ASTVผู้จัดการรายวัน -บลจ.แอสเซท พลัส มองมาตรการลดอัตราดอกเบี้ย ไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ระบุยิ่งภาครัฐออกบอนด์สู่ตลาดมากขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยลบต่อพันธบัตรระยะยาว ส่วนสถานการณ์หุ้นกู้เอกชน ผลตอบแทนพู่ง หลังนักลงทุนกังวลความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวว่า จากการที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากผลกระทบด้านสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของภาวะการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยจากการลดอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ส่งผลให้การกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับการขาดดุลของรัฐบาล จึงต้องออกพันธบัตรมาในตลาดมากขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลการคลัง ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว
ในขณะที่ภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ที่มีไม่มาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคเอกชนเริ่มมีการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนกันมากขึ้น โดยในทางปฏิบัติบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และมีความแข็งแกร่งทางการเงินจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการออกหุ้นกู้จากการเข้าลงทุนของผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
นอกจากนี้ ความกังวลในด้านความเสี่ยงในการทำธุรกิจของเอกชนก็เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับสูงมาก ทั้งนี้คาดว่าส่วนต่างผลตอบแทนหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลจะยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้จะมองว่าในจังหวะนี้เป็นโอกาสที่ดีในการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนคุณภาพดี โดยสะท้อนจากกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 4 (ASP-ACFIXED4) ที่ปิดขายไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน สามารถปิดยอดการลงทุนถึง 837.24 ล้านบาท รวมถึงกองทุนตราสารหนี้ที่ซื้อขายได้ทุกวันทำการ คือ กองทุนแอสเซทพลัสตราสารหนี้ (ASP) ซึ่งลงทุนในตราสารความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และเงินฝาก มีสภาพคล่องสูงจากการซื้อ-ขายได้ทุกวัน ก็มีปริมาณการซื้อและขายหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันด้วย เนื่องจากกองทุนสามารถให้โอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในช่วงระยะเวลาการพักเงินสั้น ๆ ระหว่างรอลงทุน
สำหรับการบริหารกองทุน ASP นั้น นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า กองทุน ASP มีของนโยบายการลงทุนที่เปิดกว้าง โดยสามารถลงทุนได้ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชน อย่างไรก็ตาม ในด้านการบริหารพอร์ตการลงทุนปัจจุบันจะเน้นในด้านความมั่นคงเป็นหลัก จึงลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลังและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณ 70% ของพอร์ต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรอายุสั้นไม่เกิน 3 เดือน เพื่อคงสภาพคล่องของกองทุนให้อยู่ในระดับสูง
ส่วนที่เหลือประมาณ 30% ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง มีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ A- ขึ้นไป เพื่อช่วยสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับกองทุน โดยเฉพาะในช่วงที่มีส่วนต่างของผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาลในระดับสูงขณะนี้
ทั้งนี้ จากตราสารของพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน จะมีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่อยู่ในพอร์ตการลงทุน (Port Duration) ประมาณ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง เพื่อให้กองทุนมีสภาพคล่อง และมีอัตราผลตอบแทนของพอร์ตที่ระดับ 2% ต่อปี ทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนของบริษัทเลือกที่จะพักเงินในกองทุนมากกว่า เงินฝากออมทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ 0.75% ต่อปี
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวว่า จากการที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากผลกระทบด้านสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของภาวะการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยจากการลดอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ส่งผลให้การกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับการขาดดุลของรัฐบาล จึงต้องออกพันธบัตรมาในตลาดมากขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลการคลัง ซึ่งถือเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว
ในขณะที่ภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ที่มีไม่มาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคเอกชนเริ่มมีการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนกันมากขึ้น โดยในทางปฏิบัติบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และมีความแข็งแกร่งทางการเงินจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการออกหุ้นกู้จากการเข้าลงทุนของผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
นอกจากนี้ ความกังวลในด้านความเสี่ยงในการทำธุรกิจของเอกชนก็เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับสูงมาก ทั้งนี้คาดว่าส่วนต่างผลตอบแทนหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลจะยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้จะมองว่าในจังหวะนี้เป็นโอกาสที่ดีในการเลือกลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนคุณภาพดี โดยสะท้อนจากกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 4 (ASP-ACFIXED4) ที่ปิดขายไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน สามารถปิดยอดการลงทุนถึง 837.24 ล้านบาท รวมถึงกองทุนตราสารหนี้ที่ซื้อขายได้ทุกวันทำการ คือ กองทุนแอสเซทพลัสตราสารหนี้ (ASP) ซึ่งลงทุนในตราสารความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และเงินฝาก มีสภาพคล่องสูงจากการซื้อ-ขายได้ทุกวัน ก็มีปริมาณการซื้อและขายหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันด้วย เนื่องจากกองทุนสามารถให้โอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในช่วงระยะเวลาการพักเงินสั้น ๆ ระหว่างรอลงทุน
สำหรับการบริหารกองทุน ASP นั้น นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า กองทุน ASP มีของนโยบายการลงทุนที่เปิดกว้าง โดยสามารถลงทุนได้ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เอกชน อย่างไรก็ตาม ในด้านการบริหารพอร์ตการลงทุนปัจจุบันจะเน้นในด้านความมั่นคงเป็นหลัก จึงลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลังและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณ 70% ของพอร์ต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรอายุสั้นไม่เกิน 3 เดือน เพื่อคงสภาพคล่องของกองทุนให้อยู่ในระดับสูง
ส่วนที่เหลือประมาณ 30% ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง มีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่องและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ A- ขึ้นไป เพื่อช่วยสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับกองทุน โดยเฉพาะในช่วงที่มีส่วนต่างของผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและพันธบัตรรัฐบาลในระดับสูงขณะนี้
ทั้งนี้ จากตราสารของพอร์ตการลงทุนปัจจุบัน จะมีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่อยู่ในพอร์ตการลงทุน (Port Duration) ประมาณ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง เพื่อให้กองทุนมีสภาพคล่อง และมีอัตราผลตอบแทนของพอร์ตที่ระดับ 2% ต่อปี ทำให้ผู้ลงทุนในกองทุนของบริษัทเลือกที่จะพักเงินในกองทุนมากกว่า เงินฝากออมทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ 0.75% ต่อปี