สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยเผย ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% ผลักดันให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้คึกคัก ระบุผลตอบแทนเด้งกลับมาที่ระดับเดิม โดยมีปริมาณการซื้อขายแบบ Outright ที่ 28,000 ล้านบาท คาด แนวโน้มบลจ.หันมาเปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (บอร์ด กนง.) มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.75% มาที่ 2.00% ส่งผลให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยผลตอบแทนตราสารหนี้อายุ 5 ปี ปรับลดจาก 2.4% เหลือเพียง 2.25% ซึ่งปรับลดลงไป 15 basis point ส่วนผลตอบแทนตราสารหนี้อายุ 10 ปี ปรับลดจาก 3.13% เหลือเพียง 2.97% ซึ่งปรับลดลงไป 16 basis point
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลตอบแทนจะปรับลดลงไปมาก แต่การที่นักลงทุนหันมาเทขายทำกำไรมากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกลับมาที่ระดับเดิม โดยปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยแบบซื้อขายขาด (Outright) มีมูลค่าเท่ากับ 28,000 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่นักลงทุนมาเทขายตราสารหนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนได้ซื้อตราสารหนี้มาในระดับราคาพรีเมียมและเก็งกำไรทำได้ง่ายกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งมีหลายปัจจัยมากระทบ ส่วนตลาดตราสารหนี้เพียงแค่ขาดเดาอักตราดอเบี้ยนโยบายเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น
ส่วนหุ้นกู้เอกชนไม่ได้รับผลกระทบมาก โดยหลายบริษัทมองว่าต้องการรอความชัดเจนของอัตราดอกเบี้นนโยบายไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง จึงทำการชะลอการออกหุ้นกู้ออกไปก่อน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการออกหุ้นกู้ต่ำลงไปด้วย แต่หากหุ้นกู้มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ต่ำกว่าระดับ A ลงมาจะขายยาก โดยในปัจจุบันนักลงทุนเลือกลงทุนมากขึ้น หากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยถ่างออกไป ไม่ทำให้คูปองหุ้นกู้เอกชนลดลงไป หรือความหวาดระแวงของนักลงทุน
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงมามาก อาจจะส่งผลให้นักลงทุนเริ่มหันมาฉุกคิดใหม่ เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลสามารถให้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งนักลงทุนอาจจะเริ่มมองว่าการลงทุนในสิ่งอื่นเป็นสิ่งไม่เสี่ยงแล้วก็ได้ และเมื่อผลตอบแทนหุ้นกู้สูง ทำให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หันมาเปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น โดยหุ้นกู้ที่อันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ AA ขึ้นไป ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 5 – 6% และมีอายุประมาณ 5 – 10 ปี ยังสามารถลงทุนได้
ส่วนข้อดีของพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ไม่มีความเสี่ยงทางด้านเครดิต เป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยง และได้เงินคืนแน่นอน สภาพคล่องสูง ซื้อมาขายได้ แต่ผลตอบแทนต่ำ เข้าหลักเกณฑ์ที่ว่าผลตอบแทนต่ำย่อมมีความเสี่ยงต่ำไปด้วย ขณะที่หุ้นกู้เอกชนมีความเสี่ยงสูงกว่า แต่ก็มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า และยังมีโอกาสหนี้สูญ ส่วนผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้นั้น ส่วนข้อเสียอีกประการของหุ้นกู้คือมีการออกมาขนาดเล็ก ทำให้ผู้ลงทุนมีเพียงไม่กี่ราย โอกาสในการซื้อขายน้อยไป หรืออาจจะซื้อได้ แต่ขายลำบาก หรือหากอยากขาย อาจจะจำเป็นต้องลดราคาลงมา
ส่วนแนวโน้มของผลตอบแทนในช่วงไตรมาสแรกปี 2552 นักลงทุนอาจจะกลัวการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน และหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ต่ำ แต่ว่ามาตรการเร่งด่วนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐออกมา จะทำให้ขาดดุลงบประมาณ และต้องมาระดมทุนมากขึ้น อาจจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมาได้ ขณะที่ตราสารหนี้ที่มีอายุยาว ในช่วงนี้ไม่สามารถจูงใจนักลงทุนได้
สำหรับผลตอบแทนของตราสารหนี้สิ้นสุดวันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นดังนี้ ผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 2.45 % ผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 10 ปีอยู่ที่ 3.22% และผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 29 ปีอยู่ที่ 4.45% ซึ่งจะเห็นว่ายังอยู่ในระดับต่ำมาก และไม่จูงใจนักลงทุนเลย
นายณัฐพล กล่าวว่า หลังจากนี้เชื่อว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เตรียมปรับลดตราสารหนี้วงเงิน 50,000 ล้านบาท เหลือเพียง 10,000 ล้านบาท เนื่องจากตราสารหนี้ที่ออกมาจะสามารถให้อัตราดอกเบี้ยเพียง 2.75% เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนไม่สนใจจะลงทุนในตราสารหนี้นั้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ โดยมองว่าภาครัฐน่าจะเสนออัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุนที่เกษียณอายุแล้ว และขยับอายุตราสารหนี้ขึ้นเป็น 3 ปีแทน เพื่อจูงใจนักลงทุนมากขึ้น
