยะยาว ขาดทุนร้อยละ 51.54 และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว ขาดทุนร้อยละ 49.31
แนวโน้มการลงทุน
สุธี มองว่า แม้ว่าในเดือนธันวาคม 2551 จะตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ทิศทางของตลาดในปี 2551 ตลอดปีถือว่าเป็นช่วงขาลงโดยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 47 ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจส่งสัญญาณที่อ่อนแรงลงตามการถดถอยของเศรษฐกิจโลกสะท้อนจากดัชนีเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงถึงร้อยละ 8.4 ต่อปี เป็นการหดตัวในทุกหมวดอุตสาหกรรม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.6 ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเหรียญสหรัฐฯปรับลดลงกว่าร้อยละ 17.7 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2545 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2552 จะเผชิญการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น
โดยจากผลสำรวจของ Thomson Reuters Poll เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552 พบว่าค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ขณะที่ค่าต่ำสุดที่นักวิเคราะห์ประเมิน คือ เศรษฐกิจไทยปี 2552 อาจจะหดตัวได้ที่ร้อยละ 0.8 ซึ่งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจในประเทศและภาคการส่งออกจะส่งผลต่อรายได้ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยตรง ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นระยะสั้นในปี 2552 ยังอาจจะไม่เป็นที่น่าสนใจนัก ขณะที่การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ก็พบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ปรับลงลงอย่างมากในปี 2551 ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ในปี 2551 ไปแล้ว จากราคาตราสารหนี้ที่สูงขึ้น ขณะที่ในปี 2552 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลตอบแทนถึงผู้ลงทุนก็ลดลงตามไปด้วย แต่ก็เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยงหรือพักเงินก่อนเข้าลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการลงทุนในปี 2552 แม้ว่าแนวโน้มการคาดการณ์เศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลงเป็นตัวกดดันตลาดแต่ก็พบว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีขึ้นในปี 2553 โดย Thomson Reuters Poll พบว่าค่ากลาง ของแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในปี 2552 ซึ่งก็สอดคล้องกับการประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลกประเมินว่าในปี 2552 เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.2 และจะฟื้นตัวในปี 2553 และ 2554 ซึ่งหากสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง จึงเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นอาจจะปรับตัวดีขึ้นรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ดังนั้น การลงทุนสำหรับในระยะกลางและระยะยาว อาจจะมีการจัดสัดส่วนการลงทุนเพื่อลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น เพื่อทะยอยสะสมตราสารทุนในระดับราคาที่ต่ำได้ หรืออาจใช้วิธี Dollar costaveraging ก็ได้ แต่ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวก็คงเกิดขึ้นได้ยาก
ส่วนกองทุนรวมตลาดเงินปรากฎว่ามีการขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ0.53 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นผลจากกองทุนรวมตลาดเงินบางกองมีการแยกหนี้เสีย (Set Aside) จากการลงทุนในตราสารหนี้ของ TFSC แต่หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปี 2551 กองทุนรวมตลาดเงินสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 2.50 ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ สำหรับกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะร่วงลง แต่ราคาสินค้าเกษตรที่ดีขึ้น ช่วยรักษาผลตอบแทนเป็นบวกร้อยละ 2.43 ในเดือนธันวาคม แต่หากพิจารณาทั้งปี 2551 ก็พบว่ากองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ขาดทุนร้อยละ 39.78
กองทุนรวมตราสารทุน
ผลจากการฟื้นตัวของตลาดในเดือนสุดท้ายของปี 51 ช่วยส่งให้กองทุนหุ้นหลายประเภทกลับเข้ามาติดประเภทของกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนรวมหุ้นลงทุนในญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนร้อยละ 16.46จากกองทุนเดียวในกลุ่ม คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งจากการดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นญี่ปุ่นและการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน ตามมาด้วย กองทุนรวมหุ้นลงทุนในประเทศ มีกำไรเฉลี่ยร้อยละ 9.84 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในบริษัทเล็ก-กลางใน APAC (Equity Asia Pacific Sm&Mid Cap) มีผลตอบแทนร้อยละ 9.67 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในกลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ มีผลตอบแทนร้อยละ 7.67 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในยูโรโซน มีผลตอบแทนร้อยละ 6.7 กองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ตะวันออกไกล มีผลตอบแทนร้อยละ 6.13 และกองทุนรวมหุ้นกลุ่มประเทศจีน มีผลตอบแทนร้อยละ 5.97
