ASTV ผู้จัดการรายวัน - บลจ.บัวหลวง เผยผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงธนทวีน่าสนใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากการฝากเงินหลังผลการประชุมกนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยล่าสุด ณ 26 ธันวาคม 2551 มีผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 เดือน เท่ากับ 3.03% ต่อปี
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่าภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.75% จาก 2.75% เหลือ 2.00% ต่อปี เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา อาจจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ทยอยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีเงินออมเพราะผลตอบแทนสุทธิหลักหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะลดน้อยลงไปอีก แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนสุทธิปัจจุบันจากการลงทุนยังดีกว่าผลตอบแทนสุทธิของเงินฝากอยู่
“การที่ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระหว่างที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ต้องยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้มีเงินออมที่ฝากเงินไว้กับธนาคารต่างๆ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะทยอยลดลงเช่นกัน” นาง วรวรรณ กล่าว
ขณะเดียวกันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็ทำให้กองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมีผลตอบแทนที่จูงใจให้ลงทุน เมื่อเทียบกับผลตอบแทนสุทธิของเงินฝากที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15% เพราะปัจจุบันกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนสุทธิให้กับผู้ลงทุนย้อนหลังต่อปีได้สูงกว่าการฝากเงิน
ทั้งนี้ แม้ว่ากองทุนตราสารหนี้จะมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ลดลงตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ แต่ก็เชื่อว่าด้วยวิธีการบริหารและคัดเลือกตราสารลงทุนของบริษัทที่เหมาะสมกับสถานการณ์โดยคงไว้ซึ่งนโยบายด้านความปลอดภัยจะยังคงทำให้กองทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าผลตอบแทนของเงินฝากได้อยู่ ทั้งยังมีสภาพคล่องสูง สามารถขายได้ทุกวันทำการผ่านสาขา ตู้เอทีเอ็ม บัวหลวงโฟน และอินเตอร์เน็ตหรือไอแบ็งค์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ
สำหรับ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี เป็นกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปที่จัดตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยมีความผันผวนต่ำ และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ วันที่ 14 มกราคม 2551 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุนอยู่ที่ 52,458 ล้านบาท ส่วนผลตอบแทนของกองทุน ณ 26 ธันวาคม 2551 ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 3.03%ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 2.96%ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.77% ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 3.58% ต่อปี และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 3.40% ต่อปี
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วงเวลาเดียวกัน 0.75%ต่อปี และเกณฑ์มาตรฐานกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนอยู่ที่ 25.62%ต่อปี 23.97%ต่อปี 10.37%ต่อปี 7.30%ต่อปี และ 5.68%ต่อปี ในช่วงเวลาลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ บลจ.บัวหลวง ได้เปิดขายกองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ 2 กองทุน ประกอบด้วย 1.กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 1/09 (B1/09) และ 2. กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 2/09 (B2/09) ซึ่งได้ทำการเปิดขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 – 12 มกราคมที่ผ่านมา มีขนาดโครงการรวมกันที่ 10,000 ล้านบาท และจะให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 1.6%ต่อปี ซึ่งกองทุนดังกล่าว เหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น และเงินส่วนนี้จะต้องอยู่ในกองทุนเป็นระยะเวลาเท่ากับอายุกองทุน โดยลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยกองทุนทั้ง 2 กองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยหรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา แต่จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( Derivatives ) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ( Structured Note ) ซึ่งกองทุนดังกล่าว
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ดำเนินการแก้ไขนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมบัวหลวงโกลบอลฟิกซ์อินคัม (B-FIF2) จากเดิมมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เสนอขายในต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ในระดับ Investment Grade และอาจลงทุนในตราสารประเภท Asset-Backed Securities ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A ขึ้นไป ส่วนที่เหลือ อาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้ลงทุนได้ เปลี่ยนเป็นกองทุนอาจมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Invesment grad ได้เฉพาะกรณีที่ตราสารหนี้นั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment grade ขณะที่กองทุนลงทุน เพื่อให้กองทุนสามารถถือครองทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Investment grade ได้ไม่เกิน 5% และรวมทุก Issuer ไม่เกิน 15%
