ถึงแม้ว่าในช่วงนี้ ข่าวการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะหายไป โดยมีข่าวการปรับลดราคาน้ำมันลงมาแทน...แต่เรื่องของพลังงานทดแทนก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญต่อไป เพราะน้ำมันนั้น เป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตขึ้นใหม่ได้ อาศัยแค่ที่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น...พูดง่ายๆ คือ ถึงวันหนึ่งก็ต้องหมดไป ดังนั้น การคิดค้นพลังงานทดแทนใหม่ จึงเป็นอะไรที่หยุดนิ่งไม่ได้
หากพูดถึงพลังงานทดแทนทั่วโลก ที่ผ่านมามีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง...ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม น้ำ แสงแดด พลังงานชีวภาพ ซึ่งพลังงานทดแทนเหล่านี้ เราอาจจะคุ้นเคยและรู้จักกันดีอยู่แล้ว...แต่หากพูดถึงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจนฉุดไม่อยู่ พลังงานทดแทนที่มาจากพืช ดูจะได้รับความสนใจมากขึ้น
และสาเหตุนี้เอง ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวโพด มันสำปะหลัง ซึ่งสินค้าเกษตรเหล่านี้ สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้...ซึ่งเอทานอล สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของน้ำมันในรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้
พูดถึงเรื่องพลังงานทดแทนแล้ว มีความเชื่มโยงไปถึงภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ...เพราะพลังงานทดแทนส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่ปล่อยก๊าซพิษ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศในอัตราที่ค่อนข้างน้อย หรือแทบจะไม่มีเลย...และเรื่องนี้เอง นำไปสู่การซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ หรือ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เกิดขึ้นมาอีกธุรกิจหนึ่ง
ฟังแล้วหลายคนสงสัยว่า การซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์จะเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ยังไง...ก่อนอื่นต้องบอกว่า ทุกวันนี้ มีการจัดตั้งตลาดสำหรับซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ออกมาอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว
พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงที่มาที่ไปของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตว่า ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป จะมีข้อกำหนดไว้ว่า ห้ามโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด แต่ถ้าปล่อยออกมาเกินที่กำหนดแล้ว จะต้องจ่ายค่าปรับในส่วนนี้ให้กับรัฐบาล ซึ่งต้องจ่ายในอัตราที่ค่อนข้างแพงพอสมควร
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระในส่วนนี้ ก็เลยมีข้อกำหนดขึ้นมาว่า ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าว ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ของตัวเองออกมาได้ ก็จะต้องหาทางช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ในรูปแบบอื่น เพื่อทดแทนในจำนวนที่ปล่อยเกินออกมา
ดังนั้น จึงเกิดการซื้อขายก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ขึ้นมา...โดยเป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะอยู่ที่ผู้ผลิตคาร์บอนเครดิต นั่นคือ คนที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้นั่นเอง โดยโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตในสัดส่วนที่เท่ากับจำนวนปล่อยออกมาเกินกว่ากำหนด...ซึ่งจำนวนการปล่อยคาร์บอนออกมานั้น สามารถวัดได้ โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอน
และด้วยความที่ผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตไม่รู้ว่าใครต้องการซื้อบ้าง รวมถึงผู้ซื้อเองก็ไม่ทราบเช่นกันว่าจะไปหาซื้อได้ที่ไหน ดังนั้น จึงเกิดตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย...ซึ่งในกรณีที่ไม่มีตลาด อาจจะเป็นเรื่องยากที่ผู้ซื้อก็จะเป็นฝ่ายวิ่งไปหาผู้ผลิตเอง ส่วนผู้ขายเองก็อาจจะไม่แน่ใจว่าถูกกดราคาหรือไม่
"พิชิต" กล่าวว่า สำหรับกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จีฟันด์ กองทุนภายใต้การบริหารของเอ็มเอฟซี ก็ให้ความสำคัญกับคาร์บอนเครดิต เช่นกัน โดยกองทุนร่วมเซ็นสัญญาลงนามความร่วมมือระหว่างกัน (MOU) กับธนาคารโลก (World Bank) โดยธนาคารโลกจะพิจารณาให้การสนับสนุนกองทุนด้านเทคโนโลยี และให้การสนับสนุนโครงการลงทุนที่สามารถลดการปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศหรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
ทั้งนี้ ธนาคารโลกจะเปรียบเสมือนเป็นนายหน้าหรือโบรกเกอร์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ที่จะรวบรวมคาร์บอนเครดิตที่มีอยู่เอาไปขายในตลาด ขณะเดียวกันก็จะเป็นดีลเลอร์ ที่ซื้อมาถูกแล้วไปขายแพงในตลาด
ซึ่งการที่เราทำสัญญากับธนาคารโลก ส่วนหนึ่งเพราะเขาเห็นว่า บริษัทที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ เข้าไปลงทุน มีส่วนช่วยลดคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับรายอื่นได้...ทั้งนี้ รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตนั้น จะรวมเข้าเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งส่วนหนึ่งจะเข้ามาเป็นผลตอบแทนของกองทุนอีกต่อหนึ่งด้วยเช่นกัน
