โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
สัปดาห์ที่แล้วผมได้อธิบายถึงการลงทุนใน LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในวันนี้ ผมจะขอกล่าวถึงคู่แฝดของ LTF ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขการลงทุนและลักษณะการลงทุนที่แตกต่างออกไป กองทุนประเภทนี้มีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า กองทุน RMF ซึ่งย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือมีชื่อไทยว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กองทุน RMF เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเพื่อการเกษียณ โดยมีเงื่อนไขคร่าวๆว่า ท่านนักลงทุนจะต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) และต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยท่านนักลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ท่านนักลงทุนอาจระงับการซื้อ RMF ในบางปีได้ แต่ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนจนท่านมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี (นับเฉพาะปีที่มีการลงทุน เมื่อท่านนักลงทุนปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนของ RMF แล้ว เงินลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท) สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ท่านนักลงทุนสามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซต์ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน www.aimc.or.th หรือสอบถามข้อมูลได้จากบริษัทจัดการกองทุนหรือตัวแทนขาย
ในปัจจุบัน ความนิยมในการลงทุนใน RMF ยังน้อยกว่า LTF อยู่ค่อนข้างมาก เนื่องจากท่านนักลงทุนหลายท่านมองว่าการลงทุนใน RMF กินระยะเวลานานเกินไป จึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนในตอนนี้ ซึ่งเป็นลักษณะปกติของนักลงทุนทั่วไปที่มักมองผลตอบแทนในระยะสั้น และปล่อยให้อนาคตเป็นเรื่องของอนาคตต่อไป อย่างที่หลายคนชอบพูดว่า “ไว้ก่อน วันหน้าค่อยว่ากัน” หรือ “ไปตายเอาดาบหน้า” ซึ่งคำเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นบ่อเกิดแห่งความไม่แน่นอนของอนาคต เพราะเหมือนกับท่านบอกตัวเองว่า ท่านไม่ควรจะที่จะจัดการอนาคตของตัวท่านเอง ในทางตรงกันข้าม หากท่านนักลงทุนได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ท่านต้องการใช้ชีวิตอย่างสุขสบายหลังเกษียณ ท่านจะมีแรงผลักดันเกิดขึ้นในตัวท่านเอง เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ท่าน “ทำฝันให้เป็นจริง” ดังนั้น ท่านนักลงทุนที่ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย ไม่เป็นภาระทางการเงินให้แก่บุตรหลาน และมีความพร้อมที่จะกันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ยามเกษียณ การลงทุนใน RMF น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจครับ
นอกจากความแตกต่างในด้านเงื่อนไขการลงทุนแล้ว RMF ยังต่างจาก LTF ในแง่ของนโยบายการลงทุน โดย LTF ถูกจำกัดให้เป็นกองทุนรวมหุ้นเท่านั้น ในขณะที่ RMF มีทั้งกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ตลาดเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ ให้ท่านนักลงทุนได้เลือกตามระดับความเสี่ยงที่ท่านนักลงทุนยอมรับได้ นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนยังสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกองทุน RMF ได้ สมมุติว่าในปีนี้ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูง ในขณะที่ตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้สูง ท่านนักลงทุนอาจเลือกลงทุนในกองทุน RMF ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเท่านั้น หรือลงทุนใน RMF ที่มีนโยบายลงทุนในตลาดเงิน และสมมุติว่าในปีหน้า เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณว่าถึงจุดต่ำสุดแล้ว ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนในหุ้นน่าจะเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ท่านนักลงทุนก็สามารถที่จะย้ายเงินที่ลงทุนใน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือลงทุนในตลาดเงิน มาลงทุนใน RMF ที่ลงทุนในหุ้นได้ จะเห็นได้ว่า การลงทุนใน RMF แม้จะใช้เวลานาน (เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณ) แต่ก็มีความยืดหยุ่นในแง่ของทางเลือกในการลงทุนมากกว่า LTF กล่าวคือ ท่านนักลงทุนสามารถหลบหลีกการลงทุนในหุ้นในภาวะที่ตลาดไม่ดี และสามารถเลือกรับผลตอบแทนที่ดีในภาวะที่ตลาดหุ้นมีการเติบโตดีได้
เนื่องจากการลงทุนใน RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณ ดังนั้น เงินที่ท่านนักลงทุนนำมาลงทุนควรเป็นเงินที่กันไว้เพื่อการเกษียณจริงๆ และพร้อมที่จะไม่แตะเงินก้อนนี้ก่อนเกษียณ นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะกับท่าน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ท่านนักลงทุนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ท่านนักลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทจัดการหรือตัวแทนก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