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่าภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.75% จาก 2.75% เหลือ 2.00% ต่อปี เมื่อวันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา อาจจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ทยอยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้มีเงินออมเพราะผลตอบแทนสุทธิหลักหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะลดน้อยลงไปอีก แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวีมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนสุทธิปัจจุบันจากการลงทุนยังดีกว่าผลตอบแทนสุทธิของเงินฝากอยู่
“การที่ กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระหว่างที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ต้องยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้มีเงินออมที่ฝากเงินไว้กับธนาคารต่างๆ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะทยอยลดลงเช่นกัน” นาง วรวรรณ กล่าว
ขณะเดียวกันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็ทำให้กองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างกองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมีผลตอบแทนที่จูงใจให้ลงทุน เมื่อเทียบกับผลตอบแทนสุทธิของเงินฝากที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15% เพราะปัจจุบันกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนสุทธิให้กับผู้ลงทุนย้อนหลังต่อปีได้สูงกว่าการฝากเงิน
ทั้งนี้ แม้ว่ากองทุนตราสารหนี้จะมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ลดลงตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ แต่ก็เชื่อว่าด้วยวิธีการบริหารและคัดเลือกตราสารลงทุนของบริษัทที่เหมาะสมกับสถานการณ์โดยคงไว้ซึ่งนโยบายด้านความปลอดภัยจะยังคงทำให้กองทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าผลตอบแทนของเงินฝากได้อยู่ ทั้งยังมีสภาพคล่องสูง สามารถขายได้ทุกวันทำการผ่านสาขา ตู้เอทีเอ็ม บัวหลวงโฟน และอินเตอร์เน็ตหรือไอแบ็งค์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ
สำหรับ กองทุนเปิดบัวหลวงธนทวี เป็นกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปที่จัดตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยมีความผันผวนต่ำ และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ วันที่ 14 มกราคม 2551 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมของกองทุนอยู่ที่ 52,458 ล้านบาท ส่วนผลตอบแทนของกองทุน ณ 26 ธันวาคม 2551 ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 3.03%ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 2.96%ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 2.77% ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 3.58% ต่อปี และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 3.40% ต่อปี
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วงเวลาเดียวกัน 0.75%ต่อปี และเกณฑ์มาตรฐานกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนอยู่ที่ 25.62%ต่อปี 23.97%ต่อปี 10.37%ต่อปี 7.30%ต่อปี และ 5.68%ต่อปี ในช่วงเวลาลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนตามลำดับ
ก่อนหน้านี้ บลจ.บัวหลวง ได้เปิดขายกองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ 2 กองทุน ประกอบด้วย 1.กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 1/09 (B1/09) และ 2. กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 2/09 (B2/09) ซึ่งได้ทำการเปิดขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 – 12 มกราคมที่ผ่านมา มีขนาดโครงการรวมกันที่ 10,000 ล้านบาท และจะให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 1.6%ต่อปี ซึ่งกองทุนดังกล่าว เหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น และเงินส่วนนี้จะต้องอยู่ในกองทุนเป็นระยะเวลาเท่ากับอายุกองทุน โดยลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยกองทุนทั้ง 2 กองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยหรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา แต่จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( Derivatives ) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ( Structured Note ) ซึ่งกองทุนดังกล่าว
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ดำเนินการแก้ไขนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมบัวหลวงโกลบอลฟิกซ์อินคัม (B-FIF2) จากเดิมมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เสนอขายในต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ในระดับ Investment Grade และอาจลงทุนในตราสารประเภท Asset-Backed Securities ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A ขึ้นไป ส่วนที่เหลือ อาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นทั้งในและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือเห็นชอบให้ลงทุนได้ เปลี่ยนเป็นกองทุนอาจมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Invesment grad ได้เฉพาะกรณีที่ตราสารหนี้นั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment grade ขณะที่กองทุนลงทุน เพื่อให้กองทุนสามารถถือครองทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า Investment grade ได้ไม่เกิน 5% และรวมทุก Issuer ไม่เกิน 15%