สำหรับ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ เป็นกองทุนที่มีนโยบายหลักในการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) ในบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับพลังงาน พลังงานทดแทน และธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนนโยบายของรัฐด้านพลังงานที่มีขนาดเงินลงทุนราว 50-500 ล้านบาท เพื่อช่วยพัฒนาพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) จากแหล่งทรัพยากรภายในประเทศ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถช่วยลด การปล่อยก๊าซพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล พลังงานจากขยะ รวมไปถึงธุรกิจที่สนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานทดแทน อาทิ ธุรกิจผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่สนับสนุนและส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น อุปกรณ์ กักเก็บพลังงาน (Innovative Energy Storage) เป็นต้น
ทั้งนี้ กองทุนได้มีการลงทุนไปแล้วรวม 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท อีเอสเทอร์ จำกัด (E-Ester) ซึ่งเป็นบริษัทค้นคว้า วิจัย และผลิตพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพประเภท “ไบโอดีเซล” โดยกองทุนฯ เข้าไปลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท แห่งที่สองได้แก่ บริษัท Impress Ethanol และบริษัท Impress Farming ซึ่งเป็นบริษัทผลิต “เอธานอล” ที่มีกำลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน และปลูกมันสำปะหลังซึ่งให้ผลผลิตกว่า 16 ตันต่อไร่ และล่าสุดคือการลงทุนในบริษัท เซลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้พัฒนานวัตกรรมทางเลือกใหม่สำหรับเก็บและสร้างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะปฏิวัติการใช้พลังงานหมุนเวียนของชาติ ด้วยเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow หรือระบบเทคโนโลยีเซลเชื้อเพลิงแวนเนเดียม
จากการสำรวจข้อมูลล่าสุด พบว่า สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตคาร์บอนเครดิต ประเทศหนึ่ง โดยมีรายงานจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่า ประเทศไทยมีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบโครงการ CDM ที่สามารถซื้อ-ขาย "คาร์บอนเดรดิต" ได้แล้วทั้งสิ้น 38 โครงการ สามารถผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดแล้ว 10 โครงการ และผ่านการขึ้นทะเบียนและได้ "ใบรับรอง (CERs)" เพื่อซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้แล้วจำนวน 1 โครงการ
โดย 10 โครงการที่ผ่านการขึ้นทะเบียนภายใต้ UNFCC CDM-EB แล้วประกอบ ไปด้วย 1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย/ใบอ้อยของบริษัท ด่านช้าง ไบโอ- เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผลิตไฟฟ้า จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ปีละ 92,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อ ขายกับประเทศอังกฤษและเดนมาร์ก 2) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย/ใบอ้อยของบริษัท ภูเขียว ไบโอ- เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จังหวัดชัยภูมิ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 99,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศ อังกฤษและเดนมาร์กเช่นเดียวกัน
3) โครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบของบริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด จังหวัดพิจิตร สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกได้ปีละ 74,500 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศญี่ปุ่น 4) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อยของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 60,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับสหภาพยุโรป 5) โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังของบริษัทโคราชเวสท์ทูเอ็นเนอร์ยี่ จังหวัดนครราชสีมา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 60,000 ตันคาร์บอน ยังไม่ทำสัญญาซื้อขาย
6) โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะ (landfill gas) ของบริษัท เจริญสมพงษ์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 99,100 ตันคาร์บอน ยังไม่ได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขาย 7) โครงการผลิตไฟฟ้าจากทะลายปาล์มเปล่าของบริษัทสุราษฎร์ธานี กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 171,774 ตันคาร์บอน
และ 8)-10) โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียฟาร์มสุกรของโครงการฟาร์มหมูราชบุรีภายใต้การดำเนินโครงการ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเอสพีเอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด-บริษัท วีซีเอฟ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท หนองบัวฟาร์ม แอนด์คันทรีโฮมวิลเลจ จำกัด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 100,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศเดนมาร์ก
แต่ทั้งหมดนี้มีเพียงโครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบของบริษัท เอที ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เท่านั้นที่เป็นโครงการแรกที่ได้ "ใบรับรอง (CERs)" ให้สามารถดำเนินการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้จริง