นอกจากนี้ การดีดตัวกลับของตลาดหุ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Big-Cap ช่วยให้กองทุนเปิดดัชนีธุรกิจพลังงานและธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นกองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดร้อยละ 18.23 ตามมาด้วย กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท ให้ผลตอบแทนร้อยละ 16.46 กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อควิตี แวลู ซึ่งลงทุนในประเทศ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 14.68 เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 14.10 กองทุนเปิดอยุธยาเอ็นแฮนซ์เซ็ท 50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.45 กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.42 บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.36 ทหารไทย SET50 ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.26 ทหารไทย SET50 ปันผล ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.23 และกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ อิควิตี้ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.07 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่มีผลตอบแทนต่ำที่สุด 10 อันดับ พบว่าเป็นกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศอาทิเช่น กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท ไฟแนนเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ ขาดทุนร้อยละ 6.49 และกองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ขาดทุนร้อยละ 2.93
สำหรับผลตอบแทนจากกองทุนรวมหุ้นตลอดปี 51 จะพบว่ากองทุนโดยส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนติดลบ ตามตลาดที่อยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ โดยในปี 51 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในจีน ขาดทุนร้อยละ 63.75 ตามมาด้วย กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ยุโรป ขาดทุนร้อยละ 63.44 กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ตะวันออกไกล ขาดทุนร้อยละ56.30 กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในบริษัทเล็ก-กลางใน APAC ขาดทุนร้อยละ 54.84กองทุนรวมหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ขาดทุน 54.62 และกองทุนรวมหุ้นลงทุนในยุโรป ขาดทุนร้อยละ 50.96 เป็นต้น
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้นสูงสุดในปี 2551 พบว่ามีเพียงกองทุนเปิด ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ซึ่งลงทุนในทองคำสามารถสร้างผลตอบแทนทั้งปีเป็นบวกได้ร้อยละ 6.32 เท่านั้น รองลงมาได้แก่ บัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ซึ่งลงทุนในหุ้นกลุ่มเชิงอนุรักษ์อย่างกลุ่มเวชภัณฑ์และสุขภาพ ขาดทุนร้อยละ 22.70 ตามมาด้วยกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในประเทศ ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 2 ก็ขาดทุนร้อยละ27.32 กองทุนเปิด อเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น ขาดทุนร้อยละ 27.47 และ กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 3ขาดทุนร้อยละ 27.84 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 ได่แก่ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ขาดทุนถึงร้อยละ 70.13
กองทุนรวมตราสารหนี้
สุธี ให้ความเห็นอีกว่า ผลของวิกฤติการเศรษฐกิจโลกและความวิตกกังวลของนักลงทุนยังคงกดดันให้ตลาดเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ลงอีกร้อยละ 0.75-1.0 สู่ระดับร้อยละ0-0.25 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีพ.ศ.2497 และธนาคารแห่งประเทศไทยก็สร้างความประหลาดใจแก่ตลาด โดยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 100 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ได้ฉุดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดิ่งลงต่ออีกเดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีในเดือนธันวาคม ได้ร่วงลงอีก69 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ดิ่งลงถึง 134 basis pointsมาอยู่ที่ร้อยละ 2.51 ซึ่งการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วยดันให้ราคาตราสารหนี้สูงขึ้นและเพิ่มผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารหนี้ในระยะสั้น โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศ มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87
สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในเดือนธ.ค มพบว่า กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ พรีมาเวสท์(ไทยแลนด์)อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตบอนด์ฟันด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.56 และกองทุนเปิดเค โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต บอนด์ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 8.66 ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดได้แก่ กรุงไทยตราสารหนี้ปันผล มีผลตอบแทนร้อยละ 5.13
กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ กองทุนเปิดเอสซีไอ ฟิกซ์ โกรท ขาดทุนร้อยละ -13.87 กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรสหราชอาณาจักร ขาดทุนร้อยละ 7.39 และกลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท ซึ่งได้รับผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลักสำหรับในปี 2551 ผลของวิกฤติการเงินและการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ หันมาให้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.25 ในปี 2550 ลงเหลือร้อยละ 0-0.25 และกดให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลงจากร้อยละ 4.032 เหลือร้อยละ 2.22 เท่านั้น
โดย ธปท .ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 3.25 ในปี 50 เหลือเพียงร้อยละ 2.75ซึ่งกดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ลดลง 249 basis points จากปีก่อน เหลือร้อยละ 2.51 ซึ่งลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ให้ผลักดันให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้สูงขึ้น โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ลงทุนทั่วโลก ในปี 51 ให้เป็นประเภทของกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในปี 2551 ที่ร้อยละ 7.38
ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ ให้ผลตอบแทนที่ร้อยละ 4.12สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2551 ได้แก่ กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ กองทุนเปิดเคพันธบัตร 3/56 ให้ผลตอบแทนระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 13.57 รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดเคแอสเซ็ท โกลบัลฟิกซ์อินคัม 3 ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.09 และตามมาด้วยกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ธนสาร ธีรสมบัติ และกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 10.14,8.89, 8.81, และ 8.23 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 คือ กองทุนเปิดอยุธยา โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ ขาดทุนร้อยละ -29.28 กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรสหราชอาณาจักรขาดทุนร้อยละ -20.94 และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนอีเมอร์จิ้งออพพอร์ทูนิตี้ส์บอนด์ฟันด์ ขาดทุนร้อยละ -19.15 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยน
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นระยะสั้นในช่วงท้ายปี 51 ช่วยให้ผลตอบแทนกองทุนRMFในกลุ่มกองทุนรวมหุ้นกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในหุ้น Big-Cap ที่สามารถปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยกองทุนRMFให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ ทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.27 รองลงมา ได้แก่ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิดหุ้นคุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ และ JUMBO 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 13.20, 12.28, และ 11.97 ตามลำดับ
ด้านกองทุนRMF ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคมเป็นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมตราสารหนี้ อาทิ กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิด ยูโอบี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ ไอเอ็นจี ไทย ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ และทหารไทยธนบดี เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 0.14, 0.21, 0.22 และ 0.23 ตามลำดับ
ในปี 2551 กองทุน RMF ที่ได้ผลตอบแทนสูงจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นหลัก เนื่องจากได้รับอานิสงค์จากราคาตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นหลังการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย โดยกองทุน RMFที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2551 ได้แก่ ธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 กรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 และธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 11.32, 11.27, 11.26 และ 9.77 ตามลำดับ ขณะที่กองทุน RMFที่ได้ผลตอบแทนต่ำสุดพบว่าเป็นกองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมผสม ที่เน้นลงทุนในหุ้น เนื่องจากได้รับผลจากดัชนีตลาดหุ้นที่ร่วงลงเกือบร้อยละ 50 ในปี 2551 ได้แก่ กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่าอินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ ขาดทุนร้อยละ 56.36 รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพและทหารไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 47.74 และ 47.60 ตามลำดับ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ในเดือนธันวาคม พบว่าอานิสงค์จากตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวช่วยให้กองทุนLTF ไม่มีกองทุนใดขาดทุนโดยกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนสูงสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่ กองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่ม Big-cap อาทิกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยา SET50 กองทุนเปิด ยูโอบี หุ้นระยะยาว วรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาววรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว และJUMBO 25 ปันผล หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนร้อยละ 12.91,12.63, 12.41, 12.41, และ 12.00 ขณะที่กองทุนLTF ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนธันวาคม ได้แก่กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท ซึ่งเป็นกองทุนที่ใช้ตราสารอนุพันธ์มาปิดความเสี่ยงของตลาดในช่วงขาลง แต่ช่วงตลาดปรับตัวสูงขึ้นก็จะปิดโอกาสปรับขึ้นตามตลาดด้วย มีผลตอบแทนร้อยละ 1.15 และ 4.54 ตามลำดับ
ตลอดปี 2551 ถือว่าไม่ใช่ปีทองของตลาดหุ้น เนื่องจากตลาดได้กลับตัวเป็นช่วงขาลงส่งผลให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาวโดยส่วนใหญ่มีผลตอบแทนติดลบตามตลาด ยกเว้นกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว ที่ใช้อนุพันธ์ปิดความเสี่ยงของตลาดช่วงขาลง และสร้างผลตอบแทนตลอดปี 2551 เท่ากับร้อยละ 6.03 รองลงมาได้แก่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท ซึ่งขาดทุนร้อยละ 16.96 ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดในปี 2551 ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีโกลบอลหุ้นระยะยาว ขาดทุนร้อยละ 51.54 และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว ขาดทุนร้อยละ 49.31
แนวโน้มการลงทุน
สุธี มองว่า แม้ว่าในเดือนธันวาคม 2551 จะตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ทิศทางของตลาดในปี 2551 ตลอดปีถือว่าเป็นช่วงขาลงโดยลดลงจากปีก่อนร้อยละ 47 ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจส่งสัญญาณที่อ่อนแรงลงตามการถดถอยของเศรษฐกิจโลกสะท้อนจากดัชนีเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงถึงร้อยละ 8.4 ต่อปี เป็นการหดตัวในทุกหมวดอุตสาหกรรม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.6 ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเหรียญสหรัฐฯปรับลดลงกว่าร้อยละ 17.7 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2545 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2552 จะเผชิญการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น
โดยจากผลสำรวจของ Thomson Reuters Poll เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552 พบว่าค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ขณะที่ค่าต่ำสุดที่นักวิเคราะห์ประเมิน คือ เศรษฐกิจไทยปี 2552 อาจจะหดตัวได้ที่ร้อยละ 0.8 ซึ่งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจในประเทศและภาคการส่งออกจะส่งผลต่อรายได้ และกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยตรง ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นระยะสั้นในปี 2552 ยังอาจจะไม่เป็นที่น่าสนใจนัก ขณะที่การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ก็พบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ปรับลงลงอย่างมากในปี 2551 ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ในปี 2551 ไปแล้ว จากราคาตราสารหนี้ที่สูงขึ้น ขณะที่ในปี 2552 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลตอบแทนถึงผู้ลงทุนก็ลดลงตามไปด้วย แต่ก็เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยงหรือพักเงินก่อนเข้าลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ทิศทางการลงทุนในปี 2552 แม้ว่าแนวโน้มการคาดการณ์เศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลงเป็นตัวกดดันตลาดแต่ก็พบว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะดีขึ้นในปี 2553 โดย Thomson Reuters Poll พบว่าค่ากลาง ของแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในปี 2552 ซึ่งก็สอดคล้องกับการประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของธนาคารโลกประเมินว่าในปี 2552 เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.2 และจะฟื้นตัวในปี 2553 และ 2554 ซึ่งหากสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง จึงเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นอาจจะปรับตัวดีขึ้นรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ดังนั้น การลงทุนสำหรับในระยะกลางและระยะยาว อาจจะมีการจัดสัดส่วนการลงทุนเพื่อลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น เพื่อทะยอยสะสมตราสารทุนในระดับราคาที่ต่ำได้ หรืออาจใช้วิธี Dollar costaveraging ก็ได้ แต่ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวก็คงเกิดขึ้นได้ยาก