สัปดาห์ที่แล้วผมได้อธิบายถึงการลงทุนใน LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในวันนี้ ผมจะขอกล่าวถึงคู่แฝดของ LTF ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขการลงทุนและลักษณะการลงทุนที่แตกต่างออกไป กองทุนประเภทนี้มีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า กองทุน RMF ซึ่งย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือมีชื่อไทยว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กองทุน RMF เป็นกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเพื่อการเกษียณ โดยมีเงื่อนไขคร่าวๆว่า ท่านนักลงทุนจะต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) และต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยท่านนักลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ท่านนักลงทุนอาจระงับการซื้อ RMF ในบางปีได้ แต่ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนจนท่านมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี (นับเฉพาะปีที่มีการลงทุน เมื่อท่านนักลงทุนปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนของ RMF แล้ว เงินลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท) สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ท่านนักลงทุนสามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซต์ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน www.aimc.or.th หรือสอบถามข้อมูลได้จากบริษัทจัดการกองทุนหรือตัวแทนขาย
ในปัจจุบัน ความนิยมในการลงทุนใน RMF ยังน้อยกว่า LTF อยู่ค่อนข้างมาก เนื่องจากท่านนักลงทุนหลายท่านมองว่าการลงทุนใน RMF กินระยะเวลานานเกินไป จึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนในตอนนี้ ซึ่งเป็นลักษณะปกติของนักลงทุนทั่วไปที่มักมองผลตอบแทนในระยะสั้น และปล่อยให้อนาคตเป็นเรื่องของอนาคตต่อไป อย่างที่หลายคนชอบพูดว่า “ไว้ก่อน วันหน้าค่อยว่ากัน” หรือ “ไปตายเอาดาบหน้า” ซึ่งคำเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นบ่อเกิดแห่งความไม่แน่นอนของอนาคต เพราะเหมือนกับท่านบอกตัวเองว่า ท่านไม่ควรจะที่จะจัดการอนาคตของตัวท่านเอง ในทางตรงกันข้าม หากท่านนักลงทุนได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ท่านต้องการใช้ชีวิตอย่างสุขสบายหลังเกษียณ ท่านจะมีแรงผลักดันเกิดขึ้นในตัวท่านเอง เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ท่าน “ทำฝันให้เป็นจริง” ดังนั้น ท่านนักลงทุนที่ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย ไม่เป็นภาระทางการเงินให้แก่บุตรหลาน และมีความพร้อมที่จะกันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ยามเกษียณ การลงทุนใน RMF น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจครับ
นอกจากความแตกต่างในด้านเงื่อนไขการลงทุนแล้ว RMF ยังต่างจาก LTF ในแง่ของนโยบายการลงทุน โดย LTF ถูกจำกัดให้เป็นกองทุนรวมหุ้นเท่านั้น ในขณะที่ RMF มีทั้งกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ตลาดเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ ให้ท่านนักลงทุนได้เลือกตามระดับความเสี่ยงที่ท่านนักลงทุนยอมรับได้ นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนยังสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกองทุน RMF ได้ สมมุติว่าในปีนี้ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูง ในขณะที่ตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้สูง ท่านนักลงทุนอาจเลือกลงทุนในกองทุน RMF ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเท่านั้น หรือลงทุนใน RMF ที่มีนโยบายลงทุนในตลาดเงิน และสมมุติว่าในปีหน้า เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณว่าถึงจุดต่ำสุดแล้ว ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนในหุ้นน่าจะเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ท่านนักลงทุนก็สามารถที่จะย้ายเงินที่ลงทุนใน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือลงทุนในตลาดเงิน มาลงทุนใน RMF ที่ลงทุนในหุ้นได้ จะเห็นได้ว่า การลงทุนใน RMF แม้จะใช้เวลานาน (เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณ) แต่ก็มีความยืดหยุ่นในแง่ของทางเลือกในการลงทุนมากกว่า LTF กล่าวคือ ท่านนักลงทุนสามารถหลบหลีกการลงทุนในหุ้นในภาวะที่ตลาดไม่ดี และสามารถเลือกรับผลตอบแทนที่ดีในภาวะที่ตลาดหุ้นมีการเติบโตดีได้
เนื่องจากการลงทุนใน RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณ ดังนั้น เงินที่ท่านนักลงทุนนำมาลงทุนควรเป็นเงินที่กันไว้เพื่อการเกษียณจริงๆ และพร้อมที่จะไม่แตะเงินก้อนนี้ก่อนเกษียณ นอกจากนี้ ท่านนักลงทุนควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะกับท่าน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน และเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ท่านนักลงทุนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ท่านนักลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการลงทุนและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทจัดการหรือตัวแทนก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