ทั้งนี้ ขั้นตอนของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายใต้โครงการ CDM ก็คือหลังจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาโครงการ CDM ให้ความเห็นชอบแล้ว ก็จะส่งข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ (UNFCC CDM-EB) พิจารณาให้ขึ้นทะเบียนโครงการ หลังจากนั้นก็จะให้หน่วยงานที่ 3 (third party) เข้ามาตรวจสอบโครงการ ว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หรือไม่ และลดได้เท่าใด ? เพื่อออกใบรับรองการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตให้
หากพูดถึงพลังงานทดแทนทั่วโลก ที่ผ่านมามีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง...ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม น้ำ แสงแดด พลังงานชีวภาพ ซึ่งพลังงานทดแทนเหล่านี้ เราอาจจะคุ้นเคยและรู้จักกันดีอยู่แล้ว...แต่หากพูดถึงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจนฉุดไม่อยู่ พลังงานทดแทนที่มาจากพืช ดูจะได้รับความสนใจมากขึ้น
และสาเหตุนี้เอง ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวโพด มันสำปะหลัง ซึ่งสินค้าเกษตรเหล่านี้ สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้...ซึ่งเอทานอล สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของน้ำมันในรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้
พูดถึงเรื่องพลังงานทดแทนแล้ว มีความเชื่มโยงไปถึงภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ...เพราะพลังงานทดแทนส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่ปล่อยก๊าซพิษ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศในอัตราที่ค่อนข้างน้อย หรือแทบจะไม่มีเลย...และเรื่องนี้เอง นำไปสู่การซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ หรือ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เกิดขึ้นมาอีกธุรกิจหนึ่ง
ฟังแล้วหลายคนสงสัยว่า การซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์จะเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ยังไง...ก่อนอื่นต้องบอกว่า ทุกวันนี้ มีการจัดตั้งตลาดสำหรับซื้อขายคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ออกมาอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว
พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงที่มาที่ไปของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตว่า ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป จะมีข้อกำหนดไว้ว่า ห้ามโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด แต่ถ้าปล่อยออกมาเกินที่กำหนดแล้ว จะต้องจ่ายค่าปรับในส่วนนี้ให้กับรัฐบาล ซึ่งต้องจ่ายในอัตราที่ค่อนข้างแพงพอสมควร
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระในส่วนนี้ ก็เลยมีข้อกำหนดขึ้นมาว่า ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าว ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ของตัวเองออกมาได้ ก็จะต้องหาทางช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ในรูปแบบอื่น เพื่อทดแทนในจำนวนที่ปล่อยเกินออกมา
ดังนั้น จึงเกิดการซื้อขายก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ขึ้นมา...โดยเป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะอยู่ที่ผู้ผลิตคาร์บอนเครดิต นั่นคือ คนที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้นั่นเอง โดยโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตในสัดส่วนที่เท่ากับจำนวนปล่อยออกมาเกินกว่ากำหนด...ซึ่งจำนวนการปล่อยคาร์บอนออกมานั้น สามารถวัดได้ โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอน
และด้วยความที่ผู้ผลิตคาร์บอนเครดิตไม่รู้ว่าใครต้องการซื้อบ้าง รวมถึงผู้ซื้อเองก็ไม่ทราบเช่นกันว่าจะไปหาซื้อได้ที่ไหน ดังนั้น จึงเกิดตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย...ซึ่งในกรณีที่ไม่มีตลาด อาจจะเป็นเรื่องยากที่ผู้ซื้อก็จะเป็นฝ่ายวิ่งไปหาผู้ผลิตเอง ส่วนผู้ขายเองก็อาจจะไม่แน่ใจว่าถูกกดราคาหรือไม่
"พิชิต" กล่าวว่า สำหรับกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จีฟันด์ กองทุนภายใต้การบริหารของเอ็มเอฟซี ก็ให้ความสำคัญกับคาร์บอนเครดิต เช่นกัน โดยกองทุนร่วมเซ็นสัญญาลงนามความร่วมมือระหว่างกัน (MOU) กับธนาคารโลก (World Bank) โดยธนาคารโลกจะพิจารณาให้การสนับสนุนกองทุนด้านเทคโนโลยี และให้การสนับสนุนโครงการลงทุนที่สามารถลดการปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศหรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
ทั้งนี้ ธนาคารโลกจะเปรียบเสมือนเป็นนายหน้าหรือโบรกเกอร์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ที่จะรวบรวมคาร์บอนเครดิตที่มีอยู่เอาไปขายในตลาด ขณะเดียวกันก็จะเป็นดีลเลอร์ ที่ซื้อมาถูกแล้วไปขายแพงในตลาด
ซึ่งการที่เราทำสัญญากับธนาคารโลก ส่วนหนึ่งเพราะเขาเห็นว่า บริษัทที่กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ เข้าไปลงทุน มีส่วนช่วยลดคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถขายคาร์บอนเครดิตให้กับรายอื่นได้...ทั้งนี้ รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตนั้น จะรวมเข้าเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งส่วนหนึ่งจะเข้ามาเป็นผลตอบแทนของกองทุนอีกต่อหนึ่งด้วยเช่นกัน