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (บอร์ด กนง.) มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ลงอีก 0.75% มาที่ 2.00% ส่งผลให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยผลตอบแทนตราสารหนี้อายุ 5 ปี ปรับลดจาก 2.4% เหลือเพียง 2.25% ซึ่งปรับลดลงไป 15 basis point ส่วนผลตอบแทนตราสารหนี้อายุ 10 ปี ปรับลดจาก 3.13% เหลือเพียง 2.97% ซึ่งปรับลดลงไป 16 basis point
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลตอบแทนจะปรับลดลงไปมาก แต่การที่นักลงทุนหันมาเทขายทำกำไรมากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนกลับมาที่ระดับเดิม โดยปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยแบบซื้อขายขาด (Outright) มีมูลค่าเท่ากับ 28,000 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่นักลงทุนมาเทขายตราสารหนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนได้ซื้อตราสารหนี้มาในระดับราคาพรีเมียมและเก็งกำไรทำได้ง่ายกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งมีหลายปัจจัยมากระทบ ส่วนตลาดตราสารหนี้เพียงแค่ขาดเดาอักตราดอเบี้ยนโยบายเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น
ส่วนหุ้นกู้เอกชนไม่ได้รับผลกระทบมาก โดยหลายบริษัทมองว่าต้องการรอความชัดเจนของอัตราดอกเบี้นนโยบายไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง จึงทำการชะลอการออกหุ้นกู้ออกไปก่อน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการออกหุ้นกู้ต่ำลงไปด้วย แต่หากหุ้นกู้มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ต่ำกว่าระดับ A ลงมาจะขายยาก โดยในปัจจุบันนักลงทุนเลือกลงทุนมากขึ้น หากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยถ่างออกไป ไม่ทำให้คูปองหุ้นกู้เอกชนลดลงไป หรือความหวาดระแวงของนักลงทุน
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงมามาก อาจจะส่งผลให้นักลงทุนเริ่มหันมาฉุกคิดใหม่ เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลสามารถให้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งนักลงทุนอาจจะเริ่มมองว่าการลงทุนในสิ่งอื่นเป็นสิ่งไม่เสี่ยงแล้วก็ได้ และเมื่อผลตอบแทนหุ้นกู้สูง ทำให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หันมาเปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น โดยหุ้นกู้ที่อันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ AA ขึ้นไป ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 5 – 6% และมีอายุประมาณ 5 – 10 ปี ยังสามารถลงทุนได้
ส่วนข้อดีของพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ไม่มีความเสี่ยงทางด้านเครดิต เป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยง และได้เงินคืนแน่นอน สภาพคล่องสูง ซื้อมาขายได้ แต่ผลตอบแทนต่ำ เข้าหลักเกณฑ์ที่ว่าผลตอบแทนต่ำย่อมมีความเสี่ยงต่ำไปด้วย ขณะที่หุ้นกู้เอกชนมีความเสี่ยงสูงกว่า แต่ก็มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า และยังมีโอกาสหนี้สูญ ส่วนผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้นั้น ส่วนข้อเสียอีกประการของหุ้นกู้คือมีการออกมาขนาดเล็ก ทำให้ผู้ลงทุนมีเพียงไม่กี่ราย โอกาสในการซื้อขายน้อยไป หรืออาจจะซื้อได้ แต่ขายลำบาก หรือหากอยากขาย อาจจะจำเป็นต้องลดราคาลงมา
ส่วนแนวโน้มของผลตอบแทนในช่วงไตรมาสแรกปี 2552 นักลงทุนอาจจะกลัวการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน และหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ต่ำ แต่ว่ามาตรการเร่งด่วนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐออกมา จะทำให้ขาดดุลงบประมาณ และต้องมาระดมทุนมากขึ้น อาจจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมาได้ ขณะที่ตราสารหนี้ที่มีอายุยาว ในช่วงนี้ไม่สามารถจูงใจนักลงทุนได้
สำหรับผลตอบแทนของตราสารหนี้สิ้นสุดวันที่ 13 มกราคม 2552 เป็นดังนี้ ผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 2.45 % ผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 10 ปีอยู่ที่ 3.22% และผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 29 ปีอยู่ที่ 4.45% ซึ่งจะเห็นว่ายังอยู่ในระดับต่ำมาก และไม่จูงใจนักลงทุนเลย
นายณัฐพล กล่าวว่า หลังจากนี้เชื่อว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เตรียมปรับลดตราสารหนี้วงเงิน 50,000 ล้านบาท เหลือเพียง 10,000 ล้านบาท เนื่องจากตราสารหนี้ที่ออกมาจะสามารถให้อัตราดอกเบี้ยเพียง 2.75% เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนไม่สนใจจะลงทุนในตราสารหนี้นั้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ โดยมองว่าภาครัฐน่าจะเสนออัตราดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุนที่เกษียณอายุแล้ว และขยับอายุตราสารหนี้ขึ้นเป็น 3 ปีแทน เพื่อจูงใจนักลงทุนมากขึ้น