สำหรับ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ เป็นกองทุนที่มีนโยบายหลักในการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) ในบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับพลังงาน พลังงานทดแทน และธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนนโยบายของรัฐด้านพลังงานที่มีขนาดเงินลงทุนราว 50-500 ล้านบาท เพื่อช่วยพัฒนาพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) จากแหล่งทรัพยากรภายในประเทศ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถช่วยลด การปล่อยก๊าซพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล พลังงานจากขยะ รวมไปถึงธุรกิจที่สนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานทดแทน อาทิ ธุรกิจผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่สนับสนุนและส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น อุปกรณ์ กักเก็บพลังงาน (Innovative Energy Storage) เป็นต้น
ทั้งนี้ กองทุนได้มีการลงทุนไปแล้วรวม 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท อีเอสเทอร์ จำกัด (E-Ester) ซึ่งเป็นบริษัทค้นคว้า วิจัย และผลิตพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพประเภท “ไบโอดีเซล” โดยกองทุนฯ เข้าไปลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท แห่งที่สองได้แก่ บริษัท Impress Ethanol และบริษัท Impress Farming ซึ่งเป็นบริษัทผลิต “เอธานอล” ที่มีกำลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน และปลูกมันสำปะหลังซึ่งให้ผลผลิตกว่า 16 ตันต่อไร่ และล่าสุดคือการลงทุนในบริษัท เซลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้พัฒนานวัตกรรมทางเลือกใหม่สำหรับเก็บและสร้างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะปฏิวัติการใช้พลังงานหมุนเวียนของชาติ ด้วยเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow หรือระบบเทคโนโลยีเซลเชื้อเพลิงแวนเนเดียม
จากการสำรวจข้อมูลล่าสุด พบว่า สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตคาร์บอนเครดิต ประเทศหนึ่ง โดยมีรายงานจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่า ประเทศไทยมีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบโครงการ CDM ที่สามารถซื้อ-ขาย "คาร์บอนเดรดิต" ได้แล้วทั้งสิ้น 38 โครงการ สามารถผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดแล้ว 10 โครงการ และผ่านการขึ้นทะเบียนและได้ "ใบรับรอง (CERs)" เพื่อซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้แล้วจำนวน 1 โครงการ
โดย 10 โครงการที่ผ่านการขึ้นทะเบียนภายใต้ UNFCC CDM-EB แล้วประกอบ ไปด้วย 1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย/ใบอ้อยของบริษัท ด่านช้าง ไบโอ- เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผลิตไฟฟ้า จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ปีละ 92,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อ ขายกับประเทศอังกฤษและเดนมาร์ก 2) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อย/ใบอ้อยของบริษัท ภูเขียว ไบโอ- เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จังหวัดชัยภูมิ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 99,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศ อังกฤษและเดนมาร์กเช่นเดียวกัน
3) โครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบของบริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด จังหวัดพิจิตร สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกได้ปีละ 74,500 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศญี่ปุ่น 4) โครงการผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อยของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 60,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับสหภาพยุโรป 5) โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังของบริษัทโคราชเวสท์ทูเอ็นเนอร์ยี่ จังหวัดนครราชสีมา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 60,000 ตันคาร์บอน ยังไม่ทำสัญญาซื้อขาย
6) โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะ (landfill gas) ของบริษัท เจริญสมพงษ์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 99,100 ตันคาร์บอน ยังไม่ได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขาย 7) โครงการผลิตไฟฟ้าจากทะลายปาล์มเปล่าของบริษัทสุราษฎร์ธานี กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 171,774 ตันคาร์บอน
และ 8)-10) โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียฟาร์มสุกรของโครงการฟาร์มหมูราชบุรีภายใต้การดำเนินโครงการ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเอสพีเอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด-บริษัท วีซีเอฟ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท หนองบัวฟาร์ม แอนด์คันทรีโฮมวิลเลจ จำกัด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 100,000 ตันคาร์บอน ทำสัญญาซื้อขายกับประเทศเดนมาร์ก
แต่ทั้งหมดนี้มีเพียงโครงการผลิตไฟฟ้าจากแกลบของบริษัท เอที ไบโอพาวเวอร์ จำกัด เท่านั้นที่เป็นโครงการแรกที่ได้ "ใบรับรอง (CERs)" ให้สามารถดำเนินการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้จริง
ทั้งนี้ ขั้นตอนของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายใต้โครงการ CDM ก็คือหลังจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาโครงการ CDM ให้ความเห็นชอบแล้ว ก็จะส่งข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ (UNFCC CDM-EB) พิจารณาให้ขึ้นทะเบียนโครงการ หลังจากนั้นก็จะให้หน่วยงานที่ 3 (third party) เข้ามาตรวจสอบโครงการ ว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หรือไม่ และลดได้เท่าใด ? เพื่อออกใบรับรองการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตให้